xs
xsm
sm
md
lg

Put the Right Man on the Right Job จำเป็นอยู่ไหมในยุคที่ AI กำลังจะครองโลก?

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



ในปัจจุบัน เราอาจเห็นว่า AI สามารถทำงานบางอย่างแบบที่ผู้บริหารธุรกิจทำได้ เช่น การประเมินผลที่ต้องใช้ Big Data แถม AI ยังทำได้อย่างรวดเร็ว และเราได้เห็นว่า ตำแหน่งงานบางตำแหน่ง สามารถถูกทดแทนได้ด้วย AI แบบไม่ยากนักหากต้องการ และมนุษย์ก็เสี่ยงตกงานอย่างเลี่ยงไม่ได้ ไม่เว้นแม้แต่ในสายงานครีเอทีฟ อย่างคนเขียนบทภาพยนตร์หรือซีรีส์ที่มีตัวอย่างบทหนังและซีรีส์ที่เขียนโดยใช้ AI ให้เห็นเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ แล้วอย่างนี้ ตำแหน่งแห่งที่ของมนุษย์จะน้อยลงหรือไม่ หรือจะหายไปมั้ยจากโลกของการทำงาน?

ผู้จัดการออนไลน์ พาไปสำรวจมุมมองต่อประเด็นคำถามที่ว่า Put the Right Man on the Right Job จำเป็นอยู่ไหมในยุคที่ AI กำลังจะครองโลก? จากคณาจารย์ผู้เชี่ยวชาญด้าน M.B.A. และ M.M. (MASTER OF MANAGEMENT) รวมทั้ง นิเทศศาสตร์ ซึ่งอาจจะทำให้มองเห็น “ทางเดิน” หรือ “ก้าวต่อไป” ที่ AI กำลังเข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวัน การดำเนินธุรกิจ และการทำงาน มากยิ่งขึ้นทุกวัน

ดร.ปิยภรณ์ ชูชีพ ผู้อำนวยการหลักสูตรการจัดการมหาบัณฑิต สาขาวิชาการเป็นผู้ประกอบการ (MASTER OF MANAGEMENT: M.M.) คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต
ความท้าทายและโอกาสจาก AI ต่อการทำงานในโลกยุคปัจจุบัน

เพราะการทำธุรกิจ ต้องการเครื่องมือที่จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน และช่วยลดต้นทุน และ AI ถือเป็นอีกเครื่องมือสมัยใหม่ที่ผู้ประกอบการจำเป็นต้องรู้

ในมุมมองของ ดร.ปิยภรณ์ ชูชีพ ผู้อำนวยการหลักสูตรการจัดการมหาบัณฑิต สาขาวิชาการเป็นผู้ประกอบการ (MASTER OF MANAGEMENT: M.M.) คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต เห็นว่า ผู้ประกอบการยุคใหม่ต้องปรับตัวและทำความเข้าใจกับ AI ว่าเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้การทำงานสะดวกสบายมากยิ่งขึ้น สามารถนำมาใช้ในหลายด้าน ทั้งการเก็บข้อมูลที่เป็น Big Data การประมวลข้อมูลเชิงกว้างให้แคบลงมาและสรุปให้เรา ความท้าทายคือเราจะผสานยังไงให้ AI เข้ากับการที่เราจะปฏิบัติงานกับพนักงาน หรืออาจจะใช้ AI ประกอบการตัดสินใจบางอย่าง

“แต่การใช้ AI เราต้องใช้อย่างระมัดระวัง เราไม่สามารถเชื่อ AI ได้ 100% เพราะ AI มาจากแหล่งข้อมูลทั่วโลก สิ่งที่สำคัญในการเตรียมความพร้อมของผู้บริหารหรือผู้ประกอบการ คือ ต้องมีพื้นฐาน มีองค์ความรู้ในธุรกิจของตัวเองก่อน”

ดร.ณกมล จันทร์สม ผู้อำนวยการหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (M.B.A.) คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต
เชื่อว่า AI ทำหน้าที่ Hard Skills ได้ดี แต่ในเรื่องของ Soft Skill ยังไม่สามารถทำได้อย่างมนุษย์

ดร.ณกมล จันทร์สม ผู้อำนวยการหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (M.B.A.) คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต มองว่า สายงาน M.B.A. ไม่สามารถปฏิเสธการใช้ AI ได้ เพราะข้อดีของ AI คือเครื่องมือที่ช่วยให้ทำงานได้รวดเร็วขึ้น มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น แต่ถึงอย่างนั้น AI อาจจะส่งผลกระทบกับบางตำแหน่งในส่วนของ Hard Skills ที่สามารถวัดประเมินผลได้อย่างเป็นรูปธรรม เช่น การอ่าน การเขียน การคำนวณ การทำบัญชี การเขียนโปรแกรม ฯลฯ เป็นต้น แต่ในส่วน Soft Skill เช่น การทำงานเป็นทีม การสื่อสาร การโน้มน้าวใจ ความฉลาดทางอารมณ์ จรรยาบรรณในวิชาชีพ ฯลฯ เป็นต้น AI ยังไม่สามารถทำแทนมนุษย์ได้

AI มีข้อดี โดยเฉพาะเรื่องข้อมูล ช่วยเพิ่มโอกาส สร้างรายได้ สร้างสรรค์งานที่แปลกใหม่ แต่ทั้งหมดทั้งมวลต้องประยุกต์ใช้ให้เป็น ต้องรู้เท่าทันข้อมูล และอยู่บนพื้นฐานคำว่าจริยธรรม

ต้องยอมรับว่าสายงานนิเทศศาสตร์เป็นอีกหนึ่งสายงานที่ต้องคลุกคลีอยู่กับ AI ซึ่ง รศ.ดร.ลักษณา คล้ายแก้ว ผู้อำนวยการหลักสูตร หลักสูตรนิเทศศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชานิเทศศาสตร์ วิทยาลัยนิเทศศาสตร์ แสดงความเห็นว่า AI อาจเป็นคำกว้าง ๆ เพราะอันที่จริงยังมีเทคโนโลยีหรือปัญญาประดิษฐ์อื่น ๆ อีกมากมาย สำหรับนิเทศศาสตร์ถือได้ว่ารับผลกระทบจาก AI ชัดเจนมาก โดยเฉพาะหลักสูตรที่เน้นเรื่องการทำวิจัย การทำวิทยานิพนธ์ ซึ่งต้องมีการเสิร์ชหาข้อมูล เพื่อนำมาวิเคราะห์และสังเคราะห์เป็นงานชิ้นใหม่ ก่อนจะนำไปใช้ทำประโยชน์ต่อไป

รศ.ดร.ลักษณา คล้ายแก้ว ผู้อำนวยการหลักสูตร หลักสูตรนิเทศศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชานิเทศศาสตร์ วิทยาลัยนิเทศศาสตร์
รศ.ดร.ลักษณา มองว่า การสืบค้นข้อมูลที่ต้องพึ่งพาเทคโนโลยี AI จะช่วยทุ่นแรงในการทำวิจัย ช่วยสร้างสรรค์งานต่าง ๆ ทั้งงานในส่วนโปรดักชั่น การเขียน หรือในเชิงวิชาการ ซึ่งการใช้ AI จะช่วยตอบโจทย์ได้ตรงจุด รวดเร็ว แต่คนที่นำมาใช้จะต้องประยุกต์ ต้องใช้ให้เป็น ต้องไม่หลงเชื่อ AI ทั้งหมด ต้องรู้ว่าควรนำมาใช้ในระดับไหน แค่ไหนที่ควรจะเป็น ต้องตรวจสอบข้อมูล ต้องรู้เท่าทันข้อมูลข่าวสาร ยิ่งสายนิเทศศาสตร์ที่ต้องเผยแพร่ข้อมูลออกไปให้กับประชาชน ยิ่งต้องรู้เท่าทัน

ขณะที่ ผศ.ดร.ฉลองรัฐ เฌอมาลย์ชลมารค ผู้อำนวยการหลักสูตรนิเทศศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการเขียนบทและการกำกับภาพยนตร์และซีรีส์ วิทยาลัยนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต มองว่า AI มีประโยชน์มหาศาลกับการสร้างภาพยนตร์หรือซีรีส์ สามารถนำมาช่วยในกระบวนการสร้างสรรค์ ใช้ค้นคว้าข้อมูล รีเสิร์ชข้อมูลต่าง ๆ เพื่อนำมาประกอบในการเขียนบท สร้างสรรค์ผลงาน สามารถเพิ่มโอกาสและรายได้ให้กับผู้สร้างภาพยนตร์รายย่อย หรือสามารถสร้างสรรค์งานที่แปลกใหม่ มองว่าต่อไปอาจจะทำให้มีผู้กำกับหนังรายย่อยที่ไม่ต้องขึ้นตรงกับสตูดิโออีกหลายเท่า ซึ่งตรงนี้มองว่าเป็นโอกาส

“เทคโนโลยีถูกผลิตขึ้นมาเพื่อช่วยมนุษย์ ดังนั้นมนุษย์ต้องใช้ประโยชน์ ใช้โอกาสจากตรงนี้ แต่สุดท้ายแล้วมนุษย์ก็ยังคงต้องใช้ความคิดสร้างสรรค์ เรียบเรียง คัดเลือก สิ่งที่เหมาะสมในการนำเสนอต่อสาธารณชน บนพื้นฐานคำว่าจริยธรรมด้วย”

ผศ.ดร.ฉลองรัฐ เฌอมาลย์ชลมารค ผู้อำนวยการหลักสูตรนิเทศศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการเขียนบทและการกำกับภาพยนตร์และซีรีส์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยรังสิต
การเลือกคนให้เหมาะสมกับงาน ยังจำเป็นอยู่ไหมในยุคที่ AI กำลังจะครองโลก?

ท้ายที่สุดแล้ว เราคงไม่อาจปฏิเสธ AI ได้ เพราะเราจำเป็นต้องก้าวให้ทันกับยุคเทคโนโลยี วันหนึ่งจะต้องนำมาประยุกต์ใช้ เพื่อให้ทำงานไปด้วยกันได้อย่างมีประสิทธิภาพอยู่ดี แต่ถามว่า Put the Right Man on the Right Job หรือการเลือกคนให้เหมาะสมกับงาน ยังถือเป็นสิ่งสำคัญสำหรับองค์กรหรือไม่? ในขณะที่มีเทคโนโลยีต่าง ๆ ก้าวเข้ามา

ผศ.ดร.ฉลองรัฐ เฌอมาลย์ชลมารค ได้เผยทัศนะต่อเรื่องนี้ว่า Put the Right Man on the Right Job ว่า ยังมีความจำเป็นอยู่ โดยเฉพาะกับสายงานด้านภาพยนตร์ เพราะว่าผู้ชมเป็นมนุษย์ ดังนั้นมนุษย์จะสัมผัสได้ถึงความเป็นมนุษย์ด้วยกัน เราเคยดูภาพยนตร์ที่สร้างด้วย AI กำกับด้วย AI แต่ใช้คนแสดงจริง ๆ แต่พอเรารู้ว่ากำกับด้วย AI เขียนบทด้วย AI ทุกอย่างที่เราดูเหมือนมันมีกำแพงระหว่างมนุษย์ เราจะรู้สึกไม่อินกับสิ่งที่เขากำลังนำเสนอ หรือสิ่งที่กำลังแสดง มองว่าเป็น AI หรือเปล่า เป็นนักแสดงจริง ๆ ไหม ดังนั้นงานไหนที่เขาบอกว่าใช้ AI สร้างงานทั้งหมด ท้ายที่สุดแล้วมนุษย์อาจจะไม่ได้ชื่นชอบ เพราะมนุษย์สำคัญที่อารมณ์ความรู้สึก


* AI เป็นเพียงเครื่องมือที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน ทำหน้าที่แทนมนุษย์ไม่ได้ 100 เปอร์เซ็นต์ แต่มนุษย์ก็ยังต้องหมั่นหาความรู้ หมั่นพัฒนาตนเองเพิ่มเติม

ดร.ณกมล จันทร์สม แสดงความคิดเห็นถึงเรื่องดังกล่าวว่า แม้ AI จะแทนบางตำแหน่งได้ มองว่าโอกาสตกงานมีแน่ ถ้าไม่พัฒนาตัวเอง โอกาสตกงานมีแน่ ถ้ายังอยู่ที่เดิม โอกาสตกงานมีแน่ ถ้าไม่ปรับเปลี่ยนมายเซตว่าโลกเปลี่ยนไปแล้ว เราต้องหาความรู้เพิ่มเติม ต้องพัฒนาตัวเองอยู่ตลอดเวลา ซึ่งถ้าหากคนพัฒนาตนเอง เช่น คิดนอกกรอบ มีความคิดสร้างสรรค์ ยังไง AI ก็มาแทนคนไม่ได้ เพราะมนุษย์คือผู้ที่นำ AI ไปเป็นเครื่องมือใช้ควบคู่กับทักษะที่ตนเชี่ยวชาญ

ทั้งนี้ยิ่งไปกว่า Put the Right Man on the Right Job ก็คือ Put the Right Man on the Right Job, at the Right Time for the Right Situation นอกจากการจัดคนให้เหมาะกับงานแล้ว ต้องให้เหมาะสมกับเวลาและสถานการณ์ด้วย เขาเชี่ยวชาญเรื่องอะไรให้ทำเรื่องนั้น ในเวลาที่เหมาะสมกับสถานการณ์ที่เหมาะสม งานถึงจะออกมามีประสิทธิภาพสูงสุด


ดร.ปิยภรณ์ ชูชีพ มองว่า คีย์เวิร์ดสำคัญคือการพัฒนา มนุษย์ต้องอัปสกิล ไม่สามารถหยุดนิ่ง หยุดพัฒนาได้ ซึ่งการให้ความสำคัญกับเรื่องทรัพยากรมนุษย์มีความสำคัญ การทำงานตรงกับความสามารถจะทำให้ทำงานได้ดี เพียงแต่ AI จะเป็นตัวช่วยที่ทำให้งานเกิดการพัฒนามากยิ่งขึ้น นำมาเป็นเครื่องมือในการเสริมให้การทำงานที่มีประสิทธิภาพอยู่แล้ว มีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้นไปได้อีก ดังนั้นเรื่อง Put the Right Man on the Right Job จึงไม่สามารถขาดได้

* สุดท้ายแล้วเครื่องมือก็คือเครื่องมือ แต่สิ่งที่สำคัญคือมนุษย์

รศ.ดร.ลักษณา คล้ายแก้ว ได้แสดงความคิดเห็นต่อเรื่องดังกล่าวว่า ด้วยความรวดเร็วของเทคโนโลยี บางครั้งอาจทำให้มนุษย์ตามไม่ทัน แต่เครื่องมือก็คือเครื่องมือ สิ่งที่สำคัญคือมนุษย์ สิ่งที่ AI ไม่มีหรือทำไม่ได้เฉกเช่นมนุษย์ คือ การมีจิตสำนึก มีจริยธรรม สิ่งนี้ต้องปลูกฝังสิ่งนี้ไว้ตั้งแต่ต้น ต้องเริ่มสอนตั้งแต่ในชั้นเรียน ตั้งแต่การสืบค้นข้อมูล การทำวิจัย การทำวิทยานิพนธ์ เพราะความจริง จริยธรรม ความซื่อสัตย์ต่อตนเอง และผู้อื่น คือสิ่งสำคัญ

“ทุกวันนี้ไม่ใช่แค่ Fake News แต่มี Deep Fake ที่ยิ่งกว่า Fake อีก ซึ่ง Fake โดยไม่รู้ว่า Fake เพราะเสมือนจริงมาก มันเป็นความ Fake ในเชิงลึก เพราะฉะนั้นผู้เรียนจะต้องเข้าใจว่ามันมีความโกหกยังไง รูปแบบไหนที่เป็น Deep Fake ถ้าต่อไปเห็นข้อมูลประมาณนี้จะได้เกิดความเอ๊ะก่อน ซึ่งเป็นสิ่งที่มีประโยชน์ โดยเฉพาะกับสายนิเทศศาสตร์ที่ต้องมีความรับผิดชอบต่อการเผยแพร่ข้อมูลไปสู่ประชาชน คุณจะต้องเป็นแหล่งข่าวที่น่าเชื่อถือ ป้องกันไม่ให้เกิดความผิดพลาด หากเกิดความผิดพลาด ต้องเรียนรู้ไม่ให้เกิดพลาดอีก” รศ.ดร.ลักษณา กล่าว


M.B.A. – M.M. - นิเทศศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย ม.รังสิต พร้อมตอบโจทย์โลกอนาคต

วันนี้แม้ว่าการเลือกคนให้เหมาะสมกับงาน ยังเป็นสิ่งสำคัญสำหรับทุกองค์กร และมี AI มาเป็นตัวช่วยทุ่นแรงในการทำงานเพิ่มขึ้น แต่ทว่าการศึกษาก็ยังเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้คนมีความรู้ มีโอกาส ต่อยอดไปสู่โลกยุคใหม่ได้อย่างเท่าทัน

โดยบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยรังสิต ได้มีหลักสูตรปริญญาโท-ปริญญาเอก กว่า 50 หลักสูตร ซึ่งได้มีการเรียนการสอน เพื่อรองรับและเตรียมความพร้อมให้กับผู้เรียนเพื่อก้าวเข้าสู่ยุค AI อีกทั้งยังมุ่งเน้นการใช้ AI ในเชิงสร้างสรรค์ มีความรับผิดชอบ เป็นไปตามหลักจริยธรรมและคุณธรรมด้วย เพื่อเตรียมความพร้อมตอบโจทย์กับโลกอนาคต

ยกตัวอย่างเช่น หลักสูตรนิเทศศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชานิเทศศาสตร์ วิทยาลัยนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต หลักสูตรที่ออกแบบมาเพื่อเสริมสร้างทักษะด้านการสื่อสารที่ครบถ้วนและทันสมัย เรียนรู้จากวิชาต่าง ๆ พร้อมสัมมนาและการวิจารณ์เพื่อการวิเคราะห์ที่ลึกซึ้ง เพื่อความเข้าใจบทบาทของสื่อมวลชนและสื่อใหม่ในยุคปัจจุบัน ก้าวสู่ความสำเร็จในสายงานนิเทศศาสตร์

โดยการเรียนการสอนจะมีการนำเทคโนโลยีต่าง ๆ เข้ามาใช้ พร้อมทั้งยังมีการเรียนการสอนเพื่อให้รู้เท่าทันข่าวสารข้อมูล รวมถึงการมีจริยธรรม มีจรรยาบรรณในวิชาชีพ ปลูกฝังจิตสำนึกให้กับนักศึกษา ตั้งแต่ชั่วโมงแรก เพื่อให้นักศึกษาจบออกไปอย่างมีคุณภาพ

อาทิ การเรียนการสอนให้รู้เท่าทันข่าวสารข้อมูล ซึ่งเราได้อาจารย์พิเศษมาจาก โคแฟค(COFACT: Collaborative Fact Checking) คุณพีรพล อนุตรโสตถิ์ ผู้ดำเนินรายการ “ชัวร์ก่อนแชร์” จากสำนักข่าวไทย อสมท (MCOT) คุณสุภิญญา กลางณรงค์ ผู้ร่วมก่อตั้งภาคีโคแฟค (ประเทศไทย) ที่ได้ร่วมมือกันกับทางหลักสูตรมาทำคอร์สการเรียนการสอนในรายวิชาของการรู้เท่าทันสื่อ การตรวจสอบข้อมูล การพิสูจน์ข้อมูลและภาพที่เกิดขึ้นจาก AI เป็นต้น

โดยมีหลักสูตรภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ระยะเวลาของหลักสูตร 2 ปี ทั้งนี้จบปริญญาตรีคณะใดมาก็สามารถเรียนได้ ซึ่งผู้จบการศึกษาสามารถต่อยอดไปสู่อาชีพต่าง ๆ มากมาย ไม่ว่าจะเป็น อาจารย์ นักวิจัย นักวิชาการ นักวิชาชีพทางด้านสื่อสารมวลชน เจ้าหน้าที่ หรือผู้บริหารทั้งภาครัฐและเอกชน




กำลังโหลดความคิดเห็น