เจ้าตำรับโอ่งเลี้ยงปลา เตรียมออกสินค้าตู้เลี้ยงปลาแบบใหม่ในราคาพันต้นๆ เอาใจกลุ่มวัยรุ่น คนทำงานกระเป๋าบาง ระบุดีไซน์สไตล์ปรีซึม คงเอกลักษณ์ระบบนิเวศ ลดภาระไม่ต้องเปลี่ยนน้ำบ่อยเช่นเดิม โปรแกรมคลอดตุลาคมนี้
![](https://mpics.mgronline.com/pics/Images/547000000519001.JPEG)
หลังจากสร้างผลงานโอ่งเลี้ยงปลา ระบบนิเวศ จนกลายเป็นของตบแต่งบ้านที่ได้รับความนิยมจากทั้งชาวไทยและเทศมาแล้ว นายนุกุล วัฒนะศุกร์ เจ้าของไอเดียดังกล่าว เปิดเผยว่า ขณะนี้กำลังคิดประดิษฐ์สินค้าตัวใหม่ เพื่อขยายกลุ่มลูกค้าให้กว้างขึ้น เนื่องจากที่ผ่านมา แม้ว่าโอ่งเลี้ยงปลาจะได้รับผลตอบรับดีมาก แต่เนื่องจากราคาค่อนข้างสูง ขนาดใหญ่ 6,500 บาท กลาง 5,000 บาท และเล็ก 3,500 บาท เหตุที่ต้องขายในราคาสูงเช่นนี้ เพราะแค่ต้นทุนก็สูงถึง 60 เปอร์เซ็นต์ของราคาขายแล้ว ยังไม่รวมค่าแรง และค่าไอเดีย จึงไม่สามารถลดราคาให้ต่ำลงได้ ทำให้กลุ่มวัยรุ่น และคนทำงานฐานะปานกลาง แม้ว่าจะอยากได้ แต่ไม่มีกำลังซื้อ จึงคิดผลิตตู้เลี้ยงปลารูปแบบใหม่ขึ้น ให้มีขนาดเล็กลง พยายามลดต้นทุนให้ต่ำที่สุด แต่ยังเอกลักษณ์ในการผสมผสานระหว่างดีไซน์ และระบบนิเวศไว้ด้วยกันเช่นเดิม
“ผมมองว่า โอ่งเลี้ยงปลาถือเป็นการเริ่มต้นที่ดี มีวัยรุ่นหันมาสนใจ ถ้าเป็นโอ่งเปล่าๆ คงไม่มีใครมอง แต่เมื่อเขาเห็นโอ่งที่ใส่ไอเดียจึงเกิดสนใจ อยากมีเก็บไว้บ้าง แต่โอ่งราคาสูง แต่ตัวใหม่นี้ ราคาไม่สูงมาก แต่คุณภาพเยี่ยม ผมอยากจะสร้างสุนทรียภาพให้กับคนมอง เขาอาจวางไว้ในห้องน้ำ หรือห้องนอน เช่น เมื่อเข้าไปในห้องน้ำ ก็ได้เห็นที่เลี้ยงปลา ซึ่งเป็นระบบนิเวศวิทยาจริงๆ ทำให้มีความสุข มองไปแล้วเหมือนก้นบึง ไม่เหมือนกับตู้ปลาทั่วๆ ไป ที่เป็นการจัดแต่งขึ้นมา แต่นี่คือ ปล่อยตามธรรมชาติจริงๆ เมื่อเขาได้มองก็จะสบายใจ อีกทั้ง เป็นที่ตู้ปลา ซึ่งไม่เป็นภาระต้องเปลี่ยนน้ำบ่อยด้วย”
![](https://mpics.mgronline.com/pics/Images/547000000519002.JPEG)
สำหรับรูปทรงจะออกแบบให้เป็นลักษณะเลขาคณิตสมัยใหม่ คล้ายปรีซึม หรือพิระมิด มีทั้งส่วนเหลี่ยม และส่วนโค้งมน สามารถมองได้หลายมิติ และมองได้หลายมุม โดยเน้นให้เห็นความสดใส ขนาดความสูง ประมาณ 50-60 ซม. กว้างประมาณ 20 - 30 ซม. ด้านตัวโครงปั้นจากดินเผา เจาะช่องให้มองเห็นภายใน โดยใช้อะครีลีดแทนกระจก ทำให้ไม่เกิดปัญหาตะไคร้เกาะ และใช้ซีลิโคนเชื่อมต่อกับตัวโครง
ภายในใช้หลักการเดียวกับโอ่งเลี้ยงปลา โดยปลูกพืชบนดิน พร้อมติดตั้งท่อออกซิเจน และไฟอีก 1 ดวง คล้ายเป็นการจำลองธรรมชาติให้เกิดระบบนิเวศ ทำให้น้ำไม่เน่าเสีย ประมาณ 8-9 เดือน ถึงจำเป็นเปลี่ยนน้ำสักครั้ง นอกจากนั้น ยังออกแบบเจาะรูด้านบนสำหรับให้อาหาร และมีก๊อกน้ำไว้ด้านหลังสำหรับเปิดถ่ายน้ำออกได้ เพื่อสะดวกในการเปลี่ยนน้ำ สำหรับราคาขายตั้งไว้ที่ประมาณ 1,000 -1,200 บาท โดยคาดว่าจะออกสู่ตลาดได้ราวเดือนตุลาคมปีนี้
สำหรับตัวตอนแบบขณะนี้อยู่ที่โรงงานผลิต ในจังหวัดนครราชสีมา โดยยังติดปัญหาอยู่บ้าง เรื่องระบบภายในของปริมาณน้ำ ซึ่งต้องคำนวณอย่างแม่นยำ แต่อย่างไรเสีย จากแนวโน้มการพัฒนา และประสบการณ์ที่ผ่านมา เชื่อแน่ว่า จะวางตลาดทันกำหนดแน่นอน
![](https://mpics.mgronline.com/pics/Images/547000000519003.JPEG)
“ผมเรียนมาด้านการคำนวณน้ำ ถ้าไม่เช็คเรื่องน้ำ แรงดันภายใน ปริมาณน้ำให้แน่นอน แล้วเอาน้ำ เอาดิน เอาไฟใส่เข้าไป ก็จะไม่เกิดเป็นระบบนิเวศเลย ตรงนี้เป็นศาสตร์ที่เรียนกันยาก และลึกซึ้งมาก ทุกอย่างต้องผ่านการทดลอง ทุกอย่างต้องมีปริมาณ ความดัน ขนาด ทุกอย่างต้องลงตัว หัวใจสำคัญคือ รูปทรงของตู้ปลา ที่เห็นตู้ปลาทั่วไป จะสวยแค่เดือนเดียว หลังจากนั้น น้ำจะขุ่น เพราะไม่ได้คำนวณระบบนิเวศมา ทำให้การปรับเปลี่ยนของอุณหภูมิรวดเร็ว เพราะมีส่วนเปิดใสอยู่ข้างบน โดนแสงกระทบทำให้อุณหภูมิเปลี่ยน ปลาก็อ่อนแอ ซึ่งจริงๆ แล้ว ปลาและต้นไม้ ต้องการความเย็น อุณหภูมิควรอยู่ที่ 26-27 องศา ผมจึงต้องเรียนรู้ความจำเป็นพื้นฐานของสิ่งมีชีวิต คือ ธาตุ ทั้ง 4 ดิน น้ำ ลม ไฟ แล้วจับมารวมกัน และขายในราคาไม่แพง แต่คุณภาพดีเหมือนกัน” เจ้าตำรับโอ่งเลี้ยงปลา กล่าว
รับสอนฟรี วิชาทำโอ่งเลี้ยงปลา
นอกจากนี้ นายนุกุล เปิดเผยอีกว่า ในปัจจุบันมียอดสั่งโอ่งเลี้ยงปลาเข้ามาเดือนละ 200-300 ใบ แต่ทำได้แค่เดือนละประมาณ 20 ใบเท่านั้น ลูกค้าที่สั่งต้องรอตามคิว เนื่องจากเขายังทำงานประจำอยู่ที่ธนาคารเพื่อการเกษตร และสหกรณ์การเกษตร (ธกส.) จึงมีเวลาทำโอ่งเลี้ยงปลา แค่ช่วงเย็นและวันหยุดเท่านั้น อย่างไรก็ตาม มีโครงการจะออกมาทำธุรกิจนี้ เต็มตัว และคงต้องมีการเสริมกำลังคนในภายหลัง
![](https://mpics.mgronline.com/pics/Images/547000000519004.JPEG)
ทั้งนี้ สำหรับผู้ที่ต้องการจะเรียนรู้วิธีการทำโอ่งเลี้ยงปลา เพื่อยึดเป็นอาชีพหลัก หรืออาชีพเสริม เขายินดีจะถ่ายทอดให้ฟรีๆ โดยขอให้มาเฝ้าดูวิธีทำ และลองลงมือปฏิบัติได้ที่บ้านเลขที่ 99/634 หมู่บ้านนักกีฬาแหลมทอง ตั้งแต่ช่วง 20.00 น. เป็นต้นไป ซึ่งเขาจะเริ่มทำงาน
“ผมจดสิทธิบัตรของโอ่งเลี้ยงปลาไว้แล้ว แต่ผมไม่หวงวิชา และผมไม่กลัวใครก๊อบปี้แบบ แต่กลัวว่าจะแอบไปทำเอง แล้วไม่มีคุณภาพ ทำให้กลายเป็นของโหล และทำให้โอ่งเสียชื่อ ดังนั้น ถ้าอยากมาทำ มาศึกษาให้ถูกวิธี ให้ได้มาตรฐาน แต่คนที่จะมา ต้องใช้ใจสูงมาก เพราะการเผา 10 ลูก จะต้องมีเสีย 2-3 ลูก ลวดลายต้องลงด้วยมือ แต่ละใบใช้เวลาทำเป็นเดือน ถ้าใจไม่รักจริง ทำไมได้หรอก” นายนุกุล กล่าว
อ่านข่าวเกี่ยวข้อง
เจ้าไอเดียโอ่งเลี้ยงปลา “ผมอยากทำอะไรฝากไว้ให้ทุกคนจดจำ”
โอ่งเลี้ยงปลา…ไอเดียของคน ‘รักษ์’ โอ่ง
หลังจากสร้างผลงานโอ่งเลี้ยงปลา ระบบนิเวศ จนกลายเป็นของตบแต่งบ้านที่ได้รับความนิยมจากทั้งชาวไทยและเทศมาแล้ว นายนุกุล วัฒนะศุกร์ เจ้าของไอเดียดังกล่าว เปิดเผยว่า ขณะนี้กำลังคิดประดิษฐ์สินค้าตัวใหม่ เพื่อขยายกลุ่มลูกค้าให้กว้างขึ้น เนื่องจากที่ผ่านมา แม้ว่าโอ่งเลี้ยงปลาจะได้รับผลตอบรับดีมาก แต่เนื่องจากราคาค่อนข้างสูง ขนาดใหญ่ 6,500 บาท กลาง 5,000 บาท และเล็ก 3,500 บาท เหตุที่ต้องขายในราคาสูงเช่นนี้ เพราะแค่ต้นทุนก็สูงถึง 60 เปอร์เซ็นต์ของราคาขายแล้ว ยังไม่รวมค่าแรง และค่าไอเดีย จึงไม่สามารถลดราคาให้ต่ำลงได้ ทำให้กลุ่มวัยรุ่น และคนทำงานฐานะปานกลาง แม้ว่าจะอยากได้ แต่ไม่มีกำลังซื้อ จึงคิดผลิตตู้เลี้ยงปลารูปแบบใหม่ขึ้น ให้มีขนาดเล็กลง พยายามลดต้นทุนให้ต่ำที่สุด แต่ยังเอกลักษณ์ในการผสมผสานระหว่างดีไซน์ และระบบนิเวศไว้ด้วยกันเช่นเดิม
“ผมมองว่า โอ่งเลี้ยงปลาถือเป็นการเริ่มต้นที่ดี มีวัยรุ่นหันมาสนใจ ถ้าเป็นโอ่งเปล่าๆ คงไม่มีใครมอง แต่เมื่อเขาเห็นโอ่งที่ใส่ไอเดียจึงเกิดสนใจ อยากมีเก็บไว้บ้าง แต่โอ่งราคาสูง แต่ตัวใหม่นี้ ราคาไม่สูงมาก แต่คุณภาพเยี่ยม ผมอยากจะสร้างสุนทรียภาพให้กับคนมอง เขาอาจวางไว้ในห้องน้ำ หรือห้องนอน เช่น เมื่อเข้าไปในห้องน้ำ ก็ได้เห็นที่เลี้ยงปลา ซึ่งเป็นระบบนิเวศวิทยาจริงๆ ทำให้มีความสุข มองไปแล้วเหมือนก้นบึง ไม่เหมือนกับตู้ปลาทั่วๆ ไป ที่เป็นการจัดแต่งขึ้นมา แต่นี่คือ ปล่อยตามธรรมชาติจริงๆ เมื่อเขาได้มองก็จะสบายใจ อีกทั้ง เป็นที่ตู้ปลา ซึ่งไม่เป็นภาระต้องเปลี่ยนน้ำบ่อยด้วย”
สำหรับรูปทรงจะออกแบบให้เป็นลักษณะเลขาคณิตสมัยใหม่ คล้ายปรีซึม หรือพิระมิด มีทั้งส่วนเหลี่ยม และส่วนโค้งมน สามารถมองได้หลายมิติ และมองได้หลายมุม โดยเน้นให้เห็นความสดใส ขนาดความสูง ประมาณ 50-60 ซม. กว้างประมาณ 20 - 30 ซม. ด้านตัวโครงปั้นจากดินเผา เจาะช่องให้มองเห็นภายใน โดยใช้อะครีลีดแทนกระจก ทำให้ไม่เกิดปัญหาตะไคร้เกาะ และใช้ซีลิโคนเชื่อมต่อกับตัวโครง
ภายในใช้หลักการเดียวกับโอ่งเลี้ยงปลา โดยปลูกพืชบนดิน พร้อมติดตั้งท่อออกซิเจน และไฟอีก 1 ดวง คล้ายเป็นการจำลองธรรมชาติให้เกิดระบบนิเวศ ทำให้น้ำไม่เน่าเสีย ประมาณ 8-9 เดือน ถึงจำเป็นเปลี่ยนน้ำสักครั้ง นอกจากนั้น ยังออกแบบเจาะรูด้านบนสำหรับให้อาหาร และมีก๊อกน้ำไว้ด้านหลังสำหรับเปิดถ่ายน้ำออกได้ เพื่อสะดวกในการเปลี่ยนน้ำ สำหรับราคาขายตั้งไว้ที่ประมาณ 1,000 -1,200 บาท โดยคาดว่าจะออกสู่ตลาดได้ราวเดือนตุลาคมปีนี้
สำหรับตัวตอนแบบขณะนี้อยู่ที่โรงงานผลิต ในจังหวัดนครราชสีมา โดยยังติดปัญหาอยู่บ้าง เรื่องระบบภายในของปริมาณน้ำ ซึ่งต้องคำนวณอย่างแม่นยำ แต่อย่างไรเสีย จากแนวโน้มการพัฒนา และประสบการณ์ที่ผ่านมา เชื่อแน่ว่า จะวางตลาดทันกำหนดแน่นอน
“ผมเรียนมาด้านการคำนวณน้ำ ถ้าไม่เช็คเรื่องน้ำ แรงดันภายใน ปริมาณน้ำให้แน่นอน แล้วเอาน้ำ เอาดิน เอาไฟใส่เข้าไป ก็จะไม่เกิดเป็นระบบนิเวศเลย ตรงนี้เป็นศาสตร์ที่เรียนกันยาก และลึกซึ้งมาก ทุกอย่างต้องผ่านการทดลอง ทุกอย่างต้องมีปริมาณ ความดัน ขนาด ทุกอย่างต้องลงตัว หัวใจสำคัญคือ รูปทรงของตู้ปลา ที่เห็นตู้ปลาทั่วไป จะสวยแค่เดือนเดียว หลังจากนั้น น้ำจะขุ่น เพราะไม่ได้คำนวณระบบนิเวศมา ทำให้การปรับเปลี่ยนของอุณหภูมิรวดเร็ว เพราะมีส่วนเปิดใสอยู่ข้างบน โดนแสงกระทบทำให้อุณหภูมิเปลี่ยน ปลาก็อ่อนแอ ซึ่งจริงๆ แล้ว ปลาและต้นไม้ ต้องการความเย็น อุณหภูมิควรอยู่ที่ 26-27 องศา ผมจึงต้องเรียนรู้ความจำเป็นพื้นฐานของสิ่งมีชีวิต คือ ธาตุ ทั้ง 4 ดิน น้ำ ลม ไฟ แล้วจับมารวมกัน และขายในราคาไม่แพง แต่คุณภาพดีเหมือนกัน” เจ้าตำรับโอ่งเลี้ยงปลา กล่าว
รับสอนฟรี วิชาทำโอ่งเลี้ยงปลา
นอกจากนี้ นายนุกุล เปิดเผยอีกว่า ในปัจจุบันมียอดสั่งโอ่งเลี้ยงปลาเข้ามาเดือนละ 200-300 ใบ แต่ทำได้แค่เดือนละประมาณ 20 ใบเท่านั้น ลูกค้าที่สั่งต้องรอตามคิว เนื่องจากเขายังทำงานประจำอยู่ที่ธนาคารเพื่อการเกษตร และสหกรณ์การเกษตร (ธกส.) จึงมีเวลาทำโอ่งเลี้ยงปลา แค่ช่วงเย็นและวันหยุดเท่านั้น อย่างไรก็ตาม มีโครงการจะออกมาทำธุรกิจนี้ เต็มตัว และคงต้องมีการเสริมกำลังคนในภายหลัง
ทั้งนี้ สำหรับผู้ที่ต้องการจะเรียนรู้วิธีการทำโอ่งเลี้ยงปลา เพื่อยึดเป็นอาชีพหลัก หรืออาชีพเสริม เขายินดีจะถ่ายทอดให้ฟรีๆ โดยขอให้มาเฝ้าดูวิธีทำ และลองลงมือปฏิบัติได้ที่บ้านเลขที่ 99/634 หมู่บ้านนักกีฬาแหลมทอง ตั้งแต่ช่วง 20.00 น. เป็นต้นไป ซึ่งเขาจะเริ่มทำงาน
“ผมจดสิทธิบัตรของโอ่งเลี้ยงปลาไว้แล้ว แต่ผมไม่หวงวิชา และผมไม่กลัวใครก๊อบปี้แบบ แต่กลัวว่าจะแอบไปทำเอง แล้วไม่มีคุณภาพ ทำให้กลายเป็นของโหล และทำให้โอ่งเสียชื่อ ดังนั้น ถ้าอยากมาทำ มาศึกษาให้ถูกวิธี ให้ได้มาตรฐาน แต่คนที่จะมา ต้องใช้ใจสูงมาก เพราะการเผา 10 ลูก จะต้องมีเสีย 2-3 ลูก ลวดลายต้องลงด้วยมือ แต่ละใบใช้เวลาทำเป็นเดือน ถ้าใจไม่รักจริง ทำไมได้หรอก” นายนุกุล กล่าว
อ่านข่าวเกี่ยวข้อง
เจ้าไอเดียโอ่งเลี้ยงปลา “ผมอยากทำอะไรฝากไว้ให้ทุกคนจดจำ”
โอ่งเลี้ยงปลา…ไอเดียของคน ‘รักษ์’ โอ่ง