เอสเอ็มอีแบงก์ ประชุมสถาบันการเงินไทยและต่างประเทศ เชิญชวนปล่อยกู้ผู้ประกอบการอาหารไทย ชี้ธุรกิจร้านอาหารศักยภาพสูง หากได้รับการสนับสนุนจริงจัง จะเป็นผู้ส่งออกอาหารรายใหญ่ 1 ใน 5 ของโลก ภายใน 3 ปี
นายโชติศักดิ์ อาสภวิริยะ กรรมการผู้จัดการ ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (เอสเอ็มอีแบงก์) ในฐานะประธานคณะทำงานด้านเงินทุนร้านอาหารไทยในต่างประเทศ โครงการพัฒนาอาหารไทยและครัวไทยสู่โลก เปิดเผยถึงการสนับสนุนด้านเงินทุนให้แก่ผู้ประกอบการอาหารไทย ว่า เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายนที่ผ่านมา คณะทำงานด้านการเงินฯ ได้เชิญสถาบันการเงินทั้งไทยและต่างประเทศ ประมาณ 17 แห่ง อาที ธนาคารไทยพาณิชย์, Exim Bank, ธนาคารกรุงเทพ, ธนาคารกสิกรไทย, ธนาคารทหารไทร, ธนาคารกรุงศรีอยุธยา, ธนาคารไทยธนาคาร, ธนาคารนครหลวงไทย, ธนาคารกรุงไทย, ธนาคารเอเชีย, Nation Finance Services, Bank of China, Oversea-Chinese Banking, Sumitomo Mitsui Banking, Standard Chartered Bank, The Bank of Nova Scotia เป็นต้น มาร่วมประชุมเพื่อหาแนวทางการสนับสนุนด้านเงินทุนให้กับผู้ประกอบการอาหารไทย
โดยการประชุมครั้งนี้เน้นไปที่การเชิญชวนให้สถาบันการเงินต่างๆ ร่วมกันสนับสนุนสินเชื่อให้กับผู้ประกอบการอาหารไทยให้มากขึ้น เนื่องจากปัจจุบันอาหารไทยกำลังได้รับความนิยมอย่างสูงจากทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ ตลาดมีอัตราการเติบโตอย่างมากโดยเฉพาะในต่างประเทศ นอกจากนี้ยังได้รับแรงสนับสนุนจากรัฐบาลอย่างเต็มที่ อาทิเช่น การขยายช่องทางตลาดใหม่ๆ การจัดให้มีศูนย์แสดงสินค้าไทยในต่างประเทศ หรือ Exhibition Center รวมทั้งการประชาสัมพันธ์สินค้าอย่างต่อเนื่อง ซึ่งส่งผลให้อาหารไทยมีมาตรฐานมากขึ้น และเป็นที่รู้จักไปแล้วทั่วโลก
“การปล่อยสินเชื่อร้านอาหารไทยในต่างประเทศที่ผ่านมา เข้าใจกันว่ามีความเสี่ยงสูงเพราะอยู่ต่างประเทศ ซึ่งความจริงแล้วไม่เป็นเช่นนั้น ธุรกิจร้านอาหารไทยมีศักยภาพสูง มีโอกาสทำกำไรได้อย่างชัดเจน และมีแนวโน้มเติบโตดีมาก ถ้าจะมองในแง่ความเสี่ยงธุรกิจมีน้อย ส่วนใหญ่จะมีความเสี่ยงในเรื่องตัวผู้ประกอบการมากกว่า ถ้าไม่ใช้เงินผิดวัตถุประสงค์ ธุรกิจมีโอกาสเติบโตค่อนข้างชัดเจน จึงอยากให้ทุกธนาคารเข้ามาช่วยกันสนับสนุนร้านอาหารไทยมากๆ”
นายโชติศักดิ์ กล่าวเพิ่มเติมว่า ขณะนี้มีหลายธนาคารเริ่มให้ความสนใจปล่อยสินเชื่อให้กับอาหารไทยมากขึ้น ซึ่งต่างก็ยืนยันพร้อมที่จะให้การสนับสนุน ซึ่งหากได้รับความร่วมมือและได้รับการสนับสนุนอย่างจริงจังแล้ว ประเทศไทยจะเป็นผู้ส่งออกอาหารรายใหญ่ 1 ใน 5 ของโลก ภายใน 2-3 ปีนี้ได้ไม่ยาก นอกจากนี้ยังช่วยผลักดันให้วัตถุดิบในการปรุงอาหารของไทย ตลอดจนเครื่องปรุงอื่นๆ สามารถส่งออกได้มากขึ้นอีกด้วย
หน่วยงานและโครงการที่เกี่ยวข้องในการสนับสนุนเอสเอ็มอี
กระทรวงอุตสาหกรรม
สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม
ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย
สถาบันพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม
บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม
กระทรวงพาณิชย์
กรมส่งเสริมการส่งออก
กระทรวงมหาดไทย
กรมพัฒนาชุมชน
กระทรวงการคลัง
ธนาคารออมสิน
ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
ตลาดหลักทรัพย์ใหม่
คัดสรรสุดยอดสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์(โอทอป)
นายโชติศักดิ์ อาสภวิริยะ กรรมการผู้จัดการ ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (เอสเอ็มอีแบงก์) ในฐานะประธานคณะทำงานด้านเงินทุนร้านอาหารไทยในต่างประเทศ โครงการพัฒนาอาหารไทยและครัวไทยสู่โลก เปิดเผยถึงการสนับสนุนด้านเงินทุนให้แก่ผู้ประกอบการอาหารไทย ว่า เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายนที่ผ่านมา คณะทำงานด้านการเงินฯ ได้เชิญสถาบันการเงินทั้งไทยและต่างประเทศ ประมาณ 17 แห่ง อาที ธนาคารไทยพาณิชย์, Exim Bank, ธนาคารกรุงเทพ, ธนาคารกสิกรไทย, ธนาคารทหารไทร, ธนาคารกรุงศรีอยุธยา, ธนาคารไทยธนาคาร, ธนาคารนครหลวงไทย, ธนาคารกรุงไทย, ธนาคารเอเชีย, Nation Finance Services, Bank of China, Oversea-Chinese Banking, Sumitomo Mitsui Banking, Standard Chartered Bank, The Bank of Nova Scotia เป็นต้น มาร่วมประชุมเพื่อหาแนวทางการสนับสนุนด้านเงินทุนให้กับผู้ประกอบการอาหารไทย
โดยการประชุมครั้งนี้เน้นไปที่การเชิญชวนให้สถาบันการเงินต่างๆ ร่วมกันสนับสนุนสินเชื่อให้กับผู้ประกอบการอาหารไทยให้มากขึ้น เนื่องจากปัจจุบันอาหารไทยกำลังได้รับความนิยมอย่างสูงจากทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ ตลาดมีอัตราการเติบโตอย่างมากโดยเฉพาะในต่างประเทศ นอกจากนี้ยังได้รับแรงสนับสนุนจากรัฐบาลอย่างเต็มที่ อาทิเช่น การขยายช่องทางตลาดใหม่ๆ การจัดให้มีศูนย์แสดงสินค้าไทยในต่างประเทศ หรือ Exhibition Center รวมทั้งการประชาสัมพันธ์สินค้าอย่างต่อเนื่อง ซึ่งส่งผลให้อาหารไทยมีมาตรฐานมากขึ้น และเป็นที่รู้จักไปแล้วทั่วโลก
“การปล่อยสินเชื่อร้านอาหารไทยในต่างประเทศที่ผ่านมา เข้าใจกันว่ามีความเสี่ยงสูงเพราะอยู่ต่างประเทศ ซึ่งความจริงแล้วไม่เป็นเช่นนั้น ธุรกิจร้านอาหารไทยมีศักยภาพสูง มีโอกาสทำกำไรได้อย่างชัดเจน และมีแนวโน้มเติบโตดีมาก ถ้าจะมองในแง่ความเสี่ยงธุรกิจมีน้อย ส่วนใหญ่จะมีความเสี่ยงในเรื่องตัวผู้ประกอบการมากกว่า ถ้าไม่ใช้เงินผิดวัตถุประสงค์ ธุรกิจมีโอกาสเติบโตค่อนข้างชัดเจน จึงอยากให้ทุกธนาคารเข้ามาช่วยกันสนับสนุนร้านอาหารไทยมากๆ”
นายโชติศักดิ์ กล่าวเพิ่มเติมว่า ขณะนี้มีหลายธนาคารเริ่มให้ความสนใจปล่อยสินเชื่อให้กับอาหารไทยมากขึ้น ซึ่งต่างก็ยืนยันพร้อมที่จะให้การสนับสนุน ซึ่งหากได้รับความร่วมมือและได้รับการสนับสนุนอย่างจริงจังแล้ว ประเทศไทยจะเป็นผู้ส่งออกอาหารรายใหญ่ 1 ใน 5 ของโลก ภายใน 2-3 ปีนี้ได้ไม่ยาก นอกจากนี้ยังช่วยผลักดันให้วัตถุดิบในการปรุงอาหารของไทย ตลอดจนเครื่องปรุงอื่นๆ สามารถส่งออกได้มากขึ้นอีกด้วย
หน่วยงานและโครงการที่เกี่ยวข้องในการสนับสนุนเอสเอ็มอี
กระทรวงอุตสาหกรรม
สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม
ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย
สถาบันพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม
บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม
กระทรวงพาณิชย์
กรมส่งเสริมการส่งออก
กระทรวงมหาดไทย
กรมพัฒนาชุมชน
กระทรวงการคลัง
ธนาคารออมสิน
ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
ตลาดหลักทรัพย์ใหม่
คัดสรรสุดยอดสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์(โอทอป)