xs
xsm
sm
md
lg

“หมอธีระวัฒน์” ย้ำผลศึกษาวัคซีนโควิดทำภูมิคุ้มกันอ่อนแอ-สมองเสื่อมและก่อโรคอื่นๆ

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



“หมอธีระวัฒน์” เปิดผลศึกษาต่อเนื่องตอกย้ำผลกระทบจากวัคซีนโควิด-19 ทั้งภูมิคุ้มกันอ่อนแอ จากการฉีด mRNA ขณะผลการวิจัยครั้งใหญ่ในเกาหลีใต้ จากผู้รับวัคซีนกว่า 5 แสนคน พบอัตราการเป็นโรคสมองเสื่อมเพิ่มขึ้น ส่วนในไทยก็พบภาวะภูมิคุ้มกันอ่อนแอ-สมองเสื่อมในคนอายุน้อยมากขึ้นเรื่อยๆ แนะควรหยุดฉีดวัคซีนไม่ว่าชนิดใด หันมาดูแลตัวเอง กินมังสวิรัติ ผักผลไม้กากใย หรืออาหารไทยที่เป็นยา เลี่ยงเนื้อสัตว์บก

วันนี้(4 ก.พ.) ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา ประธานศูนย์ความเป็นเลิศด้านการแพทย์บูรณาการและสาธารณสุข และที่ปรึกษาวิทยาลัยการแพทย์แผนตะวันออก มหาวิทยาลัยรังสิต โพสต์ข้อความในเฟซบุ๊ก “ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา Thiravat Hemachudha” เกี่ยวกับผลกระทบจากการฉีดวัคซีนโควิด-19 ว่า การฉีดวัคซีนโควิดทำให้เกิดผลระยะยาว ภูมิคุ้มกันอ่อนแอ และเกิดโรคอื่นๆ มากขึ้น รวมทั้งสมองเสื่อม

ทั้งนี้ ยังเกิดมีการตายกระทันหันมากขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งไม่ได้เกิดจากเส้นเลือดหัวใจตันแต่เกิดจากกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบและตัดกระแสไฟฟ้าของหัวใจ และมะเร็ง

1- ในด้านภูมิคุ้มกันอ่อนแอ เนื่องจาก IgG4 เป็นชนิดหนึ่งของอิมมูโนกลอบูลิน ที่มีจำนวนน้อย และถ้ามีจำนวนมากขึ้นกว่าที่ควรจะเป็น จะทำให้ระบบต่อสู้เชื้อโรคของมนุษย์ที่เป็นระบบนักฆ่าอ่อนแอ

ในเวลาที่ผ่านมาพบว่าปริมาณ IgG4 ทั้งหมด รวมทั้ง ที่เจาะจงที่ส่วนของโปรตีนหนามของวัคซีนโควิด S1 * เพิ่มขึ้นจากสามถึง 4% ตามปกติ เป็น 10 เป็น 25 และมากกว่า 50 ถึง 60% หลังจากที่ฉีดไปหนึ่ง สอง และสามเข็มของ mRNA

ทั้งนี้ เป็นที่มาจากการศึกษาหลายชิ้นรวมทั้งรายงานนี้ในวารสาร BMC Immunity & Ageing 14 กันยายน 2024

ทั้งนี้โดยตั้งคำถามสำคัญว่า
* คนที่สูงวัย อายุ มากกว่า 65 ปี จนถึง 84 ปี ที่ถูกจัดเป็นประเภทกลุ่มเปราะบาง และต้องได้วัคซีนโควิดครบ และต้องมีการฉีดกระตุ้นอยู่ตลอด
แท้จริงแล้ว จะได้ประโยชน์จริงหรือไม่ และจะมีผลในทางลบนั่นก็คือทำให้ร่างกายต้านทานเชื้อโรคแย่ลงหรือไม่

* ทั้งนี้โดยการวัดระดับของ IgG ทุกชนิด 1-4 และ IgG จำเพาะ ต่อ โควิด และจากการที่ IgG4 มีอิทธิพลต่อ ระบบนักฆ่า ทั้ง NK และ เซลล์อื่นๆ ที่สามารถกลืนกัดกิน ย่อย เชื้อโรค รวมระบบ complement

ผลปรากฏว่า ในกลุ่มสูงอายุขึ้นนี้เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มอายุต่างๆ ตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป เมื่อฉีดไปตั้งแต่เข็มที่หนึ่งจนกระทั่งหลังเข็มที่สาม ระบบป้องกันภัย innate ที่เป็นตัวสำคัญแนวหน้าป้องกันการรุกรานโดยสามารถทำงานได้ทันทีในระยะเวลา เป็นชั่วโมงและไม่จำเพาะเจาะจงว่าจะต้องเป็นเชื้อไหน

ทั้งหมดของระบบดังกล่าวอ่อนแอมากกว่าก่อนฉีด และแปรตาม IgG4 ที่เพิ่มขึ้น โดย กระทบ Fc-mediated antibody effector functionality.

IgG4 มีผลทำให้การทำงานของ NK และการทำงานของ Fc-mediated effector function ลด คือ ทั้ง ADCC (antibody-dependent cell-mediated cytotoxicity), ADCP (antibody-dependent cell phagocytosis)

*ข้อมูลของการศึกษานี้มีผลเช่นเดียวกับการศึกษาก่อนหน้านั้น ในคนอายุน้อย และผู้รายงานเหล่านี้สรุปในทิศทางเดียวกันว่าวัคซีนจำเป็นต้องมีการพัฒนาให้มีประสิทธิภาพที่ดีกว่าและไม่ด้อยค่าระบบป้องกันภัยของร่างกายโดยจะกลายเป็นภาวะเกี่ยวพันลูกโซ่ที่ทำให้ติดโรคง่ายหรือทำให้เชื้อดั้งเดิมเช่นเริม งูสวัด(คือไข้อีสุกอีใสเดิมที่หายแล้วแต่ซ่อนตัวอยู่) กลับปะทุขึ้น

2- โรคสมองเสื่อม
ดร.ฮิโรโตะ โคมาโนะ นักประสาทวิทยาชาวญี่ปุ่น แสดงความวิตกเกี่ยวกับการเพิ่มขึ้นของผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมในกลุ่มผู้ที่ได้รับวัคซีนโควิด-19: การศึกษาวิจัยครั้งใหญ่ในกลุ่มผู้ได้รับวัคซีนโควิด-19 ประมาณ 600,000

รายงานการศึกษาจากเกาหลีใต้ กรุงโซล คนที่ได้รับวัคซีน ปรากฏมีสมองเสื่อมเพิ่มขึ้น ทั้งนี้เป็นการเปรียบเทียบ คนที่ได้รับวัคซีนสองเข็ม (519,330) กับประชากรที่ไม่ได้รับวัคซีน (38,687)

เกี่ยวกับการศึกษาวิจัยจากเกาหลีใต้ ซึ่งตีพิมพ์ในวารสาร International Journal of Medicine โดย Roh et al เมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2024 การศึกษาวิจัยนี้มีความโดดเด่นเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากได้ศึกษาข้อมูลด้านสุขภาพของผู้คนจำนวนมหาศาลถึง 519,330 คนที่ได้รับวัคซีนป้องกัน COVID-19 สองโดส และได้เปรียบเทียบผู้ที่ได้รับวัคซีนเหล่านี้กับผู้ที่ไม่ได้รับวัคซีนอีกประมาณ 38,687 คน ซึ่งถือเป็นการศึกษาวิจัยครั้งใหญ่ที่สุดครั้งหนึ่งในประเภทนี้ ซึ่งทำให้ผลการศึกษาวิจัยมีความสำคัญอย่างยิ่ง

เขาย้ำถึงการเพิ่มขึ้นของจำนวนผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมที่น่าเป็นห่วง โดยระบุว่า "การเพิ่มขึ้นของผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมจะเป็นเรื่องเลวร้าย ผู้สูงอายุที่รอดชีวิตแต่มีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคสมองเสื่อมสูงขึ้น" ปัจจุบัน "ผู้ที่มีอายุมากกว่า 65 ปีหนึ่งในห้าคนเป็นโรคสมองเสื่อมอยู่แล้ว" สถานการณ์อาจเลวร้ายลงอย่างมาก โดย ดร.คามาโนเตือนว่า "นั่นหมายความว่าผู้ป่วยอาจเพิ่มขึ้นเป็นสองในห้าคน" หากยังคงฉีดวัคซีนต่อไปโดยไม่ได้รับการควบคุม จำนวนผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมจะเพิ่มขึ้นเท่านั้น ซึ่งถือเป็นความท้าทายด้านสาธารณสุขที่สำคัญ

นอกเหนือจากผลการวิจัยเกี่ยวกับความเชื่อมโยงที่อาจเกิดขึ้นระหว่างการฉีดวัคซีน COVID-19 กับโรคสมองเสื่อมแล้ว ดร.โคมาโนยังแสดงความกังวลอย่างยิ่งเกี่ยวกับผลกระทบในวงกว้างของการฉีดวัคซีนดังกล่าว เขาเตือนว่า "การฉีดวัคซีนนี้ ไม่ว่าจะเป็นวัคซีน COVID-19 จะทำให้ระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอลงเนื่องจากการกระตุ้น IgG4 และทำให้ผู้คนเสียชีวิตจากโรคอื่นๆ" ดร.โคมาโนยังเน้นย้ำถึงผลกระทบที่อาจเกิดกับเด็กและอัตราการเกิด

ดร.โคมาโนวิจารณ์ลักษณะการทดลองของวัคซีน COVID-19 โดยแสดงความเชื่อว่าความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับวัคซีนนั้นค่อนข้างมาก เขาเตือนว่ากรณีโรคสมองเสื่อมมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นอย่างมากหากยังคงฉีดวัคซีนต่อไป โดยเฉพาะในผู้สูงอายุ ดร. โคมาโนเน้นย้ำถึงความสำคัญของการวิจัยเพิ่มเติมเพื่อทำความเข้าใจผลกระทบในระยะยาวของวัคซีนต่อสุขภาพทางปัญญา

https://www.aussie17.com/p/japanese-neuroscientist-dr-hiroto

https://academic.oup.com/view-large/figure/460472981/hcae103f1.tif?itm_medium=graphical+abstract+image&itm_content=open+image&itm_source=http://academic.oup.com/qjmed/advance-article-abstract/doi/10.1093/qjmed/hcae103/7684274&itm_campaign=graphical+abstract

3- ในประเทศไทยเอง ภาวะภูมิคุ้มกันอ่อนแอ พบขึ้นได้มากมาย ที่เกิดมีเริม งูสวัด ในคนอายุน้อยก็ตาม และเกิดขึ้นซ้ำซ้อนอีกหลายครั้ง ซึ่งแสดงว่าระบบภูมิคุ้มกันเริ่มไม่ดี นอกจากนั้นยังเกิดภาวะภูมิแปรปรวนทำให้มีภูมิแพ้มากขึ้น ตลอดจนไปถึงโรคพุ่มพวง สะเก็ดเงิน และโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์

สำหรับสมองเสื่อมคน ที่มีอาการของโรคสมองเสื่อมพบได้ในอายุน้อยมากขึ้นเรื่อยๆ โดยไม่มีประวัติในครอบครัวก่อนหน้า และมีการพัฒนาของโรคเร็ว อีกทั้งลักษณะที่ไม่ใช่อัลไซเมอร์ โดยทำการตรวจทางเวชศาสตร์นิวเคลียร์ PET scan และร่วมกับอาการผิดปกติทางการเคลื่อนไหวและการกรอกลูกตา สอนให้เห็นถึงลักษณะของกลุ่ม PSP progressive supranuclear palsy

4- การมีความรู้เกี่ยวกับเรื่องผลกระทบนี้มีความหมายมาก ที่ต้องไม่ฉีดเพิ่มและเทคโนโลยีนี้ไม่ได้ใช้กับโควิดอย่างเดียว ยังมีชนิดอื่นอยู่ด้วย จนกว่าจะมีการปรับปรุงและพิสูจน์ความปลอดภัยชัดเจน

รักษาโรคประจำตัวให้ดีที่สุด และ พยายามเข้าใกล้มังสวิรัติ ผักผลไม้กากใย ลดขนม เลี่ยงเนื้อสัตว์บก ทานปลาได้ และอาหารไทยที่เป็นยา ขิง ข่า ตะไคร้ ใบกะเพรา ขมิ้นชัน โหระพา และอื่นๆ ซึ่งขณะนี้มีข้อมูลทางวิทยาศาสตร์สนับสนุนออกมาเรื่อยๆ


กำลังโหลดความคิดเห็น