สินค้าเพื่อสุขภาพกำลังเป็นที่ต้องการของผู้บริโภคมากขึ้นเรื่อยๆ ผู้ประกอบการหลายรายจึงเห็นช่องทางที่จะพัฒนาสินค้าใหม่ๆ ขึ้นมาตอบสนองและสร้างทางเลือกต่างๆ "Veggie Rice" เกิดขึ้นมาเกาะกระแสห่วงใยสุขภาพ โดยสร้างความแตกต่างเป็นจุดขาย
นายชัยวุฒิ อาชวนิยุต ผู้จัดการฝ่ายการตลาด ห้างหุ้นส่วนจำกัด แล็ป วัลเล่ย์ กล่าวว่า ข้าวผสมผัก "Veggie Rice" เป็นสินค้าที่ทำตลาดมาประมาณ 1 ปี จุดเด่นของข้าวผสมผักคือการทำให้ผู้บริโภคมีทางเลือกใหม่ ซึ่งการนำแครอทมาเป็นสินค้าตัวแรก เนื่องจากมองว่าความนิยมของตลาดมีอยู่สูงสอดรับไปกับกระแสของสินค้าอื่นๆ ที่มีจุดขายเรื่องสุขภาพและนำแครอทไปเป็นส่วนประกอบ รวมทั้งสีสัน รสชาติ และกลิ่นซึ่งทานง่ายเหมาะสำหรับการเปิดตัวเริ่มแรก ทำให้เกิดการยอมรับและเกิดการทดลองได้ง่าย ประกอบกับคุณภาพการผลิตที่ได้มาตรฐาน และความสะดวกในการปรุงเพราะไม่จำเป็นต้องซาวข้าวก่อนหุงและใช้เวลารวดเร็วทั้งประหยัดเวลาและพลังงาน

ในส่วนของสินค้าใหม่ที่กำลังจะออกมา 2 ตัว คือ ข้าวผสมผักใบเขียว และข้าวผสมกะหล่ำม่วง เพราะผักใบเขียวเป็นที่รับรู้ถึงประโยชน์ขณะที่กระแสการให้ความสำคัญกับคลอโรฟิลด์ซึ่งมีคุณสมบัติในการดูดสารพิษกำลังมาแรง และความต้องการสารอาหารให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย นอกจากนี้ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ซึ่งเป็นพันธมิตรด้านการผลิตมีโครงการวิจัยพันธุ์ข้าวใหม่ๆ ที่มีสารอาหารเพิ่มขึ้นอยู่ตลอด ซึ่งอนาคตน่าจะได้พันธุ์ข้าวที่ดีขึ้นกว่าพันธุ์ข้าวหอมมะลิที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน
สำหรับแนวทางการผลักดันสินค้าให้เติบโตมากขึ้นคือการออกบรรจุภัณฑ์ขนาดเล็ก 200 กรัม ในช่วงปีใหม่ซึ่งใช้เป็นทั้งของขวัญที่ดูดีและเหมาะสมกับราคา เพราะจัดทำแพคเกจจิ้งและตุ๊กตาช้างทำจากเศษไม้และบรรจุในกล่องผ้าไหมราคาประมาณ 100 กว่าบาท ช่วยให้ตลาดเติบโตเร็วขึ้น เพราะฉะนั้น จึงผลิตขนาด 200 กรัม ออกวางจำหน่ายเพิ่มเติมในช่องทางโมเดิร์นเทรดที่มีอยู่แล้ว เช่น โลตัส ฟู้ดแลนด์ ท๊อปส์ และกำลังเจรจากับรายอื่นๆ ทำให้เกิดการทดลองใช้ได้ง่ายขึ้น นอกเหนือจากขนาด 1 กิโลกรัมที่ผลิตขึ้นแต่แรกซึ่งจำหน่ายในราคา 99 บาท และมีเว็บไซต์ www.veggierice.com

ในแง่ของการแข่งขันมองว่าเป็นการช่วยสร้างตลาดให้สินค้านี้เป็นที่รู้จักของผู้บริโภคมากขึ้น ขณะที่เป้าหมายคือต้องการสร้างสินค้าที่สอดรับกับไลฟ์สไตล์ของคนรุ่นใหม่ซึ่งต้องใช้เวลาในชีวิตประจำวันอย่างเร่งรีบ ทำให้มีเวลาใส่ใจกับการรับประทานน้อยลง กลุ่มเป้าหมายคือกลุ่มคนทำงานที่ใส่ใจเรื่องสุขภาพ ซึ่งในระยะเริ่มแรกมุ่งเน้นการทำตลาดในประเทศให้แข็งแรงก่อนเพื่อปูพื้นฐาน แต่มองโอกาสที่จะขยายไปในประเทศแถบเอเชียซึ่งบริโภคข้าวด้วยเช่นกัน
นายชัยวุฒิ อาชวนิยุต ผู้จัดการฝ่ายการตลาด ห้างหุ้นส่วนจำกัด แล็ป วัลเล่ย์ กล่าวว่า ข้าวผสมผัก "Veggie Rice" เป็นสินค้าที่ทำตลาดมาประมาณ 1 ปี จุดเด่นของข้าวผสมผักคือการทำให้ผู้บริโภคมีทางเลือกใหม่ ซึ่งการนำแครอทมาเป็นสินค้าตัวแรก เนื่องจากมองว่าความนิยมของตลาดมีอยู่สูงสอดรับไปกับกระแสของสินค้าอื่นๆ ที่มีจุดขายเรื่องสุขภาพและนำแครอทไปเป็นส่วนประกอบ รวมทั้งสีสัน รสชาติ และกลิ่นซึ่งทานง่ายเหมาะสำหรับการเปิดตัวเริ่มแรก ทำให้เกิดการยอมรับและเกิดการทดลองได้ง่าย ประกอบกับคุณภาพการผลิตที่ได้มาตรฐาน และความสะดวกในการปรุงเพราะไม่จำเป็นต้องซาวข้าวก่อนหุงและใช้เวลารวดเร็วทั้งประหยัดเวลาและพลังงาน
ในส่วนของสินค้าใหม่ที่กำลังจะออกมา 2 ตัว คือ ข้าวผสมผักใบเขียว และข้าวผสมกะหล่ำม่วง เพราะผักใบเขียวเป็นที่รับรู้ถึงประโยชน์ขณะที่กระแสการให้ความสำคัญกับคลอโรฟิลด์ซึ่งมีคุณสมบัติในการดูดสารพิษกำลังมาแรง และความต้องการสารอาหารให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย นอกจากนี้ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ซึ่งเป็นพันธมิตรด้านการผลิตมีโครงการวิจัยพันธุ์ข้าวใหม่ๆ ที่มีสารอาหารเพิ่มขึ้นอยู่ตลอด ซึ่งอนาคตน่าจะได้พันธุ์ข้าวที่ดีขึ้นกว่าพันธุ์ข้าวหอมมะลิที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน
สำหรับแนวทางการผลักดันสินค้าให้เติบโตมากขึ้นคือการออกบรรจุภัณฑ์ขนาดเล็ก 200 กรัม ในช่วงปีใหม่ซึ่งใช้เป็นทั้งของขวัญที่ดูดีและเหมาะสมกับราคา เพราะจัดทำแพคเกจจิ้งและตุ๊กตาช้างทำจากเศษไม้และบรรจุในกล่องผ้าไหมราคาประมาณ 100 กว่าบาท ช่วยให้ตลาดเติบโตเร็วขึ้น เพราะฉะนั้น จึงผลิตขนาด 200 กรัม ออกวางจำหน่ายเพิ่มเติมในช่องทางโมเดิร์นเทรดที่มีอยู่แล้ว เช่น โลตัส ฟู้ดแลนด์ ท๊อปส์ และกำลังเจรจากับรายอื่นๆ ทำให้เกิดการทดลองใช้ได้ง่ายขึ้น นอกเหนือจากขนาด 1 กิโลกรัมที่ผลิตขึ้นแต่แรกซึ่งจำหน่ายในราคา 99 บาท และมีเว็บไซต์ www.veggierice.com
ในแง่ของการแข่งขันมองว่าเป็นการช่วยสร้างตลาดให้สินค้านี้เป็นที่รู้จักของผู้บริโภคมากขึ้น ขณะที่เป้าหมายคือต้องการสร้างสินค้าที่สอดรับกับไลฟ์สไตล์ของคนรุ่นใหม่ซึ่งต้องใช้เวลาในชีวิตประจำวันอย่างเร่งรีบ ทำให้มีเวลาใส่ใจกับการรับประทานน้อยลง กลุ่มเป้าหมายคือกลุ่มคนทำงานที่ใส่ใจเรื่องสุขภาพ ซึ่งในระยะเริ่มแรกมุ่งเน้นการทำตลาดในประเทศให้แข็งแรงก่อนเพื่อปูพื้นฐาน แต่มองโอกาสที่จะขยายไปในประเทศแถบเอเชียซึ่งบริโภคข้าวด้วยเช่นกัน