ปัจจุบัน การเข้ามาของไอศกรีมอิตาเลี่ยนที่มีเพิ่มขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการนำเข้าและติดแบรนด์นอก หรือผู้ประกอบการไทยที่ไปเรียนรู้วิธีการและผลิตออกมาทำตลาด ได้สร้างสีสันในธุรกิจไอศกรีมพรีเมี่ยมให้จัดจ้านสะดุดตามากขึ้น
สำหรับผู้ประกอบการไทย ผู้สร้างแบรนด์ "Buono Gelato Italiano" ที่เรียนรู้เทคนิคการผลิตมาอย่างเชี่ยวชาญ และเป็นผู้บุกเบิกตลาดนี้ กำลังเดินหน้าไปในทิศทางที่น่าสนใจ

"แนวโน้มเราน่าจะเติบโตต่อไปได้ เป็นขนมหวานสำหรับคนที่ห่วงสุขภาพ เป็นทางเลือกของคนตะวันตกได้โดยไม่ลำบาก เราคิดว่าจะผลักดันด้วยการใช้จุดแข็งของผลไม้และพืชผลเกษตรของไทย จะทำให้โลกรับรู้ว่าเรามีของดีๆ อย่างนี้ในแบบที่เป็นสากลมากขึ้น เราต้องการเอาความเป็นไทยไปสู่สากล"
"ไอศกรีมข้าว ไฟเบอร์สูง เราเป็นอีกสีสันที่ทำให้ข้าวออร์แกนิกเกิดมูลค่าเพิ่ม เพราะเราใช้ข้าวปลายหักที่ขายไม่ได้ราคาดีเท่าข้าวเม็ดสวย แต่เราเอามาใช้ได้ และถ้าผลไม้ไทยเป็นออร์แกนิก เอามาใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิต ถ้าช่องทางดีๆ ส่งไปตลาดยุโรปกำลังตื่นเต้นต้องการมาก เป็นความตั้งใจอย่างสูงที่เราอยากจะช่วยผลักดันของไทย เพราะมีจุดเด่นทั้งรสชาติและความหลากหลายอยู่แล้ว" เชษฐา ศุภวราสุวัฒน์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท บัวโน่ (ประเทศไทย) จำกัด เจ้าของไอศกรีมสไตล์อิตาเลี่ยนแบรนด์ "บัวโน่ เจลาโต้ อิตาเลียโน่" (Buono Gelato Italiano) บอกถึงความตั้งใจและอนาคตของการขยายธุรกิจไอศกรีม หลังจากที่ทำธุรกิจมาแล้วประมาณ 4 ปีที่ผ่านมา
สำหรับจุดเด่นของบัวโน่ฯ คือ การนำกรรมวิธีการผลิตด้วยสูตรแบบอิตาเลี่ยนแท้มาใช้ ซึ่งมีไขมันต่ำ หวานน้อย แต่ยังคงความอร่อยด้วยเนื้อเนียน และสร้างความแตกต่างด้วยการนำผลไม้ไทยคุณภาพสูง และมีความเข้มข้นเพราะใช้ปริมาณมาก
นอกจากนี้ ปัจจุบันโรงงานผลิตยังได้รับการรับรองทั้ง GMP , HACCP และISO ทั้งที่เป็นของไทยและนานาชาติ ซึ่งหลังจากนี้ประมาณ 1-1 ปีครึ่ง เมื่อโรงงานใหม่พร้อม จะทำให้ขยายตลาดไปได้อีกกว้าง
"แม้เราจะเป็นไอศกรีมโฮมเมด เพราะเรารู้สึกเหมือนทำให้ครอบครัวรับประทาน ส่วนผสมเราต้องดี ต้องธรรมชาติ เยอะๆ อร่อยๆ แต่เมื่อเราผลิตมากต้องหาทางทำให้คุณภาพได้มาตรฐานโลก"
ในด้านการสร้างสรรค์ ทำทุกด้านมาตลอด ทั้งความแปลกใหม่และเอกลักษณ์โดดเด่น ให้ความสำคัญตั้งแต่แรก เมื่อ 4-5 ปีก่อน ในด้านตัวสินค้า ตอนนี้มีสูตรที่พัฒนาแล้ว 200 สูตร และยังมีสูตรใหม่ๆ พัฒนาเรื่อยๆ เช่น ไอศกรีมชุบชอคโกแลตเป็นลูกๆ ไอศกรีมผสมเหล้า ไอศกรีมข้าวเหนียวเปียกลำไย และไอศกรีมข้าวเจ้าหอมนิล หอมมาก เนื้อเหมือนข้าวเหนียว ทำเป็นรูปทรงเป็นเรขาคณิต เช่น สามเหลี่ยม กินกับไอศกรีมมะม่วงน้ำดอกไม้ หรือไอศกรีมทุเรียนหมอนทอง เหมือนกินข้าวเหนียวมะม่วงหรือข้าวเหนียวทุเรียนซึ่งลูกค้าชอบกินมาก

มีการนำเสนอแบบต่างๆ ทั้งรับประทานในร้านและกลับบ้าน เช่น ใส่จานหรือชามและตกแต่งสวยงาม ทำเป็นกระปุกเล็กๆ แยกรส หรือบรรจุภัณฑ์เก็บความเย็นได้นาน 4-5 ชั่วโมง ซึ่งเริ่มมาก่อนใคร สำหรับราคาสกู๊ปละ 45-50 บาท คิดว่าปัจจุบันคนไทยยอมจ่ายให้สินค้าคุณภาพ แต่ยอมรับว่าการหาตลาดเป็นเรื่องยากมาก
"รู้สึกว่า เราคิดไปเถอะ เหมือนเป็นอาร์แอนด์ดีให้คนอื่น ให้รายใหญ่ เขาดูเราทีเดียวเอาไปทำเป็นร้อยสาขา แต่เรามีแค่ 7 สาขา บางทีเราก็รู้สึกว่าเหนื่อยเกินไป อยากให้คนไทยช่วยกันกินไอศกรีมคุณภาพที่ทำด้วยคนไทย เพราะจะทำให้ในภาพรวมรายเล็กเกิดได้ง่าย ไม่อย่างนั้น ไม่มีทางเพราะจะไม่มีแรงสู้กับรายใหญ่"
๐ ก้าวสำคัญส่งออกญี่ปุ่น เปิดกว้างหาพันธมิตรรุกตลาด
เชษฐา บอกอีกว่า เมื่อรู้ตั้งแต่แรกว่าจะสู้ลำบาก จึงเน้นเรื่องคุณภาพมากที่สุดทำให้ลูกค้ามั่นใจได้ทุกอย่างว่าของดีจริง ซึ่งการส่งออกไปญี่ปุ่นได้เท่ากับเป็นการรับประกันคุณภาพของเรา เพราะใครๆ ก็รู้ว่าเขาเคร่งครัดแค่ไหน การส่งของกินเข้าไปในญี่ปุ่นต้องคุณภาพมาตรฐานสูงทุกด้าน โดยเฉพาะความสะอาด และการอยู่ในห้างชั้นนำ ใช้แบรนด์บัวโน่ฯ ไปแบบไอศกรีมซูเปอร์พรีเมี่ยมในกลุ่มสุขภาพ เพราะเป็นไอศกรีมซอร์เบผลไม้ไทย ซึ่งขณะนี้คนญี่ปุ่นเน้นเรื่องสุขภาพมาก
ในเดือนสิงหาคมนี้จะส่งออกไอศกรีมกลุ่มผลไม้ไทยไปญี่ปุ่นเป็นครั้งแรก เริ่ม 1 ตู้คอนเทนเนอร์ จากผู้นำเข้าชาวญี่ปุ่นซึ่งรู้จักบัวโน่ฯ จากคำบอกเล่าของคนญี่ปุ่นในเมืองไทย นอกจากนี้ ในเดือนกันยายนจะเริ่มเข้าไปวางจำหน่ายในซูเปอร์มาเก็ตของห้างดังในเมืองไทย เพราะเห็นว่าน่าจะทำให้ได้กลุ่มลูกค้าใหม่เพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นช่องทางใหม่จากเดิมที่เป็นร้านสแตนอะโลน
"รู้สึกว่าเราเป็นผู้ประกอบการเล็กๆ แต่ก็ภูมิใจมากที่ทำมาได้ถึงตรงนี้" เชษฐา กล่าวอย่างมีความหวัง
ส่วนเป้าหมายการส่งออกไปต่างประเทศต่อจากนี้ จะเน้นแถบเอเชียก่อน เริ่มแรกน่าจะเป็น สิงคโปร์ มาเลเซีย และอินโดนีเซีย เพราะอยู่ไม่ไกลจากประเทศไทยเกินไป โดยจะเน้นรสผลไม้ไทยและวัตถุดิบจากไทย ซึ่งเป็นจุดเด่นที่ไม่มีใครเหมือนและมีมากมาย นอกจากผลไม้ที่รู้จักกันดี เช่น ทุเรียน ยังมีพืชผักที่เป็นสมุนไพร เช่น กระเจี๊ยบ ที่ช่วยลดไขมันในเลือด เพราะกลุ่มไอศกรีมนมแข่งขันสูงอย่างแน่นอน
สำหรับการขยายตลาด ขณะนี้บัวโน่ฯ กำลังเปิดกว้างหาพันธมิตรเพื่อเพิ่มช่องทางจำหน่าย ซึ่งเชื่อว่าส่วนหนึ่งของพันธมิตรที่ให้ความเชื่อมั่นมาจากการเห็นความมุ่งมั่นตั้งใจในการผลิต การรักษาคุณภาพมาตรฐานและยังเน้นการพัฒนาไม่หยุด รวมทั้งความคิดสร้างสรรค์ใหม่ๆ
"ทุกกระบวนการ ต้นทุนสูงมาก ตั้งแต่น้ำที่ใช้จนถึงการจัดการหน้าร้าน แต่การขยายด้วยร้านสาขามีการจัดการยาก เพราะฉะนั้น เราต้องรับจ้างผลิต เพราะยังต้องการวอลุ่มเพื่อทำให้เราเติบโต ทำให้ตลาดขยายได้กว้างขึ้น ทำให้มีพลังต่อรอง และบริษัทต้องเติบโตเพราะพนักงานต้องเติบโต"
"เรารู้ว่าทุกคนที่ซื้อเรา ต้องการสร้างแบรนด์ด้วยเหมือนกัน ซึ่งเราไม่ห่วง เพราะถ้าเขาขายดี เราก็ขายดีด้วย เป็นเรื่องที่ดี เมื่อคุณพลภัทร (ลีนุตพงษ์) มาบอกเราว่าจะช่วยทำตลาด เราก็คุยกันกว้างๆ ในเบื้องต้น ยังไม่มีเงื่อนไขอะไรกันชัดเจน แต่เราคุยง่าย และเราเปิดกว้างให้คนที่ตั้งใจจะมาช่วยกัน"
เชษฐา กล่าวในตอนท้ายว่า อย่างไรก็ตาม เป้าหมายสูงสุดของบัวโน่ฯ อยากไปทั่วโลก ถ้าภาครัฐสามารถชี้แนะให้ได้พบผู้นำเข้าที่ดีจะช่วยเราได้มาก
๐ ทายาทยนตรกิจ คิดหาประสบการณ์ใหม่
พลภัทร ลีนุตพงษ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ยูโรเปี้ยน ออโตโมบิลส์ จำกัด ทายาทของกลุ่มยนตรกิจ ผู้นำเข้ารถยนต์รายใหญ่ เช่น เปอร์โยต์ ออดี้ ซีตรอง และโฟล์ค เป็นต้น เปิดเผยว่า ได้ร่วมกับเพื่อน 2 คน คนหนึ่งเป็นนักบินและอีกคนทำธุรกิจอาหาร ก่อตั้งบริษัท สยาม อัลติเมท โปรดักต์ จำกัด เพราะมีความคิดที่จะทำธุรกิจเล็กๆ ร่วมกันเพื่อหาประสบการณ์ใหม่ๆ และสรุปกันได้ว่าจะทำธุรกิจไอศกรีม และมีบัวโน่ฯ เป็นพันธมิตร

"บัวโน่ฯ เป็นซัพพลายเออร์ที่แฟร์ เขามีความยืดหยุ่นมากในการทำธุรกิจ จุดแข็งที่เขามี คือโรงงานผลิตซึ่งสามารถปรับเปลี่ยนรสชาติตามที่ต้องการได้ตลอดเวลา และเป็นสินค้าที่มีคุณภาพดี ส่วนเรามีจุดแข็งที่ความอดทน และตั้งใจจะทำให้ดี เราทำหน้าที่เป็นตัวกลางของธุรกิจระหว่างซัพพลายเออร์กับร้านค้า เพราะเจ้าของบัวโน่ฯ ต้องการให้คนมาช่วยขยายตลาด แต่เขาก็สามารถให้คนอื่นทำอย่างเราได้ มันก็ขึ้นอยู่กับว่าเราจะเร็วแค่ไหนที่จะจับคู่ให้ และเราบริหารระหว่างสองฝ่าย"
เป้าหมายหลักตอนนี้คือ การเข้าไปอยู่ในร้านรอยัลสวัสดี ของบริษัท อุตสาหกรรมขนมไทย จำกัด ซึ่งมีแผนจะเข้าไปเปิดร้านในสนามบินสุวรรณภูมิ มีการพูดคุยกันนานแล้วแต่ก็มองความเสี่ยงไว้ด้วย แต่คิดว่าคงจะไม่เกินเดือนกุมภาพันธ์ปีหน้าสนามบินสุวรรณภูมิต้องเสร็จสมบูรณ์แน่ จึงคิดว่ายังมีโอกาส และให้เวลา เพราะไม่ได้เร่งอะไร และการลงทุนก็ไม่สูงมาก แต่เตรียมความพร้อมไว้แล้ว
"ที่คุยกันไว้เราจะใช้ชื่อสวัสดี แต่อาจจะมีคำว่า บายเอสยูพี (by sup) ซึ่งเป็นชื่อย่อของผมกับเพื่อนๆ บังเอิญตรงกับตัวย่อของชื่อบริษัท เราอยากจะสร้างแบรนด์ของเราเองด้วยถือว่าเป็นภาพลักษณ์ของเราด้วย เพราะเราไม่จำเป็นต้องใช้ชื่อบัวโน่ก็ได้"
พลภัทร มองว่า โอกาสที่จะขยายธุรกิจนี้มีมาก เพราะในตลาดไอศกรีมระดับเดียวกันมีแค่ 4 แบรนด์ คือ สเวนเซ่นส์ ไอเบอร์รี่ บัวโน่ และบาสกิ้นรอบบิ้นส์ ซึ่งช่องทางอื่นๆ ที่น่าสนใจจะไปขยายตลาด คือ ธุรกิจบริการทั้งหลาย เช่น ธนาคาร ร้านทำผม และตัวแทนจำหน่ายรถ
"ส่วนที่มีคนพูดว่าจากเพื่อนแล้วมาเป็นหุ้นส่วนกันเดี๋ยวจะเสียเพื่อนเพราะทะเลาะกัน แต่เรามีวิธีการว่าเราตกลงหลักการเดียวกันเข้าใจว่าทุกคนต้องการอะไร แต่มีการแบ่งหน้าที่ชัดเจน สิ่งสำคัญ คือ เราต้องบริหารแบบละเอียดถี่ถ้วนและชัดเจน โดยเฉพาะเรื่องการเงินเพื่อจะให้ทุกคนสบายใจ"
เท่าที่ตั้งใจธุรกิจที่คิดจะทำเองของพลภัทรแลเพื่อนที่ร่วมกันในครั้งนี้จะเป็นธุรกิจเล็กๆ ทั้งหมด น่าจะมีประมาณ 3-4 ธุรกิจ เพื่อว่าจะได้มีเวลาดูแลไม่ให้เกิดความเสียหายทั้งสองงาน
สำหรับผู้ประกอบการไทย ผู้สร้างแบรนด์ "Buono Gelato Italiano" ที่เรียนรู้เทคนิคการผลิตมาอย่างเชี่ยวชาญ และเป็นผู้บุกเบิกตลาดนี้ กำลังเดินหน้าไปในทิศทางที่น่าสนใจ
"แนวโน้มเราน่าจะเติบโตต่อไปได้ เป็นขนมหวานสำหรับคนที่ห่วงสุขภาพ เป็นทางเลือกของคนตะวันตกได้โดยไม่ลำบาก เราคิดว่าจะผลักดันด้วยการใช้จุดแข็งของผลไม้และพืชผลเกษตรของไทย จะทำให้โลกรับรู้ว่าเรามีของดีๆ อย่างนี้ในแบบที่เป็นสากลมากขึ้น เราต้องการเอาความเป็นไทยไปสู่สากล"
"ไอศกรีมข้าว ไฟเบอร์สูง เราเป็นอีกสีสันที่ทำให้ข้าวออร์แกนิกเกิดมูลค่าเพิ่ม เพราะเราใช้ข้าวปลายหักที่ขายไม่ได้ราคาดีเท่าข้าวเม็ดสวย แต่เราเอามาใช้ได้ และถ้าผลไม้ไทยเป็นออร์แกนิก เอามาใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิต ถ้าช่องทางดีๆ ส่งไปตลาดยุโรปกำลังตื่นเต้นต้องการมาก เป็นความตั้งใจอย่างสูงที่เราอยากจะช่วยผลักดันของไทย เพราะมีจุดเด่นทั้งรสชาติและความหลากหลายอยู่แล้ว" เชษฐา ศุภวราสุวัฒน์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท บัวโน่ (ประเทศไทย) จำกัด เจ้าของไอศกรีมสไตล์อิตาเลี่ยนแบรนด์ "บัวโน่ เจลาโต้ อิตาเลียโน่" (Buono Gelato Italiano) บอกถึงความตั้งใจและอนาคตของการขยายธุรกิจไอศกรีม หลังจากที่ทำธุรกิจมาแล้วประมาณ 4 ปีที่ผ่านมา
สำหรับจุดเด่นของบัวโน่ฯ คือ การนำกรรมวิธีการผลิตด้วยสูตรแบบอิตาเลี่ยนแท้มาใช้ ซึ่งมีไขมันต่ำ หวานน้อย แต่ยังคงความอร่อยด้วยเนื้อเนียน และสร้างความแตกต่างด้วยการนำผลไม้ไทยคุณภาพสูง และมีความเข้มข้นเพราะใช้ปริมาณมาก
นอกจากนี้ ปัจจุบันโรงงานผลิตยังได้รับการรับรองทั้ง GMP , HACCP และISO ทั้งที่เป็นของไทยและนานาชาติ ซึ่งหลังจากนี้ประมาณ 1-1 ปีครึ่ง เมื่อโรงงานใหม่พร้อม จะทำให้ขยายตลาดไปได้อีกกว้าง
"แม้เราจะเป็นไอศกรีมโฮมเมด เพราะเรารู้สึกเหมือนทำให้ครอบครัวรับประทาน ส่วนผสมเราต้องดี ต้องธรรมชาติ เยอะๆ อร่อยๆ แต่เมื่อเราผลิตมากต้องหาทางทำให้คุณภาพได้มาตรฐานโลก"
ในด้านการสร้างสรรค์ ทำทุกด้านมาตลอด ทั้งความแปลกใหม่และเอกลักษณ์โดดเด่น ให้ความสำคัญตั้งแต่แรก เมื่อ 4-5 ปีก่อน ในด้านตัวสินค้า ตอนนี้มีสูตรที่พัฒนาแล้ว 200 สูตร และยังมีสูตรใหม่ๆ พัฒนาเรื่อยๆ เช่น ไอศกรีมชุบชอคโกแลตเป็นลูกๆ ไอศกรีมผสมเหล้า ไอศกรีมข้าวเหนียวเปียกลำไย และไอศกรีมข้าวเจ้าหอมนิล หอมมาก เนื้อเหมือนข้าวเหนียว ทำเป็นรูปทรงเป็นเรขาคณิต เช่น สามเหลี่ยม กินกับไอศกรีมมะม่วงน้ำดอกไม้ หรือไอศกรีมทุเรียนหมอนทอง เหมือนกินข้าวเหนียวมะม่วงหรือข้าวเหนียวทุเรียนซึ่งลูกค้าชอบกินมาก
มีการนำเสนอแบบต่างๆ ทั้งรับประทานในร้านและกลับบ้าน เช่น ใส่จานหรือชามและตกแต่งสวยงาม ทำเป็นกระปุกเล็กๆ แยกรส หรือบรรจุภัณฑ์เก็บความเย็นได้นาน 4-5 ชั่วโมง ซึ่งเริ่มมาก่อนใคร สำหรับราคาสกู๊ปละ 45-50 บาท คิดว่าปัจจุบันคนไทยยอมจ่ายให้สินค้าคุณภาพ แต่ยอมรับว่าการหาตลาดเป็นเรื่องยากมาก
"รู้สึกว่า เราคิดไปเถอะ เหมือนเป็นอาร์แอนด์ดีให้คนอื่น ให้รายใหญ่ เขาดูเราทีเดียวเอาไปทำเป็นร้อยสาขา แต่เรามีแค่ 7 สาขา บางทีเราก็รู้สึกว่าเหนื่อยเกินไป อยากให้คนไทยช่วยกันกินไอศกรีมคุณภาพที่ทำด้วยคนไทย เพราะจะทำให้ในภาพรวมรายเล็กเกิดได้ง่าย ไม่อย่างนั้น ไม่มีทางเพราะจะไม่มีแรงสู้กับรายใหญ่"
๐ ก้าวสำคัญส่งออกญี่ปุ่น เปิดกว้างหาพันธมิตรรุกตลาด
เชษฐา บอกอีกว่า เมื่อรู้ตั้งแต่แรกว่าจะสู้ลำบาก จึงเน้นเรื่องคุณภาพมากที่สุดทำให้ลูกค้ามั่นใจได้ทุกอย่างว่าของดีจริง ซึ่งการส่งออกไปญี่ปุ่นได้เท่ากับเป็นการรับประกันคุณภาพของเรา เพราะใครๆ ก็รู้ว่าเขาเคร่งครัดแค่ไหน การส่งของกินเข้าไปในญี่ปุ่นต้องคุณภาพมาตรฐานสูงทุกด้าน โดยเฉพาะความสะอาด และการอยู่ในห้างชั้นนำ ใช้แบรนด์บัวโน่ฯ ไปแบบไอศกรีมซูเปอร์พรีเมี่ยมในกลุ่มสุขภาพ เพราะเป็นไอศกรีมซอร์เบผลไม้ไทย ซึ่งขณะนี้คนญี่ปุ่นเน้นเรื่องสุขภาพมาก
ในเดือนสิงหาคมนี้จะส่งออกไอศกรีมกลุ่มผลไม้ไทยไปญี่ปุ่นเป็นครั้งแรก เริ่ม 1 ตู้คอนเทนเนอร์ จากผู้นำเข้าชาวญี่ปุ่นซึ่งรู้จักบัวโน่ฯ จากคำบอกเล่าของคนญี่ปุ่นในเมืองไทย นอกจากนี้ ในเดือนกันยายนจะเริ่มเข้าไปวางจำหน่ายในซูเปอร์มาเก็ตของห้างดังในเมืองไทย เพราะเห็นว่าน่าจะทำให้ได้กลุ่มลูกค้าใหม่เพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นช่องทางใหม่จากเดิมที่เป็นร้านสแตนอะโลน
"รู้สึกว่าเราเป็นผู้ประกอบการเล็กๆ แต่ก็ภูมิใจมากที่ทำมาได้ถึงตรงนี้" เชษฐา กล่าวอย่างมีความหวัง
ส่วนเป้าหมายการส่งออกไปต่างประเทศต่อจากนี้ จะเน้นแถบเอเชียก่อน เริ่มแรกน่าจะเป็น สิงคโปร์ มาเลเซีย และอินโดนีเซีย เพราะอยู่ไม่ไกลจากประเทศไทยเกินไป โดยจะเน้นรสผลไม้ไทยและวัตถุดิบจากไทย ซึ่งเป็นจุดเด่นที่ไม่มีใครเหมือนและมีมากมาย นอกจากผลไม้ที่รู้จักกันดี เช่น ทุเรียน ยังมีพืชผักที่เป็นสมุนไพร เช่น กระเจี๊ยบ ที่ช่วยลดไขมันในเลือด เพราะกลุ่มไอศกรีมนมแข่งขันสูงอย่างแน่นอน
สำหรับการขยายตลาด ขณะนี้บัวโน่ฯ กำลังเปิดกว้างหาพันธมิตรเพื่อเพิ่มช่องทางจำหน่าย ซึ่งเชื่อว่าส่วนหนึ่งของพันธมิตรที่ให้ความเชื่อมั่นมาจากการเห็นความมุ่งมั่นตั้งใจในการผลิต การรักษาคุณภาพมาตรฐานและยังเน้นการพัฒนาไม่หยุด รวมทั้งความคิดสร้างสรรค์ใหม่ๆ
"ทุกกระบวนการ ต้นทุนสูงมาก ตั้งแต่น้ำที่ใช้จนถึงการจัดการหน้าร้าน แต่การขยายด้วยร้านสาขามีการจัดการยาก เพราะฉะนั้น เราต้องรับจ้างผลิต เพราะยังต้องการวอลุ่มเพื่อทำให้เราเติบโต ทำให้ตลาดขยายได้กว้างขึ้น ทำให้มีพลังต่อรอง และบริษัทต้องเติบโตเพราะพนักงานต้องเติบโต"
"เรารู้ว่าทุกคนที่ซื้อเรา ต้องการสร้างแบรนด์ด้วยเหมือนกัน ซึ่งเราไม่ห่วง เพราะถ้าเขาขายดี เราก็ขายดีด้วย เป็นเรื่องที่ดี เมื่อคุณพลภัทร (ลีนุตพงษ์) มาบอกเราว่าจะช่วยทำตลาด เราก็คุยกันกว้างๆ ในเบื้องต้น ยังไม่มีเงื่อนไขอะไรกันชัดเจน แต่เราคุยง่าย และเราเปิดกว้างให้คนที่ตั้งใจจะมาช่วยกัน"
เชษฐา กล่าวในตอนท้ายว่า อย่างไรก็ตาม เป้าหมายสูงสุดของบัวโน่ฯ อยากไปทั่วโลก ถ้าภาครัฐสามารถชี้แนะให้ได้พบผู้นำเข้าที่ดีจะช่วยเราได้มาก
๐ ทายาทยนตรกิจ คิดหาประสบการณ์ใหม่
พลภัทร ลีนุตพงษ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ยูโรเปี้ยน ออโตโมบิลส์ จำกัด ทายาทของกลุ่มยนตรกิจ ผู้นำเข้ารถยนต์รายใหญ่ เช่น เปอร์โยต์ ออดี้ ซีตรอง และโฟล์ค เป็นต้น เปิดเผยว่า ได้ร่วมกับเพื่อน 2 คน คนหนึ่งเป็นนักบินและอีกคนทำธุรกิจอาหาร ก่อตั้งบริษัท สยาม อัลติเมท โปรดักต์ จำกัด เพราะมีความคิดที่จะทำธุรกิจเล็กๆ ร่วมกันเพื่อหาประสบการณ์ใหม่ๆ และสรุปกันได้ว่าจะทำธุรกิจไอศกรีม และมีบัวโน่ฯ เป็นพันธมิตร
"บัวโน่ฯ เป็นซัพพลายเออร์ที่แฟร์ เขามีความยืดหยุ่นมากในการทำธุรกิจ จุดแข็งที่เขามี คือโรงงานผลิตซึ่งสามารถปรับเปลี่ยนรสชาติตามที่ต้องการได้ตลอดเวลา และเป็นสินค้าที่มีคุณภาพดี ส่วนเรามีจุดแข็งที่ความอดทน และตั้งใจจะทำให้ดี เราทำหน้าที่เป็นตัวกลางของธุรกิจระหว่างซัพพลายเออร์กับร้านค้า เพราะเจ้าของบัวโน่ฯ ต้องการให้คนมาช่วยขยายตลาด แต่เขาก็สามารถให้คนอื่นทำอย่างเราได้ มันก็ขึ้นอยู่กับว่าเราจะเร็วแค่ไหนที่จะจับคู่ให้ และเราบริหารระหว่างสองฝ่าย"
เป้าหมายหลักตอนนี้คือ การเข้าไปอยู่ในร้านรอยัลสวัสดี ของบริษัท อุตสาหกรรมขนมไทย จำกัด ซึ่งมีแผนจะเข้าไปเปิดร้านในสนามบินสุวรรณภูมิ มีการพูดคุยกันนานแล้วแต่ก็มองความเสี่ยงไว้ด้วย แต่คิดว่าคงจะไม่เกินเดือนกุมภาพันธ์ปีหน้าสนามบินสุวรรณภูมิต้องเสร็จสมบูรณ์แน่ จึงคิดว่ายังมีโอกาส และให้เวลา เพราะไม่ได้เร่งอะไร และการลงทุนก็ไม่สูงมาก แต่เตรียมความพร้อมไว้แล้ว
"ที่คุยกันไว้เราจะใช้ชื่อสวัสดี แต่อาจจะมีคำว่า บายเอสยูพี (by sup) ซึ่งเป็นชื่อย่อของผมกับเพื่อนๆ บังเอิญตรงกับตัวย่อของชื่อบริษัท เราอยากจะสร้างแบรนด์ของเราเองด้วยถือว่าเป็นภาพลักษณ์ของเราด้วย เพราะเราไม่จำเป็นต้องใช้ชื่อบัวโน่ก็ได้"
พลภัทร มองว่า โอกาสที่จะขยายธุรกิจนี้มีมาก เพราะในตลาดไอศกรีมระดับเดียวกันมีแค่ 4 แบรนด์ คือ สเวนเซ่นส์ ไอเบอร์รี่ บัวโน่ และบาสกิ้นรอบบิ้นส์ ซึ่งช่องทางอื่นๆ ที่น่าสนใจจะไปขยายตลาด คือ ธุรกิจบริการทั้งหลาย เช่น ธนาคาร ร้านทำผม และตัวแทนจำหน่ายรถ
"ส่วนที่มีคนพูดว่าจากเพื่อนแล้วมาเป็นหุ้นส่วนกันเดี๋ยวจะเสียเพื่อนเพราะทะเลาะกัน แต่เรามีวิธีการว่าเราตกลงหลักการเดียวกันเข้าใจว่าทุกคนต้องการอะไร แต่มีการแบ่งหน้าที่ชัดเจน สิ่งสำคัญ คือ เราต้องบริหารแบบละเอียดถี่ถ้วนและชัดเจน โดยเฉพาะเรื่องการเงินเพื่อจะให้ทุกคนสบายใจ"
เท่าที่ตั้งใจธุรกิจที่คิดจะทำเองของพลภัทรแลเพื่อนที่ร่วมกันในครั้งนี้จะเป็นธุรกิจเล็กๆ ทั้งหมด น่าจะมีประมาณ 3-4 ธุรกิจ เพื่อว่าจะได้มีเวลาดูแลไม่ให้เกิดความเสียหายทั้งสองงาน