สสว.แนะทางเลือกระดมทุนให้SME ผ่านVenture Capital เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและสร้างความเข้มแข็งทางธุรกิจ โดยเฉพาะกลุ่มพลังงาน อาหาร-เครื่องดื่ม และโรงแรม

นายจักรมณฑ์ ผาสุกวนิช ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยในงานสัมมนาเรื่องเงินร่วมลงทุนเกื้อหนุนSME ซึ่งจัดโดยสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและย่อม (สสว.) และสมาคมไทยผู้ประกอบธุรกิจเงินร่วมลงทุนว่า การแข่งขันระหว่างธุรกิจในโลกการค้าปัจจุบันทวีความรุนแรงเพิ่มขึ้น ส่งผลให้ผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SME )ต้องได้รับการพัฒนาความเข้มแข็งและความสามารถในการแข่งขันเพื่อปรับตัวภายใต้โลกาภิวัตน์
ทั้งนี้ การพัฒนาSME ต้องมี 3 ปัจจัย คือ 1.การมีทุนดำเนินงานเพียงพอ 2. การมีวิธีการบริหารจัดการที่ดี และ3. มีตลาดรองรับสินค้าและบริการ ซึ่งที่ผ่านมา SMEไทยส่วนใหญ่มีข้อจำกัดในปัจจัยดังกล่าว โดยเฉพาะการเข้าถึงแหล่งเงินทุนสำหรับการลงทุนระยะยาวเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพการดำเนินงาน ซึ่งการลงทุนในลักษณะการร่วมทุนจึงเป็นรูปแบบการลงทุนที่จะสร้างความเข้มแข็งต่อธุรกิจSME ก่อนที่จะเข้าไประดมทุนในตลาดหลักทรัพย์ใหม่ (mai) ได้ในระยะกลาง และตลาดหลักทรัพย์ฯในระยะยาว

นางจิตราภรณ์ เตชาชาญ ผู้อำนวยการ สสว. กล่าวว่า ทางสสว.ได้ร่วมกับสมาคมไทยผู้ประกอบธุรกิจเงินร่วมลงทุน ได้ศึกษาแนวทางการสนับสนุนให้กองทุนเพื่อการลงทุน (Venture Capital Fund) เป็นทางเลือกหนึ่งแหล่งเงินทุนของSME เพื่อสร้างความเติบโตของธุรกิจ ซึ่งการจัดสัมมนาครั้งนี้ เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการSME ได้รับทราบข้อมูลเกี่ยวกับ Venture Capital Fund ทั้งภาครัฐและเอกชน รวมทั้งแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ระหว่างกัน สอดคล้องกับนโยบายรัฐที่ต้องการสร้างความสามารถในการแข่งขันของSMEไทยในเวทีการค้าโลก
สำหรับผลการศึกษาบทบาทของธุรกิจเพื่อการลงทุน (Venture Capital ) ในไทยพบว่าอุตสาหกรรมที่ธุรกิจเงินร่วมลงทุนเข้าร่วมลงทุนนั้น 5 อันดับแรก คือ อุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม เครื่องจักรและอุปกรณ์ เครื่องเรือน ไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ เครื่องแต่งกาย ส่วนอุตสาหกรรมที่กองทุนเพื่อการลงทุนสนใจ คือ พลังงาน วิจัยและพัฒนา โรงแรมและภัตตาคาร และธุรกิจบริการการศึกษา เป็นต้น
นอกจากนี้ กองทุนร่วมลงทุนเพื่อยกระดับความสามารถในการแข่งขันของธุรกิจไทย ซึ่งบริหารงานโดยสสว.นั้น จะเป็นกองทุนร่วมทุนขนาดใหญ่ที่มีวงเงินสูงถึง 5 พันล้านบาท และเป็นกองทุนร่วมลงทุนที่มีอัตราการขยายตัวสูงสุดอีกกองทุนหนึ่ง โดยปัจจุบันมีผู้ประกอบการSME ได้รับเงินร่วมทุนแล้ว 32 ราย เป็นวงเงิน 546.51 ล้านบาท
ทั้งนี้ ผู้ประกอบการSME มีจำนวนกว่า 2.1 ล้านราย หรือคิดเป็น 99.7%ของวิสาหกิจทั้งประเทศ โดยมีมูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวม(จีดีพี)ถึง 37%ของจีดีพีทั้งประเทศ
นายจักรมณฑ์ ผาสุกวนิช ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยในงานสัมมนาเรื่องเงินร่วมลงทุนเกื้อหนุนSME ซึ่งจัดโดยสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและย่อม (สสว.) และสมาคมไทยผู้ประกอบธุรกิจเงินร่วมลงทุนว่า การแข่งขันระหว่างธุรกิจในโลกการค้าปัจจุบันทวีความรุนแรงเพิ่มขึ้น ส่งผลให้ผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SME )ต้องได้รับการพัฒนาความเข้มแข็งและความสามารถในการแข่งขันเพื่อปรับตัวภายใต้โลกาภิวัตน์
ทั้งนี้ การพัฒนาSME ต้องมี 3 ปัจจัย คือ 1.การมีทุนดำเนินงานเพียงพอ 2. การมีวิธีการบริหารจัดการที่ดี และ3. มีตลาดรองรับสินค้าและบริการ ซึ่งที่ผ่านมา SMEไทยส่วนใหญ่มีข้อจำกัดในปัจจัยดังกล่าว โดยเฉพาะการเข้าถึงแหล่งเงินทุนสำหรับการลงทุนระยะยาวเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพการดำเนินงาน ซึ่งการลงทุนในลักษณะการร่วมทุนจึงเป็นรูปแบบการลงทุนที่จะสร้างความเข้มแข็งต่อธุรกิจSME ก่อนที่จะเข้าไประดมทุนในตลาดหลักทรัพย์ใหม่ (mai) ได้ในระยะกลาง และตลาดหลักทรัพย์ฯในระยะยาว
นางจิตราภรณ์ เตชาชาญ ผู้อำนวยการ สสว. กล่าวว่า ทางสสว.ได้ร่วมกับสมาคมไทยผู้ประกอบธุรกิจเงินร่วมลงทุน ได้ศึกษาแนวทางการสนับสนุนให้กองทุนเพื่อการลงทุน (Venture Capital Fund) เป็นทางเลือกหนึ่งแหล่งเงินทุนของSME เพื่อสร้างความเติบโตของธุรกิจ ซึ่งการจัดสัมมนาครั้งนี้ เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการSME ได้รับทราบข้อมูลเกี่ยวกับ Venture Capital Fund ทั้งภาครัฐและเอกชน รวมทั้งแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ระหว่างกัน สอดคล้องกับนโยบายรัฐที่ต้องการสร้างความสามารถในการแข่งขันของSMEไทยในเวทีการค้าโลก
สำหรับผลการศึกษาบทบาทของธุรกิจเพื่อการลงทุน (Venture Capital ) ในไทยพบว่าอุตสาหกรรมที่ธุรกิจเงินร่วมลงทุนเข้าร่วมลงทุนนั้น 5 อันดับแรก คือ อุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม เครื่องจักรและอุปกรณ์ เครื่องเรือน ไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ เครื่องแต่งกาย ส่วนอุตสาหกรรมที่กองทุนเพื่อการลงทุนสนใจ คือ พลังงาน วิจัยและพัฒนา โรงแรมและภัตตาคาร และธุรกิจบริการการศึกษา เป็นต้น
นอกจากนี้ กองทุนร่วมลงทุนเพื่อยกระดับความสามารถในการแข่งขันของธุรกิจไทย ซึ่งบริหารงานโดยสสว.นั้น จะเป็นกองทุนร่วมทุนขนาดใหญ่ที่มีวงเงินสูงถึง 5 พันล้านบาท และเป็นกองทุนร่วมลงทุนที่มีอัตราการขยายตัวสูงสุดอีกกองทุนหนึ่ง โดยปัจจุบันมีผู้ประกอบการSME ได้รับเงินร่วมทุนแล้ว 32 ราย เป็นวงเงิน 546.51 ล้านบาท
ทั้งนี้ ผู้ประกอบการSME มีจำนวนกว่า 2.1 ล้านราย หรือคิดเป็น 99.7%ของวิสาหกิจทั้งประเทศ โดยมีมูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวม(จีดีพี)ถึง 37%ของจีดีพีทั้งประเทศ