xs
xsm
sm
md
lg

ศูนย์การแพทย์พีระกุลชวนป้องกันโรคภัยที่มาจากความชื้น พร้อมจัดโครงการจิตอาสาแจกแป้งฝุ่นกันน้ำกัดเท้า

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



ในช่วงที่ลมมรสุมพัดผ่านฝนตกหนักแทบทุกวัน หลายคนต้องเผชิญความชื้นแฉะย่ำน้ำฝน หากไม่ระมัดระวังหรือมีการป้องกันที่ดีพอโรคทางผิวหนังที่มากับสภาพแวดล้อมที่ชื้นแฉะและมลพิษที่ปนเปื้อนในน้ำท่วมก็อาจทำให้เกิดโรคติดต่อ และโรคจากสิ่งแวดล้อมได้ นพ.จรัสศักดิ์ เรืองพีระกุล ศูนย์การแพทย์พีระกุล จัดโครงการจิตอาสาแจกแป้งฝุ่นกันน้ำกัดเท้า พร้อมให้คำแนะถึงโรคผิวหนังที่เกิดในช่วงฤดูฝน

นพ.จรัสศักดิ์กล่าวว่า โรคที่มากับน้ำมีมากมายหลายโรค อาทิ โรคน้ำกัดเท้า (Foot Rot หรือ Trench Foot) เกิดจากการที่เท้าสัมผัสน้ำและความชื้นเป็นเวลานาน ทำให้ผิวหนังระคายเคือง ติดเชื้อ หรือเกิดแผล บางรายอาจมีอาการติดเชื้อราหรือเชื้อแบคทีเรียร่วมด้วย นอกจากนี้ในบางรายอาจมีผื่นผิวหนังอักเสบจากเชื้อรา, โรคเกลื้อน มีลักษณะเป็นผื่นวงกลมหลายวง มีขุยละเอียด สีแตกต่างกัน มักเกิดบริเวณลำตัว เช่น หลัง หน้าอก ท้อง ใหล่ คอ พบมากในผู้ที่มีเหงื่อออกมาก และใส่เสื้อผ้าที่อับชื้น

ขณะที่โรคกลาก มีลักษณะเป็นผื่นวงมีขอบเขตชัดเจน มีขุย เริ่มต้นด้วยอาการคัน ตามด้วยผื่นแดงต่อมาจะลามเป็นวงออกไปเรื่อย ๆ และมักจะคันมากขึ้น ส่วนใหญ่พบในบริเวณที่มีความอับชื้น เช่น หนังศีรษะ รักแร้ ใต้ราวนม ขาหนีบ ฝ่าเท้า และซอกนิ้วเท้ารวมถึงผื่นผิวหนังอักเสบจากการติดเชื้อแบคทีเรียบางชนิด มีลักษณะเป็นผื่นแดงแห้ง ๆ ออกน้ำตาล มักเกิดในบริเวณอับชื้นซึ่งเหมาะแก่การเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรีย เช่น รักแร้ ขาหนีบ ฝ่าเท้า และซอกนิ้วเท้า โรคที่จัดอยู่ในกลุ่มนี้ ได้แก่ โรคเท้าเหม็นที่เกิดจากการมีเชื้อแบคทีเรียบางชนิดบริเวณผิวหนังชั้นนอก มีอาการเท้าแห้งลอก เท้าจะมีกลิ่นรุนแรงมากกว่าปกติ มีหลุม รูพรุนเล็ก ๆ บริเวณฝ่าเท้าและง่ามเท้า อาทิ โรคฉี่หนู (Leptospirosis) ที่เกิดจากแบคทีเรีย Leptospira ที่ปนเปื้อนในน้ำท่วม เมื่อผิวหนังสัมผัสกับน้ำที่ปนเปื้อน อาจทำให้เกิดไข้ ปวดกล้ามเนื้อ หรือภาวะแทรกซ้อนรุนแรง เช่น ไตวาย

นอกจากนี้โรคไข้เลือดออก (Dengue Fever) ไข้มาเลเรีย ก็เป็นโรคที่ต้องระวัง เพราะน้ำท่วมขังสามารถเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ของยุงลาย ซึ่งเป็นพาหะนำโรค

ทั้งนี้ การป้องกันที่ดีที่สุดคือหลีกเลี่ยงการสัมผัสน้ำที่ท่วมขัง และปฏิบัติตามสุขอนามัยที่ดี เช่น ล้างมือเป็นประจำ ป้องกันยุงกัด และดูแลแผลให้สะอาด

นพ. จรัสศักดิ์ ยังบอกอีกว่า จากสถิติได้พบว่า โรคยอดฮิตที่คนเป็นกันมาก

•อันดับที่ 1 คือ การติดเชื้อรา (Fungal Infections): เช่น โรคน้ำกัดเท้า (Tinea pedis) มักมีอุบัติการณ์สูงสุดอยู่ที่ประมาณ 50-70% ของผู้ที่สัมผัสน้ำท่วมนาน ๆ เนื่องจากการสัมผัสกับน้ำสกปรกและความชื้นที่ยาวนาน
 
•อันดับที่ 2 คือ การติดเชื้อแบคทีเรีย (Bacterial Infections): เช่น โรคผิวหนังอักเสบ (Cellulitis) หรือแผลติดเชื้อ อุบัติการณ์มักอยู่ที่ 15-25% ของผู้ประสบภัย ซึ่งเกิดจากการที่บาดแผลสัมผัสกับน้ำท่วมที่ปนเปื้อน

•อันดับที่ 3 คือ โรคผื่นผิวหนังอักเสบ (Dermatitis): รวมถึงโรคผิวหนังอักเสบจากการแพ้ (Allergic Contact Dermatitis) อุบัติการณ์ของผื่นผิวหนังอักเสบมักอยู่ที่ประมาณ 10-20% ของผู้ที่ประสบภัยพิบัติ เนื่องจากการสัมผัสกับสารระคายเคืองในน้ำสกปรก

•อันดับที่ 4 คือ แผลติดเชื้อจากพยาธิและปรสิต (Parasitic Infections): เช่น สะเก็ดหรือแผลจากพยาธิหนอนพยาธิต่าง ๆ อุบัติการณ์อยู่ที่ประมาณ 5-10%

•อันดับที่ 5 คือ โรคฉี่หนู (Leptospirosis): เป็นโรคที่อาจพบได้จากน้ำท่วม อุบัติการณ์อาจอยู่ที่ 1-5% ของผู้ที่มีการสัมผัสน้ำที่ปนเปื้อน โดยเฉพาะในพื้นที่ที่มีหนูหรือสัตว์แทะที่ติดเชื้อ

ตัวเลขเหล่านี้อาจแตกต่างกันขึ้นอยู่กับปัจจัยแวดล้อม เช่น ความรุนแรงของน้ำท่วม การเข้าถึงบริการทางการแพทย์ และการป้องกันตัวของผู้ประสบภัย ครับ”

นอกจากการหลีกเลี่ยง หรือทำความสะอาดเท้าทันที หลังสัมผัสน้ำที่ปนเปื้อนนานๆแล้ว วันนี้ ยังมี แป้งฝุ่น ที่มีส่วนประกอบในการช่วยลดผื่นที่เกิดจากการแพ้บริเวณจุดอับชื้น เชื้อราตามเท้า ขาหนีบ ข้อพับต่างๆ จำนวน 100 ขวด โดยไม่มีค่าใช้จ่าย จากศูนย์การแพทย์พีระกุล เพียงแจ้งความประสงค์มาที่ พีระกุลคลินิกเฉพาะทางด้านเวชกรรมผิวหนัง 99/9 ซอย อินทามะระ แขวง รัชดาภิเษก เขตดินแดง กทม. 10440 โทร 097-220-9628 / 02-277-5552


กำลังโหลดความคิดเห็น