ตัวอย่าง
พิจารณาถึงยาต้านไวรัสที่มีการตีพิมพ์และบอกว่าไม่ได้ผล
ตั้งแต่ยาฆ่าพยาธิ ยาต้านมาลาเรีย
ทั้งนี้เนื่องจากมีการตีพิมพ์บทความในวารสาร ของสมาคมแพทย์อเมริกัน JAMA ในวันที่ 10 ตุลาคม 2024 เรื่องเกี่ยวกับการติดสินบนวารสารทางการแพทย์ชื่อดังของโลกและนักวิจัย
ดังนั้นบทความทางวิชาการที่แพทย์หรือนักวิชาการอ่านนั้น เป็นบทความที่สมบูรณ์ถูกต้องจริงหรือไม่ ?
หรือมีการเบี่ยงเบนและตัดข้อมูลบางอย่างออกเพื่อให้ผลออกมาเป็นตามที่ตั้งเป้าไว้
และเมื่อสืบค้นหลายบทความที่ต่อต้านการใช้ยาดังกล่าว พบว่าผู้เขียนบทความอยู่ในบอร์ดบริหารหรือเป็นที่ปรึกษาหรือได้รับเงินค่าตอบแทนจากบริษัทยาและวัคซีนเป็นต้น
ตัวอย่าง
เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในประเทศไทย เกี่ยวกับฟ้าทะลายโจรซึ่งนำมาใช้ในคนติดเชื้อโควิดและได้ผลเมื่อเริ่มให้ตั้งแต่มีอาการ
กลับถูกถอดออกจากคำแนะนำเวชปฏิบัติทางการแพทย์ ไทย ในเดือนมิถุนายน 2567 โดยคณะกรรมการ ผู้เชี่ยวชาญ
ทั้งนี้ เมื่อมีการฟ้องร้องรัฐมนตรีกระทรวงสาธารณสุข จึงได้มีการทบทวนและถือว่า การถอดถอนฟ้าทะลายโจรนั้นเป็นโมฆะเนื่องจากไม่มีหลักฐานชัดเจนใดๆ ที่บอกว่าไม่ดีและบอกว่ามีผลข้างเคียงอันตราย
รวมทั้งมีการสืบทราบว่ากรรมการหลายคนมีส่วนร่วมกับบริษัทยาและวัคซีน รวมทั้งในที่สุด จึงมีการปรับเปลี่ยนโยกย้ายตำแหน่งอธิบดีกรมการแพทย์ออก
สิ่งที่เกิดขึ้นเหล่านี้บั่นทอนความเชื่อมั่นที่มีต่อสถาบันและองค์กรของรัฐ และสร้างข้อสงสัยต่อบทความทางวิชาการที่ถือว่าเป็นสิ่งที่เชื่อถือได้
วิทยาศาสตร์เป็นสิ่งที่ดีและเป็นความจริง
ในขณะเดียวกันต้องสามารถพิสูจน์ได้ว่าสอดคล้องกับสถานการณ์ที่เป็นจริง และมีความคงทนต่อการท้าทายใดๆ
ในกรณีของโควิดและแม้กระทั่งโรคอื่นๆเป็นบทเรียนที่มีค่า ถึงการไม่ซื่อตรง การได้รับผลประโยชน์ทับซ้อน
และเรื่องเหล่านี้แดงขึ้นมาเพราะผู้เสียหายผู้ได้รับผลกระทบมากมายขึ้นเรื่อยๆ
แม้กระทั่งการระบาดนั้นสงบไปแล้ว ผลกระทบระยะยาวยังเห็นได้ทั่วไป ไม่ว่าในประเทศไทยหรือต่างประเทศก็ตาม ทั้งตายกระทันหันเฉียบพลัน โรค เส้นเลือดสมองผิดปกติ มะเร็ง สมองเสื่อม พากินสัน ภูมิคุ้มกันวิปริต ทั้งทำร้ายตัวเอง และบกพร่อง
สมุนไพรไทยถูกด้อยค่ามาตลอดโดยแพทย์ที่ถือตำราต่างประเทศ
สมควรที่จะต้องมีการศึกษาอย่างจริงจังรวมทั้งกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ถึงกลไกการออกฤทธิ์ ซึ่งในต่างประเทศเองตื่นเต้นกับฟ้าทะลายโจร ขมิ้นชัน และอื่นๆ รวมถึงยาฆ่าพยาธิไอวอเมติน ถึงกับเจาะลึกถึงกระบวนการการออกฤทธิ์การขัดขวางไวรัสชนิดต่างๆ และออกฤทธิ์ที่หลายขั้นตอนการติดเชื้อเข้าร่างกายขัดขวางไวรัสเมื่ออยู่ในเซลล์แล้วและขัดขวางไม่ให้มีการเพิ่มจำนวนรวมทั้งต่อต้านการอักเสบที่ปะทุขึ้นจากการติดเชื้อ
และยาฆ่าพยาธิมีการศึกษาทั้งในหลอดทดลองและในผู้ป่วยที่เป็นมะเร็งระยะลุกลามรวมทั้งดื้อต่อยาเคมีบำบัดพบว่าสามารถช่วยให้ยาเคมีบำบัดนั้นออกฤทธิ์ได้ดีขึ้นโดยไม่จำเป็นต้องใช้ยารุนแรงมากต่อไปอีก
นี่คือความไม่ฉลาดของคนไทยที่ต้องรอให้ฝรั่งทำมาก่อน จนกระทั่งนำไปจดสิทธิบัตรกลายเป็นยาซึ่งแน่นอนราคาแพงมหาศาลแต่ก็ยังโอบอุ้ม ด้วยความปลื้มปิติว่าใช้ของฝรั่ง
คนไทยทำได้เพียงอ่านวารสารเป็นดูวิเคราะห์สถิติเป็นโดยไม่สนใจกลไกการเกิดพยาธิสภาพ และเมื่อผู้ป่วยกลับเลวลง เพียงตอบตามสูตรว่าทำตามคำแนะนำทุกอย่างแล้วเมื่อไม่ดีขึ้น ก็จบ
ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา
ที่ปรึกษาวิทยาลัยการแพทย์แผนตะวันออก
มหาวิทยาลัยรังสิต