“ผ้าใยบัว” หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า “ผ้าเชอรี่ล่อน” ถือเป็นวัสดุแปรรูปซึ่งปัจจุบันมีความสำคัญเป็นอย่างมากต่อผู้ประกอบวิชาชีพการทำดอกไม้ประดิษฐ์ เพื่อใช้เป็นของประดับตกแต่งบ้าน หรือ สำนักงาน รวมถึงการนำไปเป็นของขวัญของฝากให้กับผู้หลักผู้ใหญ่ในเทศกาลสำคัญๆ เช่น เทศกาลปีใหม่ ฯลฯ

ขนิษฐา ก้อนทอง เจ้าของกิจการร้านดอกไม้ประดิษฐ์บ้านก้อนทอง และประธานกลุ่มสตรีอาชีพดอกไม้ประดิษฐ์ ต.คลองสาม อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี เล่าว่า ในอดีตช่วงเทศกาลปีใหม่ทุกปี ครอบครัวของสามีซึ่งส่วนใหญ่ประกอบวิชาชีพด้านกฎหมาย จะต้องซื้อหาดอกไม้นำไปเป็นของขวัญปีใหม่แก่ผู้ใหญ่ที่เคารพนับถือ ปีหนึ่งๆ เสียค่าใช้จ่ายไม่น้อย ตนจึงได้ไปเรียนวิชาชีพการทำดอกไม้ประดิษฐ์ หลังจากที่จบหลักสูตรได้ประดิษฐ์ดอกไม้ทั้งจากที่คิดออกแบบเอง ดูแบบจากที่อื่นๆ บ้าง นำมาประยุกต์ผสมผสานกัน เพื่อให้เกิดความสวยงามมากที่สุด
“การขายในช่วงเริ่มต้นจะอยู่ในวงแคบ เฉพาะบุคคลที่ใกล้ชิดและรู้จักคุ้นเคย กระทั่งเมื่อต้นปีนี้ จึงได้ขยายธุรกิจ ภายใต้ชื่อ “ร้านดอกไม้บ้านก้อนทอง” โดยมีลักษณะเด่น คือสีสันสดใส โครงลวดที่แน่นหนาแข็งแรง บางดอกจะหุ้มผ้าใยบัวถึง 2 ชั้น การพันก้าน การหุ้มผ้าด้วยความละเอียดปราณีต ที่สำคัญคือวัตถุดิบที่นำมาใช้ จะคัดสรรจากภายในชุมชน และไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม” ขนิษฐา กล่าว
นอกจากนี้ ยังได้คิดออกแบบลายใหม่ ไว้รองรับช่วงเทศกาลวันวาเลนไทน์ และยังมีแนวคิดพัฒนาแพกเกจจิ้งกระดาษสา สำหรับลูกค้าที่ต้องการซื้อไปเป็นของขวัญของฝาก เพื่อเพิ่มความสวยงามให้กับผลิตภัณฑ์ของทางร้านให้น่าสนใจมากยิ่งขึ้นด้วย
ผลิตภัณฑ์ดอกไม้ประดิษฐ์จากผ้าใยบัวบ้านก้อนทอง ได้ขึ้นทะเบียนเป็นสินค้า 1 ตำบล 1 ผลิตภัณฑ์ ของอำเภอคลองหลวง จ.ปทุมธานี พร้อมทั้งได้เข้ารับการพิจารณาคัดสรรสุดยอดโอทอปในปี 2547 นี้เป็นปีแรก นอกจากจะดำเนินการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า “บ้านก้อนทอง” และจดทะเบียนมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน (มผช.) เพื่อการรับรองมาตรฐานสินค้าไว้เรียบร้อยแล้วเช่นกัน โดยได้รับการช่วยเหลือและสนับสนุนจาก กิจกรรมบริการทรัพย์สินทางปัญญา (IPS) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)

ล่าสุด ร้านบ้านก้อนทอง เตรียมปรับมาเป็น “กลุ่มสตรีอาชีพดอกไม้ประดิษฐ์ ต.คลองสาม อ.คลองหลวง” โดยใช้พื้นที่ว่างส่วนหนึ่งของร้านทำเป็นกลุ่มอาชีพ เพื่อหวังสร้างรายได้เสริมให้กับกลุ่มแม่บ้านและกลุ่มสตรีในชุมชน โดยขณะนี้ได้จัดทำระเบียบของกลุ่มเสร็จเรียบร้อยแล้ว จากนั้นจะได้ดำเนินการจดทะเบียนเป็นกลุ่มอาชีพชุมชนต่อไป
ทางกลุ่มฯ เตรียมแผนด้านการตลาด โดยจัดทำเว็บไซต์และแผ่นพับแนะนำสินค้า เพื่อเป็นช่องทางที่จะขยายตลาดไปสู่กลุ่มเป้าหมายได้เพิ่มมากขึ้น โดยจะเป็นตลาดที่มีกำลังซื้อค่อนข้างสูง เนื่องจากสินค้าของกลุ่มฯ เป็นสินค้าฟุ่มเฟื่อยและมีราคาสูง
“ส่วนเรื่องส่งออก คงต้องรอดูผลตอบรับตลาดในประเทศก่อน จากนั้นจึงขยับขยายสู่ตลาดต่างประเทศต่อไป เชื่อว่าสินค้าทางกลุ่มของเรามีศักยภาพเพียงพอ ส่วนประเทศที่น่าจะส่งออกได้ ได้แก่ อังกฤษ สหรัฐฯ ญี่ปุ่น และประเทศแถบเพื่อนบ้าน เช่น สิงคโปร์ มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย พม่า ลาว กัมพูชา และเวียดนาม” ขนิษฐา กล่าว
ขณะนี้ เครือข่ายสมาชิกทั้ง 7 อำเภอ ในจังหวัดปทุมธานี ได้ร่วมมือกันจัดทำเป็นกลุ่มอาชีพประดิษฐ์ดอกไม้เช่นเดียวกัน ดังนั้น หากสามารถทำให้เกิดการรวมกลุ่มกันขึ้น จะช่วยเพิ่มความแข็งแกร่งให้กับกลุ่มดอกไม้ประดิษฐ์ในจังหวัดปทุมธานี เพื่อนำมาเป็นจุดขายให้กับกลุ่มได้อีกทางหนึ่ง โดยมี IPS เข้ามาช่วยสนับสนุนทั้งการจดสิทธิบัตร เครื่องหมายการค้า การจัดทำเว็บไซด์ การขอมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน และข้อมูลที่เป็นช่องทางการตลาดให้กับกลุ่มฯ
“ที่ผ่านมาได้พูดคุยอย่างไม่เป็นทางการไปแล้ว 3 กลุ่ม ซึ่งเป็นกลุ่มที่ทำดอกไม้ประดิษฐ์จากดินไทย ดินญี่ปุ่นและผ้าใยบัว ซึ่งอยู่ในอำเภออื่น ส่วนที่เหลืออีก 2-3 กลุ่ม คาดว่าไม่น่ามีปัญหาอะไร ปัญหาตอนนี้ คือ พยายามหาผู้ที่จะว่าจ้างเราทำก่อน เพราะกลุ่มแม่บ้านเหล่านี้ส่วนใหญ่ยินดีให้ความร่วมมือกับเราอยู่แล้ว”
* * * * *
ผู้ประกอบการรายใดสนใจเข้าขอรับความช่วยเหลือ สนับสนุนจากโครงการ ITAP สามารถขอข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ โทร.0-2564-8000
ขนิษฐา ก้อนทอง เจ้าของกิจการร้านดอกไม้ประดิษฐ์บ้านก้อนทอง และประธานกลุ่มสตรีอาชีพดอกไม้ประดิษฐ์ ต.คลองสาม อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี เล่าว่า ในอดีตช่วงเทศกาลปีใหม่ทุกปี ครอบครัวของสามีซึ่งส่วนใหญ่ประกอบวิชาชีพด้านกฎหมาย จะต้องซื้อหาดอกไม้นำไปเป็นของขวัญปีใหม่แก่ผู้ใหญ่ที่เคารพนับถือ ปีหนึ่งๆ เสียค่าใช้จ่ายไม่น้อย ตนจึงได้ไปเรียนวิชาชีพการทำดอกไม้ประดิษฐ์ หลังจากที่จบหลักสูตรได้ประดิษฐ์ดอกไม้ทั้งจากที่คิดออกแบบเอง ดูแบบจากที่อื่นๆ บ้าง นำมาประยุกต์ผสมผสานกัน เพื่อให้เกิดความสวยงามมากที่สุด
“การขายในช่วงเริ่มต้นจะอยู่ในวงแคบ เฉพาะบุคคลที่ใกล้ชิดและรู้จักคุ้นเคย กระทั่งเมื่อต้นปีนี้ จึงได้ขยายธุรกิจ ภายใต้ชื่อ “ร้านดอกไม้บ้านก้อนทอง” โดยมีลักษณะเด่น คือสีสันสดใส โครงลวดที่แน่นหนาแข็งแรง บางดอกจะหุ้มผ้าใยบัวถึง 2 ชั้น การพันก้าน การหุ้มผ้าด้วยความละเอียดปราณีต ที่สำคัญคือวัตถุดิบที่นำมาใช้ จะคัดสรรจากภายในชุมชน และไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม” ขนิษฐา กล่าว
นอกจากนี้ ยังได้คิดออกแบบลายใหม่ ไว้รองรับช่วงเทศกาลวันวาเลนไทน์ และยังมีแนวคิดพัฒนาแพกเกจจิ้งกระดาษสา สำหรับลูกค้าที่ต้องการซื้อไปเป็นของขวัญของฝาก เพื่อเพิ่มความสวยงามให้กับผลิตภัณฑ์ของทางร้านให้น่าสนใจมากยิ่งขึ้นด้วย
ผลิตภัณฑ์ดอกไม้ประดิษฐ์จากผ้าใยบัวบ้านก้อนทอง ได้ขึ้นทะเบียนเป็นสินค้า 1 ตำบล 1 ผลิตภัณฑ์ ของอำเภอคลองหลวง จ.ปทุมธานี พร้อมทั้งได้เข้ารับการพิจารณาคัดสรรสุดยอดโอทอปในปี 2547 นี้เป็นปีแรก นอกจากจะดำเนินการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า “บ้านก้อนทอง” และจดทะเบียนมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน (มผช.) เพื่อการรับรองมาตรฐานสินค้าไว้เรียบร้อยแล้วเช่นกัน โดยได้รับการช่วยเหลือและสนับสนุนจาก กิจกรรมบริการทรัพย์สินทางปัญญา (IPS) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)
ล่าสุด ร้านบ้านก้อนทอง เตรียมปรับมาเป็น “กลุ่มสตรีอาชีพดอกไม้ประดิษฐ์ ต.คลองสาม อ.คลองหลวง” โดยใช้พื้นที่ว่างส่วนหนึ่งของร้านทำเป็นกลุ่มอาชีพ เพื่อหวังสร้างรายได้เสริมให้กับกลุ่มแม่บ้านและกลุ่มสตรีในชุมชน โดยขณะนี้ได้จัดทำระเบียบของกลุ่มเสร็จเรียบร้อยแล้ว จากนั้นจะได้ดำเนินการจดทะเบียนเป็นกลุ่มอาชีพชุมชนต่อไป
ทางกลุ่มฯ เตรียมแผนด้านการตลาด โดยจัดทำเว็บไซต์และแผ่นพับแนะนำสินค้า เพื่อเป็นช่องทางที่จะขยายตลาดไปสู่กลุ่มเป้าหมายได้เพิ่มมากขึ้น โดยจะเป็นตลาดที่มีกำลังซื้อค่อนข้างสูง เนื่องจากสินค้าของกลุ่มฯ เป็นสินค้าฟุ่มเฟื่อยและมีราคาสูง
“ส่วนเรื่องส่งออก คงต้องรอดูผลตอบรับตลาดในประเทศก่อน จากนั้นจึงขยับขยายสู่ตลาดต่างประเทศต่อไป เชื่อว่าสินค้าทางกลุ่มของเรามีศักยภาพเพียงพอ ส่วนประเทศที่น่าจะส่งออกได้ ได้แก่ อังกฤษ สหรัฐฯ ญี่ปุ่น และประเทศแถบเพื่อนบ้าน เช่น สิงคโปร์ มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย พม่า ลาว กัมพูชา และเวียดนาม” ขนิษฐา กล่าว
ขณะนี้ เครือข่ายสมาชิกทั้ง 7 อำเภอ ในจังหวัดปทุมธานี ได้ร่วมมือกันจัดทำเป็นกลุ่มอาชีพประดิษฐ์ดอกไม้เช่นเดียวกัน ดังนั้น หากสามารถทำให้เกิดการรวมกลุ่มกันขึ้น จะช่วยเพิ่มความแข็งแกร่งให้กับกลุ่มดอกไม้ประดิษฐ์ในจังหวัดปทุมธานี เพื่อนำมาเป็นจุดขายให้กับกลุ่มได้อีกทางหนึ่ง โดยมี IPS เข้ามาช่วยสนับสนุนทั้งการจดสิทธิบัตร เครื่องหมายการค้า การจัดทำเว็บไซด์ การขอมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน และข้อมูลที่เป็นช่องทางการตลาดให้กับกลุ่มฯ
“ที่ผ่านมาได้พูดคุยอย่างไม่เป็นทางการไปแล้ว 3 กลุ่ม ซึ่งเป็นกลุ่มที่ทำดอกไม้ประดิษฐ์จากดินไทย ดินญี่ปุ่นและผ้าใยบัว ซึ่งอยู่ในอำเภออื่น ส่วนที่เหลืออีก 2-3 กลุ่ม คาดว่าไม่น่ามีปัญหาอะไร ปัญหาตอนนี้ คือ พยายามหาผู้ที่จะว่าจ้างเราทำก่อน เพราะกลุ่มแม่บ้านเหล่านี้ส่วนใหญ่ยินดีให้ความร่วมมือกับเราอยู่แล้ว”
* * * * *
ผู้ประกอบการรายใดสนใจเข้าขอรับความช่วยเหลือ สนับสนุนจากโครงการ ITAP สามารถขอข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ โทร.0-2564-8000