สสว.จัดสรรงบ 100 ล้านบาท ร่วมโครงการ iTAP สนับสนุนเอสเอ็มอีพื้นที่อีสานตอนล่าง 8 จังหวัด เติมศักยภาพผู้ประกอบการเข้าถึงการพัฒนาเทคโนโลยีการผลิต ชี้ผู้เข้าร่วมโครงการจะได้รับเงินสนับสนุนค่าใช้จ่าย 50% มุ่งเป้าอุตสาหกรรมหลักที่เชื่อมโยงวิถีชีวิตและเศรษฐกิจในชุมชน
ผศ.ดร.พิสิษฐ์ เตชะรุ่งไพศาล ผู้จัดการเครือข่าย iTAP มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี กล่าวว่า โครงการสนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยีของอุตสาหกรรมไทย หรือ iTAP ศูนย์บริหารจัดการเทคโนโลยี (TMC) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ หรือ สวทช. ร่วมกับ สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) ได้จัดสรรงบประมาณ 100 ล้านบาท เพื่อสนับสนุนอุตสาหกรรมในพื้นที่ภาคอีสานใต้ 8 จังหวัด ได้แก่ อุบลราชธานี ศรีสะเกษ สุรินทร์ ร้อยเอ็ด ยโสธร อำนาจเจริญ นครพนม และมุกดาหาร
ทั้งนี้โครงการดังกล่าวจะเข้าไปเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันแก่อุตสาหกรรม SMEs ซึ่งมุ่งเน้นการพัฒนาศักยภาพทางเทคโนโลยีการผลิต และการพัฒนาผลิตภัณฑ์ โดยต้องเป็นบริษัทที่มีทุนจดทะเบียนไม่เกิน 200 ล้านบาท และเป็นนิติบุคคลไทยที่มีผู้ถือหุ้นไทยไม่ต่ำกว่า 51% ซึ่งผู้เข้าร่วมโครงการจะได้รับการสนับสนุนค่าใช้จ่ายร้อยละ 50 ของค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นในโครงการ และภาคเอกชนออกค่าใช้จ่ายอีกเพียงแค่ 50%
โดยเริ่มที่จังหวัดอุบลราชธานี มีมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี เป็นเครือข่ายรับผิดชอบโครงการ ซึ่งเครือข่ายจังหวัดอุบลราชธานีนั้นยังเน้นการให้บริการในอุตสาหกรรมเป้าหมายหลักที่เชื่อมโยงกับวิถีชีวิตและเศรษฐกิจชุมชนของภูมิภาคนี้ ซึ่งในพื้นที่อีสานตอนล่างนี้ผู้ประกอบการส่วนใหญ่จะเป็นกลุ่มอาหารและเกษตรเป็นจำนวนมาก ซึ่งเครือข่าย iTAP สามารถจะช่วยผู้ประกอบการเหล่านี้ให้มีเทคโนโลยีและผู้เชี่ยวชาญเข้าไปช่วยเหลือ โดยเครือข่ายอุบลฯจะช่วยอำนวยความสะดวกครอบคลุมในทุกกลุ่มอุตสาหกรรมทั้งอุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือน อุตสาหกรรมสิ่งทอ อุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วน อุตสาหกรรมการแพทย์ และอุตสาหกรรมสนับสนุนอื่นๆ
ปัจจุบันมีผู้ประกอบการสนใจเข้าร่วม เช่น โรงงานที่ต้องการหาพลังงานทดแทน และต้องการประหยัดไฟโดยวัสดุขี้เลื่อย ธุรกิจด้านสุขภาพที่ต้อการหาระบบเครื่องปรับอากาศที่เหมาะสม ผู้ประกอบการที่ต้องการพลาสติกรีไซเคิล เป็นต้น ซึ่งโครงการเหล่านี้จะมีผู้เชี่ยวชาญที่คอยให้คำปรึกษาทางเทคโนโลยี สำหรับแนวทางความช่วยเหลือนั้นจะมีผู้เชี่ยวชาญทางเทคนิคเข้าไปสำรวจและวิเคราะห์ความต้องการเบื้องต้น รวมทั้งเข้าไปจัดทำโครงการปรึกษาเชิงลึก เพื่อแก้ไขปัญหาทางเทคนิคและปรับปรุงการผลิต โดยมีกระบวนการทำงานที่ยืดหยุ่นสูงและมีบุคลากรที่เป็นหัวใจหลักในการดำเนินงาน
ในส่วนของสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของกระบวนการพัฒนาดังกล่าว จึงได้ร่วมสนับสนุนงบประมาณ 100 ล้านบาท เพื่อให้สามารถสนับสนุนอุตสาหกรรมไทยครอบคลุมทุกสาขาทั่วประเทศ ซึ่งได้รับความสนใจจากคณาจารย์ และผุ้ประกอบการเอสเอ็มอีในพื้นที่และพื้นที่ใกล้เคียงเข้าร่วมเป็นจำนวนมาก ในส่วนของจังหวัดอุบลราชธานี มีผู้ประกอบการในพื้นที่กว่า 800-900 ราย ที่จะได้รับการช่วยเหลือ ในครั้งนี้
ผศ.ดร.พิสิษฐ์ เตชะรุ่งไพศาล ผู้จัดการเครือข่าย iTAP มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี กล่าวว่า โครงการสนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยีของอุตสาหกรรมไทย หรือ iTAP ศูนย์บริหารจัดการเทคโนโลยี (TMC) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ หรือ สวทช. ร่วมกับ สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) ได้จัดสรรงบประมาณ 100 ล้านบาท เพื่อสนับสนุนอุตสาหกรรมในพื้นที่ภาคอีสานใต้ 8 จังหวัด ได้แก่ อุบลราชธานี ศรีสะเกษ สุรินทร์ ร้อยเอ็ด ยโสธร อำนาจเจริญ นครพนม และมุกดาหาร
ทั้งนี้โครงการดังกล่าวจะเข้าไปเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันแก่อุตสาหกรรม SMEs ซึ่งมุ่งเน้นการพัฒนาศักยภาพทางเทคโนโลยีการผลิต และการพัฒนาผลิตภัณฑ์ โดยต้องเป็นบริษัทที่มีทุนจดทะเบียนไม่เกิน 200 ล้านบาท และเป็นนิติบุคคลไทยที่มีผู้ถือหุ้นไทยไม่ต่ำกว่า 51% ซึ่งผู้เข้าร่วมโครงการจะได้รับการสนับสนุนค่าใช้จ่ายร้อยละ 50 ของค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นในโครงการ และภาคเอกชนออกค่าใช้จ่ายอีกเพียงแค่ 50%
โดยเริ่มที่จังหวัดอุบลราชธานี มีมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี เป็นเครือข่ายรับผิดชอบโครงการ ซึ่งเครือข่ายจังหวัดอุบลราชธานีนั้นยังเน้นการให้บริการในอุตสาหกรรมเป้าหมายหลักที่เชื่อมโยงกับวิถีชีวิตและเศรษฐกิจชุมชนของภูมิภาคนี้ ซึ่งในพื้นที่อีสานตอนล่างนี้ผู้ประกอบการส่วนใหญ่จะเป็นกลุ่มอาหารและเกษตรเป็นจำนวนมาก ซึ่งเครือข่าย iTAP สามารถจะช่วยผู้ประกอบการเหล่านี้ให้มีเทคโนโลยีและผู้เชี่ยวชาญเข้าไปช่วยเหลือ โดยเครือข่ายอุบลฯจะช่วยอำนวยความสะดวกครอบคลุมในทุกกลุ่มอุตสาหกรรมทั้งอุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือน อุตสาหกรรมสิ่งทอ อุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วน อุตสาหกรรมการแพทย์ และอุตสาหกรรมสนับสนุนอื่นๆ
ปัจจุบันมีผู้ประกอบการสนใจเข้าร่วม เช่น โรงงานที่ต้องการหาพลังงานทดแทน และต้องการประหยัดไฟโดยวัสดุขี้เลื่อย ธุรกิจด้านสุขภาพที่ต้อการหาระบบเครื่องปรับอากาศที่เหมาะสม ผู้ประกอบการที่ต้องการพลาสติกรีไซเคิล เป็นต้น ซึ่งโครงการเหล่านี้จะมีผู้เชี่ยวชาญที่คอยให้คำปรึกษาทางเทคโนโลยี สำหรับแนวทางความช่วยเหลือนั้นจะมีผู้เชี่ยวชาญทางเทคนิคเข้าไปสำรวจและวิเคราะห์ความต้องการเบื้องต้น รวมทั้งเข้าไปจัดทำโครงการปรึกษาเชิงลึก เพื่อแก้ไขปัญหาทางเทคนิคและปรับปรุงการผลิต โดยมีกระบวนการทำงานที่ยืดหยุ่นสูงและมีบุคลากรที่เป็นหัวใจหลักในการดำเนินงาน
ในส่วนของสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของกระบวนการพัฒนาดังกล่าว จึงได้ร่วมสนับสนุนงบประมาณ 100 ล้านบาท เพื่อให้สามารถสนับสนุนอุตสาหกรรมไทยครอบคลุมทุกสาขาทั่วประเทศ ซึ่งได้รับความสนใจจากคณาจารย์ และผุ้ประกอบการเอสเอ็มอีในพื้นที่และพื้นที่ใกล้เคียงเข้าร่วมเป็นจำนวนมาก ในส่วนของจังหวัดอุบลราชธานี มีผู้ประกอบการในพื้นที่กว่า 800-900 ราย ที่จะได้รับการช่วยเหลือ ในครั้งนี้