xs
xsm
sm
md
lg

สำนักงานปลัด อว. ร่วมกับ ม.บูรพา เดินหน้าขับเคลื่อนโครงการพัฒนาระบบบริหารการเงินและแนวทางการเพิ่มรายได้ “กลุ่มพัฒนาชุมชนท้องถิ่นหรือชุมชนอื่น” กลุ่มภาคกลาง ปฏิรูประบบบริหารการเงิน ยกระดับคุณภาพของมหาวิทยาลัยไทย

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



สำนักงานปลัด อว. ร่วมกับ ม.บูรพา เดินหน้าขับเคลื่อนโครงการพัฒนาระบบบริหารการเงินและแนวทางการเพิ่มรายได้ “กลุ่มพัฒนาชุมชนท้องถิ่นหรือชุมชนอื่น” กลุ่มภาคกลาง ปฏิรูประบบบริหารการเงิน ยกระดับคุณภาพของมหาวิทยาลัยไทย

เมื่อวันที่ 26 ส.ค. นายพันธุ์เพิ่มศักดิ์ อารุณี ผู้อำนวยการกองขับเคลื่อนและพัฒนาการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม รักษาการในตำแหน่งที่ปรึกษาด้านพัฒนาการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม สำนักงานปลัดกระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เป็นประธานเปิดการประชุมรับฟังความคิดเห็นเพื่อพัฒนาระบบบริหารการเงินและแนวทางการเพิ่มรายได้ (กลุ่มภาคกลาง) โครงการพัฒนาระบบบริหารการเงินและแนวทางการเพิ่มรายได้ “กลุ่มพัฒนาชุมชนท้องถิ่นหรือชุมชนอื่น” โดยมี ศ.ดร.พีระพงศ์ ทีฆสกุล ประธานอนุกรรมการด้านการพลิกโฉมมหาวิทยาลัย (Reinventing University) ดร.พีระพัฒน์ มั่งคั่ง ผู้อำนวยการสำนักบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยบูรพา และผู้บริหารจากมหาวิทยาลัยบูรพา คณะผู้บริหารและบุคลากรของมหาวิทยาลัยกลุ่ม 3 ในพื้นที่ภาคกลาง 15 แห่ง และภาคเหนือ 1 แห่ง เข้าร่วม ที่โรงแรมเดอะ เบอร์เคลีย์ ประตูน้ำ กรุงเทพฯ

นายพันธุ์เพิ่มศักดิ์ กล่าวว่า กระทรวง อว. ให้ความสำคัญกับการพลิกโฉมสถาบันอุดมศึกษา (Reinventing University) เพื่อให้สถาบันอุดมศึกษาสามารถเป็นกลไกสำคัญในการพัฒนาประเทศ โดยสิ่งสำคัญคือการปฏิรูประบบการบริหารจัดการให้มีประสิทธิภาพ ดังนั้น กระทรวง อว. จึงได้ผลักดันให้เกิดการปฏิรูประบบบริหารจัดการในเชิงรุก ซึ่งในระยะแรกได้เริ่มดำเนินการในด้านการบริหารบุคลากร ที่เป็นกลไกสำคัญที่จะสร้างความเปลี่ยนแปลง เชื่อมโยงและขับเคลื่อนคู่ขนานไปกับการปฏิรูปด้านการเงินและงบประมาณ การแระชุมรับฟังความคิดเห็นครั้งนี้เป็นโอกาสในการรวบรวมปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะ เกี่ยวกับระบบบริหารการเงินและงบประมาณ จากสถาบันอุดมศึกษากลุ่มภาคกลางที่มีทั้ง สถาบันอุดมศึกษารัฐ ในกำกับรัฐ และเอกชน เพื่อนำไปวางแผน กำหนดนโยบาย และจัดทำเป็นระเบียบ/ข้อบังคับของกองทุนเพื่อพัฒนาการอุดมศึกษา เพื่อให้เกิดความยืดหยุ่นและคล่องตัวต่อไป

ดร.พีระพัฒน์ ในฐานะผู้รับผิดชอบโครงการ กล่าวว่า การจัดกิจกรรมในครั้งนี้ เน้นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับปัญหาและอุปสรรค ข้อจำกัด ของระบบบริหารการเงินและงบประมาณในเชิงลึก เพื่อให้ระบบบริหารงบประมาณของสถาบันอุดมศึกษามีทิศทางที่ดีขึ้น เกิดอิสรภาพทางการเงิน รวมถึงนำไปปรับแก้ไขและเป็นข้อมูลประกอบในการจัดทำข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย

ทั้งนี้ การประชุมได้จัดให้มีการเสวนาเกี่ยวกับแนวทางการสร้างรายได้ของมหาวิทยาลัย กรณีตัวอย่าง บริษัท ดีกรีพลัส จำกัด ผู้จัดทำ Learning Community และหลักสูตรระยะสั้นร่วมกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รวมถึงมีกิจกรรมเวิร์คช็อปโดยให้ผู้บริหารและบุคลากรของแต่ละมหาวิทยาลัยได้ร่วมกันระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับปัญหาและอุปสรรค ทางด้านระบบการเงินและงบประมาณในประเด็นต่างๆ การทำ SWOT Analysis ภาพรวมการแสวงหารายได้ของมหาวิทยาลัย เพื่อนำไปสู่การกำหนดแนวทางการแก้ไขระบบบริหารการเงิน การใช้จ่ายงบประมาณและการหารายได้ต่อไป










กำลังโหลดความคิดเห็น