เปิดธุรกิจ “อีซี่ โพสต์” แฟรนไชส์บริการไปรษณีย์เอกชน ที่มีเครือข่ายกว่า 50 สาขา ชี้จุดแข็งเงินลงทุนต่ำกว่าคู่แข่ง พร้อมเน้นบริการเสริมครบวงจร รองรับทุกความต้องการของกลุ่มลูกค้า สะท้อนมุมมองถนนสายนี้ ยังไม่ตัน ความต้องการของผู้บริโภคไม่มีสิ้นสุด

วงศนาถ สวัสดี กรรมการผู้จัดการ บริษัท อีซี่โพสต์ แอนด์ เซอร์วิสเซส จำกัด ผู้ให้บริการ “อีซี่โพสต์” เผยว่า จากข้อจำกัดของไปรษณีย์ภาครัฐ ขยายเครือข่ายไม่ทั่วถึงทุกพื้นที่ ในขณะที่ผู้บริโภคมีความต้องการมาก จึงเป็นช่องทางให้เข้ามาจับธุรกิจนี้ เมื่อปี 2545 ด้วยงบลงทุนราว 1 ล้านบาท โดยเปิดร้านด้วยตัวเอง ในเมืองทองธานี กับอาคารชินวัตร 3 ซึ่งหลังจากศึกษาระบบ และตลาด ประมาณ 1 ปี จึงขยายธุรกิจรูปแบบแฟรนไชส์
เจ้าของธุรกิจ ระบุว่า จุดเด่นของแฟรนไชส์ “อีซี่โพสต์” คือ งบลงทุนต่ำกว่าคู่แข่งในรูปแบบใกล้เคียงกัน โดยอยู่ที่ประมาณ 350,000 – 450,000 บาท อีกทั้ง ไม่มีเก็บค่ารอยัลตี้ ฟีรายเดือน ส่วนบริการต่างๆ ทุกแบรนด์จะใกล้เคียงกัน
“จุดที่ผู้ลงทุนจะตัดสินใจเลือกลงทุนกับแบรนด์ใด สำคัญอยู่ที่ “งบ” เขาต้องคิดว่า ลงทุนแล้ว จะคืนทุนได้เมื่อไหร่ สายป่านยาวพอหรือไม่ ซึ่งของเรา ถือว่าไม่สูงนัก ในขณะการบริการ และราคาค่าบริการ ทุกแบรนด์ค่อนข้างใกล้เคียงกัน”
อย่างไรก็ตาม เพื่อสร้างศักยภาพให้กับธุรกิจ จึงเน้นบริการเสริมอื่นๆ ให้ครบวงจร นอกเหนือด้านไปรษณีย์ อาทิ บริการถ่ายเอกสาร เคลือบบัตร เข้าเล่ม โอนเงินผ่านธนาคาร รับชำระค่าสาธารณูปโภค บัตรเครดิต โทรศัพท์มือถือ ค่าผ่อนซื้อสินค้า ทำ พรบ. ประกันรถ จองและจำหน่ายตั๋วเครื่องบิน รถทัวร์ เติมหมึกเครื่องพิมพ์ เป็นต้น

“การเพิ่มบริการเสริมต่างๆ หลักสำคัญต้องดูทำเลที่ตั้ง บางสาขาอยู่ใกล้กับโรงเรียน อาจเพิ่มให้บริการด้านเครื่องเขียน ถ่ายเอกสาร ขายหนังสือ หรือให้บริการอินเตอร์เน็ต ซึ่งถือเป็นจุดยืดหยุ่นของแฟรนไชส์อีซีโพสต์ ที่เราเปิดโอกาสให้ผู้ลงทุน ได้หาช่องทางเสริมรายได้เพิ่มขึ้น”
ปัจจุบัน “อีซี่โพสต์” มีประมาณ 50 สาขา กระจายอยู่ในทั้งกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด โดยการขยายแฟรนไชส์ที่ผ่านมา มีจำนวน 2 รายที่ล้มเหลว มาจากปัจจัยรายได้สู้ค่าเช่าไม่ไหว ส่วนรายได้เฉลี่ย แต่ละสาขา หลังหักค่าใช้จ่ายอยู่ที่ 20,000 – 40,000 บาท โดยเฉลี่ยมาจากบริการไปรษณีย์ 40% ค่าบริการชำระบิลต่างๆ 30% และบริการเสริมอื่นๆ 30% มีระยะเวลาคืนทุนอยู่ที่ราว 1.5 – 2 ปี
สำหรับผู้ต้องการซื้อแฟรนไชส์ แต่ไม่มีทำเล บริษัทฯ มีบริการสำรวจพื้นที่ โดยคิดค่าใช้จ่าย 10,000 -20,000 บาท โดยทำเลที่เหมาะกับธุรกิจนี้ ได้แก่ ย่านชุมชน สถานศึกษา อาคารให้เช่าสำนักงาน และที่มาแรง ขณะนี้ คือ โรงงาน และนิคมอุตสาหกรรมต่างๆ
“กลุ่มลูกค้าหลักของเรา อยู่ในระดับบีลงมา ซึ่งมีรายได้ไม่แน่นอน เฉลี่ยเดือนละหมื่นกว่าบาท อย่างคนงานจากโรงงาน ทุกสิ้นเดือนจะส่งธนาณัติกลับบ้าน และผ่อนชำระอุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆ ทั้งตามกำหนดและเกินกำหนด หรือช่วงเทศกาลเขาต้องกลับบ้านก็ต้องการจองตั๋วรถทัวร์ ซึ่งบริการเสริมเหล่านี้ ช่วยสร้างรายได้เสริมให้แฟรนไชซีได้อย่างมาก”
วงศนาถ ระบุเกณฑ์ในการพิจารณาพื้นที่ตั้งร้าน จะดูความห่างจากไปรษณีย์รัฐ ไม่น้อยกว่า 1 กม. กับความห่างจากร้านไปรษณีย์เอกชนรายอื่นๆ ให้เหมาะสมกับความหนาแน่นของคนในพื้นที่นั้นๆ ส่วนปัจจัยที่จะทำให้แฟรนไชซีประสบความสำเร็จ ต้องมีทำเลที่ดี และมีใจรักงานบริการจริงๆ เพราะธุรกิจลักษณะนี้ ถ้าลูกค้ามาใช้บริการแล้วไม่ประทับใจ จะนำไปบอกต่อ ทำให้ชื่อเสียงของร้านเสีย
สำหรับการแข่งขันระหว่างธุรกิจไปรษณีย์เอกชนด้วยกัน วงศนาถ บอกว่า ขณะนี้ มีแบรนด์ใหม่ๆ เกิดขึ้นจำนวนมาก รวมแล้วมากกว่า 10 ราย ส่วนใหญ่จะแข่งกันด้านรูปลักษณ์ของร้าน และบริการเสริม ส่วนราคาค่าบริการต่างๆ จะใกล้เคียงกันมาก โดยแนวทางที่บริษัทฯ จะขยับหนีคู่แข่ง คือ สร้างศักยภาพแบรนด์ ด้วยการหาพันธมิตรเข้ามาเสริมบริการใหม่ๆ รองรับความต้องการของผู้บริโภคให้ครบวงจรมากที่สุด และนำระบบไอที มาใช้เพิ่มความแม่นยำ และรวดเร็ว

ในการดูแลคุณภาพแฟรนไชซี บริษัทฯ จะอบรมพนักงานให้ช่วงเริ่มต้น หลังจากนั้น คอยโทร.สอบถาม และมีเข้าสำรวจร้านสาขาเป็นประจำ ส่วนการทำตลาดเพื่อสร้างแบรนด์ให้เป็นที่จดจำ และน่าเชื่อถือ ซึ่งจะส่งผลดีไปถึงแฟรนไชซีด้วย บริษัทฯ ได้จัดงบไว้ที่ 200,000 – 300,000 บาท/ ปี เน้นลงโฆษณาในสื่อสิ่งพิมพ์ กับออกงานแสดงสินค้า
ทั้งนี้ ผลประกอบการของบริษัทฯ เมื่อปีที่แล้ว (2548) อยู่ที่ประมาณ 7 ล้านบาท โดยรายได้มาจากการขายแฟรนไชส์ และขายอุปกรณ์เสริม อาทิ กล่องพัสดุ ซองจดหมายให้แก่สาขา รวมถึง ได้ส่วนแบ่งกำไรค่าชำระสินค้าต่างๆ จากบริษัทพันธมิตร สำหรับเป้าในปีนี้ จะขยายแฟรนไชส์ให้ถึง 80-90 สาขา
วงศนาถ ทิ้งท้ายว่า ธุรกิจไปรษณีย์เอกชน ยังมีอนาคตเติบโตไปได้เรื่อยๆ เพราะกลุ่มลูกค้ามีความจำเป็นใช้บริการต่างๆ ไม่สิ้นสุด นับวันจะมีบทบาทในชีวิตประจำวันของคนทั่วไปมากขึ้น หากประคับประคองธุรกิจให้อยู่รอดในช่วงเริ่มต้น จนตั้งหลักได้มั่นคง จะกลายเป็นธุรกิจที่ยั่งยืนในระยะยาว
* * * * * * * * *
วงศนาถ สวัสดี กรรมการผู้จัดการ บริษัท อีซี่โพสต์ แอนด์ เซอร์วิสเซส จำกัด ผู้ให้บริการ “อีซี่โพสต์” เผยว่า จากข้อจำกัดของไปรษณีย์ภาครัฐ ขยายเครือข่ายไม่ทั่วถึงทุกพื้นที่ ในขณะที่ผู้บริโภคมีความต้องการมาก จึงเป็นช่องทางให้เข้ามาจับธุรกิจนี้ เมื่อปี 2545 ด้วยงบลงทุนราว 1 ล้านบาท โดยเปิดร้านด้วยตัวเอง ในเมืองทองธานี กับอาคารชินวัตร 3 ซึ่งหลังจากศึกษาระบบ และตลาด ประมาณ 1 ปี จึงขยายธุรกิจรูปแบบแฟรนไชส์
เจ้าของธุรกิจ ระบุว่า จุดเด่นของแฟรนไชส์ “อีซี่โพสต์” คือ งบลงทุนต่ำกว่าคู่แข่งในรูปแบบใกล้เคียงกัน โดยอยู่ที่ประมาณ 350,000 – 450,000 บาท อีกทั้ง ไม่มีเก็บค่ารอยัลตี้ ฟีรายเดือน ส่วนบริการต่างๆ ทุกแบรนด์จะใกล้เคียงกัน
“จุดที่ผู้ลงทุนจะตัดสินใจเลือกลงทุนกับแบรนด์ใด สำคัญอยู่ที่ “งบ” เขาต้องคิดว่า ลงทุนแล้ว จะคืนทุนได้เมื่อไหร่ สายป่านยาวพอหรือไม่ ซึ่งของเรา ถือว่าไม่สูงนัก ในขณะการบริการ และราคาค่าบริการ ทุกแบรนด์ค่อนข้างใกล้เคียงกัน”
อย่างไรก็ตาม เพื่อสร้างศักยภาพให้กับธุรกิจ จึงเน้นบริการเสริมอื่นๆ ให้ครบวงจร นอกเหนือด้านไปรษณีย์ อาทิ บริการถ่ายเอกสาร เคลือบบัตร เข้าเล่ม โอนเงินผ่านธนาคาร รับชำระค่าสาธารณูปโภค บัตรเครดิต โทรศัพท์มือถือ ค่าผ่อนซื้อสินค้า ทำ พรบ. ประกันรถ จองและจำหน่ายตั๋วเครื่องบิน รถทัวร์ เติมหมึกเครื่องพิมพ์ เป็นต้น
“การเพิ่มบริการเสริมต่างๆ หลักสำคัญต้องดูทำเลที่ตั้ง บางสาขาอยู่ใกล้กับโรงเรียน อาจเพิ่มให้บริการด้านเครื่องเขียน ถ่ายเอกสาร ขายหนังสือ หรือให้บริการอินเตอร์เน็ต ซึ่งถือเป็นจุดยืดหยุ่นของแฟรนไชส์อีซีโพสต์ ที่เราเปิดโอกาสให้ผู้ลงทุน ได้หาช่องทางเสริมรายได้เพิ่มขึ้น”
ปัจจุบัน “อีซี่โพสต์” มีประมาณ 50 สาขา กระจายอยู่ในทั้งกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด โดยการขยายแฟรนไชส์ที่ผ่านมา มีจำนวน 2 รายที่ล้มเหลว มาจากปัจจัยรายได้สู้ค่าเช่าไม่ไหว ส่วนรายได้เฉลี่ย แต่ละสาขา หลังหักค่าใช้จ่ายอยู่ที่ 20,000 – 40,000 บาท โดยเฉลี่ยมาจากบริการไปรษณีย์ 40% ค่าบริการชำระบิลต่างๆ 30% และบริการเสริมอื่นๆ 30% มีระยะเวลาคืนทุนอยู่ที่ราว 1.5 – 2 ปี
สำหรับผู้ต้องการซื้อแฟรนไชส์ แต่ไม่มีทำเล บริษัทฯ มีบริการสำรวจพื้นที่ โดยคิดค่าใช้จ่าย 10,000 -20,000 บาท โดยทำเลที่เหมาะกับธุรกิจนี้ ได้แก่ ย่านชุมชน สถานศึกษา อาคารให้เช่าสำนักงาน และที่มาแรง ขณะนี้ คือ โรงงาน และนิคมอุตสาหกรรมต่างๆ
“กลุ่มลูกค้าหลักของเรา อยู่ในระดับบีลงมา ซึ่งมีรายได้ไม่แน่นอน เฉลี่ยเดือนละหมื่นกว่าบาท อย่างคนงานจากโรงงาน ทุกสิ้นเดือนจะส่งธนาณัติกลับบ้าน และผ่อนชำระอุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆ ทั้งตามกำหนดและเกินกำหนด หรือช่วงเทศกาลเขาต้องกลับบ้านก็ต้องการจองตั๋วรถทัวร์ ซึ่งบริการเสริมเหล่านี้ ช่วยสร้างรายได้เสริมให้แฟรนไชซีได้อย่างมาก”
วงศนาถ ระบุเกณฑ์ในการพิจารณาพื้นที่ตั้งร้าน จะดูความห่างจากไปรษณีย์รัฐ ไม่น้อยกว่า 1 กม. กับความห่างจากร้านไปรษณีย์เอกชนรายอื่นๆ ให้เหมาะสมกับความหนาแน่นของคนในพื้นที่นั้นๆ ส่วนปัจจัยที่จะทำให้แฟรนไชซีประสบความสำเร็จ ต้องมีทำเลที่ดี และมีใจรักงานบริการจริงๆ เพราะธุรกิจลักษณะนี้ ถ้าลูกค้ามาใช้บริการแล้วไม่ประทับใจ จะนำไปบอกต่อ ทำให้ชื่อเสียงของร้านเสีย
สำหรับการแข่งขันระหว่างธุรกิจไปรษณีย์เอกชนด้วยกัน วงศนาถ บอกว่า ขณะนี้ มีแบรนด์ใหม่ๆ เกิดขึ้นจำนวนมาก รวมแล้วมากกว่า 10 ราย ส่วนใหญ่จะแข่งกันด้านรูปลักษณ์ของร้าน และบริการเสริม ส่วนราคาค่าบริการต่างๆ จะใกล้เคียงกันมาก โดยแนวทางที่บริษัทฯ จะขยับหนีคู่แข่ง คือ สร้างศักยภาพแบรนด์ ด้วยการหาพันธมิตรเข้ามาเสริมบริการใหม่ๆ รองรับความต้องการของผู้บริโภคให้ครบวงจรมากที่สุด และนำระบบไอที มาใช้เพิ่มความแม่นยำ และรวดเร็ว
ในการดูแลคุณภาพแฟรนไชซี บริษัทฯ จะอบรมพนักงานให้ช่วงเริ่มต้น หลังจากนั้น คอยโทร.สอบถาม และมีเข้าสำรวจร้านสาขาเป็นประจำ ส่วนการทำตลาดเพื่อสร้างแบรนด์ให้เป็นที่จดจำ และน่าเชื่อถือ ซึ่งจะส่งผลดีไปถึงแฟรนไชซีด้วย บริษัทฯ ได้จัดงบไว้ที่ 200,000 – 300,000 บาท/ ปี เน้นลงโฆษณาในสื่อสิ่งพิมพ์ กับออกงานแสดงสินค้า
ทั้งนี้ ผลประกอบการของบริษัทฯ เมื่อปีที่แล้ว (2548) อยู่ที่ประมาณ 7 ล้านบาท โดยรายได้มาจากการขายแฟรนไชส์ และขายอุปกรณ์เสริม อาทิ กล่องพัสดุ ซองจดหมายให้แก่สาขา รวมถึง ได้ส่วนแบ่งกำไรค่าชำระสินค้าต่างๆ จากบริษัทพันธมิตร สำหรับเป้าในปีนี้ จะขยายแฟรนไชส์ให้ถึง 80-90 สาขา
วงศนาถ ทิ้งท้ายว่า ธุรกิจไปรษณีย์เอกชน ยังมีอนาคตเติบโตไปได้เรื่อยๆ เพราะกลุ่มลูกค้ามีความจำเป็นใช้บริการต่างๆ ไม่สิ้นสุด นับวันจะมีบทบาทในชีวิตประจำวันของคนทั่วไปมากขึ้น หากประคับประคองธุรกิจให้อยู่รอดในช่วงเริ่มต้น จนตั้งหลักได้มั่นคง จะกลายเป็นธุรกิจที่ยั่งยืนในระยะยาว
* * * * * * * * *
แฟรนไชส์ “อีซี่ โพสต์” |
- ค่าสิทธิแรกเข้า สัญญา 5 ปี : 140,000 บาท / สัญญา 10 ปี : 170,000 บาท -ค่าธรรมเนียมรายปี : 4,000 บาท - เงินลงทุนโดยประมาณ (ขึ้นอยู่กับค่าตกแต่ง ค่าเช่าสถานที่ และอุปกรณ์เสริม) : 350,000 – 450,000 บาท - ควรมีพนักงาน อย่างน้อย 2 คน แบ่งเป็นพนักงานประจำร้าน และพนักงานส่งเอกสาร - ต้องมีเงินทุนสำรองหมุนเวียน ต่อเดือน : 30,000 บาท - ระยะเวลาคืนทุน : 1.5 - 2 ปี |