"การนำแฟรนไชส์จากต่างประเทศเข้ามาใช่จะขายได้เลย" เป็นคำกล่าวที่นักการตลาดมองถึงความเสี่ยงที่จะเกิดต่อธุรกิจ มากกว่ามองว่าเป็นโอกาสของธุรกิจนั้นๆ
เช่นเดียวกับ "จิรพงษ์ สกุลชาติ" กรรมการผู้จัดการ บริษัท ทีเตชา จำกัด มาสเตอร์แฟรนไชส์ วิททาร์ด ออฟ เชสซี ( Whittard of Chelsea) แฟรนไชซอร์รายแรกของโลกภายใต้แบรนด์ดังกล่าว

จิรพงษ์ ได้นำชาแบรนด์วิททาร์ดจากประเทศอังกฤษ ที่มีอายุมายาวนานกว่า 121 ปีเข้ามาจำหน่ายในไทยภายใต้คอนเซ็ปต์ใหม่ที่เขาคิดขึ้นเอง
"เริ่มแรกเราต้องการทำร้านดื่มชาหรือ Tea Cafe ขึ้นมา เพราะมองว่าเป็นช่องว่างทางธุรกิจ และเป็นธุรกิจที่มีโอกาส เพราะยังไม่มีรายใดนำเสนอชาในรูปแบบร้านหรือที่มีคอนเซ็ปต์นี้ เมื่อเทียบกับร้านกาแฟที่มีอยู่เป็นจำนวนมาก"
เขา ได้ทำการศึกษาหาข้อมูลกับชาหลายแบรนด์ทั่วโลก แต่สุดท้ายมาลงที่วิททาร์ด ที่มีโปรดักส์หลากหลาย ครอบคลุมเครื่องดื่มเกือบทุกประเภท ชา กาแฟ ชอคโกแลต ที่คัดสรรและผลิตขึ้นมาเอง ทำให้คุณภาพสินค้าภายใต้แบรนด์วิททาร์ดเป็นที่ยอมรับนอกจากชาที่เป็นที่รู้จักกันมานาน จึงตัดสินใจที่จะใช้วัตถุดิบจากวิททาร์ดเป็นวัตถุดิบ เป็นจุดที่เขาเล็งเห็นว่าสามารถรับวัตถุดิบที่ครบได้จากแหล่งเดียว แต่ที่ผ่านมาวิทาร์ดจะไม่มีคอนเซ็ปต์ร้านเป็นเพียงผู้จำหน่ายชาและผลิตภัณฑ์เท่านั้น
เมื่อได้พูดคุยกับผู้บริหารวิททาร์ดประเภทอังกฤษ ซึ่งเห็นด้วยกับคอนเซ็ปต์ธุรกิจที่จะนำเสนอสินค้าวิททาร์ดในรูปแบบ Tea Cafe จึงได้ตกลงธุรกิจในรูปแบบแฟรนไชส์ ซึ่งเป็นมาสเตอร์แฟรนไชส์ในไทยภายใต้แบรนด์ดังกล่าว

แต่วิธีการการนำเสนอชาต่อผู้บริโภคนั้นได้เปลี่ยนไป เพราะตามวิถีการดื่มชาของแต่ละประเทศย่อมแตกต่างกัน สำหรับของทีเตชานั้นต้องการนำเสนอชาที่ป็นเทรนนดี้การเสิร์ฟชาจึงเป็นมัค ไม่ใช่เป็น pot อย่างที่อังกฤษ
สำหรับคอนเซ็ปต์ของวิททาร์ดที่วางไว้นั้น เริ่มตั้งแต่การตกแต่งร้านที่ต้องการให้เหมือนโอเอซิส เป็นที่พักผ่อนของคนเมือง หรือระหว่างเบรกจากงานมานั่งดื่มชา บรรยากาศร้านสบายๆ มีพื้นที่ทั้งด้านในและด้านนอก แตกต่างด้วยโทนสีขาว น้ำเงินเป็น 2 สีหลัก
"ผมไม่ต้องการให้วิททาร์ดไปอยู่ในชีวิตการทำงานเหมือนกับกาแฟ แต่ต้องการให้เป็นช่วงที่พักจากงาน ช่วงที่ผ่อนคลายสบายๆ มานั่งพูดคุยกับเพื่อนฝูงแทนการเจรจาแต่เรื่องธุรกิจ"
เขา ได้พัฒนาเมนูในกลุ่มเครื่องดื่ม ชา กาแฟ ชอคโกแลต ทั้งร้อน เย็น ปั่น และเริ่มนำสมุนไพร ผลไม้ เข้ามาเป็นส่วนผสม โดยมีผ่ายพัฒนาโปรดักส์ สัดส่วนที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในร้านคือ ชา 40% กาแฟ 30% ที่เหลือเป็นเครื่องดื่มอื่นๆ
นอกจากนี้ จิรพงษ์ ได้เพิ่มเติมโปรดักส์คือไอศกรีมที่มีส่วนผสมวัตถุดิบจากวิททาร์ดไม่ว่าจะเป็นชา กาแฟ ชอคโกแลต ส่วนเบเกอรี่นั้นได้ให้ซัพพลายเออร์รายหนึ่งทำส่งให้
"การที่เราเป็นผู้บุกเบิกคอนเซ็ปต์รายแรก ทำให้สามารถพัฒนาต่อยอด สินค้า บริการภายในร้านได้อย่างหลากหลาย ไม่มีข้อจำกัดมากนัก แต่ต้องไม่หลุดคอนเซ็ปต์ที่วางไว้ ผมมองว่าการต่อยอดนี้ยังมีอะไรอีกมากที่เราสามารถทำได้ เพิ่มรายได้ เพิ่มบริการ รวมถึงการทำโปรโมชั่นต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต"
สำหรับกลุ่มลูกค้าที่เข้าใช้บริการเป็นระดับบีขึ้นไป ซึ่งสัดส่วนของกลุ่มลูกค้าที่มากที่สุดเป็นกลุ่มคนที่รู้จักแบรนด์วิททาร์ดเป็นอย่างดี ทั้งชาวต่างชาติที่อยู่ในประเทศไทย ผู้ที่เคยเดินทางไปท่องเที่ยว ไปศึกษาที่อังกฤษ ยุโรป รวมถึงลูกค้ากลุ่มที่เพิ่งมาใช้บริการและเกิดใช้บริการซ้ำ
จิรพงษ์ เพิ่งนำเข้าแบรนด์วิททาร์ดเมื่อปี 2549 ปัจจุบันมี 7 สาขา ประกอบด้วย เอ็มโพเรี่ยม พารากอน คิวเฮ้าส์ (ลุมพินี) สนามบินสุวรรณภูมิ 2 จุด เอสพลานาด และ วิลล่า (อารีย์) เตรียมที่จะเปิดอีก 2 สาขาที่เรียบทางด่วนรามอินทราและพัทยา ในโครงการสยามฟิวเจอร์ ซึ่งหลักในการขยายสาขานั้น จะมองที่กลุ่มเป้าหมายเป็นหลักซึ่งเป็นกลุ่มระดับบีขึ้นไป สถานที่ตั้งแหล่งชุมชน ออฟฟิศ
"การขยายสาขานั้น เป็นการสร้างการรับรู้ในแบรนด์ได้เป็นอย่างดี จะเห็นว่าแต่ละสาขาที่ไปตั้ง เป็นสถานที่ที่ตรงกับกลุ่มเป้าหมายสามารถเข้าใช้บริการได้ง่าย การขายสาขามากๆ ครอบคลุมกลุ่มเป้าหมายจะเป็นการโฆษณาแบรนด์ได้อย่างดีซึ่งคุ้มกว่าการซื้อโฆษณาผ่านสื่อต่างๆ"
เฉลี่ยการลงทุนต่อสาขาที่ 3-4 ล้านบาท ตั้งเป้าการขยายปีละ 3-4 สาขา บนพื้นที่เฉลี่ยไม่ต่ำว่า 6 ตารางเมตร กับแนวทางการขยายสู่แฟรนไชส์นั้น ปัจจุบันมีความต้องการเข้ามามาก จากกลุ่มลูกค้าที่รู้จักแบรนด์วิททาร์เป็นอย่างดีจากกลุ่มนักเรียนอังกฤษหรือในแถบยุโรป นักท่องเที่ยวที่ได้เดินทางไปยุโรป รวมถึงกลุ่มคนที่เข้าใช้บริการและชื่นชอบในรสชาติ
แต่ยอมรับว่าปัจจุบันยังไม่พร้อมที่จะขยายในรูปแบบแฟรนไชส์ เพราะต้องอาศัยระยะเวลาหนึ่งในการเตรียมระบบที่ดีก่อน ซึ่งขณะนี้ได้พัฒนาระบบให้เข้าที่เข้าทาง รวมถึงโปรดักส์ การบริการ
"ผมเป็นผู้คิดคอนเซ็ปต์นี้ขึ้นมา ย่อมรู้ว่าจะสามารถพัฒนาต่อไปในทิศทางไหนได้ อยากทำตรงนี้ให้อยู่ตัวก่อน เพราะแฟรนไชส์ที่ไม่ประสบความสำเร็จส่วนมากจะมาจากขาดมาตรฐานในการควบคุมคุณภาพ เราต้องการให้นิ่งก่อน"
กับคอนเซ็ปต์ Tea Cafe นี้ล่าสุด วิททาร์ดที่ประเทศอังกฤษได้นำคอนเซ็ปต์นี้เปิดให้บริการลูกค้าแล้ว รวมถึงประเทศญี่ปุ่น ที่ได้ส่งคนเข้ามาศึกษาคอนเซ็ปต์ดังกล่าวและได้เปิดให้บริการแล้วเช่นกัน
จิรพงษ์ มองถึงโอกาสธุรกิจว่าปัจจุบันผู้บริโภคใส่ใจต่อสุขภาพมากขึ้นซึ่งไม่ใช่เป็นเทรนด์แต่เป็นไลฟ์สไตล์ของคนที่หันมาใส่ใจทางด้านนี้ และด้วยคุณสมบัติของชาสามารถตอบความต้องการของคนได้ที่ต้องการบริโภคเพื่อการผ่อนคลายหรือบำบัดโรค สังเกตจากการเติบโตของการบริโภคชาในแต่ละปีเพิ่มสูงขึ้น แม้ว่าปัจจุบันสัดส่วนการเข้ามาดื่มกาแฟและชาจะใกล้เคียงกันก็ตาม
จะเห็นได้ว่า การพัฒนาแนวทางการพัฒนาธุรกิจของ จิรพงษ์ กับคอนเซ็ปต์ Tea Cafe นี้ สามารถพัฒนาสู่ระบบแฟรนไชส์ได้อย่างไม่อยาก นับเป็นจุดเริ่มของแนวทางการทำธุรกิจที่ดี เพราะปัจจุบันหลักของการสร้างธุรกิจแฟรนไชส์ให้อยู่รอดได้นั้นเขาคำนึงถึงคุณภาพ การสร้างชื่อให้เป็นที่รับรู้ด้วยการขยายสาขาเป็นเป็นร้านต้นแบบ รวมถึงการพัฒนาระบบในการตรวจสอบเพื่อควบคุมมาตรฐานได้

3 กลุ่มธุรกิจกับ 6 บริษัท กับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
จิรพงษ์ เป็นนักธุรกิจที่มีแนวคิดในการบริการจัดการ เข้าหลักปรัญชาพอเพียงได้อย่างลงตัว นั่นคือการไม่คิดใหญ่เกิดตัว เขามองว่าการทำธุรกิจที่ใหญ่เกินไปหมายรวมถึงความเสี่ยงสูงด้วย และการทำหลากหลายธุรกิจเพื่อสร้างรายได้ลดความเสี่ยงเมื่อธุรกิจใดธุรกิจหนึ่งมีปัญหา แต่ธุรกิจเหล่านี้สามารถเกื้อหนุนกันได้
เขาบอกว่าไม่ต่างกับทฤษฎีเศรษฐกิจพอเพียงที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงนำการดำรงชีวิตของชาวนาไทยในการทำนา ทำสวน ทำไร่ เลี้ยงปลา เป็นการจัดสรรพื้นที่และหาเลี้ยงชีพที่หมุนเวียนกันไป
ปัจจุบัน เขามีธุรกิจใน 3 กลุ่มหลัก คือ 1.รีเทล ร้านชา คอนเซ็ปต์ Tea Cafe แบรนด์ Whittard of Chelsea สินค้ากลุ่มสกินแคร์นำเข้าจากอังกฤษ Crab Tree Develyn มีชอปที่เอ็มโพเรี่ยม สยามพารากอน 2.เฟอร์นิเจอร์ตกแต่งบ้านร้านชื่อพันตา ที่สยามดิสคัพเวอร์รี่และสยามพารากอน และ 3.บริษัทรับออกแบบโรงงานอุตสาหกรรม
แต่ธุรกิจทั้ง 3 กลุ่มกับ 6 บริษัท สามารถต่อยอดกันได้อย่างลงตัว ซึ่งหลักในการขยายธุรกิจนี้ จิรพงษ์ บอกว่าจะต่อยอดจากธุรกิจหลักใน 3 กลุ่มนี้ เช่น รีเทล การออกแบบตกแต่งร้านเป็นส่วนสำคัญเพราะเป็นพื้นที่ขาย พื้นที่ที่ลูกค้าเข้าใช้บริการ ฉะนั้นธุรกิจในส่วนของการออกแบบตกแต่งจะมาซัพพอสทางด้านนี้ลดต้นทุนค่าตกแต่งซึ่งเป็นคอร์สหลักตัวหนึ่งในการสร้างชอปขึ้นมา รวมถึงการออกแบบการก่อสร้างด้วยเช่นกัน แม้ว่าโดยตัวธุรกิจแต่ละตัวจะไม่สามารถลิงค์กันได้ก็ตามแต่เป็นการหนุนกันในเรื่องของการลดค่าใช้จ่ายลง
และอาศัยจังหวะในการเข้าไปทำธุรกิจ แต่ธุรกิจแต่ละตัวที่ จิรพงษ์ ทำนั้นจะไม่ใหญ่โตมากนักจะค่อยๆ ขยายเรื่อยๆ และไม่ประมาท ซึ่งเขามองว่าเป็นการลดความเสี่ยง เขาเปรียบเทียบการลงทุนทำธุรกิจก็เหมือนกับการซื้อหุ้น ซึ่งต้องดูปัจจัยความเสี่ยง เพียงแต่ธุรกิจนั้นองค์ประกอบมากกว่า และการเลือกทำธุรกิจที่แตกต่างกันออกไปนั้นก็เหมือนการกระจายความเสี่ยงของการลงทุน ถ้าช่วงใดที่ธุรกิจหนึ่งซบยังมีรายได้จากอีกธุรกิจหนึ่งเข้ามาจุนเจือ
เขาบอกว่าเขาทำธุรกิจไม่ได้หวังรวยแต่ต้องให้พอกิน มีรายได้เข้ามาตลอดหมุนเวียนกันไปตามแต่ธุรกิจ ซึ่งเป็นการมองถึงอนาคต ที่แขวนไว้กับความเสี่ยงของรายได้ ที่นักธุรกิจแตกต่างจากมนุษย์เงินเดือนที่รู้รายได้เข้ามาต่อเดือนเท่าไหร่ แต่กับนักธุรกิจนั้นการลงทุนทำธุรกิจเป็นการสร้างรายได้เข้ามา และแตกยอดสู่ธุรกิจใหม่เป็นการสร้างรายได้หมุนเวียนเข้ามาและยืนยาวต่อไปถึงอนาคต
ซึ่งการบริหารของ จิรพงษ์ นั้นทุกวันนี้จะเป็นผู้วางแนวทาง ทิศทางธุรกิจ ขับเคลื่อนด้วยทีมเวิร์ค และมืออาชีพเฉพาะด้านที่จะเข้ามา
ทุกวันนี้ เขาบอกว่าไม่หยุดที่จะมีโปรเจ็คใหม่ๆ เข้ามาตลอด และไม่หยุดเพราะหยุดเท่ากับประมาทในชีวิต และฝันไว้คือธุรกิจอพาร์ทเม้นท์ คิดว่าคงไม่ไกลเกินเอื้อมกับฝันนี้ของผู้ชายที่เดินเกมชีวิตด้วยหารนำหลักเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ได้อย่างลงตัวกับการทำธุรกิจในปัจจุบัน
เช่นเดียวกับ "จิรพงษ์ สกุลชาติ" กรรมการผู้จัดการ บริษัท ทีเตชา จำกัด มาสเตอร์แฟรนไชส์ วิททาร์ด ออฟ เชสซี ( Whittard of Chelsea) แฟรนไชซอร์รายแรกของโลกภายใต้แบรนด์ดังกล่าว
จิรพงษ์ ได้นำชาแบรนด์วิททาร์ดจากประเทศอังกฤษ ที่มีอายุมายาวนานกว่า 121 ปีเข้ามาจำหน่ายในไทยภายใต้คอนเซ็ปต์ใหม่ที่เขาคิดขึ้นเอง
"เริ่มแรกเราต้องการทำร้านดื่มชาหรือ Tea Cafe ขึ้นมา เพราะมองว่าเป็นช่องว่างทางธุรกิจ และเป็นธุรกิจที่มีโอกาส เพราะยังไม่มีรายใดนำเสนอชาในรูปแบบร้านหรือที่มีคอนเซ็ปต์นี้ เมื่อเทียบกับร้านกาแฟที่มีอยู่เป็นจำนวนมาก"
เขา ได้ทำการศึกษาหาข้อมูลกับชาหลายแบรนด์ทั่วโลก แต่สุดท้ายมาลงที่วิททาร์ด ที่มีโปรดักส์หลากหลาย ครอบคลุมเครื่องดื่มเกือบทุกประเภท ชา กาแฟ ชอคโกแลต ที่คัดสรรและผลิตขึ้นมาเอง ทำให้คุณภาพสินค้าภายใต้แบรนด์วิททาร์ดเป็นที่ยอมรับนอกจากชาที่เป็นที่รู้จักกันมานาน จึงตัดสินใจที่จะใช้วัตถุดิบจากวิททาร์ดเป็นวัตถุดิบ เป็นจุดที่เขาเล็งเห็นว่าสามารถรับวัตถุดิบที่ครบได้จากแหล่งเดียว แต่ที่ผ่านมาวิทาร์ดจะไม่มีคอนเซ็ปต์ร้านเป็นเพียงผู้จำหน่ายชาและผลิตภัณฑ์เท่านั้น
เมื่อได้พูดคุยกับผู้บริหารวิททาร์ดประเภทอังกฤษ ซึ่งเห็นด้วยกับคอนเซ็ปต์ธุรกิจที่จะนำเสนอสินค้าวิททาร์ดในรูปแบบ Tea Cafe จึงได้ตกลงธุรกิจในรูปแบบแฟรนไชส์ ซึ่งเป็นมาสเตอร์แฟรนไชส์ในไทยภายใต้แบรนด์ดังกล่าว
แต่วิธีการการนำเสนอชาต่อผู้บริโภคนั้นได้เปลี่ยนไป เพราะตามวิถีการดื่มชาของแต่ละประเทศย่อมแตกต่างกัน สำหรับของทีเตชานั้นต้องการนำเสนอชาที่ป็นเทรนนดี้การเสิร์ฟชาจึงเป็นมัค ไม่ใช่เป็น pot อย่างที่อังกฤษ
สำหรับคอนเซ็ปต์ของวิททาร์ดที่วางไว้นั้น เริ่มตั้งแต่การตกแต่งร้านที่ต้องการให้เหมือนโอเอซิส เป็นที่พักผ่อนของคนเมือง หรือระหว่างเบรกจากงานมานั่งดื่มชา บรรยากาศร้านสบายๆ มีพื้นที่ทั้งด้านในและด้านนอก แตกต่างด้วยโทนสีขาว น้ำเงินเป็น 2 สีหลัก
"ผมไม่ต้องการให้วิททาร์ดไปอยู่ในชีวิตการทำงานเหมือนกับกาแฟ แต่ต้องการให้เป็นช่วงที่พักจากงาน ช่วงที่ผ่อนคลายสบายๆ มานั่งพูดคุยกับเพื่อนฝูงแทนการเจรจาแต่เรื่องธุรกิจ"
เขา ได้พัฒนาเมนูในกลุ่มเครื่องดื่ม ชา กาแฟ ชอคโกแลต ทั้งร้อน เย็น ปั่น และเริ่มนำสมุนไพร ผลไม้ เข้ามาเป็นส่วนผสม โดยมีผ่ายพัฒนาโปรดักส์ สัดส่วนที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในร้านคือ ชา 40% กาแฟ 30% ที่เหลือเป็นเครื่องดื่มอื่นๆ
นอกจากนี้ จิรพงษ์ ได้เพิ่มเติมโปรดักส์คือไอศกรีมที่มีส่วนผสมวัตถุดิบจากวิททาร์ดไม่ว่าจะเป็นชา กาแฟ ชอคโกแลต ส่วนเบเกอรี่นั้นได้ให้ซัพพลายเออร์รายหนึ่งทำส่งให้
"การที่เราเป็นผู้บุกเบิกคอนเซ็ปต์รายแรก ทำให้สามารถพัฒนาต่อยอด สินค้า บริการภายในร้านได้อย่างหลากหลาย ไม่มีข้อจำกัดมากนัก แต่ต้องไม่หลุดคอนเซ็ปต์ที่วางไว้ ผมมองว่าการต่อยอดนี้ยังมีอะไรอีกมากที่เราสามารถทำได้ เพิ่มรายได้ เพิ่มบริการ รวมถึงการทำโปรโมชั่นต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต"
สำหรับกลุ่มลูกค้าที่เข้าใช้บริการเป็นระดับบีขึ้นไป ซึ่งสัดส่วนของกลุ่มลูกค้าที่มากที่สุดเป็นกลุ่มคนที่รู้จักแบรนด์วิททาร์ดเป็นอย่างดี ทั้งชาวต่างชาติที่อยู่ในประเทศไทย ผู้ที่เคยเดินทางไปท่องเที่ยว ไปศึกษาที่อังกฤษ ยุโรป รวมถึงลูกค้ากลุ่มที่เพิ่งมาใช้บริการและเกิดใช้บริการซ้ำ
จิรพงษ์ เพิ่งนำเข้าแบรนด์วิททาร์ดเมื่อปี 2549 ปัจจุบันมี 7 สาขา ประกอบด้วย เอ็มโพเรี่ยม พารากอน คิวเฮ้าส์ (ลุมพินี) สนามบินสุวรรณภูมิ 2 จุด เอสพลานาด และ วิลล่า (อารีย์) เตรียมที่จะเปิดอีก 2 สาขาที่เรียบทางด่วนรามอินทราและพัทยา ในโครงการสยามฟิวเจอร์ ซึ่งหลักในการขยายสาขานั้น จะมองที่กลุ่มเป้าหมายเป็นหลักซึ่งเป็นกลุ่มระดับบีขึ้นไป สถานที่ตั้งแหล่งชุมชน ออฟฟิศ
"การขยายสาขานั้น เป็นการสร้างการรับรู้ในแบรนด์ได้เป็นอย่างดี จะเห็นว่าแต่ละสาขาที่ไปตั้ง เป็นสถานที่ที่ตรงกับกลุ่มเป้าหมายสามารถเข้าใช้บริการได้ง่าย การขายสาขามากๆ ครอบคลุมกลุ่มเป้าหมายจะเป็นการโฆษณาแบรนด์ได้อย่างดีซึ่งคุ้มกว่าการซื้อโฆษณาผ่านสื่อต่างๆ"
เฉลี่ยการลงทุนต่อสาขาที่ 3-4 ล้านบาท ตั้งเป้าการขยายปีละ 3-4 สาขา บนพื้นที่เฉลี่ยไม่ต่ำว่า 6 ตารางเมตร กับแนวทางการขยายสู่แฟรนไชส์นั้น ปัจจุบันมีความต้องการเข้ามามาก จากกลุ่มลูกค้าที่รู้จักแบรนด์วิททาร์เป็นอย่างดีจากกลุ่มนักเรียนอังกฤษหรือในแถบยุโรป นักท่องเที่ยวที่ได้เดินทางไปยุโรป รวมถึงกลุ่มคนที่เข้าใช้บริการและชื่นชอบในรสชาติ
แต่ยอมรับว่าปัจจุบันยังไม่พร้อมที่จะขยายในรูปแบบแฟรนไชส์ เพราะต้องอาศัยระยะเวลาหนึ่งในการเตรียมระบบที่ดีก่อน ซึ่งขณะนี้ได้พัฒนาระบบให้เข้าที่เข้าทาง รวมถึงโปรดักส์ การบริการ
"ผมเป็นผู้คิดคอนเซ็ปต์นี้ขึ้นมา ย่อมรู้ว่าจะสามารถพัฒนาต่อไปในทิศทางไหนได้ อยากทำตรงนี้ให้อยู่ตัวก่อน เพราะแฟรนไชส์ที่ไม่ประสบความสำเร็จส่วนมากจะมาจากขาดมาตรฐานในการควบคุมคุณภาพ เราต้องการให้นิ่งก่อน"
กับคอนเซ็ปต์ Tea Cafe นี้ล่าสุด วิททาร์ดที่ประเทศอังกฤษได้นำคอนเซ็ปต์นี้เปิดให้บริการลูกค้าแล้ว รวมถึงประเทศญี่ปุ่น ที่ได้ส่งคนเข้ามาศึกษาคอนเซ็ปต์ดังกล่าวและได้เปิดให้บริการแล้วเช่นกัน
จิรพงษ์ มองถึงโอกาสธุรกิจว่าปัจจุบันผู้บริโภคใส่ใจต่อสุขภาพมากขึ้นซึ่งไม่ใช่เป็นเทรนด์แต่เป็นไลฟ์สไตล์ของคนที่หันมาใส่ใจทางด้านนี้ และด้วยคุณสมบัติของชาสามารถตอบความต้องการของคนได้ที่ต้องการบริโภคเพื่อการผ่อนคลายหรือบำบัดโรค สังเกตจากการเติบโตของการบริโภคชาในแต่ละปีเพิ่มสูงขึ้น แม้ว่าปัจจุบันสัดส่วนการเข้ามาดื่มกาแฟและชาจะใกล้เคียงกันก็ตาม
จะเห็นได้ว่า การพัฒนาแนวทางการพัฒนาธุรกิจของ จิรพงษ์ กับคอนเซ็ปต์ Tea Cafe นี้ สามารถพัฒนาสู่ระบบแฟรนไชส์ได้อย่างไม่อยาก นับเป็นจุดเริ่มของแนวทางการทำธุรกิจที่ดี เพราะปัจจุบันหลักของการสร้างธุรกิจแฟรนไชส์ให้อยู่รอดได้นั้นเขาคำนึงถึงคุณภาพ การสร้างชื่อให้เป็นที่รับรู้ด้วยการขยายสาขาเป็นเป็นร้านต้นแบบ รวมถึงการพัฒนาระบบในการตรวจสอบเพื่อควบคุมมาตรฐานได้
3 กลุ่มธุรกิจกับ 6 บริษัท กับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
จิรพงษ์ เป็นนักธุรกิจที่มีแนวคิดในการบริการจัดการ เข้าหลักปรัญชาพอเพียงได้อย่างลงตัว นั่นคือการไม่คิดใหญ่เกิดตัว เขามองว่าการทำธุรกิจที่ใหญ่เกินไปหมายรวมถึงความเสี่ยงสูงด้วย และการทำหลากหลายธุรกิจเพื่อสร้างรายได้ลดความเสี่ยงเมื่อธุรกิจใดธุรกิจหนึ่งมีปัญหา แต่ธุรกิจเหล่านี้สามารถเกื้อหนุนกันได้
เขาบอกว่าไม่ต่างกับทฤษฎีเศรษฐกิจพอเพียงที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงนำการดำรงชีวิตของชาวนาไทยในการทำนา ทำสวน ทำไร่ เลี้ยงปลา เป็นการจัดสรรพื้นที่และหาเลี้ยงชีพที่หมุนเวียนกันไป
ปัจจุบัน เขามีธุรกิจใน 3 กลุ่มหลัก คือ 1.รีเทล ร้านชา คอนเซ็ปต์ Tea Cafe แบรนด์ Whittard of Chelsea สินค้ากลุ่มสกินแคร์นำเข้าจากอังกฤษ Crab Tree Develyn มีชอปที่เอ็มโพเรี่ยม สยามพารากอน 2.เฟอร์นิเจอร์ตกแต่งบ้านร้านชื่อพันตา ที่สยามดิสคัพเวอร์รี่และสยามพารากอน และ 3.บริษัทรับออกแบบโรงงานอุตสาหกรรม
แต่ธุรกิจทั้ง 3 กลุ่มกับ 6 บริษัท สามารถต่อยอดกันได้อย่างลงตัว ซึ่งหลักในการขยายธุรกิจนี้ จิรพงษ์ บอกว่าจะต่อยอดจากธุรกิจหลักใน 3 กลุ่มนี้ เช่น รีเทล การออกแบบตกแต่งร้านเป็นส่วนสำคัญเพราะเป็นพื้นที่ขาย พื้นที่ที่ลูกค้าเข้าใช้บริการ ฉะนั้นธุรกิจในส่วนของการออกแบบตกแต่งจะมาซัพพอสทางด้านนี้ลดต้นทุนค่าตกแต่งซึ่งเป็นคอร์สหลักตัวหนึ่งในการสร้างชอปขึ้นมา รวมถึงการออกแบบการก่อสร้างด้วยเช่นกัน แม้ว่าโดยตัวธุรกิจแต่ละตัวจะไม่สามารถลิงค์กันได้ก็ตามแต่เป็นการหนุนกันในเรื่องของการลดค่าใช้จ่ายลง
และอาศัยจังหวะในการเข้าไปทำธุรกิจ แต่ธุรกิจแต่ละตัวที่ จิรพงษ์ ทำนั้นจะไม่ใหญ่โตมากนักจะค่อยๆ ขยายเรื่อยๆ และไม่ประมาท ซึ่งเขามองว่าเป็นการลดความเสี่ยง เขาเปรียบเทียบการลงทุนทำธุรกิจก็เหมือนกับการซื้อหุ้น ซึ่งต้องดูปัจจัยความเสี่ยง เพียงแต่ธุรกิจนั้นองค์ประกอบมากกว่า และการเลือกทำธุรกิจที่แตกต่างกันออกไปนั้นก็เหมือนการกระจายความเสี่ยงของการลงทุน ถ้าช่วงใดที่ธุรกิจหนึ่งซบยังมีรายได้จากอีกธุรกิจหนึ่งเข้ามาจุนเจือ
เขาบอกว่าเขาทำธุรกิจไม่ได้หวังรวยแต่ต้องให้พอกิน มีรายได้เข้ามาตลอดหมุนเวียนกันไปตามแต่ธุรกิจ ซึ่งเป็นการมองถึงอนาคต ที่แขวนไว้กับความเสี่ยงของรายได้ ที่นักธุรกิจแตกต่างจากมนุษย์เงินเดือนที่รู้รายได้เข้ามาต่อเดือนเท่าไหร่ แต่กับนักธุรกิจนั้นการลงทุนทำธุรกิจเป็นการสร้างรายได้เข้ามา และแตกยอดสู่ธุรกิจใหม่เป็นการสร้างรายได้หมุนเวียนเข้ามาและยืนยาวต่อไปถึงอนาคต
ซึ่งการบริหารของ จิรพงษ์ นั้นทุกวันนี้จะเป็นผู้วางแนวทาง ทิศทางธุรกิจ ขับเคลื่อนด้วยทีมเวิร์ค และมืออาชีพเฉพาะด้านที่จะเข้ามา
ทุกวันนี้ เขาบอกว่าไม่หยุดที่จะมีโปรเจ็คใหม่ๆ เข้ามาตลอด และไม่หยุดเพราะหยุดเท่ากับประมาทในชีวิต และฝันไว้คือธุรกิจอพาร์ทเม้นท์ คิดว่าคงไม่ไกลเกินเอื้อมกับฝันนี้ของผู้ชายที่เดินเกมชีวิตด้วยหารนำหลักเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ได้อย่างลงตัวกับการทำธุรกิจในปัจจุบัน