xs
xsm
sm
md
lg

การประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์องค์กร เพื่อแนวทางการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ธนกฤต เนียมหอม รองคณบดีฝ่ายกิจการนักศึกษาและการพัฒนาที่ยั่งยืน
คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

“คาร์บอนฟุตพริ้นท์” หรือ รอยเท้าของคาร์บอน (Carbon Footprint) คือ สิ่งที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวันโดยมีการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ก๊าซเรือนกระจก (Greenhouse Gases) เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดภาวะโลกร้อน ทำให้อุณหภูมิสูงขึ้น ก๊าซเรือนกระจกมีคาร์บอนร้อยละ 30 - 40 ลักษณะประมาณการของตัวเลขสื่อให้เห็นว่าในการใช้ชีวิตหรือใช้ทรัพยากรตั้งแต่ตื่นนอนจนเข้านอน “มนุษย์” คนหนึ่งจะปล่อยตัวระบายคาร์บอนออกสู่ชั้นบรรยากาศมากน้อยเพียงใด จึงเป็นที่มาของคำว่า “คาร์บอนฟุตพริ้นท์”
การประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กร (Carbon Footprint of Organization : CFO) จะทำให้รู้ปริมาณที่เกิดขึ้นในแต่ละวันว่ามีกิจกรรมใดที่ทำให้เกิดคาร์บอนฟุตพริ้นท์มาก หรือกิจกรรมใดที่ทำให้เกิดคาร์บอนฟุตพริ้นท์น้อย และสามารถวางแผนการลดตัวก๊าซเรือนกระจก ​
คาร์บอนฟุตพริ้นท์ มีอยู่ 2 ประเภท 1. คาร์บอนฟุตพริ้นท์ผลิตภัณฑ์ 2. คาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กร ตัวอย่างของคาร์บอนฟุตพริ้นท์ผลิตภัณฑ์ ได้แก่ บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป 1 ซอง มีคาร์บอนฟุตพริ้นท์ที่เกิดจากบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป สามารถอ่านได้จากบริษัทผลิตบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปที่ได้ทำการยื่นจดทะเบียน ทำการวิเคราะห์ตั้งแต่เริ่มผลิตจนกระทั่งรับประทาน กำจัดซาก กำจัดขยะ สำหรับคาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กรทำให้รู้ว่าองค์กรหนึ่งในการดำเนินกิจกรรมขององค์กร โดย คณะสาธารณสุขศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล ตลอด 1 ปี มีการปล่อยคาร์บอนฟุตพริ้นท์เท่าไหร่ คณะฯ มีกิจกรรมอะไรบ้าง โดยมีการคำนวณเป็นตัวเลขที่สำรวจจากทรัพยากรทั้งหมดตามหลักการขององค์การบริหารการจัดการ ได้มีการแบ่งก๊าซคาร์บอนฟุตพริ้นท์ เป็น 3 ส่วน ได้แก่ ส่วนที่ 1 การเผาไหม้อยู่กับที่ เช่น สารเคมีในห้องปฏิบัติการ (Laboratory) หรือการใช้เชื้อเพลิงในรถของแต่ละส่วนงานที่กำกับดูแล สามารถประเมินได้จากระบบการเบิกจ่ายวัสดุในระบบ ERP ของหน่วยงาน ส่วนที่ 2 เป็นเรื่องของพลังงานไฟฟ้าของแต่ละส่วนงานในมหาวิทยาลัยมหิดล ส่วนที่ 3 เป็นกิจกรรมอื่น ๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับการปล่อยคาร์บอนทั้งหมด เช่น การเดินทางของพนักงาน การเดินทางไปไปราชการ หรือผู้ประกอบการที่มาเช่าพื้นที่ส่วนงานของมหาวิทยาลัยมหิดล นำมาผนวกกัน เรียกว่า ค่าการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการผลิต/การใช้ไฟฟ้า (Emission Factor) เป็นค่าที่เอามาไว้ใช้สำหรับเปลี่ยน เช่น น้ำมัน 1 ลิตรแปลงให้เป็นคาร์บอน 1 ตัน หรือ 1 กิโลกรัม ได้อย่างไร จะเห็นได้จากค่า (Emission Factor) เมื่อคำนวณออกมาได้ตัวเลข 1 ตัว ในแต่ละสโคป 1 - 3 มีปริมาณเท่าไหร่บ้าง

ในปี 2565 - 2566 คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล มีกรณีศึกษาในสโคปที่ 2 ซึ่งเป็นการใช้พลังงานไฟฟ้าที่สูงมาก การใช้ประโยชน์จากคาร์บอนฟุตพริ้นท์องค์กรนั้น ต้องหามาตรการที่จะลดปริมาณ
ของคาร์บอนฟุตพริ้นท์จากตัวการใช้พลังงานไฟฟ้า อาทิ การใช้บันไดแทนการขึ้นลิฟต์ การใช้พลังงานทดแทน หรือพลังงานทางเลือก โซลาร์เซลล์ สามารถลดคาร์บอนฟุตพริ้นท์ได้ เมื่อลดการใช้พลังงานไฟฟ้า คาร์บอนฟุตพริ้นท์ก็จะมีปริมาณที่ลดลงไปด้วย

นอกจากนี้ การทำคาร์บอนฟุตพริ้นท์ เป็นอีกหนึ่งโครงการของมหาวิทยาลัยมหิดล และได้ทำการต่อยอด โดย คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล มีการจัดอบรม “การประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กรเพื่อสิ่งแวดล้อมยั่งยืน” ปัจจุบันได้มีการจัดอบรมเป็นรุ่นที่ 4 ขณะเดียวกันการใช้คาร์บอนฟุตพริ้นท์เป็นการต่อยอด เราสามารถหาพลังงานทางเลือก หาวิธีการลด รวมถึงโครงการใส่เสื้อโปโล (เสื้อไม่รีด) เพื่อตระหนักถึงการประหยัดพลังงาน โครงการเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ทางเลือกต่อสิ่งแวดล้อม ลดการใช้ถุงพลาสติก เปลี่ยนเป็นการใช้ถุงผ้า เพื่อลดปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอน ต่อยอดโครงการเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนด้วยรูปแบบ Living Lab ของมหาวิทยาลัยมหิดล

ทั้งนี้ เพื่อเป้าหมายการเป็น Carbon Neutral คือ ความเป็นกลางทางคาร์บอน หมายถึง การลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์หรือก๊าซเรือนกระจกสุทธิให้เป็นศูนย์ ตัวอย่างเช่น เราปล่อยก๊าซเรือนกระจำไป 100 หน่วย ต้องหาวิธีการต้องมาลด 100 หน่วยนั้นให้ได้ เป็นยุทธศาสตร์ของชาติที่ประกาศว่า เมืองไทยจะเข้าเป็น Carbon Neutral ในปี 2050

ในปัจจุบันเข้าสู่ภาวะโลกร้อน อุณหภูมิเฉลี่ยของโลกเพิ่มขึ้นจากภาวะเรือนกระจก รวมทั้ง ฝุ่นละออง ฝุ่น PM2.5 ที่อยู่อากาศ การหามาตรการเพื่อลดปริมาณคาร์บอนฟุตพริ้นท์ที่เกิดขึ้น ง่ายที่สุด คือ การปรับเปลี่ยนไม่ใช้ถุงพลาสติก และการปรับเปลี่ยนไปใช้พลังงานทางเลือกทดแทน โดยต้องร่วมมือกันทุกภาคส่วน เพื่อลดและป้องกันผลกระทบที่จะเกิดขึ้นในอนาคต


กำลังโหลดความคิดเห็น