เมื่อสิ่งแวดล้อมพรากสมาธิของลูกเราไป..
ช่วงโควิดทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในตัวเด็กหลายคน
บางคนจากเด็กกระตือรือร้น เรียนเก่ง กลายเป็นเป็นคนเฉื่อยชาด้านการเรียน
มิหนำซ้ำ หลังจาก จบโควิด
เด็กวัยรุ่นหลายคน เรียนหนัก เรียนนาน แต่ทำไม ปัญหาด้านการเรียนถึงแก้ไม่จบสักที
ซ้ำร้ายจะพาลทำให้ความสัมพันธ์ของลูกกับผู้ปกครองห่างกันเข้าไปอีก
ลูกเป็นสาวเป็นหนุ่มแล้วทางกายภาพ แต่ในบางมุมยังคงมีจิตใจของเด็กวัยกระเตาะกระแต อาละวาดเมื่อไม่ได้อย่างใจ นั่นเป็นเพราะสมองส่วน Limbic ที่เป็นสมองส่วนอารมณ์ พฤติกรรม พัฒนาการไวมาในช่วง 10-12 ปี ในขณะที่สมองส่วนหน้า ที่ทำหน้าที่ส่วนเหตุผล จะพัฒนาเต็มที่จนถึงอายุ 20 ปี
จากนั้นสมองจะค่อย ๆ ตกตะกอนการเรียนรู้ชีวิตที่ผ่านมา พอเป็นผู้ใหญ่หลาย ๆ คนจึงชอบนึกถึงช่วงเวลาที่ผ่านมา เพราะการตกตะกอนความคิด ตามกาลเวลา มันช่วยสร้างความคิดปัจจุบัน เป็นพื้นที่แข็งแรง เพื่อวันพรุ่งนี้
ที่เล่ามา ครูฮ้วงเอง ก็ไม่ได้เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านเด็กมาจากไหนหรอกค่ะ แต่เราใช้ประสบการณ์จริง คลุกคลี พอเด็กเริ่มมาเรียนกับเราจำนวนเป็นพัน เราเริ่มจับหลักได้
ตอนสอนหนังสือสมัยแรก ๆ (สมัยสาว ๆ) เคยตกใจค่ะ สอนเด็กอยู่ดี ตะกี้เพิ่งหัวเราะด้วยกันทั้งห้อง รอประเดี๋ยวเดียว เด็กงอนกับคำพูดเอ็นดูเราเฉยเลย จำได้ว่าครั้งนั้นเครียดเลยว่าจะจับอารมณ์เด็กต้องสังเกตจากอะไรบ้าง
จะตลกใส่เด็ก ต้องดูเวลา ดูสถานการณ์ ดูทรงของเด็กด้วย เด็กบางคนไม่ชอบเป็นจุดสนใจ ไม่ชอบให้เพื่อน ๆหัวเราะใส่ ไม่ว่าเรื่องใดก็แล้วแต่
และก็ได้หลักในการสอนเด็กวัยรุ่นตอนต้น ซึ่งถือว่าต้องใช้วิทยายุทธพอสมควร เพราะเด็กเหมือนจะรู้เรื่อง เป็นสาวแล้ว กำลังเป็นหนุ่มแล้ว บางคนทันสมัยกว่าเรามาก แต่ทำไมด้านจิตใจยังอ่อนหัดอยู่มาก
เห็นจาก พอเด็กได้รับความกดดันซึ่งเรามองว่าน่าจะทนได้ เช่น การเรียนนาน อ่านเรื่องที่ยากขึ้น โดยเฉพาะ ด้าน Writing Essay เด็กหลายคนการเติบโตทางอารมณ์ยังไปไม่ถึงจุด สติแตก ร้องไห้ออกมาเลย เพราะไม่รู้จะเขียนอะไร หรือเขียนออกมาไม่ได้สมใจที่หวังอยากให้เป็น
จึงจับหลักง่าย ๆ ได้ 5 ข้อค่ะ
1. ไม่ยัดเยียด ความรู้สึกใด ๆ ให้เด็ก แต่ให้ผู้ใหญ่อย่างเรา เป็นเสาหลักของความดีงาม เด็กจะอาละวาด โกรธ ตะโกน เราต้องพูดเพราะ มีเหตุผล ถ้าไม่ไหว อาจต้องเดินออกมา
2. อย่าถือสา
อย่าเอาเรื่องเล็ก ๆ ที่เด็กพูดไม่เข้าหูมาคิด นอกจากเด็กมีพฤติกรรมอันตรายหรือหยาบคายมาก อันนี้แนะนำเป็นกรณีไป
3. ไม่ต้องทำนายอนาคตเด็ก
เราเลี้ยง เราสอนให้ดีที่สุด ทำให้เต็มที่ อย่าไปคิดว่า "ถ้าทำแบบนี้ ทำงานในอนาคตลำบากแน่ ๆ"
4. อย่าเล่นเกมสนามอารมณ์กับเด็ก
ใช้จิตวิทยาเพื่อแสดงอำนาจกับเด็กไม่ควรทำ เพราะทำให้เด็กกลัว เช่น แทนที่จะพูดเด็กว่า "จะเรียนไม่เรียน ถ้าเรียนไม่ได้ดี ไม่ต้องรงต้องเรียนมันละ" ลองพูดเป็น ลองฝึกเรื่องนี้ก่อน ทำไม่ได้ มาคุยกัน ลองเรื่องที่ง่าย ๆ กันก่อน
5. ไม่ต้องพูด เมื่อเด็กต้องการพูด
ให้เค้าพูดความคิด ความรู้สึกของเค้าให้หมด ส่วนเราเป็นผู้ใหญ่คิดหาทางรับมือไป แทนที่จะถามเด็กด้วยคำถามว่า "ทำไม ผิดอีกแล้ว" ลองเปลี่ยนเป็น "อะไรทำให้ผิดซ้ำนะ"
บางครั้งการหยุดบ่น ก็เป็นการช่วยให้เด็กคิดได้ การพูดเรื่องเดิมซ้ำ ๆ โดยเฉพาะเผลอพูดจาดูถูกเด็กโดยไม่รู้ตัว มองอีกนัยหนึ่งมันคือการไม่ให้เกียรติเด็กเหมือนกัน
เป็นผู้ใหญ่ต้องตั้งสติ ยิ่งต้องดูแลเด็กวัยรุ่น ต้องมีสติเป็นสามเท่า การที่เราควบคุมวาจาตัวเองได้ เท่ากับเป็นการแสดงความไว้ใจในตัวเด็กและให้เกียรติความเป็นนักเรียน เป็นมนุษย์ของเค้าเช่นกันค่ะ
ด้วยรักจากประสบการณ์
ครูฮ้วง
---------------------------
ครูฮ้วง-เสาวลักษณ์ ลี้รุ่งเรืองพร เจ้าของสถาบัน Campus Genius Center ผู้สอนหลักสูตรติวเข้มเพื่อการสอบ SAT ด้วยแนวคิดแบบ Critical Thinking ที่ช่วยให้นักเรียนสามารถยื่นคะแนนเข้าเรียน และประสบความสำเร็จในการเรียนคณะอินเตอร์ทั้งในและต่างประเทศ