“หมอธีระวัฒน์” เผยวารสารทางการแพทย์ชื่อดังในต่างประเทศบางฉบับ แม้ตั้งเงื่อนไขที่เข้มงวดกับผู้เขียนบทความ แต่กรรมการพิจารณาบทความเกินครึ่งรับผลประโยชน์จากบริษัทยา-วัคซีน-ผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์ บทความเป็นที่ขัดผลประโยชน์ทางธุรกิจ เช่น การค้นพบยาบางตัวที่ราคาถูกแต่รักษาได้ผล หรือการพูดถึงผลกระทบจากวัคซีน ไม่ได้รับการตีพิมพ์
เมื่อวันที่ 17 ต.ค. ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา ที่ปรึกษาวิทยาลัยการแพทย์แผนตะวันออกมหาวิทยาลัยรังสิต โพสต์ข้อความในเฟซบุ๊ก “ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา Thiravat Hemachudha” ในหัวข้อ “วารสารถูกตั้งคำถามว่ามีความเที่ยงตรงหรือไม่?” มีรายละเอียดระบุว่า ในระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมา วงการวิชาการ อาทิ แพทย์ วิทยาศาสตร์ เป็นต้น จะให้ความเชื่อถือว่า บทความใดที่ตีพิมพ์ในวารสาร ที่เรียกว่า peer reviewed journal เป็นที่เชื่อถือได้
เพราะมีคณะกรรมการที่อ่านบทความ และพิจารณาหลักฐานที่มากระบวนการศึกษา และจะทำการให้ความเห็นว่า จะไม่รับ หรือรับ แต่มีเงื่อนไข ประเด็นต้องแก้ไขใหญ่ หรือเล็ก หรือต้องมีการทำการทดลองใหม่ในบางส่วนหรือไม่
วารสารที่มีชื่อเหล่านี้จะถูกนำไปอ้างอิงในวงวิชาการต่างๆ ทำให้รับรู้กันทั่วไป
ในการส่งบทความเพื่อไปตีพิมพ์ในวารสารนั้น ผู้วิจัยจะต้องประกาศว่ามีผลประโยชน์ใดหรือไม่อย่างไร กับ บริษัทผลิตภัณฑ์ ยา วัคซีน รวมทั้งได้ค่าตอบแทนในรูปลักษณะใด ไม่ว่าจะเป็นที่ปรึกษา รับเงิน หรือสิ่งตอบแทน รวมค่าเดินทางค่าที่พัก เวลาไปบรรยายในหัวข้อที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนั้นๆ และเชื่อมโยงมาถึงการใช้ผลิตภัณฑ์หรือวัคซีน เป็นต้น
แต่กรรมการผู้พิจารณา กลับไม่ต้องมีการแจงรายละเอียดชัดเจน เหล่านี้ อาจมีเพียงแต่ว่า มีประเด็นที่ขัดแย้ง กับผู้ส่งบทความหรือผู้ทำวิจัย หรือไม่ หรือทำวิจัยในเรื่องเดียวกัน ที่อาจจะเป็นการนำข้อมูลดังกล่าวไปใช้ประโยชน์ส่วนตนได้ และไม่มีหลักเกณฑ์เคร่งครัดนัก
บทความนี้ ที่ตีพิมพ์ในวารสารสมาคมแพทย์อเมริกัน (journal of American Medical Association JAMA) วันที่ 10 ตุลาคม 2024 ได้รายงานถึงหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับกรรมการผู้พิจารณาบทความ (reviewers) ว่า แท้จริงแล้ว เกินครึ่งของบุคคลกรรมการเหล่านี้ ต่างได้รับเงินสนับสนุนในการศึกษาวิจัย หรือเงินสนับสนุนในด้านผลิตภัณฑ์เครื่องมือต่างๆ จากบริษัทที่ตรงมาเข้าบุคคลนั้น หรือที่เข้ามายังบุคคลนั้น และสถาบันที่บุคคลนั้นอยู่
และเป็นประเด็นที่ตั้งคำถามถึง ความเที่ยงตรง integrity และ ความมีอิสระเที่ยงตรงในการตัดสิน ในการที่จะไม่รับ หรือรับตีพิมพ์บทความที่ส่งเข้ามา
และหลังจากที่มีการเปิดเผยข้อมูลดังกล่าว มีนักวิชาการและนักวิทยาศาสตร์ จากหลายสถาบัน ในต่างประเทศ รวมทั้งในสหรัฐอเมริกา ยุโรป และอังกฤษ ต่างให้ข้อมูลที่ตนเองประสบและถ่ายทอดในสื่อต่างๆ โดยเฉพาะที่ประสบในช่วงโควิดที่เกี่ยวข้องกับการไม่ให้ลงตีพิมพ์ การใช้ยาบางตัว ที่มีการทดสอบแล้วว่าได้ผลทั้งๆที่ราคาถูก เข้าถึงได้ และจนกระทั่งถึงงานที่ตีพิมพ์ไปแล้วแต่บรรณาธิการถอดออก และ ที่สำคัญก็คือเรื่องผลกระทบของวัคซีนที่ถึงชีวิตหรือพิการ
วารสารที่ถูกเปิดเผยเรื่องเหล่านี้ ที่กรรมการพิจารณาบทความได้รับเงินสนับสนุน ต่างก็เป็นวารสารชั้นนำ เช่น British Medical journal, The Lancet New England Journal เป็นต้น
โดยมูลค่าของเงินสนับสนุนเหล่านี้มีจำนวนมากกว่า 1,000,000,000 เหรียญสหรัฐ
หลักฐานจำนวนตัวเลขเงินเหล่านี้สามารถอ่านได้ในบทความที่แนบมาด้วย
สูตรสำเร็จ เช่น เมื่อมีการพูดผลกระทบของวัคซีน จะมีกลุ่มที่ออกมาวิจารณ์ว่า ไม่ได้ลงตีพิมพ์ในวารสารชั้นดี หรือตีพิมพ์ไปแล้วแต่บรรณาธิการสั่งถอดออกแสดงว่า เชื่อถือไม่ได้
แม้กระทั่ง บทความเรื่องโรคคล้ายวัวบ้าในมนุษย์หลังได้รับวัคซีนโควิดไปภายในช่วงสองสัปดาห์และเสียชีวิตภายในเวลาห้าเดือน จากคณะ ชอง Prof Luc Montagnier ซึ่งได้รับรางวัลโนเบล จากการค้นพบไวรัสเอดส์ ถูกไม่รับพิจารณาในวารสาร จนกระทั่งตีพิมพ์ในวรสารในระดับรองลงมาและข้อมูลหลักฐานประกอบในบทความเป็นข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ที่คงเลือกได้ว่าน่าตื่นเต้นและประทับใจในการค้นพบและเชื่อมโยงการเกิดโรคคล้ายวัวบ้าในมนุษย์กับวัคซีนได้อย่างชัดเจน
https://jamanetwork.com/.../jama/article-abstract/2824834...