ในโลกยุคปัจจุบัน เศรษฐกิจไม่อาจแยกขาดจากการเมือง และการเมืองก็ไม่อาจเพิกเฉยต่อบทบาทของผู้นำประเทศมหาอำนาจได้เช่นกัน และหนึ่งในบุคคลที่กลับมาสร้างแรงกระเพื่อมครั้งใหญ่ให้กับโครงสร้างเศรษฐกิจการเมืองโลกในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมา
ใช่แล้ว เรากำลังพูดถึง “โดนัลด์ ทรัมป์” ประธานาธิบดีคนที่ 47 แห่งสหรัฐอเมริกา จากพรรครีพับลิกัน การหวนคืนสู่ทำเนียบขาวของ “ทรัมป์ 2.0” ครั้งนี้ มาพร้อมแนวคิดที่ดุดันกว่าเดิม!
วันนี้ MGR Online จะพาผู้อ่านไปฟังมุมมองจาก ผศ.ดร.วันวิชิต บุญโปร่ง รองคณบดีฝ่ายวิชาการ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต ว่าด้วยเรื่องของ “เศรษฐกิจการเมืองโลกกับ ทรัมป์ 2.0” เพื่อไขคำตอบว่า ทำไมคนคนเดียวถึงเขย่าโลกได้ขนาดนี้!
ครบ 100 วันของทรัมป์ 2.0
เผาจริงหรือเผาหลอก?
เพียง 100 วันแรกในวาระใหม่ก็สร้างความปั่นป่วนอย่างหนักทั้งในประเทศและประชาคมโลก แม้ภายใต้ธงเดิมอย่าง “America First” หรือ “อเมริกามาก่อน” ที่ยังคงเน้นการปกป้องผลประโยชน์ของชาติเป็นสำคัญ ไม่ว่าจะเป็นการผลักดันเศรษฐกิจแบบชาตินิยม ลดภาษี กีดกันการค้า
ในขณะเดียวกันก็ ‘เข้มงวด’ มากขึ้นในประเด็นสงครามการค้า ปราบปรามผู้อพยพเข้าเมืองผิดกฎหมาย ผลักดันการสร้างกำแพงชายแดน การเผชิญหน้ากับจีน รวมถึงการปฏิรูปภายในประเทศทั้งระบบราชการและกระบวนการยุติธรรม รวมถึงการลดบทบาทองค์กรระหว่างประเทศ
และหนึ่งในมาตรการที่สะเทือนทั่วโลก คือ การตั้งกำแพงภาษีการค้า ซึ่งหมายถึงการเก็บภาษีที่สูงขึ้นจากสินค้าที่นำเข้าจากต่างประเทศ โดยเฉพาะต่อจีน ซึ่งเป็นการกำหนดภาษีนำเข้าสินค้าจากจีนในอัตราที่สูงที่สุดในประวัติศาสตร์สหรัฐฯ ซึ่งผลที่ตามมาคือ ทำให้ราคาสินค้าสูงขึ้น ผู้บริโภคต้องจ่ายมากขึ้น และประเทศอื่น ๆ อาจตอบโต้ด้วยการเก็บภาษีสินค้าจากสหรัฐฯ เช่นกัน ซึ่งอาจนำมาสู่สงครามการค้าที่ยืดเยื้อ
รูปผศ.ดร.วันวิชิต บุญโปร่ง รองคณบดีฝ่ายวิชาการ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต
ผศ.ดร.วันวิชิต บุญโปร่ง รองคณบดีฝ่ายวิชาการ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต เริ่มต้นว่า สหรัฐฯ มีบทบาทในฐานะ “ตำรวจโลก” หรือ “ผู้จัดระเบียบโลก” ควบคุมสถานะความเป็นผู้นำของโลกอย่างเบ็ดเสร็จมาตั้งแต่สิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งหากนับถึงปัจจุบัน จะเห็นได้ว่า ระยะเวลาการรักษาอำนาจยังไม่ถึงหนึ่งศตวรรษเต็ม ในช่วงเวลาดังกล่าว สหรัฐฯ มีบทบาทสำคัญในการสลายอำนาจของสหภาพโซเวียต นอกจากนี้ยังสามารถกุมการเติบโตของญี่ปุ่น ซึ่งในช่วงหนึ่งพยายามจะก้าวขึ้นมาเป็นคู่แข่งท้าทายมหาอำนาจทางเศรษฐกิจของโลกอย่างสหรัฐฯ เพราะฉะนั้น สหรัฐฯ จึงมั่นใจว่า จะสามารถควบคุมและกำหนดระเบียบโลกได้เหมือนกับที่ผ่านมา
จนกระทั่งกระบวนทัศน์เปลี่ยนไป เมื่อการเติบโตของประเทศจีนอย่างมีนัยสำคัญ กระทบต่อสถานะเบอร์หนึ่งของโลก นับตั้งแต่ยุคนโยบายสี่ทันสมัย (Four Modernizations) จนถึงยุคปัจจุบัน
หากพูดให้เห็นภาพมากขึ้น รองคณบดีฝ่ายวิชาการ คณะรัฐศาสตร์ มองว่า “ทีมยุทธศาสตร์ของทรัมป์คงมีการประเมินแล้วว่า ถ้ายังคงดำรงอยู่ในกติกาการต่อสู้หรือระเบียบโลกเดิมที่สหรัฐฯ ทำขึ้นไว้ มีแต่จะสูญเสียจุดยืนหรือสถานะความเป็นเบอร์หนึ่งของโลกอย่างน่าเสียดาย พูดง่าย ๆ คือตัวเองคุมกติกาความน่าได้เปรียบไว้เอง แต่มาแพ้กติกาต่อผู้เล่นหน้าใหม่”
“ด้วยเหตุนี้ การที่ทรัมป์วางยุทธศาสตร์ในการจัดระเบียบโลกใหม่ ไม่ว่าจะเป็นการตั้งกำแพงภาษี การสร้างมาตรการต่าง ๆ ภายใต้แนวคิด “America First” ส่งผลให้หลายประเทศไม่สามารถปรับตัวได้ทัน ซึ่งเกมที่สามารถเปลี่ยนไพ่สลับมือได้ตลอดเวลาของสหรัฐฯ เป็นเกมที่ทำให้หลายฝ่ายมองด้วยความเป็นห่วงและความกังวลกับการต้องรับมือกับโจทย์สภาพใหม่ เพราะฉะนั้น การเข้ามาของทรัมป์ในวาระนี้ นอกจากการฟื้นฟูสถานะเศรฐกิจและความเชื่อมั่นในทุกมิติแล้ว ก็ยังแฝงด้วยการกำราบหรือการป้องกันการขยายการเติบโตของจีนอย่างเห็นได้ชัด”
ขณะที่ในด้านอื่นที่เกี่ยวข้อง ผศ.ดร.วันวิชิต ชี้ให้เห็นว่า สหรัฐฯ ยังคงบทบาทในมิติของการเป็นผู้นำโลก ในแง่ผู้ที่ควบคุมความมั่นคงเสถียรภาพในโลก ซึ่งการกลับมาของทรัมป์อาจส่งผลให้สถานการณ์สงครามระหว่างรัสเซีย-ยูเครนยืดเยื้อน้อยลง เนื่องจากทรัมป์มีท่าทีไม่เห็นด้วย และคงมองว่า วลาดิเมียร์ ปูติน ยังคงมีบทบาทสำคัญในการรักษาดุลอำนาจในเวทีการเมืองโลก จากแนวโน้มดังกล่าว สหรัฐฯ อาจทบทวนนโยบายสนับสนุนยูเครน หากยังคงดำเนินแนวทางเดิม อาจส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจภายในของสหรัฐฯ ในระยะยาว
อีกทั้งนโยบายของทรัมป์ในวาระแรกได้แสดงจุดยืนชัดเจนว่า ไม่เห็นด้วยกับการที่สหรัฐฯ ต้องรับภาระหลักในการสนับสนุนองค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ (North Atlantic Treaty Organisation - NATO) เพียงฝ่ายเดียว โดยเรียกร้องให้พันธมิตรมีส่วนร่วมรับผิดชอบและลงทุนมากขึ้น ส่งผลให้ในวาระนี้มีการลดงบประมาณในด้านนี้ลงเป็นจำนวนมาก

ในมุมมองของผู้เชี่ยวชาญอย่าง ผศ.ดร.วันวิชิต มองว่า การเดินหน้าของเบอร์หนึ่งโลก ณ ขณะนี้ สะท้อนถึงทฤษฏี ‘Zero-Sum Game’ ซึ่งหมายความว่า ผู้ชนะจะได้รับผลประโยชน์ทั้งหมด โดยที่ฝ่ายตรงข้ามต้องสูญเสีย สหรัฐฯ พยายามยืนธงในเรื่องศีลธรรมและจริยธรรมจากประเทศอื่น ๆ แต่ในขณะเดียวกันกลับใช้อำนาจแบบเบ็ดเสร็จและเด็ดขาด ผ่านการทูตและมาตรการทางเศรษฐกิจอย่างตรงไปตรงมา ซึ่งเป็นการใช้ความได้เปรียบทั้งทางเศรษฐกิจ ระบบการเงินที่แข็งแกร่ง การควบคุมตลาดโลก ตลอดจนการพึ่งพากองกำลังทหารที่มีความเข้มแข็งและเทคโนโลยีที่ทันสมัยที่สุดในโลก ซึ่งทำให้สหรัฐฯ มีความได้เปรียบตรงนี้
“ทฤษฏี Zero-Sum Game ยังคงสะท้อนให้เห็นว่า สหรัฐฯ ยังต้องการรักษาความเป็นมหาอำนาจอันดับหนึ่งของโลกไว้ เพราะฉะนั้นแนวคิด Win-Win Solution ชนะกันอย่างถ้วนหน้า มันเป็นแค่วาทะกรรม ซึ่งสิ่งที่จะโต้ตอบ หรือคานอำนาจสหรัฐฯ ได้ คือการสร้างระบบขั้วมหาอำนาจ หรือการสร้างหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ ไม่ว่าจะเป็นด้านเศรษฐกิจ ความมั่นคง การเมืองหรือสิ่งแวดล้อม ซึ่งวันนี้ประเทศไทยมีองค์กรต่าง ๆ แบบนี้ค่อนข้างเยอะ เพื่อมาต่อรองหรือสร้างดุลอำนาจในพื้นที่ หรือเพื่อจะต่อรองกับชาติมหาอำนาจ ไม่ใช่แค่เพียงสหรัฐฯ แต่รวมถึงชาติอื่น ๆ ที่เติบโตมาเป็นทางเลือกใหม่ ซึ่งนี่คือแนวทางหรือการแก้เกมของชาติกำลังพัฒนา หรือประเทศมหาอำนาจขนาดกลางใช้ คือการสร้างเงื่อนไขให้ตนเองกลายเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ เพื่อนำไปสู่การอยู่ร่วมกันอย่างสันติได้”
ไทยโดนหางเลข!
สงครามภาษีเขย่าเศรษฐกิจอาเซียน
อย่างไรก็ดี มาตรการการตั้งกำแพงภาษีกลายเป็นหนึ่งในสัญญาณสำคัญของการเริ่มต้นสงครามการค้าระหว่างสองมหาอำนาจใหญ่อย่างสหรัฐฯ กับจีน และมีผลกระทบต่อการค้าระหว่างประเทศทั่วโลก รวมถึงประเทศไทย
แม้ไทยดูเหมือนเป็นผู้สังเกตการณ์ แต่แท้จริงแล้ว ผศ.ดร.วันวิชิต ย้ำว่า ประเทศไทยเจอผลกระทบแน่นอน!
“ผมว่า สัญชาติญาณความเป็นนักธุรกิจ หากจะเดินหน้าเล่นเกมแบบนี้ แน่นอนว่า โลกสั่นสะเทือนทุกแผง เพราะมันอาจนำมาสู่การตัดสินใจเลือกข้างของชาติสมาชิกอื่น ๆ ในโลกนี้ว่า จะไปต่อกับสหรัฐฯ หรือหันหน้าไปหาผู้นำใหม่อย่างจีน ซึ่งแน่นอนส่งผลกระทบมายังภูมิภาคในอาเซียน โดยเฉพาะในประเทศไทยที่อยู่ในสถานะที่ต้อง ‘แบ่งรับแบ่งสู้’ หรือสถานะที่ต้องวางจุดยืนเลือกข้างอย่างระมัดระวัง ซึ่งไทยเองก็ควรมีข้อเสนอที่สหรัฐฯ มองเห็นว่า ไทยยังเป็นยุทธศาสตร์สำคัญในย่านนี้ ขณะเดียวกันก็ควรมีท่าทีที่เหมาะสมในการรักษาประโยชน์หรือดุลอำนาจกับทั้งสหรัฐฯ และจีนอย่างเหมาะสมด้วย”

“กรณีการตั้งกำแพงตัวเลขภาษีเยอะ ๆ โดยเฉพาะการมีมาตรการตอบโต้จีนถึง 145% และประเทศอื่นที่ตัวเลขแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับสถานะความใกล้ชิดเชิงยุทธศาสตร์กับสหรัฐฯ อย่างอังกฤษหรือสิงคโปร์มีตัวเลขที่ค่อนข้างต่ำมากเพียง 10% ในขณะไทยอยู่ที่ 36% เวียดนาม 46% และกัมพูชา 49% ทำให้เห็นว่า เขามองถึงสถานะของแต่ละประเทศว่า มีความใกล้ชิดต่อประเทศต่าง ๆ อย่างไร เขาเลยวางกรอบแบบนั้น ซึ่งน่าสนใจว่า ไทยถูกมองว่า มีความใกล้ชิดกับจีนหรือเปล่า ซึ่งถ้าเป็นแบบนั้นจริง นี่จึงเป็นโอกาสที่ไทยจะสร้างอำนาจการต่อรองหรือข้อเสนอที่น่าสนใจไปยังสหรัฐฯ”
ผศ.ดร.วันวิชิต ให้สังเกตว่า แต่ละประเทศที่ลุกเดินหน้าไปเจรจากับสหรัฐฯ หรือมีข้อเสนอที่น่าสนใจ สหรัฐฯ มักตอบรับด้วยข้อเสนอหลัก 2 ประการ ได้แก่ การระบายอาวุธ และ การเปิดตลาดให้กับสินค้าเกษตรของสหรัฐฯ เอง
สำหรับประเทศไทย อัตราภาษีที่ถูกตั้งไว้ที่ 36% อาจทำให้เกิดคำถามตามมาว่า ประเทศไทยจะได้รับผลกระทบในด้านใดบ้าง โดยเฉพาะสินค้าเกษตรที่เคยมีบทบาทสำคัญในการส่งออกไปยังตลาดสหรัฐฯ รองคณบดีฝ่ายวิชาการ คณะรัฐศาสตร์ เชื่อว่า หากพิจารณาในมุมของสินค้าเกษตรของไทย ย่อมหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะได้รับผลกระทบ โดยเฉพาะในกลุ่มของทุนขนาดใหญ่หรือกิจการที่มีเครือข่ายเชื่อมโยงกับต่างประเทศ สินค้าเกษตรไทยซึ่งเคยได้เปรียบทางการค้ากับสหรัฐฯ อาจต้องเผชิญกับการแข่งขันที่รุนแรงมากขึ้น
ขณะเดียวกัน จีนซึ่งถูกมาตรการตอบโต้จากสหรัฐฯ กลับใช้สถานการณ์นี้เป็นโอกาสในการระบายสินค้าเกษตรออกสู่ตลาดโลก ส่งผลให้เกิดการแข่งขันโดยตรงกับไทยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เนื่องจากจีนมีต้นทุนการผลิตที่ต่ำกว่า และสามารถกำหนดราคาหรือปรับเปลี่ยนกลไกตลาดได้ หรือเรียกได้ว่า ยืดหยุ่นกว่าประเทศไทย ซึ่งถือเป็นประเด็นที่ควรจับตามองอย่างยิ่งในระยะยาว
“ในอนาคตสิ่งที่เราได้รับผลกระทบหากไม่มีการปรับแก้อย่างเพียงพอ มัวแต่แก้ปัญหาเรื่องยุทธศาสตร์การเจรจา แต่ลืมไปว่า ผลกระทบในภูมิภาครอบข้างอย่างจีน ต้องบอกว่า จีนมีสายป่านเพียงพอ สามารถโต้ตอบยืดระยะกับสหรัฐฯ ได้ ตอนนี้อาจจะส่งผลกระทบในระยะสั้น แต่ในระยะยาวจีนมีความพร้อมที่เข้าสู่แนวทางการกินรวบไว้เบ็ดเสร็จแล้ว หรือประเทศอื่น ๆ ที่เป็นคู่แข่งทางการเกษตร แน่นอนว่า จะส่งผลกระทบต่อการแย่งชิงตลาดกับประเทศไทย สินค้าทางการเกษตรจะไหลมาในประเทศไทยทำให้ผู้ประกอบการเกษตรกรภายในประเทศไม่สามารถระบายสินค้าออกได้ อันนี้จะส่งผลกระทบในระยะยาวอย่างมากสำหรับเรา”
“แต่อย่างไรก็ดี ผมคิดว่า ท้ายที่สุด สหรัฐฯ จะต้องปรับท่าทีเมื่อได้ผลประโยชน์ที่ตนเองพึงพอใจแล้ว การเสนอเงื่อนไขในลักษณะแรงกดดัน ซึ่งเป็นเงื่อนไขที่รู้สึกหรือเชื่อว่า ตนเองได้รับประโยชน์แล้ว ก็น่าจะกลับไปสู่บรรยากาศแบบเดิม” ผศ.ดร.วันวิชิต คาดการณ์

หลักสูตรรัฐศาสตร์
ครบ จบ ที่ ม.รังสิต
จากที่กล่าวมาข้างต้น ปรากฏการณ์โดนัลด์ ทรัมป์ไม่ใช่เพียงเหตุการณ์ทางการเมืองไกลตัว หากแต่เป็นกรณีศึกษาที่สำคัญอย่างมาก นี่จึงเป็นเหตุผลที่ หลักสูตรรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต ออกแบบการเรียนการสอนให้ตอบโจทย์โลกยุคปัจจุบันให้มากที่สุด เพื่อพร้อมรับมือกับความท้าทายที่เข้ามา
ผศ.ดร.วันวิชิต กล่าวว่า คณะรัฐศาสตร์ ม.รังสิต ถือเป็นหนึ่งในสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งแรก ๆ ของประเทศที่เปิดสอนหลักสูตรรัฐศาสตร์อย่างครบถ้วนทั้งในระดับปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอก โดยมีเป้าหมายสำคัญในการผลิตบัณฑิตรอบรู้ ที่เข้าใจบริบทของสังคมไทยภายใต้การเปลี่ยนผ่านและการเปลี่ยนแปลง
ระดับปริญญาตรี มุ่งเน้นการพัฒนานักศึกษาให้เป็นผู้รอบรู้และมีความเข้าใจบริบทของสังคมไทยที่มีการเปลี่ยนแปลงและการปรับตัวตามกระแสโลกาภิวัตน์ ภายใต้แนวคิด Glocalization ซึ่งเป็นการผสานคำว่า Globalization (โลกาภิวัตน์) และ Localization (ความเป็นท้องถิ่น) ซึ่งหมายความว่า โลกที่กว้างใหญ่กำลังแคบลงด้วยความเป็นท้องถิ่นที่ผสานกับระบบทุนนิยมและการเปลี่ยนแปลง
ขณะเดียวกันก็ให้ความสำคัญกับการพัฒนานักศึกษาให้มีความตระหนักรู้ในคุณค่าของประชาธิปไตย ความเท่าเทียม และการเคารพในความหลากหลาย อีกทั้งส่งเสริมการสร้างเสริมประสบการณ์ชีวิตผ่านระบบการฝึกงานในรายวิชาสหกิจศึกษา ที่เปิดโอกาสให้นักศึกษาได้ฝึกงานกับหน่วยงานสำคัญทั้งในประเทศและต่างประเทศ อาทิ สถานเอกอัครราชทูต กงสุล และหน่วยงานภาครัฐ รวมถึงองค์กรอิสระและองค์กรชั้นนำภาคเอกชน
“เพราะเราเชื่อว่า การเรียนรู้สู่โลกประสบการณ์จริงเป็นสิ่งสำคัญ อาจารย์อาจจะมีให้ความรู้แลกเปลี่ยนในชั้นเรียน แต่ประสบการณ์จริงที่เขาจะเรียนผิด เรียนถูกเอง ผมคิดว่า ตรงนี้สำคัญมาก”
ระดับปริญญาโท จะเน้นการพัฒนานักศึกษาทั้งด้านทฤษฎีและการปฏิบัติ โดยนักศึกษาจะได้รับประสบการณ์การศึกษาดูงานจากหน่วยงานต่าง ๆ และมีโอกาสแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาต่าง ๆ ในขณะเดียวกัน นักศึกษาต้องทำการศึกษาค้นคว้าอิสระ ซึ่งเป็นโอกาสในการพัฒนาทักษะการวิจัยและการวิเคราะห์อย่างลึกซึ้ง หลักสูตรนี้ไม่จำกัดเฉพาะผู้ที่มีประสบการณ์ในสาขารัฐศาสตร์เท่านั้น แต่ยังเปิดโอกาสให้กับผู้ที่ไม่มีพื้นฐานมาเรียนรู้และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในบรรยากาศที่มีมุมมองหลากหลาย ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการเรียนการสอนในระดับนี้
และสำหรับผู้ที่สนใจศึกษาต่อ ระดับปริญญาเอก ซึ่งถือเป็นระดับสูงสุดของการศึกษาด้านรัฐศาสตร์ มุ่งเน้นด้านการเมืองการปกครองเป็นสำคัญ การเรียนการสอนจะเน้นกระบวนการวิพากษ์ การถกเถียง แลกเปลี่ยนความคิดเห็นอย่างเป็นระบบ ใช้การแสดงออกหรือการวิพากษ์ในรัฐศาสตร์เป็นการเรียนรู้แบบผู้ใหญ่ หรือผู้มีวุฒิภาวะ
“สำหรับหลักสูตรปริญญาโทและปริญญาเอกถือเป็นจุดแข็งของเรา เนื่องจากผู้เรียนส่วนใหญ่เป็นบุคคลที่มีประสบการณ์และประสบความสำเร็จในหน้าที่การงาน หลักสูตรหลักสูตรรัฐศาสตรบัณฑิตและหลักสูตรรัฐศาสตรมหาบัณฑิตของ ม.รังสิต ได้รับการยอมรับว่า เป็นหนึ่งในหลักสูตรรัฐศาสตร์ที่ดีที่สุดในภาคเอกชนของประเทศ โดยในปีที่ 14 ของการดำเนินการ หลักสูตรนี้ได้และผลิตบุคลากรที่มีบทบาทสำคัญในหลายภาคส่วน เช่น นักการเมือง ข้าราชการระดับสูง รวมถึงเจ้าหน้าที่องค์กรอิสระและหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ สะท้อนให้เห็นถึงคุณภาพของการจัดการเรียนการสอนที่ได้รับการยอมรับ เมื่อนักศึกษาสำเร็จการศึกษาออกไป”
เมื่อโลกไม่หยุดนิ่ง
การเรียนรัฐศาสตร์จึงต้องนำหน้า
อีกหนึ่งจุดแข็งคือ หลักสูตรรัฐศาสตร์ ม.รังสิตมีการปรับปรุงทุก 5 ปี เพื่อให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมและโลกปัจจุบัน โดยมีการเพิ่มรายวิชาใหม่ ๆ ที่ตอบรับกับกระแสโลกสมัยใหม่ เช่น รายวิชาการเมืองในโลกดิจิทัล ซึ่งมุ่งเน้นให้ผู้เรียนเข้าใจบทบาทของเทคโนโลยีดิจิทัลในกระบวนการทางการเมือง การสื่อสารทางการเมือง และการตรวจสอบข้อมูล ซึ่งเป็นสิ่งที่นักศึกษาต้องรู้เท่าทัน
นอกจากนี้ยังเปิดสอน รายวิชาผู้นำทางการเมือง รายวิชานี้มีความน่าสนใจเป็นพิเศษ เนื่องจากมุ่งเน้นให้นักศึกษาเข้าใจบริบทของสังคมไทย ผ่านกรณีศึกษาของบุคคลต้นแบบทางการเมือง ในฐานะ “โรลโมเดล” ที่ประสบความสำเร็จ ซึ่งจะมาร่วมบรรยายและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับนักศึกษาในชั้นเรียน
ขณะเดียวกัน หลักสูตรมุ่งบูรณาการองค์ความรู้จากหลายสาขาวิชา เช่น เศรษฐศาสตร์ จิตวิทยา และศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง เพื่อเสริมสร้างวิสัยทัศน์ ความคิดเชิงวิเคราะห์ และศักยภาพในการปรับตัวต่อบริบทโลกที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะในระดับปริญญาตรีที่เน้นการวางรากฐานความรู้ที่มั่นคงและส่งเสริมศักยภาพผู้เรียนให้พร้อมเผชิญกับความท้าทายอยู่เสมอ
พร้อมเปิดโอกาสให้นักศึกษาเรียนรู้นอกห้องเรียนผ่านกิจกรรมต่าง ๆ เช่น การเยี่ยมชมรัฐสภา การจัดเวทีเสวนาระดับนานาชาติ ซึ่งช่วยให้นักศึกษาได้เข้าใจและตื่นตัวถึงประเด็นสำคัญในสถานการณ์ปัจจุบันอีกด้วย
ตลอด 14 ปีที่ผ่านมาต้องยอมรับว่า คณะรัฐศาสตร์ ม.รังสิต ได้สร้างบัณฑิตที่มีบทบาทในหลากหลายภาคส่วน ซึ่งถือเป็นบทพิสูจน์ถึงคุณภาพการเรียนการสอนและศักยภาพของผู้เรียนที่ได้รับการยอมรับในวงกว้าง
“สุดท้ายนี้ ขอเชิญชวนมาเป็นครอบครัว ‘สิงห์รังสิต’ ด้วยกัน ต้องบอกว่า สิงห์ของเราเป็น ‘สิงห์ทองแดง’ ซึ่งทองแดงคือเป็นธาตุโลหะแรกในโลกที่มนุษย์รู้จักนำมาใช้ประโยชน์ในการดำรงชีวิต เราเปิดรับสมัครตลอดเวลาและยินดีต้อนรับทุกคน” ผศ.ดร.วันวิชิต ทิ้งท้าย
ใช่แล้ว เรากำลังพูดถึง “โดนัลด์ ทรัมป์” ประธานาธิบดีคนที่ 47 แห่งสหรัฐอเมริกา จากพรรครีพับลิกัน การหวนคืนสู่ทำเนียบขาวของ “ทรัมป์ 2.0” ครั้งนี้ มาพร้อมแนวคิดที่ดุดันกว่าเดิม!
วันนี้ MGR Online จะพาผู้อ่านไปฟังมุมมองจาก ผศ.ดร.วันวิชิต บุญโปร่ง รองคณบดีฝ่ายวิชาการ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต ว่าด้วยเรื่องของ “เศรษฐกิจการเมืองโลกกับ ทรัมป์ 2.0” เพื่อไขคำตอบว่า ทำไมคนคนเดียวถึงเขย่าโลกได้ขนาดนี้!
ครบ 100 วันของทรัมป์ 2.0
เผาจริงหรือเผาหลอก?
เพียง 100 วันแรกในวาระใหม่ก็สร้างความปั่นป่วนอย่างหนักทั้งในประเทศและประชาคมโลก แม้ภายใต้ธงเดิมอย่าง “America First” หรือ “อเมริกามาก่อน” ที่ยังคงเน้นการปกป้องผลประโยชน์ของชาติเป็นสำคัญ ไม่ว่าจะเป็นการผลักดันเศรษฐกิจแบบชาตินิยม ลดภาษี กีดกันการค้า
ในขณะเดียวกันก็ ‘เข้มงวด’ มากขึ้นในประเด็นสงครามการค้า ปราบปรามผู้อพยพเข้าเมืองผิดกฎหมาย ผลักดันการสร้างกำแพงชายแดน การเผชิญหน้ากับจีน รวมถึงการปฏิรูปภายในประเทศทั้งระบบราชการและกระบวนการยุติธรรม รวมถึงการลดบทบาทองค์กรระหว่างประเทศ
และหนึ่งในมาตรการที่สะเทือนทั่วโลก คือ การตั้งกำแพงภาษีการค้า ซึ่งหมายถึงการเก็บภาษีที่สูงขึ้นจากสินค้าที่นำเข้าจากต่างประเทศ โดยเฉพาะต่อจีน ซึ่งเป็นการกำหนดภาษีนำเข้าสินค้าจากจีนในอัตราที่สูงที่สุดในประวัติศาสตร์สหรัฐฯ ซึ่งผลที่ตามมาคือ ทำให้ราคาสินค้าสูงขึ้น ผู้บริโภคต้องจ่ายมากขึ้น และประเทศอื่น ๆ อาจตอบโต้ด้วยการเก็บภาษีสินค้าจากสหรัฐฯ เช่นกัน ซึ่งอาจนำมาสู่สงครามการค้าที่ยืดเยื้อ
รูปผศ.ดร.วันวิชิต บุญโปร่ง รองคณบดีฝ่ายวิชาการ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต
ผศ.ดร.วันวิชิต บุญโปร่ง รองคณบดีฝ่ายวิชาการ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต เริ่มต้นว่า สหรัฐฯ มีบทบาทในฐานะ “ตำรวจโลก” หรือ “ผู้จัดระเบียบโลก” ควบคุมสถานะความเป็นผู้นำของโลกอย่างเบ็ดเสร็จมาตั้งแต่สิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งหากนับถึงปัจจุบัน จะเห็นได้ว่า ระยะเวลาการรักษาอำนาจยังไม่ถึงหนึ่งศตวรรษเต็ม ในช่วงเวลาดังกล่าว สหรัฐฯ มีบทบาทสำคัญในการสลายอำนาจของสหภาพโซเวียต นอกจากนี้ยังสามารถกุมการเติบโตของญี่ปุ่น ซึ่งในช่วงหนึ่งพยายามจะก้าวขึ้นมาเป็นคู่แข่งท้าทายมหาอำนาจทางเศรษฐกิจของโลกอย่างสหรัฐฯ เพราะฉะนั้น สหรัฐฯ จึงมั่นใจว่า จะสามารถควบคุมและกำหนดระเบียบโลกได้เหมือนกับที่ผ่านมา
จนกระทั่งกระบวนทัศน์เปลี่ยนไป เมื่อการเติบโตของประเทศจีนอย่างมีนัยสำคัญ กระทบต่อสถานะเบอร์หนึ่งของโลก นับตั้งแต่ยุคนโยบายสี่ทันสมัย (Four Modernizations) จนถึงยุคปัจจุบัน
หากพูดให้เห็นภาพมากขึ้น รองคณบดีฝ่ายวิชาการ คณะรัฐศาสตร์ มองว่า “ทีมยุทธศาสตร์ของทรัมป์คงมีการประเมินแล้วว่า ถ้ายังคงดำรงอยู่ในกติกาการต่อสู้หรือระเบียบโลกเดิมที่สหรัฐฯ ทำขึ้นไว้ มีแต่จะสูญเสียจุดยืนหรือสถานะความเป็นเบอร์หนึ่งของโลกอย่างน่าเสียดาย พูดง่าย ๆ คือตัวเองคุมกติกาความน่าได้เปรียบไว้เอง แต่มาแพ้กติกาต่อผู้เล่นหน้าใหม่”
“ด้วยเหตุนี้ การที่ทรัมป์วางยุทธศาสตร์ในการจัดระเบียบโลกใหม่ ไม่ว่าจะเป็นการตั้งกำแพงภาษี การสร้างมาตรการต่าง ๆ ภายใต้แนวคิด “America First” ส่งผลให้หลายประเทศไม่สามารถปรับตัวได้ทัน ซึ่งเกมที่สามารถเปลี่ยนไพ่สลับมือได้ตลอดเวลาของสหรัฐฯ เป็นเกมที่ทำให้หลายฝ่ายมองด้วยความเป็นห่วงและความกังวลกับการต้องรับมือกับโจทย์สภาพใหม่ เพราะฉะนั้น การเข้ามาของทรัมป์ในวาระนี้ นอกจากการฟื้นฟูสถานะเศรฐกิจและความเชื่อมั่นในทุกมิติแล้ว ก็ยังแฝงด้วยการกำราบหรือการป้องกันการขยายการเติบโตของจีนอย่างเห็นได้ชัด”
ขณะที่ในด้านอื่นที่เกี่ยวข้อง ผศ.ดร.วันวิชิต ชี้ให้เห็นว่า สหรัฐฯ ยังคงบทบาทในมิติของการเป็นผู้นำโลก ในแง่ผู้ที่ควบคุมความมั่นคงเสถียรภาพในโลก ซึ่งการกลับมาของทรัมป์อาจส่งผลให้สถานการณ์สงครามระหว่างรัสเซีย-ยูเครนยืดเยื้อน้อยลง เนื่องจากทรัมป์มีท่าทีไม่เห็นด้วย และคงมองว่า วลาดิเมียร์ ปูติน ยังคงมีบทบาทสำคัญในการรักษาดุลอำนาจในเวทีการเมืองโลก จากแนวโน้มดังกล่าว สหรัฐฯ อาจทบทวนนโยบายสนับสนุนยูเครน หากยังคงดำเนินแนวทางเดิม อาจส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจภายในของสหรัฐฯ ในระยะยาว
อีกทั้งนโยบายของทรัมป์ในวาระแรกได้แสดงจุดยืนชัดเจนว่า ไม่เห็นด้วยกับการที่สหรัฐฯ ต้องรับภาระหลักในการสนับสนุนองค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ (North Atlantic Treaty Organisation - NATO) เพียงฝ่ายเดียว โดยเรียกร้องให้พันธมิตรมีส่วนร่วมรับผิดชอบและลงทุนมากขึ้น ส่งผลให้ในวาระนี้มีการลดงบประมาณในด้านนี้ลงเป็นจำนวนมาก
ในมุมมองของผู้เชี่ยวชาญอย่าง ผศ.ดร.วันวิชิต มองว่า การเดินหน้าของเบอร์หนึ่งโลก ณ ขณะนี้ สะท้อนถึงทฤษฏี ‘Zero-Sum Game’ ซึ่งหมายความว่า ผู้ชนะจะได้รับผลประโยชน์ทั้งหมด โดยที่ฝ่ายตรงข้ามต้องสูญเสีย สหรัฐฯ พยายามยืนธงในเรื่องศีลธรรมและจริยธรรมจากประเทศอื่น ๆ แต่ในขณะเดียวกันกลับใช้อำนาจแบบเบ็ดเสร็จและเด็ดขาด ผ่านการทูตและมาตรการทางเศรษฐกิจอย่างตรงไปตรงมา ซึ่งเป็นการใช้ความได้เปรียบทั้งทางเศรษฐกิจ ระบบการเงินที่แข็งแกร่ง การควบคุมตลาดโลก ตลอดจนการพึ่งพากองกำลังทหารที่มีความเข้มแข็งและเทคโนโลยีที่ทันสมัยที่สุดในโลก ซึ่งทำให้สหรัฐฯ มีความได้เปรียบตรงนี้
“ทฤษฏี Zero-Sum Game ยังคงสะท้อนให้เห็นว่า สหรัฐฯ ยังต้องการรักษาความเป็นมหาอำนาจอันดับหนึ่งของโลกไว้ เพราะฉะนั้นแนวคิด Win-Win Solution ชนะกันอย่างถ้วนหน้า มันเป็นแค่วาทะกรรม ซึ่งสิ่งที่จะโต้ตอบ หรือคานอำนาจสหรัฐฯ ได้ คือการสร้างระบบขั้วมหาอำนาจ หรือการสร้างหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ ไม่ว่าจะเป็นด้านเศรษฐกิจ ความมั่นคง การเมืองหรือสิ่งแวดล้อม ซึ่งวันนี้ประเทศไทยมีองค์กรต่าง ๆ แบบนี้ค่อนข้างเยอะ เพื่อมาต่อรองหรือสร้างดุลอำนาจในพื้นที่ หรือเพื่อจะต่อรองกับชาติมหาอำนาจ ไม่ใช่แค่เพียงสหรัฐฯ แต่รวมถึงชาติอื่น ๆ ที่เติบโตมาเป็นทางเลือกใหม่ ซึ่งนี่คือแนวทางหรือการแก้เกมของชาติกำลังพัฒนา หรือประเทศมหาอำนาจขนาดกลางใช้ คือการสร้างเงื่อนไขให้ตนเองกลายเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ เพื่อนำไปสู่การอยู่ร่วมกันอย่างสันติได้”
ไทยโดนหางเลข!
สงครามภาษีเขย่าเศรษฐกิจอาเซียน
อย่างไรก็ดี มาตรการการตั้งกำแพงภาษีกลายเป็นหนึ่งในสัญญาณสำคัญของการเริ่มต้นสงครามการค้าระหว่างสองมหาอำนาจใหญ่อย่างสหรัฐฯ กับจีน และมีผลกระทบต่อการค้าระหว่างประเทศทั่วโลก รวมถึงประเทศไทย
แม้ไทยดูเหมือนเป็นผู้สังเกตการณ์ แต่แท้จริงแล้ว ผศ.ดร.วันวิชิต ย้ำว่า ประเทศไทยเจอผลกระทบแน่นอน!
“ผมว่า สัญชาติญาณความเป็นนักธุรกิจ หากจะเดินหน้าเล่นเกมแบบนี้ แน่นอนว่า โลกสั่นสะเทือนทุกแผง เพราะมันอาจนำมาสู่การตัดสินใจเลือกข้างของชาติสมาชิกอื่น ๆ ในโลกนี้ว่า จะไปต่อกับสหรัฐฯ หรือหันหน้าไปหาผู้นำใหม่อย่างจีน ซึ่งแน่นอนส่งผลกระทบมายังภูมิภาคในอาเซียน โดยเฉพาะในประเทศไทยที่อยู่ในสถานะที่ต้อง ‘แบ่งรับแบ่งสู้’ หรือสถานะที่ต้องวางจุดยืนเลือกข้างอย่างระมัดระวัง ซึ่งไทยเองก็ควรมีข้อเสนอที่สหรัฐฯ มองเห็นว่า ไทยยังเป็นยุทธศาสตร์สำคัญในย่านนี้ ขณะเดียวกันก็ควรมีท่าทีที่เหมาะสมในการรักษาประโยชน์หรือดุลอำนาจกับทั้งสหรัฐฯ และจีนอย่างเหมาะสมด้วย”
“กรณีการตั้งกำแพงตัวเลขภาษีเยอะ ๆ โดยเฉพาะการมีมาตรการตอบโต้จีนถึง 145% และประเทศอื่นที่ตัวเลขแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับสถานะความใกล้ชิดเชิงยุทธศาสตร์กับสหรัฐฯ อย่างอังกฤษหรือสิงคโปร์มีตัวเลขที่ค่อนข้างต่ำมากเพียง 10% ในขณะไทยอยู่ที่ 36% เวียดนาม 46% และกัมพูชา 49% ทำให้เห็นว่า เขามองถึงสถานะของแต่ละประเทศว่า มีความใกล้ชิดต่อประเทศต่าง ๆ อย่างไร เขาเลยวางกรอบแบบนั้น ซึ่งน่าสนใจว่า ไทยถูกมองว่า มีความใกล้ชิดกับจีนหรือเปล่า ซึ่งถ้าเป็นแบบนั้นจริง นี่จึงเป็นโอกาสที่ไทยจะสร้างอำนาจการต่อรองหรือข้อเสนอที่น่าสนใจไปยังสหรัฐฯ”
ผศ.ดร.วันวิชิต ให้สังเกตว่า แต่ละประเทศที่ลุกเดินหน้าไปเจรจากับสหรัฐฯ หรือมีข้อเสนอที่น่าสนใจ สหรัฐฯ มักตอบรับด้วยข้อเสนอหลัก 2 ประการ ได้แก่ การระบายอาวุธ และ การเปิดตลาดให้กับสินค้าเกษตรของสหรัฐฯ เอง
สำหรับประเทศไทย อัตราภาษีที่ถูกตั้งไว้ที่ 36% อาจทำให้เกิดคำถามตามมาว่า ประเทศไทยจะได้รับผลกระทบในด้านใดบ้าง โดยเฉพาะสินค้าเกษตรที่เคยมีบทบาทสำคัญในการส่งออกไปยังตลาดสหรัฐฯ รองคณบดีฝ่ายวิชาการ คณะรัฐศาสตร์ เชื่อว่า หากพิจารณาในมุมของสินค้าเกษตรของไทย ย่อมหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะได้รับผลกระทบ โดยเฉพาะในกลุ่มของทุนขนาดใหญ่หรือกิจการที่มีเครือข่ายเชื่อมโยงกับต่างประเทศ สินค้าเกษตรไทยซึ่งเคยได้เปรียบทางการค้ากับสหรัฐฯ อาจต้องเผชิญกับการแข่งขันที่รุนแรงมากขึ้น
ขณะเดียวกัน จีนซึ่งถูกมาตรการตอบโต้จากสหรัฐฯ กลับใช้สถานการณ์นี้เป็นโอกาสในการระบายสินค้าเกษตรออกสู่ตลาดโลก ส่งผลให้เกิดการแข่งขันโดยตรงกับไทยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เนื่องจากจีนมีต้นทุนการผลิตที่ต่ำกว่า และสามารถกำหนดราคาหรือปรับเปลี่ยนกลไกตลาดได้ หรือเรียกได้ว่า ยืดหยุ่นกว่าประเทศไทย ซึ่งถือเป็นประเด็นที่ควรจับตามองอย่างยิ่งในระยะยาว
“ในอนาคตสิ่งที่เราได้รับผลกระทบหากไม่มีการปรับแก้อย่างเพียงพอ มัวแต่แก้ปัญหาเรื่องยุทธศาสตร์การเจรจา แต่ลืมไปว่า ผลกระทบในภูมิภาครอบข้างอย่างจีน ต้องบอกว่า จีนมีสายป่านเพียงพอ สามารถโต้ตอบยืดระยะกับสหรัฐฯ ได้ ตอนนี้อาจจะส่งผลกระทบในระยะสั้น แต่ในระยะยาวจีนมีความพร้อมที่เข้าสู่แนวทางการกินรวบไว้เบ็ดเสร็จแล้ว หรือประเทศอื่น ๆ ที่เป็นคู่แข่งทางการเกษตร แน่นอนว่า จะส่งผลกระทบต่อการแย่งชิงตลาดกับประเทศไทย สินค้าทางการเกษตรจะไหลมาในประเทศไทยทำให้ผู้ประกอบการเกษตรกรภายในประเทศไม่สามารถระบายสินค้าออกได้ อันนี้จะส่งผลกระทบในระยะยาวอย่างมากสำหรับเรา”
“แต่อย่างไรก็ดี ผมคิดว่า ท้ายที่สุด สหรัฐฯ จะต้องปรับท่าทีเมื่อได้ผลประโยชน์ที่ตนเองพึงพอใจแล้ว การเสนอเงื่อนไขในลักษณะแรงกดดัน ซึ่งเป็นเงื่อนไขที่รู้สึกหรือเชื่อว่า ตนเองได้รับประโยชน์แล้ว ก็น่าจะกลับไปสู่บรรยากาศแบบเดิม” ผศ.ดร.วันวิชิต คาดการณ์
หลักสูตรรัฐศาสตร์
ครบ จบ ที่ ม.รังสิต
จากที่กล่าวมาข้างต้น ปรากฏการณ์โดนัลด์ ทรัมป์ไม่ใช่เพียงเหตุการณ์ทางการเมืองไกลตัว หากแต่เป็นกรณีศึกษาที่สำคัญอย่างมาก นี่จึงเป็นเหตุผลที่ หลักสูตรรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต ออกแบบการเรียนการสอนให้ตอบโจทย์โลกยุคปัจจุบันให้มากที่สุด เพื่อพร้อมรับมือกับความท้าทายที่เข้ามา
ผศ.ดร.วันวิชิต กล่าวว่า คณะรัฐศาสตร์ ม.รังสิต ถือเป็นหนึ่งในสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งแรก ๆ ของประเทศที่เปิดสอนหลักสูตรรัฐศาสตร์อย่างครบถ้วนทั้งในระดับปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอก โดยมีเป้าหมายสำคัญในการผลิตบัณฑิตรอบรู้ ที่เข้าใจบริบทของสังคมไทยภายใต้การเปลี่ยนผ่านและการเปลี่ยนแปลง
ระดับปริญญาตรี มุ่งเน้นการพัฒนานักศึกษาให้เป็นผู้รอบรู้และมีความเข้าใจบริบทของสังคมไทยที่มีการเปลี่ยนแปลงและการปรับตัวตามกระแสโลกาภิวัตน์ ภายใต้แนวคิด Glocalization ซึ่งเป็นการผสานคำว่า Globalization (โลกาภิวัตน์) และ Localization (ความเป็นท้องถิ่น) ซึ่งหมายความว่า โลกที่กว้างใหญ่กำลังแคบลงด้วยความเป็นท้องถิ่นที่ผสานกับระบบทุนนิยมและการเปลี่ยนแปลง
ขณะเดียวกันก็ให้ความสำคัญกับการพัฒนานักศึกษาให้มีความตระหนักรู้ในคุณค่าของประชาธิปไตย ความเท่าเทียม และการเคารพในความหลากหลาย อีกทั้งส่งเสริมการสร้างเสริมประสบการณ์ชีวิตผ่านระบบการฝึกงานในรายวิชาสหกิจศึกษา ที่เปิดโอกาสให้นักศึกษาได้ฝึกงานกับหน่วยงานสำคัญทั้งในประเทศและต่างประเทศ อาทิ สถานเอกอัครราชทูต กงสุล และหน่วยงานภาครัฐ รวมถึงองค์กรอิสระและองค์กรชั้นนำภาคเอกชน
“เพราะเราเชื่อว่า การเรียนรู้สู่โลกประสบการณ์จริงเป็นสิ่งสำคัญ อาจารย์อาจจะมีให้ความรู้แลกเปลี่ยนในชั้นเรียน แต่ประสบการณ์จริงที่เขาจะเรียนผิด เรียนถูกเอง ผมคิดว่า ตรงนี้สำคัญมาก”
ระดับปริญญาโท จะเน้นการพัฒนานักศึกษาทั้งด้านทฤษฎีและการปฏิบัติ โดยนักศึกษาจะได้รับประสบการณ์การศึกษาดูงานจากหน่วยงานต่าง ๆ และมีโอกาสแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาต่าง ๆ ในขณะเดียวกัน นักศึกษาต้องทำการศึกษาค้นคว้าอิสระ ซึ่งเป็นโอกาสในการพัฒนาทักษะการวิจัยและการวิเคราะห์อย่างลึกซึ้ง หลักสูตรนี้ไม่จำกัดเฉพาะผู้ที่มีประสบการณ์ในสาขารัฐศาสตร์เท่านั้น แต่ยังเปิดโอกาสให้กับผู้ที่ไม่มีพื้นฐานมาเรียนรู้และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในบรรยากาศที่มีมุมมองหลากหลาย ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการเรียนการสอนในระดับนี้
และสำหรับผู้ที่สนใจศึกษาต่อ ระดับปริญญาเอก ซึ่งถือเป็นระดับสูงสุดของการศึกษาด้านรัฐศาสตร์ มุ่งเน้นด้านการเมืองการปกครองเป็นสำคัญ การเรียนการสอนจะเน้นกระบวนการวิพากษ์ การถกเถียง แลกเปลี่ยนความคิดเห็นอย่างเป็นระบบ ใช้การแสดงออกหรือการวิพากษ์ในรัฐศาสตร์เป็นการเรียนรู้แบบผู้ใหญ่ หรือผู้มีวุฒิภาวะ
“สำหรับหลักสูตรปริญญาโทและปริญญาเอกถือเป็นจุดแข็งของเรา เนื่องจากผู้เรียนส่วนใหญ่เป็นบุคคลที่มีประสบการณ์และประสบความสำเร็จในหน้าที่การงาน หลักสูตรหลักสูตรรัฐศาสตรบัณฑิตและหลักสูตรรัฐศาสตรมหาบัณฑิตของ ม.รังสิต ได้รับการยอมรับว่า เป็นหนึ่งในหลักสูตรรัฐศาสตร์ที่ดีที่สุดในภาคเอกชนของประเทศ โดยในปีที่ 14 ของการดำเนินการ หลักสูตรนี้ได้และผลิตบุคลากรที่มีบทบาทสำคัญในหลายภาคส่วน เช่น นักการเมือง ข้าราชการระดับสูง รวมถึงเจ้าหน้าที่องค์กรอิสระและหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ สะท้อนให้เห็นถึงคุณภาพของการจัดการเรียนการสอนที่ได้รับการยอมรับ เมื่อนักศึกษาสำเร็จการศึกษาออกไป”
เมื่อโลกไม่หยุดนิ่ง
การเรียนรัฐศาสตร์จึงต้องนำหน้า
อีกหนึ่งจุดแข็งคือ หลักสูตรรัฐศาสตร์ ม.รังสิตมีการปรับปรุงทุก 5 ปี เพื่อให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมและโลกปัจจุบัน โดยมีการเพิ่มรายวิชาใหม่ ๆ ที่ตอบรับกับกระแสโลกสมัยใหม่ เช่น รายวิชาการเมืองในโลกดิจิทัล ซึ่งมุ่งเน้นให้ผู้เรียนเข้าใจบทบาทของเทคโนโลยีดิจิทัลในกระบวนการทางการเมือง การสื่อสารทางการเมือง และการตรวจสอบข้อมูล ซึ่งเป็นสิ่งที่นักศึกษาต้องรู้เท่าทัน
นอกจากนี้ยังเปิดสอน รายวิชาผู้นำทางการเมือง รายวิชานี้มีความน่าสนใจเป็นพิเศษ เนื่องจากมุ่งเน้นให้นักศึกษาเข้าใจบริบทของสังคมไทย ผ่านกรณีศึกษาของบุคคลต้นแบบทางการเมือง ในฐานะ “โรลโมเดล” ที่ประสบความสำเร็จ ซึ่งจะมาร่วมบรรยายและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับนักศึกษาในชั้นเรียน
ขณะเดียวกัน หลักสูตรมุ่งบูรณาการองค์ความรู้จากหลายสาขาวิชา เช่น เศรษฐศาสตร์ จิตวิทยา และศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง เพื่อเสริมสร้างวิสัยทัศน์ ความคิดเชิงวิเคราะห์ และศักยภาพในการปรับตัวต่อบริบทโลกที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะในระดับปริญญาตรีที่เน้นการวางรากฐานความรู้ที่มั่นคงและส่งเสริมศักยภาพผู้เรียนให้พร้อมเผชิญกับความท้าทายอยู่เสมอ
พร้อมเปิดโอกาสให้นักศึกษาเรียนรู้นอกห้องเรียนผ่านกิจกรรมต่าง ๆ เช่น การเยี่ยมชมรัฐสภา การจัดเวทีเสวนาระดับนานาชาติ ซึ่งช่วยให้นักศึกษาได้เข้าใจและตื่นตัวถึงประเด็นสำคัญในสถานการณ์ปัจจุบันอีกด้วย
ตลอด 14 ปีที่ผ่านมาต้องยอมรับว่า คณะรัฐศาสตร์ ม.รังสิต ได้สร้างบัณฑิตที่มีบทบาทในหลากหลายภาคส่วน ซึ่งถือเป็นบทพิสูจน์ถึงคุณภาพการเรียนการสอนและศักยภาพของผู้เรียนที่ได้รับการยอมรับในวงกว้าง
“สุดท้ายนี้ ขอเชิญชวนมาเป็นครอบครัว ‘สิงห์รังสิต’ ด้วยกัน ต้องบอกว่า สิงห์ของเราเป็น ‘สิงห์ทองแดง’ ซึ่งทองแดงคือเป็นธาตุโลหะแรกในโลกที่มนุษย์รู้จักนำมาใช้ประโยชน์ในการดำรงชีวิต เราเปิดรับสมัครตลอดเวลาและยินดีต้อนรับทุกคน” ผศ.ดร.วันวิชิต ทิ้งท้าย