xs
xsm
sm
md
lg

กระทรวง อว.เดินหน้าพลิกโฉมระบบบริหารการเงินอุดมศึกษา มุ่งทลายข้อจำกัดเพื่อยกระดับคุณภาพของมหาวิทยาลัย

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



เมื่อวันที่ 13 ก.ย.ดร.พันธุ์เพิ่มศักดิ์ อารุณี ผู้อำนวยการกองขับเคลื่อนและพัฒนาการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม รักษาการที่ปรึกษาด้านพัฒนาการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม(อว.) เป็นประธานเปิดประชุมรับฟังความคิดเห็นเพื่อพัฒนาระบบบริหารการเงินและแนวทางการเพิ่มรายได้(กลุ่มภาคใต้) โครงการพัฒนาระบบบริหารการเงินและแนวทางการเพิ่มรายได้ “กลุ่มพัฒนาชุมชนท้องถิ่นหรือชุมชนอื่น” โดยมี ศ.ดร.พีระพงศ์ ทีฆสกุล ประธานอนุกรรมการด้านการพลิกโฉมมหาวิทยาลัย (Reinventing University) คณะผู้บริหารของมหาวิทยาลัยบูรพา และคณะผู้บริหารและบุคลากรของมหาวิทยาลัยกลุ่ม 3 ในพื้นที่ภาคใต้ ได้แก่ มรภ.สุราษฎร์ธานี มรภ.นครศรีธรรมราช มรภ.ภูเก็ต มรภ.สงขลา มรภ.ยะลา และ ม.หาดใหญ่ เข้าร่วม ณ โรงแรมโนโวเทล ภูเก็ต ซิตี้ โภคีธรา จังหวัดภูเก็ต

ดร.พันธุ์เพิ่มศักดิ์ กล่าวว่า การพลิกโฉมสถาบันอุดม ศึกษา เพื่อให้สถาบันอุดมศึกษาสามารถเป็นกลไกสำคัญในการพัฒนาประเทศ หัวใจสำคัญที่จะขับเคลื่อนทุกภารกิจให้บรรลุเป้าหมายได้ คือการปฏิรูประบบการบริหารจัดการให้มีประสิทธิภาพ ทั้งด้านบุคลากร ด้านกฎ/ระเบียบ/ข้อบังคับ/หลักเกณฑ์ ด้านระบบธรรมาภิบาล และด้านระบบการเงินและงบประมาณ ดังนั้น สป.อว. จึงผลักดันให้เกิดการปฏิรูประบบบริหารจัดการในเชิงรุก โดยในระยะแรกได้เริ่มดำเนินการในด้านการการเงินและงบประมาณ ที่เป็นกลไกสำคัญที่จะสร้างความเปลี่ยนแปลง เชื่อมโยงและขับเคลื่อนคู่ขนานไปกับการปฏิรูปด้านบริหารบุคลากร ซึ่งการเปิดรับฟังความคิดเห็นครั้งนี้นับเป็นโอกาสดีที่มหาวิทยาลัยกลุ่ม 3 ในพื้นที่ภาคใต้จะได้สะท้อนปัญหาอุปสรรคที่เกี่ยวกับการบริหารและการใช้จ่ายงบประมาณ โดยจะถูกนำมาวางแผน กำหนดนโยบาย และจัดทำเป็นระเบียบ/ข้อบังคับของกองทุนเพื่อพัฒนาการอุดมศึกษา เพื่อสนับสนุนการพัฒนาความเป็นเลิศของสถาบันอุดมศึกษาและการผลิตกำลังคนระดับสูง ให้เกิดความคล่องตัว ซึ่งจะช่วยสร้างความเปลี่ยนแปลงและเพิ่มศักยภาพให้กับมหาวิทยาลัยในการทำงานเพื่อตอบโจทย์ประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป

ผศ.ดร.มารุต ตั้งวัฒนาชุลีพร ผู้รักษาการแทนรองอธิการบดีฝ่ายบริการวิชาการและการเรียนรู้ตลอดชีวิต มหาวิทยาลัยบูรพา ในฐานะทีมรับผิดชอบโครงการ กล่าวว่า ผู้บริหารมหาวิทยาลัยต้องเล็งเห็นถึงความสำคัญของการบริหารระบบการเงินและงบประมาณ ซึ่งถือเป็นกลไกหลักในการพลิกโฉมมหาวิทยาลัย โดยเน้นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับปัญหาและอุปสรรค ข้อจำกัด ของระบบบริหารการเงินและงบประมาณ และวิเคราะห์ pain point ในเชิงลึก เพื่อนำไปปรับแก้ไขและเป็นข้อมูลประกอบในการจัดทำข้อเสนอแนะเชิงนโยบายเสนอต่อกระทรวง อว.

ด้านศ.ดร.พีระพงศ์ ทีฆสกุล ประธานอนุกรรมการด้านการพลิกโฉมมหาวิทยาลัย กล่าวว่า ระบบการเงินและงบประมาณเป็นส่วนสำคัญในการปฏิรูประบบบริหารของมหาวิทยาลัย ซึ่งการบริหารงบประมาณจะต้องมุ่งเน้นในเชิงกลยุทธ์ มีการบูรณาการการทำงานข้ามคณะ/สาขาวิชา บริหารงบประมาณตาม Performance based และ Mission based รวมไปถึงมีธรรมาภิบาล เกิดการใช้จ่ายงบประมาณได้อย่างมีประสิทธิภาพทำให้มหาวิทยาลัยมีความยั่งยืน การแก้ปัญหาและอุปสรรค ทางด้านระบบการเงินและงบประมาณในประเด็นต่างๆ การทำ SWOT Analysis ภาพรวมการแสวงหารายได้ของมหาวิทยาลัย เพื่อนำไปสู่การกำหนดแนวทางการแก้ไขระบบบริหารการเงิน การใช้จ่ายงบประมาณและการหารายได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป










กำลังโหลดความคิดเห็น