xs
xsm
sm
md
lg

ไทย-เกาหลี กับความร่วมมือด้านโซลูชันพลังงานที่ขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยีควอนตัม อีกก้าวสำคัญในการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีควอนตัมเพื่อประโยชน์ทางพาณิชย์

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



เมื่อวันที่ 17 มีนาคม 2568 ได้มีการลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) ระหว่างบริษัท Orientom Co., Ltd. จากประเทศเกาหลีใต้ และบริษัท EQ Tech Energy Co., Ltd. จากประเทศไทย โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร. วรวัฒน์ มีวาสนา รองผู้อำนวยการเทคโนธานี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี และหัวหน้าโครงการวิจัยเทคโนโลยีควอนตัม (Quantum Technology Research Initiative Consortium หรือ QTRic) ร่วมเป็นสักขีพยาน ซึ่งเป็นโครงการวิจัยที่ได้รับการสนับสนุนจาก บพค. ของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (อว.) ความร่วมมือนี้ ถือเป็นก้าวสำคัญในการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีควอนตัมเพื่อประโยชน์ทางพาณิชย์ และสนับสนุน การพัฒนาโครงการ Siam Quantum Valley โดยมุ่งเน้นการใช้พลังการประมวลผลอันรวดเร็วของการประมวลผลควอนตัมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการพลังงาน และลดการสูญเสียพลังงานในโครงข่ายไฟฟ้าที่ผสานไฟฟ้าจากภาครัฐ พลังงานแสงอาทิตย์ และระบบกักเก็บพลังงาน
บทบาทของ Orientom เกาหลีใต้ในอุตสาหกรรมควอนตัม

Orientom นำโดย ดร.อัลเฟรด แบง (Dr. Alfred Bang) ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร มุ่งมั่นที่จะมีบทบาทสำคัญในระบบนิเวศของอุตสาหกรรมควอนตัมทั้งหมด ครอบคลุมตั้งแต่การพัฒนาอัลกอริธึมควอนตัม แอปพลิเคชันควอนตัม การประมวลผลควอนตัม ฮาร์ดแวร์ควอนตัม และการลงทุนในกิจการควอนตัม ปัจจุบันอัลกอริธึมควอนตัมของ Orientom กำลังได้รับการพัฒนาเพื่อนำไปใช้กับโครงข่ายไฟฟ้า การเงิน การขนส่ง การพยากรณ์สภาพอากาศ และซอฟต์แวร์กลาง (middleware) อีกทั้งยังมีแผนขยายธุรกิจไปสู่เทคโนโลยีแบตเตอรี่และโลจิสติกส์ผ่านความร่วมมือระหว่างประเทศในปี 2568

ดร.อัลเฟรด แบง กล่าวว่า “เราเชื่อว่าเทคโนโลยีควอนตัมจะช่วยเพิ่มความยืดหยุ่น ความมั่นคง และความปลอดภัยให้กับโครงข่ายพลังงานของประเทศไทย การร่วมมือกับ EQ Tech Energy ในโครงการนี้ถือเป็นก้าวสำคัญในการพัฒนาโซลูชันควอนตัมที่ล้ำสมัย เพื่อสร้างระบบพลังงานที่มีประสิทธิภาพและแข็งแกร่งยิ่งขึ้นสำหรับอนาคต”
 

คุณสุรสีว์ ลีฬหรัตนรักษ์
นอกจากนี้ ดร.อัลเฟรด แบง ยังดำรงตำแหน่งประธานสมาคมอุตสาหกรรมควอนตัมแห่งเกาหลี (Korea Quantum Industry Association - KQIA) ซึ่งประกอบด้วยบริษัทควอนตัมชั้นนำกว่า 85 แห่ง โดยท่านกล่าวเพิ่มเติมว่า นอกเหนือจากความร่วมมือนี้ KQIA และ QTRic มีแนวโน้มที่จะสร้างความร่วมมือเพิ่มเติม โดยจะมีการหารือในงาน Quantum Korea 2025 ซึ่งมีกำหนดจัดขึ้นระหว่างวันที่ 24–26 มิถุนายน 2568 ประเทศเกาหลีใต้

วิสัยทัศน์ของ EQ Tech Energy ประเทศไทย
บริษัท EQ Tech Energy Co., Ltd. (ประเทศไทย) นำโดยคุณสุรวีร์ ลีฬหรัตนรักษ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร เปิดเผยว่าชื่อของบริษัทมาจากคำว่า "Electro-Quantum" ซึ่งสะท้อนถึงการมุ่งเน้นด้านพลังงานไฟฟ้า และความตั้งใจที่จะประยุกต์ใช้เทคโนโลยีควอนตัมเพื่อพัฒนาระบบกักเก็บพลังงานที่มีประสิทธิภาพสูงและต้นทุนต่ำ บริษัทมีเป้าหมายในการทำให้โซลูชันพลังงานสามารถเข้าถึงได้ง่ายขึ้น สำหรับการใช้งานในพลังงานแสงอาทิตย์ ยานยนต์ไฟฟ้า ระบบสำรองไฟฟ้า และการเสริมความมั่นคงของโครงข่ายไฟฟ้าระดับประเทศ

ขยายความร่วมมือด้านโซลูชันพลังงานที่ขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยีควอนตัม
รองศาสตราจารย์ ดร. วรวัฒน์ มีวาสนา (ที่สามจากซ้าย) เน้นย้ำว่า นอกเหนือจากการใช้การประมวลผลควอนตัมแล้ว ความท้าทายด้านพลังงานยังสามารถได้รับประโยชน์จากเทคโนโลยีอื่นๆ เช่น การซิงโครไนซ์เวลาที่แม่นยำ การสื่อสารผ่านเส้นใยแก้วนำแสงที่ปลอดภัย การเข้ารหัสข้อมูล และโซลูชัน IoT สำหรับการบริหารจัดการพลังงานและการซื้อขายพลังงานในระบบสมาร์ทกริด ปัจจุบันได้มีการหารือเบื้องต้นกับบริษัทจากเกาหลีใต้หลายแห่ง รวมถึง MAIoT, VGEN, Alphea Lab และ CryptoLab ซึ่งคาดว่าจะนำไปสู่ความร่วมมือที่กว้างขวางยิ่งขึ้นในอนาคต




กำลังโหลดความคิดเห็น