“หมอธีระวัฒน์” เผยผลวิจัยวัคซีนโควิดก่อความเสี่ยงเส้นเลือดตัน ทำให้ผู้ป่วยมะเร็งมีอัตราการตายเพิ่มสูงขึ้น นอกจากนี้ยังพบว่าวัคซีนชนิด mRMA ทำให้เกิดแผลเป็นที่กล้ามเนื้อหัวใจ ซึ่งทำให้เสี่ยงเป็นมะเร็งมากกว่าปกติ
ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา ที่ปรึกษาวิทยาลัยการแพทย์แผนตะวันออก มหาวิทยาลัยรังสิต โพสจ์ข้อความเรื่อง “การค้นพบ ที่น่าตกใจ เกี่ยวกับ ผลกระทบ” มีรายละเอียดระบุว่า ในช่วงหนึ่งปีแรกของการระบาดโควิด ไม่พบการตายที่เกิดจากมะเร็งที่เพิ่มขึ้นอย่างผิดปกติ (excess cancer deaths) แต่การตาย กลับเพิ่มขึ้นโดยแปรตามการฉีดวัคซีนโควิด และมีกลไกความเสียหายร่วมโดยผ่านทางเส้นเลือดอีกด้วย
ผลของโปรตีนหนามและอนุภาคนาโนไขมัน ทำให้หลอดเลือดอุดตัน
ผลการวิจัยต่างๆ แสดงว่าวัคซีนโควิดก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อการตันของเส้นเลือดและยิ่งเป็นคนป่วยด้วยโรคมะเร็ง ดังนั้นจะทำให้อัตราตายของมะเร็งยิ่งสูงขึ้นไปอีก หลังจากมีระดมการฉีด
จากการศึกษาพบว่าโปรตีนหนามของไวรัสโควิดและจากวัคซีนเองนั้น มีศักยภาพทางไฟฟ้าบวกและทำให้จับกับ glycoconjugates ที่มีศักยภาพทางไฟฟ้าเป็นลบและอยู่บนผิวของเม็ดเลือดแดงและเซลล์ชนิดอื่นๆ นอกจากนั้นโปรตีน หนาม ยังสามารถกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันผ่านทางตัวรับ ACE2 ทำให้เกิดผนังหลอดเลือดหนาตัว ขัดขวางการทำงานของ ไมโตคอนเรีย โรงพลังงานของเซลล์ และการเกิด reactive oxygen species (ROS)https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC3880197/...
ทั้งนี้ ROS เป็น highly reactive radicals ions หรือ โมเลกุล ที่มีอิเล็กตรอน โดดเดี่ยว ไม่มีคู่ ที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับการเกิดพันธะ (single unpaired electron) โดยที่เซลล์มะเร็งนั้นจะมีปริมาณของ ROS สูงมากจากการ ผลของเมแทบอลิซึม การทำงานของ oncogene และการที่ไมโตคอนเดรีย ผิดปกติและยังรวมทั้งกลไกทางด้านภูมิคุ้มกันต่างๆ
ส่วนจำเพาะของโปรตีนหนามยังสามารถทำให้เกิดการก่อตัวของโปรตีนอมิลอยด์ (fibrous insoluble tissue) และแอนติบอดีต่อโปรตีนหนามที่เกาะกับโปรตีน S ที่โผล่ออกมาจากผิวเซลล์ ทำให้เกิดปฏิกิริยาการอักเสบทำลายเซลล์และเนื้อเยื่อของตนเอง และอธิบายปรากฏการณ์เกิดแท่งย้วยสีขาว หรือ white clots
ระบบการเฝ้าระวังตรวจตรามะเร็งของมนุษย์อ่อนด้อยลง
จากการที่วัคซีนทำให้ระบบภูมิคุ้มกันบกพร่องจึงทำให้มีการปะทุของไวรัสที่ซ่อนอยู่ในร่างกายอยู่แล้ว โดยที่มีศักยภาพในการก่อให้เกิดมะเร็ง เช่นไวรัสงูสวัด ไวรัสเริม herpesvirus 8 โดยที่ไวรัสตัวนี้ถือว่าเป็นไวรัสที่ก่อให้เกิดมะเร็งชนิด Kaposi’s sarcoma และการปะทุของไวรัส EBV และ human papilloma virus ที่สามารถเหนียวนำให้เกิดมะเร็งในช่องปากและลำคอ
ปรากฏการณ์เช่นนี้จะช่วยอธิบายอัตราการตายที่สูงขึ้นของมะเร็งที่ริมฝีปากช่องปากและลำคอในปี 2022 ในประเทศญี่ปุ่นที่มีการระดมฉีด เข็มที่สาม
การเปลี่ยน RNA เป็น DNA จากกระบวนการ reverse transcription และเข้าไปเสียบในจีโนมของมนุษย์
รายงานในปี 2022 ในวารสาร Current Issues in Molecular Biology แสดงให้เห็นว่าวัคซีน mRNA สามารถเสียบเข้าไปในยีนส์ของมนุษย์หรือดีเอ็นเอโดยใช้กระบวนการนี้https://www.mdpi.com/1467-3045/44/3/73
ในเดือนกุมภาพันธ์ 2023 รายงานในวารสาร Medical Hypotheses พบว่าการเพิ่มปริมาณของวัคซีน mRNA และโมเลกุลของดีเอ็นเอที่ได้ถูกปรับเปลี่ยนจากอาร์เอ็นเอในเซลล์ (cytoplasm) จะสามารถเหนียวนำให้เกิดภาวะอักเสบด้วยตัวเองอย่างเรื้อรัง และนำไปสู่ภูมิคุ้มกันแปรปรวนต่อต้านตัวเอง จนกระทั่งถึงการทำลายดีเอ็นเอ และเกิดมะเร็งในมนุษย์ที่มีปัจจัยโน้มน้าวอยู่แล้วด้วย
นักวิจัยทางด้านพันธุศาสตร์ Kevin McKernan พบว่าวัคซีนโควิดสามารถถูกเปลี่ยนให้เป็นดีเอ็นเอ ทั้งนี้โดยสามารถตรวจพบส่วนของพันธุกรรมโปรตีนหนามของวัคซีนโควิด ในโครโมโซม 9 และ 12 ของเซลล์มะเร็งเต้านมและรังไข่หลังจากที่ฉีดวัคซีนโควิด mRNA
และพบว่ามีความเชื่อมโยงกับบาง batch ของวัคซีนที่มีปริมาณของดีเอ็นเอที่ปนเปื้อนกับความรุนแรงของผลข้างเคียงและผลกระทบที่เกิดขึ้น
นักวิจัยจากสถาบันวิจัยสาธารณสุข และการแพทย์ของฝรั่งเศส Helene Banoun ได้สนับสนุนรายงานจากประเทศญี่ปุ่น ซึ่งคล้องจองกับศักยภาพในการกระตุ้นการเกิดมะเร็งจากผลิตภัณฑ์ที่เป็น gene therapy ซึ่ง mRNA วัคซีนถือว่าจัดอยู่ในประเภทนี้ และผลของวัคซีนที่เหนียวนำให้เกิดภาวะภูมิคุ้มกันชาด้าน(immune tolerance) ส่งเสริมการเกิดมะเร็ง
ทั้งนี้ สำนักอาหารและยาของสหรัฐเอง ได้มีการระบุอย่างชัดเจนมาก่อนว่า มีกลไกหลายอย่างที่เป็นไปได้ที่ DNA ที่ปะปนปนเปื้อนจะทำให้เกิดมะเร็ง ทั้งนี้ รวมถึงการที่เข้าไปเสียบในดีเอ็นเอของมนุษย์และสั่งให้มีการสร้าง ยีนส์มะเร็ง (oncogenes) หรือ มีการสอดใส่ซึ่งทำให้มีการผันแปร ทางรหัสพันธุกรรม (intentional mutagenesis) https://www.fda.gov/media/78428/download?utm_medium=email...
คณะผู้รายงานจากญี่ปุ่นได้ตอกย้ำว่า กระบวนการวิธีมาตรฐานในผลิตภัณฑ์วัคซีนตามที่สำนักอาหารและยาของสหรัฐได้ระบุไว้นั้นควรต้องถูกนำมาพิจารณา ทั้งนี้เนื่องจากในช่วงระบาดของโควิดนั้น เป็นการใช้ในภาวะฉุกเฉินเท่านั้น
กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบจะมีหรือไม่มีอาการก็ตาม เมื่อตามไปหนึ่งปีไม่มีอาการแล้วแต่พบว่ายังคงมีร่องรอยการอักเสบที่เป็นแผลเป็น
รายงานตีพิมพ์ในวารสารต่างประเทศออกมาเรื่อยๆ ว่า วัคซีนทำให้เกิดการอักเสบของหัวใจแม้ไม่มีอาการก็ตาม
รายงานที่สำคัญมาก ในวารสาร Radiology วันที่ 19 กันยายน 2023
https://pubs.rsna.org/doi/10.1148/radiol.230743
และมีรายงานว่า หลังจากนั้นจากการติดตามที่หนึ่งปีไม่ว่ามีหรือไม่มีอาการก็ตาม พบมีแผลเป็นในกล้ามเนื้อหัวใจ
https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC9682292/
และยังสามารถพิสูจน์ได้ในการชันสูตรศพจากผู้ป่วยที่ได้รับวัคซีนและมี ตายเฉียบพลันกระทันหันในคนอายุน้อย
https://www.news-medical.net/.../COVID-19-mRNA-vaccine...
ดังนั้นการตายเฉียบพลันกระทันหันที่พบประจำวันแม้ในคนอายุน้อยสุขภาพดีแข็งแรงก็ตามเป็นสิ่งที่ต้องชันสูตรเพื่อระบุสาเหตุที่แท้จริงและนำมาสู่การแก้ไขตามระบบที่ถูกต้อง ไม่ใช่เมื่อเสียชีวิตไปแล้วทุกคนแสดงความเสียใจเฉยๆ ว่าไม่น่าตายเร็วเลย
นอกจากนี้ ศ.นพ.ธีระวัฒน์ยังได้แชร์ข้อความจากเฟซบุ๊ก DrJudd Chontavats ของ นพ.ชลธวัช สุวรรณปิยศิริ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคผิวหนัง ในหัวข้อ mRNA covid vaccine & แผลเป็นเรื้อรังที่กล้ามเนื้อหัวใจ ที่ระบุว่า มี study ทำ cardiac magnetic resonance (CMR) ในผู้ป่วย 9 รายที่มีอาการกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบซึ่งเกี่ยวข้องจากวัคซีนโควิด (acute vaccine associated myocarditis หรือ covid-19 vaccine-associated myocarditis, C-VAM) ชนิด mRNA vaccine พบว่าแม้จะมี การหายอักเสบของกล้ามเนื้อหัวใจเกือบจะเป็นภาวะปกติแล้วก็ตาม แต่เมื่อดู late gadolinium enhancement (LGE) ยังพบร่องรอยของแผลเป็นอยู่ (residual myocardial scarring)
ส่วนอีกการศึกษาหนึ่งก็ดู LGE ของ CMR เช่นกัน ทำในสหรัฐอเมริกา รวบรวมผู้ป่วยอายุต่ำกว่า 30 ปี ที่มีอาการกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบเฉียบพลันหลังการได้รับวัคซีนโควิดชนิด mRNA ผู้ป่วยส่วนใหญ่มีอาการภายใน 1 สัปดาห์หลังจากได้รับวัคซีนเข็มที่ 2 และ 96% ของผู้ป่วยมีอาการเจ็บหน้าอกร่วมกับค่า troponin เพิ่มขึ้น
ไม่มีรายใดที่ติดเชื้อ covid ขณะมีอาการดังกล่าว
ผู้ป่วย 72% มี LGE ซึ่งแสดงถึงแผลเป็นของกล้ามเนื้อหัวใจ
เป็นที่ทราบมานานแล้วว่าแผลเป็นเรื้อรังที่ผิวหนังมีความเสี่ยงที่จะเกิดมะเร็งได้มากกว่าเนื้อเยื่อปกติ สำหรับแผลเป็นเรื้อรังที่กล้ามเนื้อหัวใจมีข้อมูลชัดเจนว่ามักอยู่จนตลอดชีวิตของผู้ป่วย ทำให้เกิดการทำงานของหัวใจที่เปลี่ยนแปลงได้ เช่น การบีบตัวผิดปกติ หัวใจเต้นผิดจังหวะ หัวใจวาย เสียชีวิตเฉียบพลัน
ไม่ทราบว่าแผลเป็นเรื้อรังที่หัวใจเพิ่มความเสี่ยงของมะเร็งเหมือนที่ผิวหนังไหม ผมยังหาข้อมูลไม่ได้
Chontavat Suvanpiyasiri. MD, PhD
Reference :
https://www.news-medical.net/.../COVID-19-mRNA-vaccine...
https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC9682292/
https://www.uclahealth.org/.../how-the-body-regulates...