เกษตรกร เมืองราชบุรี ปลุกตำนานสุรากลั่นแบบโบราณ สกัดจากสมุนไพรป่ามากกว่า 13 ชนิด ในชื่อ “เสือนอนทุ่ง” อวดสรรพคุณรสกลมกล่อม หอมหวาน ดื่มแล้วไม่มีแฮงก์ สามารถใช้เป็นมิกซ์เซอร์สุรานอก บ่นทุกข์ขาดตลาด ยักษ์ใหญ่ครองเรียบ เล็งดันเป็นเครื่องดื่มเสริมสุขภาพ พร้อมเจาะตลาดถนนข้าวสาร

วรศักดิ์ วังตาล เจ้าของบริษัท สุราตะวันฉาย จำกัด ผู้ผลิตสุรากลั่นชุมชน “เสือนอนทุ่ง” เปิดเผยว่า มีอาชีพหลักเป็นชาวไร่อ้อยอยู่ในจังหวัดราชบุรี ส่วนสาเหตุที่มาทำธุรกิจสุราควบคู่ด้วย เกิดจากประมาณช่วงกลางปี 45 ได้รับการทอดถ่ายสูตรสุรากลั่นโบราณจากญาติผู้ใหญ่ท่านหนึ่ง ว่ากันว่า เป็นสูตรที่สืบทอดกันมาตั้งแต่ยุค ร.4 - ร. 5 คนโบราณจะเรียกกันว่าเป็น “เหล้าป่า” หรือ “เหล้าเถื่อน” ซึ่งชาวบ้านจะแอบลักลอบต้มกันเองในป่า
“ช่วงแรกที่ผมได้สูตรนี้มา ก็ไม่ได้สนใจอะไร จนกระทั่งภาครัฐเปิดให้ชาวบ้านทำสุรากลั่นชุมชนถูกกฎหมายได้ ผมเลยคิดจะทำสุราจำหน่าย เพื่อเป็นอาชีพเสริมหลังหน้าเก็บเกี่ยว”
เขาเผยว่า สูตรสุราเสือนอนทุ่ง ประกอบด้วยส่วนผสม 3 อย่าง ได้แก่ ข้าวกล้อง น้ำตาลทรายแดง 100% และแป้งเชื้อสมุนไพร โดยการผสมแป้งเชื้อสมุนไพร ถือเป็นหัวใจสำคัญ เป็นสูตรลับทำมาจากสมุนไพรมากกว่า 13 ชนิด อาทิ ดีปลี ชะเอม กระชาย เป็นต้น
“ผมใช้เวลาลองผิดลองถูก กว่า 8 เดือน หมดงบไปเกือบแสนบาท กว่าจะได้สุราที่คุณภาพนิ่ง โดยได้รับความช่วยเหลือจากกรมสรรพสามิต เข้ามาช่วยเหลือหลายๆ ด้าน โดยไม่คิดมูลค่า รวมถึง นักวิชาการด้านสุรากลั่น ก็มาให้คำแนะนำด้านการหมักตัวยีสต์ พอเราทำสุราได้มาตรฐาน หน่วยงานภาครัฐในท้องถิ่น ก็ยกให้โรงงานของผมเป็นโรงงานชุมชนตัวอย่างที่มีระบบจัดการที่ดีเป็นที่ยอมรับ”
กระบวนการผลิตสุราเสือนอนทุ่ง เป็นแบบภูมิปัญญาชาวบ้าน ผสมกับเทคโนโลยีสมัยใหม่ที่ให้ความสำคัญกับความสะอาด และสภาพแวดล้อม โดยเริ่มด้วยการทำแป้งเชื้อ นำสมุนไพรไทยโบราณนานาชนิดผสมกับแป้ง หมักไว้ 2 วัน เมื่อเริ่มมีเชื้อยีสต์ นำไปตากแห้ง แล้วบดให้ละเอียด แล้วนำไปคลุกกับข้าวกล้อง ต้มร่วมกับน้ำตาลแดง
หลังจากนั้น จะคัดแยกสุราที่ได้ แบ่งออกตามดีกรี คือ 30 , 35 และ 40 ดีกรี แล้วนำไปแยกหมักเก็บ อีก 7-8 เดือน ให้สุรานิ่ง แล้วจึงบรรจุขวด ซึ่งก่อนจะทำการบรรจุ จะทดสอบอีกครั้งว่า สุรามีมาตรฐานเช่นเดิมหรือไม่
วรศักดิ์ อธิบายว่า จุดเด่นของสุราเสือนอนทุ่ง คือ มีกลิ่นหอม เมื่อดื่มแล้วจะไม่มีกลิ่นติดตัว ส่วนรสชาตินุ่น ไม่ฉุน ดื่มแล้วไม่มีอาการปวดศีรษะ และคุณสมบัติเด่นอีกด้าน คือ สามารถนำไปผสมกับสุราต่างประเทศได้ทุกชนิด รวมถึงนำไปใช้ปรุงอาหารได้ อาทิ ใช้หมักเนื้อสัตว์ จะทำให้เนื้อนุ่ม หอม พร้อมยังมีประโยชน์ต่อร่างกาย เพราะสกัดมาจากสมุนไพร
“หัวใจที่ทำให้สุรารสชาติดี มาจากส่วนผสมหลัก คือ สมุนไพรไทย น้ำตาลแดง และข้าวกล้อง เหตุที่ใช้น้ำตาลแดง เพราะกลิ่นหอมกว่าสุรากลั่นที่จะใช้กากน้ำตาล แม้ว่า ต้นทุนจะสูงกว่ามากกิโลละประมาณ 14 บาท ในขณะที่กากน้ำตาล กิโลละ 5 บาท แต่ก็ยอมลงทุนในส่วนนี้ เพื่อได้รสชาติที่เราต้องการ ส่วนที่ใช้ข้าวกล้อง แทนข้าวเหนียว เพราะผมคิดว่า มันทำให้ได้รสชาติที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว ผมรู้สึกว่า มันเป็นรสที่มีกลิ่นไอของความเป็นลูกทุ่ง”

สำหรับราคาจำหน่าย ขวดขนาด 640 ซีซี แบบ 30 ดีกรี 43 บาท แบบ 35 ดีกรี 45 บาท และแบบ 40 ดีกรี 47 บาท ทั้งนี้ สินค้ายังได้คัดเลือกเป็นโอทอป 5 ดาว รวมถึงได้รับรางวัลรองชนะเลิศ จากการประกวดสุราพื้นบ้านทั่วประเทศ เมื่อปี 2547 ที่ผ่านมา
สำหรับปัญหาสำคัญที่ผ่านมา คือ การตลาด เนื่องจากมีอาชีพหลักเป็นชาวไร่อ้อย ขาดประสบการณ์ด้านการตลาดธุรกิจสุรา ประกอบกับในวงการสุราชุมชน มียักษ์ใหญ่ครองตลาดอยู่แล้ว ซึ่งขายราคาต่ำกว่า การจะขอแบ่งการตลาดจึงยากมาก ทั้งนี้ ในปัจจุบันมียอดขายต่อเดือน ประมาณ 1 แสนบาท
“ผมเริ่มออกตลาดเมื่อปลายปี 46 ช่องทางจัดจำหน่ายถึงปัจจุบัน ยังถือว่าน้อย อาศัยร้านค้าที่รู้จักกันในราชบุรี และกรุงเทพฯ แต่ก็ยังน้อย อีกทั้ง ของเราต้นทุนสูง แบบ 40 ดีกรี ราคาขาย 47 บาท ในขณะที่สุราจากโรงงานยักษ์ใหญ่ ซึ่งผสมด้วยสารเคมี ทำให้ต้นทุนเขาถูกกว่า ขายแค่ 40 บาท ทำให้ตัวแทนร้านค้า เขาก็ไม่อยากเชียร์สินค้าของเรา เพราะได้กำไรน้อยกว่า สู้ขายแบรนด์ใหญ่เหมือนเดิมดีกว่า ได้กำไรมากกว่า ส่วนผู้บริโภคไม่มีปัญหา ใครได้ชิมของเรา ก็ติดใจ ไม่มีใครบ่นว่า แพง”
ทั้งนี้ การแก้ไข จะทำตลาดในเชิงรุกมากขึ้น ด้วยการออกงานแสดงสินค้า และเน้นประชาสัมพันธ์ถึงลูกค้า อาทิ แนะนำกลุ่มลูกค้าผู้สูงอายุ ชูจุดเด่นนำไปผสมยาดอง เป็นเครื่องดื่มเสริมสุขภาพ อีกทั้ง กำลังจะเจาะที่ร้านสุราในถนนข้าวสาร เพื่อให้นำสุราเสือนอนทุ่งไปเป็นส่วนผสมในเครื่องดื่มค็อทเทลแทนสุรากลุ่มสปิริต (Spirit) (วอดก้า(Vodka), จิน(Gin), รัม(Rum)) ของต่างประเทศ ซึ่งมีราคาสูงกว่าหลายเท่าตัว
นอกจากนี้ อยากผลักดันเป็นสินค้าส่งออก โดยมองไปที่กลุ่มแรงงานไทยที่ไปทำงานยังประเทศไต้หวัน ซึ่งมีอยู่กว่า 3-4 แสนคน โดยตั้งเป้าว่า ในปีหน้า อยากจะขยายยอดส่งสินค้าต่อเดือนเพิ่มอย่างน้อย 30-40%
* * * * * * * *
โทร.032-216-477 , 0-1943-6581
วรศักดิ์ วังตาล เจ้าของบริษัท สุราตะวันฉาย จำกัด ผู้ผลิตสุรากลั่นชุมชน “เสือนอนทุ่ง” เปิดเผยว่า มีอาชีพหลักเป็นชาวไร่อ้อยอยู่ในจังหวัดราชบุรี ส่วนสาเหตุที่มาทำธุรกิจสุราควบคู่ด้วย เกิดจากประมาณช่วงกลางปี 45 ได้รับการทอดถ่ายสูตรสุรากลั่นโบราณจากญาติผู้ใหญ่ท่านหนึ่ง ว่ากันว่า เป็นสูตรที่สืบทอดกันมาตั้งแต่ยุค ร.4 - ร. 5 คนโบราณจะเรียกกันว่าเป็น “เหล้าป่า” หรือ “เหล้าเถื่อน” ซึ่งชาวบ้านจะแอบลักลอบต้มกันเองในป่า
“ช่วงแรกที่ผมได้สูตรนี้มา ก็ไม่ได้สนใจอะไร จนกระทั่งภาครัฐเปิดให้ชาวบ้านทำสุรากลั่นชุมชนถูกกฎหมายได้ ผมเลยคิดจะทำสุราจำหน่าย เพื่อเป็นอาชีพเสริมหลังหน้าเก็บเกี่ยว”
เขาเผยว่า สูตรสุราเสือนอนทุ่ง ประกอบด้วยส่วนผสม 3 อย่าง ได้แก่ ข้าวกล้อง น้ำตาลทรายแดง 100% และแป้งเชื้อสมุนไพร โดยการผสมแป้งเชื้อสมุนไพร ถือเป็นหัวใจสำคัญ เป็นสูตรลับทำมาจากสมุนไพรมากกว่า 13 ชนิด อาทิ ดีปลี ชะเอม กระชาย เป็นต้น
“ผมใช้เวลาลองผิดลองถูก กว่า 8 เดือน หมดงบไปเกือบแสนบาท กว่าจะได้สุราที่คุณภาพนิ่ง โดยได้รับความช่วยเหลือจากกรมสรรพสามิต เข้ามาช่วยเหลือหลายๆ ด้าน โดยไม่คิดมูลค่า รวมถึง นักวิชาการด้านสุรากลั่น ก็มาให้คำแนะนำด้านการหมักตัวยีสต์ พอเราทำสุราได้มาตรฐาน หน่วยงานภาครัฐในท้องถิ่น ก็ยกให้โรงงานของผมเป็นโรงงานชุมชนตัวอย่างที่มีระบบจัดการที่ดีเป็นที่ยอมรับ”
กระบวนการผลิตสุราเสือนอนทุ่ง เป็นแบบภูมิปัญญาชาวบ้าน ผสมกับเทคโนโลยีสมัยใหม่ที่ให้ความสำคัญกับความสะอาด และสภาพแวดล้อม โดยเริ่มด้วยการทำแป้งเชื้อ นำสมุนไพรไทยโบราณนานาชนิดผสมกับแป้ง หมักไว้ 2 วัน เมื่อเริ่มมีเชื้อยีสต์ นำไปตากแห้ง แล้วบดให้ละเอียด แล้วนำไปคลุกกับข้าวกล้อง ต้มร่วมกับน้ำตาลแดง
หลังจากนั้น จะคัดแยกสุราที่ได้ แบ่งออกตามดีกรี คือ 30 , 35 และ 40 ดีกรี แล้วนำไปแยกหมักเก็บ อีก 7-8 เดือน ให้สุรานิ่ง แล้วจึงบรรจุขวด ซึ่งก่อนจะทำการบรรจุ จะทดสอบอีกครั้งว่า สุรามีมาตรฐานเช่นเดิมหรือไม่
วรศักดิ์ อธิบายว่า จุดเด่นของสุราเสือนอนทุ่ง คือ มีกลิ่นหอม เมื่อดื่มแล้วจะไม่มีกลิ่นติดตัว ส่วนรสชาตินุ่น ไม่ฉุน ดื่มแล้วไม่มีอาการปวดศีรษะ และคุณสมบัติเด่นอีกด้าน คือ สามารถนำไปผสมกับสุราต่างประเทศได้ทุกชนิด รวมถึงนำไปใช้ปรุงอาหารได้ อาทิ ใช้หมักเนื้อสัตว์ จะทำให้เนื้อนุ่ม หอม พร้อมยังมีประโยชน์ต่อร่างกาย เพราะสกัดมาจากสมุนไพร
“หัวใจที่ทำให้สุรารสชาติดี มาจากส่วนผสมหลัก คือ สมุนไพรไทย น้ำตาลแดง และข้าวกล้อง เหตุที่ใช้น้ำตาลแดง เพราะกลิ่นหอมกว่าสุรากลั่นที่จะใช้กากน้ำตาล แม้ว่า ต้นทุนจะสูงกว่ามากกิโลละประมาณ 14 บาท ในขณะที่กากน้ำตาล กิโลละ 5 บาท แต่ก็ยอมลงทุนในส่วนนี้ เพื่อได้รสชาติที่เราต้องการ ส่วนที่ใช้ข้าวกล้อง แทนข้าวเหนียว เพราะผมคิดว่า มันทำให้ได้รสชาติที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว ผมรู้สึกว่า มันเป็นรสที่มีกลิ่นไอของความเป็นลูกทุ่ง”
สำหรับราคาจำหน่าย ขวดขนาด 640 ซีซี แบบ 30 ดีกรี 43 บาท แบบ 35 ดีกรี 45 บาท และแบบ 40 ดีกรี 47 บาท ทั้งนี้ สินค้ายังได้คัดเลือกเป็นโอทอป 5 ดาว รวมถึงได้รับรางวัลรองชนะเลิศ จากการประกวดสุราพื้นบ้านทั่วประเทศ เมื่อปี 2547 ที่ผ่านมา
สำหรับปัญหาสำคัญที่ผ่านมา คือ การตลาด เนื่องจากมีอาชีพหลักเป็นชาวไร่อ้อย ขาดประสบการณ์ด้านการตลาดธุรกิจสุรา ประกอบกับในวงการสุราชุมชน มียักษ์ใหญ่ครองตลาดอยู่แล้ว ซึ่งขายราคาต่ำกว่า การจะขอแบ่งการตลาดจึงยากมาก ทั้งนี้ ในปัจจุบันมียอดขายต่อเดือน ประมาณ 1 แสนบาท
“ผมเริ่มออกตลาดเมื่อปลายปี 46 ช่องทางจัดจำหน่ายถึงปัจจุบัน ยังถือว่าน้อย อาศัยร้านค้าที่รู้จักกันในราชบุรี และกรุงเทพฯ แต่ก็ยังน้อย อีกทั้ง ของเราต้นทุนสูง แบบ 40 ดีกรี ราคาขาย 47 บาท ในขณะที่สุราจากโรงงานยักษ์ใหญ่ ซึ่งผสมด้วยสารเคมี ทำให้ต้นทุนเขาถูกกว่า ขายแค่ 40 บาท ทำให้ตัวแทนร้านค้า เขาก็ไม่อยากเชียร์สินค้าของเรา เพราะได้กำไรน้อยกว่า สู้ขายแบรนด์ใหญ่เหมือนเดิมดีกว่า ได้กำไรมากกว่า ส่วนผู้บริโภคไม่มีปัญหา ใครได้ชิมของเรา ก็ติดใจ ไม่มีใครบ่นว่า แพง”
ทั้งนี้ การแก้ไข จะทำตลาดในเชิงรุกมากขึ้น ด้วยการออกงานแสดงสินค้า และเน้นประชาสัมพันธ์ถึงลูกค้า อาทิ แนะนำกลุ่มลูกค้าผู้สูงอายุ ชูจุดเด่นนำไปผสมยาดอง เป็นเครื่องดื่มเสริมสุขภาพ อีกทั้ง กำลังจะเจาะที่ร้านสุราในถนนข้าวสาร เพื่อให้นำสุราเสือนอนทุ่งไปเป็นส่วนผสมในเครื่องดื่มค็อทเทลแทนสุรากลุ่มสปิริต (Spirit) (วอดก้า(Vodka), จิน(Gin), รัม(Rum)) ของต่างประเทศ ซึ่งมีราคาสูงกว่าหลายเท่าตัว
นอกจากนี้ อยากผลักดันเป็นสินค้าส่งออก โดยมองไปที่กลุ่มแรงงานไทยที่ไปทำงานยังประเทศไต้หวัน ซึ่งมีอยู่กว่า 3-4 แสนคน โดยตั้งเป้าว่า ในปีหน้า อยากจะขยายยอดส่งสินค้าต่อเดือนเพิ่มอย่างน้อย 30-40%
* * * * * * * *
โทร.032-216-477 , 0-1943-6581