๐ เปิดประสบการณ์ 2 ทายาทธุรกิจ แนะหลักคิดผู้ประกอบการมือใหม่
๐ "โชค บูลกุล" เผยเส้นทางสานต่อธุรกิจ "ฟาร์มโชคชัย" สร้างประสบการณ์ประทับใจทุกขั้นตอบโจทย์ผู้บริโภค
๐ "ระรินทร์ อุทกะพันธ์" ผู้นำ "อมรินทร์พริ๊นติ้ง" เน้นเข้าถึงแก่น เพื่อก่อร่างฐานที่มั่นคง
๐ มองทะลุ "การให้" ช่วยยึดโยงธุรกิจอยู่รอดในสังคมกระแสใหม่ของโลก
เมื่อทายาทธุรกิจต้องมารับช่วงในสถานการณ์ที่แตกต่างกัน สิ่งท้าทายที่รออยู่แตกต่างกัน แต่ในที่สุดก็สามารถบรรลุผลสำเร็จ ระหว่าง 2 ตัวอย่าง “ฟาร์มโชคชัย” ที่ต้องการการพลิกฟื้นจากความพลาดพลั้ง กับ “อมรินทร์พริ๊นติ้ง” ซึ่งต้องการการสานต่อให้รุ่งโรจน์
การศึกษาหลักคิดและแนวทางของคนอื่น เป็นหนทางหนึ่งที่อาจจะทำให้ผู้ประกอบการหรือเจ้าของธุรกิจ “คิด” หรือนำไป “ประยุกต์” ใช้ให้เกิดผลดีกับธุรกิจของตนเองได้

๐ วิกฤตคือโอกาส
โชค บูลกุล กรรมการผู้จัดการ กลุ่มบริษัทฟาร์มโชคชัย บอกเล่าถึงความคิดและวิธีการสานสร้างโมเดลธุรกิจใหม่ของฟาร์มโชคชัยให้ก้าวมาถึงวันนี้ สิ่งสำคัญคือการคิดที่แตกต่าง ในอดีตฟาร์มโชคชัยเป็นแค่ ธุรกิจเกษตร แต่สิ่งที่เปลี่ยนแปลงไป คือ การเป็นธุรกิจเกษตรที่มีการใช้ความรู้มากขึ้น เป้าหมายในอนาคตของฟาร์มโชคชัย คือ การเป็นธุรกิจที่มีความรู้เพิ่มขึ้นนั่นเอง
สิ่งที่เกิดขึ้น คือ "การขายความรู้" สิ่งที่จะเห็น คือ การสร้างรายได้จากการขายความรู้มากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการขายธุรกิจเชิงบริการมากขึ้น หรือสินค้าอะไรก็ตามที่สะท้อนออกมาจากการใช้ความรู้มากขึ้น เช่น ไอศกรีมอื่ม...มิลค์ หรือ Umm…Milk มีที่มาตั้งแต่การปรับตัวในช่วงพลิกฟื้นวิกฤตธุรกิจ
เขาวัดความสำเร็จให้เห็นเป็นตัวเลขว่า ขณะที่จำนวนพนักงานยังเท่าเดิม ประมาณ 1 พันกว่าคน แต่มูลค่ารายได้และกำไรต่อหัวของธุรกิจเริ่มมีมากขึ้น หมายถึงความรู้ขององค์กรที่มีมากขึ้นนั่นเอง
สำหรับ "ผู้นำ" ที่ต้องเข้าไปบริหารจัดการธุรกิจในช่วงวิกฤต สิ่งสำคัญสิ่งหนึ่งที่ต้องรู้ คือ "การรู้จักใช้เงิน" ตามแนวทางของเขาการเข้ามาดูแลธุรกิจในช่วงวิกฤตแล้วเริ่มด้วยการลงทุนทันทีนั้นไม่ถูกต้อง สิ่งที่ควรทำ คือ ต้องเริ่มต้นที่ระบบจัดการ ต้องสร้างองค์กรให้รู้จักใช้เงิน รู้จักการออม จากนั้นจึงนำ "ความคิดสร้างสรรค์" และ "การประชาสัมพันธ์" ทำให้เกิด "ความต้องการของตลาด" แตกไลน์จากธุรกิจเกษตร สู่ธุรกิจท่องเที่ยว
แต่ความแตกต่างของฟาร์มโชคชัยอยู่ที่ การไม่นำเสนอในลักษณะของ Theme Park แต่เป็น Edutainment ซึ่งมีแนวคิดของการให้ความรู้พร้อมไปกับความสนุกสนาน ด้วยการเปิดโอกาสให้ลูกค้าได้รีดนมวัว ดูการผลิตไอศกรีม และนำไปสู่การขายไอศกรีม เป็นการสร้างประสบการณ์ของลูกค้าร่วมกับแบรนด์นั่นเอง
เขาเฉลยวิธีการที่ทำให้ "ฟาร์มโชคชัย" กลายเป็นประสบการณ์ดีๆ ที่น่าประทับใจของทุกคนที่ได้เข้าไปสัมผัส เป็นแนวคิดของการให้เข้าไปศึกษากิจกรรมในธุรกิจฟาร์มโชคชัย
"เชื่อหรือไม่ว่า การจัดการให้นักท่องเที่ยวได้รีดนมวัวต้องใช้วิธีการคิดและการวางแผนมาก เพราะภาพวัวนมของคนทั่วไปคือวัวสีขาวแต้มดำดูน่ารัก แต่ในความเป็นจริง วัวนมที่อยู่ในฟาร์มเกษตรกร ถ้าเห็นแล้วอาจจะไม่อยากกินนมอีกเลยก็ได้ เพราะทั้งมีกลิ่นไม่ชวนเข้าใกล้และดูสกปรก เพราะฉะนั้น ถ้าฟาร์มโชคชัยเอาวัวนมจริงๆ ที่เลี้ยงอยู่มาให้นักท่องเที่ยวทดลองรีดนม จะทำให้เขาไม่อยากกลับมาเที่ยวอีกเลย และเมื่อมาแล้วเอาไปเล่าต่อก็จะทำให้ไม่มีใครอยากมา"
สิ่งที่เขาทำ คือ การจัดการที่ "ดีเกินกว่ามาตรฐาน" ทำให้ "วัวในฟาร์ม" กลายเป็น "วัวการ์ตูน" ที่ได้เห็นกันในทีวีให้ได้ เมื่อประสบการณ์ที่ได้ "ดีเกินความคาดหมาย" กลายเป็นประสบการณ์ที่อยากจะเล่าปากต่อต่อ และเมื่อเห็นว่าดีเมื่อผลิตเป็นสินค้าอะไรออกมาก็ทำให้อยากซื้อติดมือกลับบ้าน
นี่คือการสร้างฐานธุรกิจ ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญ เพราะเป็น “เส้นแบ่ง” ที่ไม่ให้คนอื่นหรือคู่แข่งเข้ามาในธุรกิจนี้ได้ เพราะการจะทำได้อย่างนี้ต้องมีทีมบริหารที่มีประสิทธิภาพเหมือนที่ฟาร์มโชคชัยมี
ไม่ใช่แค่ประสบการณ์ที่ได้ร่วมมา แต่ยังเป็นประสบการณ์ที่ร่วมสร้าง
ล่าสุด อื่ม...มิ้ลค์ ก้าวไกลจากเมนูในร้านโชคชัยสเต๊กเฮ้าส์ เกิดเป็นสาขาแรกที่ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์ซึ่งเปิดบริการไปเมื่อปลายเดือนพฤศจิกายนนี้ และจะต่อไปที่สีลมคอมเพล็กซ์
สิ่งที่แตกต่างจากคู่แข่งก็คือ "อื่ม...มิ้ลค์" เป็นผลิตภัณฑ์นมที่เกิดขึ้นมาจากฝีมือของนักท่องเที่ยวที่เคยไปเที่ยวฟาร์มโชคชัยแล้วให้คำแนะนำสารพัดสารพัน แล้วนำมาประเมินจากความชอบของคนส่วนใหญ่ เพราะฉะนั้น ไอศกรีมที่ผลิตออกมาก็ตอบโจทย์ทางการค้าว่า นี่คือสิ่งที่ลูกค้าต้องการ
๐ ธุรกิจคือการแก้ปัญหา
สำหรับโชค การทำงานหรือการทำธุรกิจ คือ การแก้ปัญหาซึ่งต้องพบเจอทุกวัน และปัญหาที่มากที่สุดคือปัญหาด้านการแข่งขันกับปัญหาด้านบุคลากร ซึ่งวิธีที่เขาใช้ในการแก้ไขก็คือ การสื่อสารภายในองค์กร เพื่อสร้างความเข้าใจร่วมกัน
"เพราะในบริษัทมีคนหลากหลายประเภท ความคิดแตกต่างกัน นักการตลาดใช้เงินก่อนมีเงิน แต่นักบัญชีถ้าขาดเงินไปแค่สตางค์เดียวก็ไม่ได้ ประเด็นอยู่ที่ว่า เมื่อมีการถกกันจึงเป็นไปไม่ได้ที่จะทำให้ทุกคนเห็นด้วย สิ่งที่พยายามเน้นมาก คือ การสื่อสารภายในองค์กรอย่างเพียงพอ เพื่อให้เกิดความร่วมมือในการขับเคลื่อน ไม่เช่นนั้น จะยอมรับกันแค่ในที่ประชุม แต่พอออกนอกห้องไม่เห็นด้วยมากมาย นี่คือความสูญเสียทางธุรกิจ"
เมื่อสามารถทำให้คนที่มีความหลากหลายมาทำงานร่วมกันได้อย่างราบรื่น วิถีทางต่อมา คือ การตีโจทย์ภายนอก นั่นคือการตลาด โจทย์ที่ต้องแก้คือทำอย่างไรจึงจะมีส่วนแบ่งการตลาด ทำอย่างไรจึงจะไม่มีคู่แข่ง หรือทำอย่างไรจึงจะให้คู่แข่งตามไม่ทันหรือตามได้ยากขึ้น
โชคสรุปว่า ความพ่ายแพ้ในธุรกิจมีปัจจัยสำคัญ 2 ประการ คือ ปัจจัยแรก ปัญหาภายในที่จะทำให้แข่งขันกับภายนอกไม่ได้ กับปัจจัยที่สอง ภายในดี แต่ตีโจทย์ภายนอกไม่ออก
อย่างไรก็ตาม สำหรับธุรกิจฟาร์มโชคชัย ซึ่งเนื้อแท้คือธุรกิจเกษตร ในแง่ของการทำงานและค่าตอบแทนเรียกได้ว่า “เหนื่อยมากเงินน้อย” ทำให้ต้องเลือกสรรบุคลากรประเภทที่มี “อุดมการณ์พอสมควร” มาก่อน เพราะเชื่อว่าการพัฒนาความสามารถเป็นสิ่งที่ฝึกฝนกันได้ ในขณะเดียวกันก็สร้างบรรทัดฐานให้รู้ว่า แม้ธุรกิจนี้จะเหนื่อยมากเงินน้อย แต่ไม่มีคู่แข่ง ในขณะที่หลายธุรกิจอาจจะเหนื่อยน้อยเงินมาก แต่คู่แข่งมาก
เมื่อคัดเลือกคนที่จริงใจและภูมิใจกับฟาร์มโชคชัย ธุรกิจเกษตรซึ่งนำธุรกิจบริการมาร่วมด้วย ทำให้สิ่งที่นักท่องเที่ยวหรือลูกค้าได้รับเป็นเรื่องที่เรียกว่า "เกินความคาดหมาย" ซึ่งเป็นหลักเกณฑ์สำคัญและเป็นปรากฏการณ์ที่เกิดกับทุกอย่างที่ฟาร์มโชคชัยขาย
โชคยืนยันความสำเร็จว่า ในตอนที่มารับช่วงธุรกิจมีหนี้ประมาณ 500 ล้านบาท แต่ปัจจุบันมียอดรายได้ประมาณ 2,000 กว่าล้านบาท และในปีนี้ทำกำไรให้เติบโตได้ถึง 75% นอกจากนี้ ตลอดเวลา 15 ปี่ที่บริหารมาใช้เงินสดมาตลอด โดยไม่ได้มีการกู้มาเลย ในขณะที่ให้ค่าตอบแทนที่น่าพอใจกับพนักงาน
"เชื่อหรือไม่ว่า เครื่องคิดเลขหนึ่งเครื่องราคาพันหรือสองพันบาทก็ต้องเข้าประชุมบอร์ดบริหารให้ตัดสินใจ แต่เมื่อสถานภาพเปลี่ยนไปก็เปลี่ยนตามไป ข้อสำคัญอยู่ที่การใช้อย่างมีสติ"
เพราะฉะนั้น นโยบายหรือแนวทางจัดการด้านการเงิน เพื่อให้มีเงินเพียงพอสำหรับการใช้ในปีต่อไป ซึ่งหมายถึงความมั่นคงของธุรกิจ เมื่อได้กำไรมาในแต่ละปี จึงมีการแบ่งออกเป็น 4 ส่วน คือ 1.เตรียมเพื่อการเติบโตของค่าใช้จ่ายปีหน้าเพราะอัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้น 2.เพื่อการออม 3.เพื่อการลงทุน และ4.เพื่อเงินปันผล
"อย่างไรก็ตาม การกู้หรือการทำธุรกิจขนาดใหญ่ ไม่ใช่เรื่องเลวร้าย แต่อยู่ที่การรู้จักประมาณตนว่ามีศักยภาพแค่ไหนและไม่ได้เบียดเบียนใคร"
โชค แสดงความคิดเห็นในตอนท้ายว่า วันนี้กระแส "การให้" เกิดขึ้นระดับโลก เช่น วอเรน บัฟเฟต์ กับบิล เกตส์ มหาเศรษฐีร่ำรวยอันดับหนึ่งของโลก ยังลุกขึ้นมาบริจาคเงินมหาศาลเพื่อให้กับสังคม และเมื่อทุกอย่างในโลกวันนี้เปลี่ยนแปลงเร็ว น่ากลัวมาก ทำให้ยังไม่มีโอกาสย่อยข้อมูลที่ได้รับว่าเป็นคุณหรือโทษ แต่ถูกบังคับให้ต้องเปลี่ยนแปลงตามเทคโนโลยีที่เปลี่ยนไป เพราะฉะนั้น การให้จะทำให้สังคมอยู่ต่อไป ซึ่งแน่นอนว่าธุรกิจจึงจะอยู่ได้ด้วย
ถ้าไม่มี "วิกฤต" ในครั้งนั้น ก็อาจจะไม่เห็น "ความสำเร็จ" ของ "โชค บูลกุล" ได้รวดเร็วขนาดนี้ เพราะนั่นคือ "โอกาส" สำคัญที่ท้าทาย

๐ เติบโตแบบใยแมงมุม
ระริน อุทกะพันธุ์ กรรมการผู้จัดการสายธุรกิจสำนักพิมพ์ บริษัทอมรินทร์ พรินติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน) ชี้แนวทางของการเป็นผู้ประกอบการว่า สำหรับรายใหม่ซึ่งไม่มีประสบการณ์มาก่อนเลย สิ่งแรกที่ควรทำ คือ การเก็บเกี่ยวประสบการณ์ให้มาก เพื่อให้รู้ตัวเองและนำมาใช้เป็นการตั้งต้น
สำหรับที่มาของธุรกิจ 30 ปี ซึ่งเดิมเป็นธุรกิจสิ่งพิมพ์ ผลิตนิตยสาร 10 เล่ม เช่น บ้านและสวน แพรว ชีวจิต เนชั่นแนลจีโอกราฟฟิก และมีร้านนายอินทร์เป็นช่องทางจำหน่าย เปลี่ยนแนวทางมาเป็นผู้ผลิตคอนเท้นต์ เพราะสามารถนำเนื้อหาสาระที่มีมากมายนำเสนอในสื่อต่างๆ หลายรูปแบบ นอกจากนิตยสาร เช่น เว็บไซต์ งานแฟร์ ทัวร์ การฝึกอบรม และรายการโทรทัศน์
"สิ่งที่อยากบอกคือ ถ้าต้องการเติบโต ฐานต้องแน่น สำหรับการที่อมรินทร์เติบโตมาได้ถึงวันนี้ เพราะมีวัฒนธรรมองค์กรที่ค่อนข้างเข้มแข็ง และทิศทางชัดเจน ซึ่งแก่นความคิดหลักที่ใช้อยู่ คือ เราทำงานเพื่อความสุขความรุ่งโรจน์ของสังคม"
เธออธิบายแนวคิดต่อไปว่า เมื่อมีแก่นอยู่ในใจทำให้ตัดสินใจได้ถูกต้องว่าจะไปในทิศทางไหน ถ้าเปรียบการเติบโตเหมือน “ใยแมงมุม” จุดเริ่มคือต้องมีแก่นและต้องเริ่มจากความสำเร็จของแก่น แล้วขยายวงออกไป ซึ่งเมื่อมากจะเริ่มยวบยาบ แต่ใยแมงมุมสามารถต่อไปได้โดยการเชื่อมโยงกับจุดเก่า เพราะฉะนั้น การเติบโตของกลุ่มอมรินทร์จึงเติบโตจากแก่นออกไป เช่น การออกหนังสือใหม่ประมาณปีละ 250 ปก ซึ่งล่าสุดคือนิตยสาร Shape ที่ช่วยผู้หญิงดูแลเอาใจใส่ตัวเอง ให้สวยและแข็งแรง
เช่นเดียวกัน มักจะถูกมองว่า "การตลาด" เป็นเรื่องการใช้เงิน เพราะตลอด 20 ปีก่อนที่จะเข้ามารับช่วงดูแลธุรกิจ ความสำเร็จของธุรกิจไม่ได้เกิดจากการตลาด และการเป็นลูกเจ้าของกิจการเป็นแรงกดดันที่สูงมาก เพราะฉะนั้น จึงมีความเห็นไม่ต่างไปว่า ต้องมีการสื่อสารภายในองค์กรเป็นวิธีแก้ปัญหา
สำหรับหลักการที่นำพาให้เธอมาพบความสำเร็จ มาจากความเชื่อว่าความบังเอิญไม่มีในโลกนี้ ทุกสิ่งทุกอย่างที่มีในโลกเพราะทุกอย่างมารวมอยู่ในวันนั้น เพราะฉะนั้น สิ่งที่ทำในวันนี้คือการทำดีไปเรื่อยๆ และอยู่ด้วยการให้ ทั้งการให้โอกาสกับตัวเองเพื่อทำสิ่งใหม่ๆ และให้สิ่งดีๆ กับคนอื่น เพราะเป็นไปไม่ได้ที่จะพบแต่สถานการณ์ดีๆ
"ระริน อุทกะพันธุ์" ทายาทที่ต้องมารับช่วงกิจการ แม้จะมีแรงกดดันจาก "ความสำเร็จ" ที่มีการสร้างไว้แล้วจากรุ่นก่อน แต่ด้วยหลักคิดเชิงบวก สิ่งใหม่ๆ จึงเกิดขึ้นบนแนวทางของความยั่งยืน
๐ "โชค บูลกุล" เผยเส้นทางสานต่อธุรกิจ "ฟาร์มโชคชัย" สร้างประสบการณ์ประทับใจทุกขั้นตอบโจทย์ผู้บริโภค
๐ "ระรินทร์ อุทกะพันธ์" ผู้นำ "อมรินทร์พริ๊นติ้ง" เน้นเข้าถึงแก่น เพื่อก่อร่างฐานที่มั่นคง
๐ มองทะลุ "การให้" ช่วยยึดโยงธุรกิจอยู่รอดในสังคมกระแสใหม่ของโลก
เมื่อทายาทธุรกิจต้องมารับช่วงในสถานการณ์ที่แตกต่างกัน สิ่งท้าทายที่รออยู่แตกต่างกัน แต่ในที่สุดก็สามารถบรรลุผลสำเร็จ ระหว่าง 2 ตัวอย่าง “ฟาร์มโชคชัย” ที่ต้องการการพลิกฟื้นจากความพลาดพลั้ง กับ “อมรินทร์พริ๊นติ้ง” ซึ่งต้องการการสานต่อให้รุ่งโรจน์
การศึกษาหลักคิดและแนวทางของคนอื่น เป็นหนทางหนึ่งที่อาจจะทำให้ผู้ประกอบการหรือเจ้าของธุรกิจ “คิด” หรือนำไป “ประยุกต์” ใช้ให้เกิดผลดีกับธุรกิจของตนเองได้
๐ วิกฤตคือโอกาส
โชค บูลกุล กรรมการผู้จัดการ กลุ่มบริษัทฟาร์มโชคชัย บอกเล่าถึงความคิดและวิธีการสานสร้างโมเดลธุรกิจใหม่ของฟาร์มโชคชัยให้ก้าวมาถึงวันนี้ สิ่งสำคัญคือการคิดที่แตกต่าง ในอดีตฟาร์มโชคชัยเป็นแค่ ธุรกิจเกษตร แต่สิ่งที่เปลี่ยนแปลงไป คือ การเป็นธุรกิจเกษตรที่มีการใช้ความรู้มากขึ้น เป้าหมายในอนาคตของฟาร์มโชคชัย คือ การเป็นธุรกิจที่มีความรู้เพิ่มขึ้นนั่นเอง
สิ่งที่เกิดขึ้น คือ "การขายความรู้" สิ่งที่จะเห็น คือ การสร้างรายได้จากการขายความรู้มากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการขายธุรกิจเชิงบริการมากขึ้น หรือสินค้าอะไรก็ตามที่สะท้อนออกมาจากการใช้ความรู้มากขึ้น เช่น ไอศกรีมอื่ม...มิลค์ หรือ Umm…Milk มีที่มาตั้งแต่การปรับตัวในช่วงพลิกฟื้นวิกฤตธุรกิจ
เขาวัดความสำเร็จให้เห็นเป็นตัวเลขว่า ขณะที่จำนวนพนักงานยังเท่าเดิม ประมาณ 1 พันกว่าคน แต่มูลค่ารายได้และกำไรต่อหัวของธุรกิจเริ่มมีมากขึ้น หมายถึงความรู้ขององค์กรที่มีมากขึ้นนั่นเอง
สำหรับ "ผู้นำ" ที่ต้องเข้าไปบริหารจัดการธุรกิจในช่วงวิกฤต สิ่งสำคัญสิ่งหนึ่งที่ต้องรู้ คือ "การรู้จักใช้เงิน" ตามแนวทางของเขาการเข้ามาดูแลธุรกิจในช่วงวิกฤตแล้วเริ่มด้วยการลงทุนทันทีนั้นไม่ถูกต้อง สิ่งที่ควรทำ คือ ต้องเริ่มต้นที่ระบบจัดการ ต้องสร้างองค์กรให้รู้จักใช้เงิน รู้จักการออม จากนั้นจึงนำ "ความคิดสร้างสรรค์" และ "การประชาสัมพันธ์" ทำให้เกิด "ความต้องการของตลาด" แตกไลน์จากธุรกิจเกษตร สู่ธุรกิจท่องเที่ยว
แต่ความแตกต่างของฟาร์มโชคชัยอยู่ที่ การไม่นำเสนอในลักษณะของ Theme Park แต่เป็น Edutainment ซึ่งมีแนวคิดของการให้ความรู้พร้อมไปกับความสนุกสนาน ด้วยการเปิดโอกาสให้ลูกค้าได้รีดนมวัว ดูการผลิตไอศกรีม และนำไปสู่การขายไอศกรีม เป็นการสร้างประสบการณ์ของลูกค้าร่วมกับแบรนด์นั่นเอง
เขาเฉลยวิธีการที่ทำให้ "ฟาร์มโชคชัย" กลายเป็นประสบการณ์ดีๆ ที่น่าประทับใจของทุกคนที่ได้เข้าไปสัมผัส เป็นแนวคิดของการให้เข้าไปศึกษากิจกรรมในธุรกิจฟาร์มโชคชัย
"เชื่อหรือไม่ว่า การจัดการให้นักท่องเที่ยวได้รีดนมวัวต้องใช้วิธีการคิดและการวางแผนมาก เพราะภาพวัวนมของคนทั่วไปคือวัวสีขาวแต้มดำดูน่ารัก แต่ในความเป็นจริง วัวนมที่อยู่ในฟาร์มเกษตรกร ถ้าเห็นแล้วอาจจะไม่อยากกินนมอีกเลยก็ได้ เพราะทั้งมีกลิ่นไม่ชวนเข้าใกล้และดูสกปรก เพราะฉะนั้น ถ้าฟาร์มโชคชัยเอาวัวนมจริงๆ ที่เลี้ยงอยู่มาให้นักท่องเที่ยวทดลองรีดนม จะทำให้เขาไม่อยากกลับมาเที่ยวอีกเลย และเมื่อมาแล้วเอาไปเล่าต่อก็จะทำให้ไม่มีใครอยากมา"
สิ่งที่เขาทำ คือ การจัดการที่ "ดีเกินกว่ามาตรฐาน" ทำให้ "วัวในฟาร์ม" กลายเป็น "วัวการ์ตูน" ที่ได้เห็นกันในทีวีให้ได้ เมื่อประสบการณ์ที่ได้ "ดีเกินความคาดหมาย" กลายเป็นประสบการณ์ที่อยากจะเล่าปากต่อต่อ และเมื่อเห็นว่าดีเมื่อผลิตเป็นสินค้าอะไรออกมาก็ทำให้อยากซื้อติดมือกลับบ้าน
นี่คือการสร้างฐานธุรกิจ ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญ เพราะเป็น “เส้นแบ่ง” ที่ไม่ให้คนอื่นหรือคู่แข่งเข้ามาในธุรกิจนี้ได้ เพราะการจะทำได้อย่างนี้ต้องมีทีมบริหารที่มีประสิทธิภาพเหมือนที่ฟาร์มโชคชัยมี
ไม่ใช่แค่ประสบการณ์ที่ได้ร่วมมา แต่ยังเป็นประสบการณ์ที่ร่วมสร้าง
ล่าสุด อื่ม...มิ้ลค์ ก้าวไกลจากเมนูในร้านโชคชัยสเต๊กเฮ้าส์ เกิดเป็นสาขาแรกที่ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์ซึ่งเปิดบริการไปเมื่อปลายเดือนพฤศจิกายนนี้ และจะต่อไปที่สีลมคอมเพล็กซ์
สิ่งที่แตกต่างจากคู่แข่งก็คือ "อื่ม...มิ้ลค์" เป็นผลิตภัณฑ์นมที่เกิดขึ้นมาจากฝีมือของนักท่องเที่ยวที่เคยไปเที่ยวฟาร์มโชคชัยแล้วให้คำแนะนำสารพัดสารพัน แล้วนำมาประเมินจากความชอบของคนส่วนใหญ่ เพราะฉะนั้น ไอศกรีมที่ผลิตออกมาก็ตอบโจทย์ทางการค้าว่า นี่คือสิ่งที่ลูกค้าต้องการ
๐ ธุรกิจคือการแก้ปัญหา
สำหรับโชค การทำงานหรือการทำธุรกิจ คือ การแก้ปัญหาซึ่งต้องพบเจอทุกวัน และปัญหาที่มากที่สุดคือปัญหาด้านการแข่งขันกับปัญหาด้านบุคลากร ซึ่งวิธีที่เขาใช้ในการแก้ไขก็คือ การสื่อสารภายในองค์กร เพื่อสร้างความเข้าใจร่วมกัน
"เพราะในบริษัทมีคนหลากหลายประเภท ความคิดแตกต่างกัน นักการตลาดใช้เงินก่อนมีเงิน แต่นักบัญชีถ้าขาดเงินไปแค่สตางค์เดียวก็ไม่ได้ ประเด็นอยู่ที่ว่า เมื่อมีการถกกันจึงเป็นไปไม่ได้ที่จะทำให้ทุกคนเห็นด้วย สิ่งที่พยายามเน้นมาก คือ การสื่อสารภายในองค์กรอย่างเพียงพอ เพื่อให้เกิดความร่วมมือในการขับเคลื่อน ไม่เช่นนั้น จะยอมรับกันแค่ในที่ประชุม แต่พอออกนอกห้องไม่เห็นด้วยมากมาย นี่คือความสูญเสียทางธุรกิจ"
เมื่อสามารถทำให้คนที่มีความหลากหลายมาทำงานร่วมกันได้อย่างราบรื่น วิถีทางต่อมา คือ การตีโจทย์ภายนอก นั่นคือการตลาด โจทย์ที่ต้องแก้คือทำอย่างไรจึงจะมีส่วนแบ่งการตลาด ทำอย่างไรจึงจะไม่มีคู่แข่ง หรือทำอย่างไรจึงจะให้คู่แข่งตามไม่ทันหรือตามได้ยากขึ้น
โชคสรุปว่า ความพ่ายแพ้ในธุรกิจมีปัจจัยสำคัญ 2 ประการ คือ ปัจจัยแรก ปัญหาภายในที่จะทำให้แข่งขันกับภายนอกไม่ได้ กับปัจจัยที่สอง ภายในดี แต่ตีโจทย์ภายนอกไม่ออก
อย่างไรก็ตาม สำหรับธุรกิจฟาร์มโชคชัย ซึ่งเนื้อแท้คือธุรกิจเกษตร ในแง่ของการทำงานและค่าตอบแทนเรียกได้ว่า “เหนื่อยมากเงินน้อย” ทำให้ต้องเลือกสรรบุคลากรประเภทที่มี “อุดมการณ์พอสมควร” มาก่อน เพราะเชื่อว่าการพัฒนาความสามารถเป็นสิ่งที่ฝึกฝนกันได้ ในขณะเดียวกันก็สร้างบรรทัดฐานให้รู้ว่า แม้ธุรกิจนี้จะเหนื่อยมากเงินน้อย แต่ไม่มีคู่แข่ง ในขณะที่หลายธุรกิจอาจจะเหนื่อยน้อยเงินมาก แต่คู่แข่งมาก
เมื่อคัดเลือกคนที่จริงใจและภูมิใจกับฟาร์มโชคชัย ธุรกิจเกษตรซึ่งนำธุรกิจบริการมาร่วมด้วย ทำให้สิ่งที่นักท่องเที่ยวหรือลูกค้าได้รับเป็นเรื่องที่เรียกว่า "เกินความคาดหมาย" ซึ่งเป็นหลักเกณฑ์สำคัญและเป็นปรากฏการณ์ที่เกิดกับทุกอย่างที่ฟาร์มโชคชัยขาย
โชคยืนยันความสำเร็จว่า ในตอนที่มารับช่วงธุรกิจมีหนี้ประมาณ 500 ล้านบาท แต่ปัจจุบันมียอดรายได้ประมาณ 2,000 กว่าล้านบาท และในปีนี้ทำกำไรให้เติบโตได้ถึง 75% นอกจากนี้ ตลอดเวลา 15 ปี่ที่บริหารมาใช้เงินสดมาตลอด โดยไม่ได้มีการกู้มาเลย ในขณะที่ให้ค่าตอบแทนที่น่าพอใจกับพนักงาน
"เชื่อหรือไม่ว่า เครื่องคิดเลขหนึ่งเครื่องราคาพันหรือสองพันบาทก็ต้องเข้าประชุมบอร์ดบริหารให้ตัดสินใจ แต่เมื่อสถานภาพเปลี่ยนไปก็เปลี่ยนตามไป ข้อสำคัญอยู่ที่การใช้อย่างมีสติ"
เพราะฉะนั้น นโยบายหรือแนวทางจัดการด้านการเงิน เพื่อให้มีเงินเพียงพอสำหรับการใช้ในปีต่อไป ซึ่งหมายถึงความมั่นคงของธุรกิจ เมื่อได้กำไรมาในแต่ละปี จึงมีการแบ่งออกเป็น 4 ส่วน คือ 1.เตรียมเพื่อการเติบโตของค่าใช้จ่ายปีหน้าเพราะอัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้น 2.เพื่อการออม 3.เพื่อการลงทุน และ4.เพื่อเงินปันผล
"อย่างไรก็ตาม การกู้หรือการทำธุรกิจขนาดใหญ่ ไม่ใช่เรื่องเลวร้าย แต่อยู่ที่การรู้จักประมาณตนว่ามีศักยภาพแค่ไหนและไม่ได้เบียดเบียนใคร"
โชค แสดงความคิดเห็นในตอนท้ายว่า วันนี้กระแส "การให้" เกิดขึ้นระดับโลก เช่น วอเรน บัฟเฟต์ กับบิล เกตส์ มหาเศรษฐีร่ำรวยอันดับหนึ่งของโลก ยังลุกขึ้นมาบริจาคเงินมหาศาลเพื่อให้กับสังคม และเมื่อทุกอย่างในโลกวันนี้เปลี่ยนแปลงเร็ว น่ากลัวมาก ทำให้ยังไม่มีโอกาสย่อยข้อมูลที่ได้รับว่าเป็นคุณหรือโทษ แต่ถูกบังคับให้ต้องเปลี่ยนแปลงตามเทคโนโลยีที่เปลี่ยนไป เพราะฉะนั้น การให้จะทำให้สังคมอยู่ต่อไป ซึ่งแน่นอนว่าธุรกิจจึงจะอยู่ได้ด้วย
ถ้าไม่มี "วิกฤต" ในครั้งนั้น ก็อาจจะไม่เห็น "ความสำเร็จ" ของ "โชค บูลกุล" ได้รวดเร็วขนาดนี้ เพราะนั่นคือ "โอกาส" สำคัญที่ท้าทาย
๐ เติบโตแบบใยแมงมุม
ระริน อุทกะพันธุ์ กรรมการผู้จัดการสายธุรกิจสำนักพิมพ์ บริษัทอมรินทร์ พรินติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน) ชี้แนวทางของการเป็นผู้ประกอบการว่า สำหรับรายใหม่ซึ่งไม่มีประสบการณ์มาก่อนเลย สิ่งแรกที่ควรทำ คือ การเก็บเกี่ยวประสบการณ์ให้มาก เพื่อให้รู้ตัวเองและนำมาใช้เป็นการตั้งต้น
สำหรับที่มาของธุรกิจ 30 ปี ซึ่งเดิมเป็นธุรกิจสิ่งพิมพ์ ผลิตนิตยสาร 10 เล่ม เช่น บ้านและสวน แพรว ชีวจิต เนชั่นแนลจีโอกราฟฟิก และมีร้านนายอินทร์เป็นช่องทางจำหน่าย เปลี่ยนแนวทางมาเป็นผู้ผลิตคอนเท้นต์ เพราะสามารถนำเนื้อหาสาระที่มีมากมายนำเสนอในสื่อต่างๆ หลายรูปแบบ นอกจากนิตยสาร เช่น เว็บไซต์ งานแฟร์ ทัวร์ การฝึกอบรม และรายการโทรทัศน์
"สิ่งที่อยากบอกคือ ถ้าต้องการเติบโต ฐานต้องแน่น สำหรับการที่อมรินทร์เติบโตมาได้ถึงวันนี้ เพราะมีวัฒนธรรมองค์กรที่ค่อนข้างเข้มแข็ง และทิศทางชัดเจน ซึ่งแก่นความคิดหลักที่ใช้อยู่ คือ เราทำงานเพื่อความสุขความรุ่งโรจน์ของสังคม"
เธออธิบายแนวคิดต่อไปว่า เมื่อมีแก่นอยู่ในใจทำให้ตัดสินใจได้ถูกต้องว่าจะไปในทิศทางไหน ถ้าเปรียบการเติบโตเหมือน “ใยแมงมุม” จุดเริ่มคือต้องมีแก่นและต้องเริ่มจากความสำเร็จของแก่น แล้วขยายวงออกไป ซึ่งเมื่อมากจะเริ่มยวบยาบ แต่ใยแมงมุมสามารถต่อไปได้โดยการเชื่อมโยงกับจุดเก่า เพราะฉะนั้น การเติบโตของกลุ่มอมรินทร์จึงเติบโตจากแก่นออกไป เช่น การออกหนังสือใหม่ประมาณปีละ 250 ปก ซึ่งล่าสุดคือนิตยสาร Shape ที่ช่วยผู้หญิงดูแลเอาใจใส่ตัวเอง ให้สวยและแข็งแรง
เช่นเดียวกัน มักจะถูกมองว่า "การตลาด" เป็นเรื่องการใช้เงิน เพราะตลอด 20 ปีก่อนที่จะเข้ามารับช่วงดูแลธุรกิจ ความสำเร็จของธุรกิจไม่ได้เกิดจากการตลาด และการเป็นลูกเจ้าของกิจการเป็นแรงกดดันที่สูงมาก เพราะฉะนั้น จึงมีความเห็นไม่ต่างไปว่า ต้องมีการสื่อสารภายในองค์กรเป็นวิธีแก้ปัญหา
สำหรับหลักการที่นำพาให้เธอมาพบความสำเร็จ มาจากความเชื่อว่าความบังเอิญไม่มีในโลกนี้ ทุกสิ่งทุกอย่างที่มีในโลกเพราะทุกอย่างมารวมอยู่ในวันนั้น เพราะฉะนั้น สิ่งที่ทำในวันนี้คือการทำดีไปเรื่อยๆ และอยู่ด้วยการให้ ทั้งการให้โอกาสกับตัวเองเพื่อทำสิ่งใหม่ๆ และให้สิ่งดีๆ กับคนอื่น เพราะเป็นไปไม่ได้ที่จะพบแต่สถานการณ์ดีๆ
"ระริน อุทกะพันธุ์" ทายาทที่ต้องมารับช่วงกิจการ แม้จะมีแรงกดดันจาก "ความสำเร็จ" ที่มีการสร้างไว้แล้วจากรุ่นก่อน แต่ด้วยหลักคิดเชิงบวก สิ่งใหม่ๆ จึงเกิดขึ้นบนแนวทางของความยั่งยืน