ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) ร่วมกับบริษัท แฟคเตอริ่งกสิกรไทย ออกบริการสินเชื่อเอสเอ็มอีเพื่อธุรกิจส่งออกให้บริการผู้ส่งออกครบวงจร ตั้งเป้ามียอดธุรกรรมลูกค้า 6,000 ล้านบาท โดยไม่ต้องมีหลักทรัพย์ค้ำประกัน เพื่อช่วยเอสเอ็มอีด้านการตลาด ใหม่ โดยไม่มีความเสี่ยง
นายชาติชาย สุนทรเกียรติ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย กล่าวว่า ธนาคารกสิกรไทยได้ออกบริการสินเชื่อเอสเอ็มอีเพื่อธุรกิจส่งออก (K-Export Credit & Guarantee) เป็นบริการร่วมกับบริษัท แฟคเตอริ่งกสิกรไทย เพื่อสนับสนุนเอสเอ็มอีที่เป็นผู้ส่งออกอย่างครบวงจร ทั้งวงเงินสินเชื่อ การค้ำประกันการชำระหนี้ของผู้ซื้อ และการเรียกเก็บหนี้ในต่างประเทศ โดยไม่มีความเสี่ยงในการทำธุรกิจ โดยธนาคารกสิกรไทย จะสนับสนุนสินเชื่อระยะสั้นในรูปแบบตั๋วสัญญาใช้เงิน (P/N) แก่ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีเพื่อเป็นเงินทุนหมุนเวียนหลังการส่งออกและอยู่ระหว่างการรอเรียกเก็บเงินจากต่างประเทศ
โดยไม่ต้องใช้หลักทรัพย์ค้ำประกัน คิดอัตราดอกเบี้ยลูกค้าเบิกเกินบัญชี (MOR) – 2 ถึง MOR+ 1.75 ต่อปี สามารถกู้ได้สูงสุดถึงร้อยละ 90 ของมูลค่าใบแจ้งหนี้ หรือสูงสุด 200 ล้านบาท โดยมีบริษัท แฟคเตอริ่งกสิกรไทย ทำหน้าที่เป็นผู้ค้ำประกันการชำระหนี้และบริการเรียกเก็บหนี้ของผู้ซื้อในต่างประเทศ ซึ่งจะช่วยให้ผู้ส่งออกมีความมั่นใจว่าจะได้รับเงินค่าสินค้าที่ส่งออกเต็มจำนวนและคิดค่าธรรมเนียมบริการค้ำประกันและเรียกเก็บหนี้ร้อยละ 0.8-1.0 ของมูลค่าใบแจ้งหนี้ที่เรียกเก็บ
นายปกรณ์ พรรธนะแพทย์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย กล่าวว่า ธนาคารตั้งเป้าปล่อยสินเชื่อเอสเอ็มอีเพื่อธุรกิจส่งออก จำนวน 2,000 ล้านบาท ในช่วง 1 ปี กำหนดวงเงินสินเชื่อให้ลูกค้ารายละ 10-20 ล้านบาท คาดว่าจะปล่อยสินเชื่อให้ลูกค้าไม่ต่ำกว่า 100 ราย
นอกจากนี้ธนาคารได้ตั้งเป้ายอดธุรกรรมสินเชื่อเอสเอ็มอีเพื่อการส่งออกในปีแรก 6,000 ล้านบาท โดย ณ สิ้นเดือนพฤษภาคม 2549 ธนาคารกสิกรไทย มียอดสินเชื่อเอสเอ็มอี 233,831 ล้านบาท และมียอดธุรกรรมการค้าระหว่างประเทศประมาณ 80,803 ล้านบาท ซึ่งในปีนี้ธนาคารมีเป้าหมายด้านผลิตภัณฑ์และบริการธุรกรรมการค้าระหว่างประเทศคิดเป็นอัตราการเติบโตร้อยละ 35 จากยอดธุรกรรมการค้าระหว่างประเทศปี 2548
“ธนาคารประเมินว่าการส่งออกในปี 2549 จะเติบโตประมาณร้อยละ 15-17 โดยหลายอุตสาหกรรมยังมีแนวโน้มเติบโต เช่น ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ ยานยนต์ เกษตรกรแปรรูป ดังนั้น บริการสินเชื่อเอสเอ็มอีเพื่อการส่งออก จะช่วยเพิ่มศักยภาพการแข่งขันด้วยการสนับสนุนเงินทุนอย่างเพียงพอและช่วยเพิ่มความมั่นใจในการบุกเบิกหาตลาดการค้าในประเทศใหม่โดยไม่ต้องกังวลเรื่องความเสี่ยงจากการชำระค่าสินค้าและเรียกเก็บหนี้จากต่างประเทศ”
นายชาติชาย สุนทรเกียรติ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย กล่าวว่า ธนาคารกสิกรไทยได้ออกบริการสินเชื่อเอสเอ็มอีเพื่อธุรกิจส่งออก (K-Export Credit & Guarantee) เป็นบริการร่วมกับบริษัท แฟคเตอริ่งกสิกรไทย เพื่อสนับสนุนเอสเอ็มอีที่เป็นผู้ส่งออกอย่างครบวงจร ทั้งวงเงินสินเชื่อ การค้ำประกันการชำระหนี้ของผู้ซื้อ และการเรียกเก็บหนี้ในต่างประเทศ โดยไม่มีความเสี่ยงในการทำธุรกิจ โดยธนาคารกสิกรไทย จะสนับสนุนสินเชื่อระยะสั้นในรูปแบบตั๋วสัญญาใช้เงิน (P/N) แก่ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีเพื่อเป็นเงินทุนหมุนเวียนหลังการส่งออกและอยู่ระหว่างการรอเรียกเก็บเงินจากต่างประเทศ
โดยไม่ต้องใช้หลักทรัพย์ค้ำประกัน คิดอัตราดอกเบี้ยลูกค้าเบิกเกินบัญชี (MOR) – 2 ถึง MOR+ 1.75 ต่อปี สามารถกู้ได้สูงสุดถึงร้อยละ 90 ของมูลค่าใบแจ้งหนี้ หรือสูงสุด 200 ล้านบาท โดยมีบริษัท แฟคเตอริ่งกสิกรไทย ทำหน้าที่เป็นผู้ค้ำประกันการชำระหนี้และบริการเรียกเก็บหนี้ของผู้ซื้อในต่างประเทศ ซึ่งจะช่วยให้ผู้ส่งออกมีความมั่นใจว่าจะได้รับเงินค่าสินค้าที่ส่งออกเต็มจำนวนและคิดค่าธรรมเนียมบริการค้ำประกันและเรียกเก็บหนี้ร้อยละ 0.8-1.0 ของมูลค่าใบแจ้งหนี้ที่เรียกเก็บ
นายปกรณ์ พรรธนะแพทย์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย กล่าวว่า ธนาคารตั้งเป้าปล่อยสินเชื่อเอสเอ็มอีเพื่อธุรกิจส่งออก จำนวน 2,000 ล้านบาท ในช่วง 1 ปี กำหนดวงเงินสินเชื่อให้ลูกค้ารายละ 10-20 ล้านบาท คาดว่าจะปล่อยสินเชื่อให้ลูกค้าไม่ต่ำกว่า 100 ราย
นอกจากนี้ธนาคารได้ตั้งเป้ายอดธุรกรรมสินเชื่อเอสเอ็มอีเพื่อการส่งออกในปีแรก 6,000 ล้านบาท โดย ณ สิ้นเดือนพฤษภาคม 2549 ธนาคารกสิกรไทย มียอดสินเชื่อเอสเอ็มอี 233,831 ล้านบาท และมียอดธุรกรรมการค้าระหว่างประเทศประมาณ 80,803 ล้านบาท ซึ่งในปีนี้ธนาคารมีเป้าหมายด้านผลิตภัณฑ์และบริการธุรกรรมการค้าระหว่างประเทศคิดเป็นอัตราการเติบโตร้อยละ 35 จากยอดธุรกรรมการค้าระหว่างประเทศปี 2548
“ธนาคารประเมินว่าการส่งออกในปี 2549 จะเติบโตประมาณร้อยละ 15-17 โดยหลายอุตสาหกรรมยังมีแนวโน้มเติบโต เช่น ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ ยานยนต์ เกษตรกรแปรรูป ดังนั้น บริการสินเชื่อเอสเอ็มอีเพื่อการส่งออก จะช่วยเพิ่มศักยภาพการแข่งขันด้วยการสนับสนุนเงินทุนอย่างเพียงพอและช่วยเพิ่มความมั่นใจในการบุกเบิกหาตลาดการค้าในประเทศใหม่โดยไม่ต้องกังวลเรื่องความเสี่ยงจากการชำระค่าสินค้าและเรียกเก็บหนี้จากต่างประเทศ”