โต้แย้งรายงานขององค์การอนามัยโลก และเป็นการพิสูจน์หักล้าง วิธีที่ใช้ว่าไม่เหมาะสม ไม่ใช่กระบวนการวิทยาศาสตร์ที่ถูกต้อง สรุปว่าไม่ได้เกิดจากตลาดสด
ในเดือนมีนาคม 2023 มีรายงาน (Chinese CDC และ Crits-Christoph คลังข้อมูล zenodo และ Liu et al Nature 5/4/2023) ว่า
ในตัวอย่างจากสิ่งแวดล้อม (environmental surface) ในตลาดสดอู่ฮั่น ที่รวบรวม จำนวน 923 ตัวอย่าง ในวันที่ 1 มกราคม ถึง มีนาคม ปี 2000 หลังจากปิดตลาด
และ 457 ตัวอย่าง จาก สัตว์ 17 ชนิด ที่เก็บในตู้แช่เย็นรวมทั้งที่เก็บจาก swab ของสัตว์จร และในถังปลา
จากการตรวจโดยใช้ RT-qPCR พบสารพันธุกรรมของไวรัสโควิดใน 73 จาก 923 ตัวอย่างจาก “สิ่งแวดล้อม” ปะปนกับยีนส์ของ สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมมากกว่า 70 genera
แต่ไม่พบในสัตว์เลย ทั้ง 457 ตัวอย่าง
ในการวิเคราะห์จากอีกคณะที่รายงานองค์การอนามัยโลกในเดือนมีนาคม 2023 โดยใช้ข้อมูลดิบ raw metagenomic sequence data พบว่ามี สารพันธุกรรมโควิด 5 ตัวอย่าง และอีกหนึ่งมียีนส์ของ raccoon dog ปะปนอยู่
จากการที่มีไวรัสโควิดจาก metagenomic sequencing data และที่ปะปนอยู่กับ raccoon dog จึงเป็นการกล่าวว่าไวรัสโควิด มาจากสัตว์
รายงานใหม่ ใน เดือนธันวาคม 2023 หลังจากที่ได้ทำการวิเคราะห์ใหม่จาก raw data ที่เปิดเผยนั้น
พบว่าไม่ยืนยันข้อสรุปดังกล่าว
และการวิเคราะห์ใหม่ แสดงว่าจำนวน reads มีความสำคัญมากในการสรุปข้อมูล
ทั้งนี้ การที่จะพิสูจน์ว่าสัตว์ในตลาดสดเป็นกำเนิดของไวรัสโควิด ควรต้องมีความสัมพันธ์เชื่อมโยงระหว่าง “จำนวน” ของสารพันธุกรรมของไวรัสโควิดกับชนิดของสัตว์ที่อ้างว่าเป็นกำเนิด ดังตัว raccoon dogs ซึ่งพบเพียงหนึ่ง one SARS-Cov2 read จาก ประมาณ 200,000,000 total reads
และตัวอย่างจากสิ่งแวดล้อมที่ Chinese CDC รายงานว่าได้ผลบวกนั้น พบว่ามีเพียง single SARS-Cov2 sequence จาก หลายร้อยล้าน reads
ตัวอย่างจากสัตว์ที่เก็บในเวลาเดียวกันในต้นปี 2000 มีแต่ โคโรนา ชนิดอื่นที่ไม่ใช่โควิด ตัวอย่างที่พบสาร พันธุกรรมของโควิดอยู่บ้าง กลับพบในสัตว์ที่ไวรัสโควิดไม่สามารถเข้าไปติดเชื้อได้คือตัว largemouth bass
Jesse D. Bloom จาก Howard Hughes medical Institute รายงานใน Virus Evolution 30 ธันวาคม 2023 (https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/38361815/)
ศ นพ ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา
ที่ปรึกษาวิทยาลัยการแพทย์แผนตะวันออก
มหาวิทยาลัยรังสิต