xs
xsm
sm
md
lg

“หมอธีระวัฒน์” เผยไข้หวัดนกชนิดแรงระบาดในสหรัฐฯ พร้อมพบการเปลี่ยนพันธุกรรม WHO สั่งเตรียมวัคซีนหลายร้อยล้านโดส

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



“หมอธีระวัฒน์” เผยไข้หวัดนกแบบรุนแรงกำลังระบาดในสหรัฐฯ และพบการเปลี่ยนแปลงพันธุกรรมซึ่งคาดว่าเกิดจากการปรับตัวของเชื้อให้เข้ากับสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมให้ดีขึ้น ขณะที่องค์การอมามัยโลกให้สหรัฐฯ เตรียมวัคซีนไว้หลายร้อยล้านโดส อังกฤษ 40 ล้านโดส ส่วนในฟินแลนด์เริ่มฉีดวัคซีนไข้หวัดนกแก่ผู้ทำงานใกล้ชิดกับสัตว์ และมีรายงานการใช้วัคซีน mRNA ด้วย ทั้งที่วัคซีนเทคโนโลยีนี้ที่ใช้กับโควิดยังต้องได้รับการตรวจสอบ

วันนี้(18 ส.ค.) ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา ที่ปรึกษาวิทยาลัยการแพทย์แผนตะวันออก มหาวิทยาลัยรังสิต โพสต์ข้อความในเฟซบุ๊ก ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา Thiravat Hemachudha ในหัวข้อเรื่อง “ไข้หวัดนก (ตอน 2)” โดยมีรายละเอียดระบุว่า ในสหรัฐเอง เชื้อไข้หวัดนกแบบรุนแรง HPAI ได้คืบคลานเข้ามาตั้งแต่ปี 2022 โดยพบในตัว opossums สุนัขจิ้งจอก skunks หมี และสัตว์อีกหลายชนิด ตามรายงานของกระทรวงเกษตร และพบในตัวมิ้งค์ ที่ เคนตั๊กกี้ ในเดือนเมษายน 2023 และพบในกระรอกที่อริโซน่าและหมีโคล่า ที่ อลาสก้า ในปี 2023 เช่นเดียวกัน

วัวที่เลี้ยงในปศุสัตว์ พบติดเชื้อมากขึ้นและแพร่ใน เก้า มลรัฐ ทั้งนี้รวมไอดาโฮ มิชิแกน เทกซัส และมีการแพร่ไปยังสัตว์อื่นที่ใกล้ชิดกับวัวที่ติดเชื้อหรือกินนมของวัวที่ติดเชื้อเหล่านี้

ฝูงเป็ดไก่มีการติดเชื้อ และถูกทำลาย เฉพาะในฟาร์มเดียว ที่ Sioux county ไอโอวา มีการทำลายถึง 4.2 ล้านตัว

และตั้งแต่ปี 2022 จนกระทั่งถึงปลายเดือนพฤษภาคม 2024 มีการทำลายไปแล้ว 92.34 ล้านตัว

และที่นิวเม็กซิโก พบแมวสองตัวและอาจมีมากกว่านั้น ตายจากไข้หวัดนก ทั้งนี้ไม่ได้ไปใกล้ชิดกับนกหรือฟาร์มไก่หรือฟาร์มวัวเลย

ในปี 2024 พบคนที่ติดเชื้อไข้หวัดนกรายที่สองที่ มิชิแกน โดยมีการเปลี่ยนแปลงพันธุกรรมซึ่งคาดว่าเกิดจากการปรับตัวของเชื้อให้เข้ากับสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมให้ดีขึ้น จากการประกาศของ CDC ในวันที่ 24 พฤษภาคม 2024 ยังไม่มีมีการเสียชีวิตเกิดขึ้นทั้งในรายนี้ และอีกสองรายก่อนหน้าในปี 2022

รายที่ เสียชีวิตในประเทศเม็กซิโก มีหลักฐานการติดเชื้อ H1N2 แต่ทางการเม็กซิโกปฏิเสธเพราะมีโรคเบาหวานและโรคประจำตัวและนอนติดเตียงนานนานสองสัปดาห์และสาเหตุการเสียชีวิตไม่น่าเกี่ยวกัน

ในวันที่ 28 พฤษภาคม 2024 พบการติดเชื้อครั้งแรกในตัว alpacas ซึ่งเป็นสัตว์คล้ายอูฐ ใน Jerome county ไอดาโฮ จาก 4 ใน 18 ตัว โดยมีสัมผัสใกล้ชิดกับนกที่ติดเชื้อ แต่ทั้งนี้ยังไม่มีตัวไหนตาย

และปัจจุบันมีการเริ่มใช้วัคซีนไข้หวัดนก ในคนที่ทำงานหรืออยู่ใกล้ชิด และมีโอกาสเสี่ยงที่จะติดเชื้อ และมีแผนพัฒนาวัคซีนสำหรับประชาชนทั่วไปในกรณีที่มีการกำหนดให้เป็นภัยคุกคามโรคระบาด

องค์การอนามัยโลกประกาศให้สหรัฐเตรียมวัคซีนไข้หวัดนกหลายร้อยล้านโดส และอังกฤษ 40 ล้านโดส และประเทศฟินแลนด์เริ่มฉีดวัคซีนไข้หวัดนกแก่ผู้ทำงานใกล้ชิดกับสัตว์ วัคซีน เป็นของ Gate’s foundation เป็นรุ่น สอง ชื่อ Incellipan และ Celldemic โดยตัวแรกวางแผนใช้ในกรณีที่แพร่ระบาดกว้างขวางแล้ว และตัวที่สองสำหรับเริ่มการระบาด

ในขณะเดียวกัน มีการประกาศขององค์กรกลางสหรัฐ ว่า ยารักษาโรคมาเลเรีย quinine และ hydroxychloroquine ไม่มีประโยชน์ไม่สามารถนำมาใช้ได้กับไข้หวัดใหญ่ ไข้หวัดนก เหมือนกับที่ประกาศว่าใช้ไม่ได้ผลในโควิด

เช่นเดียวกับ ยาฆ่าพยาธิ ไอเวอร์เมคติน ที่ FDA แพ้คดีและต้องถอนคำประกาศห้ามใช้ในโควิดออก ทั้งนี้โดยที่ยาฆ่าพยาธิดังกล่าว มีรายงานประสิทธิภาพมากกว่า 101 รายการและอธิบายการป้องกันอาการหนักได้ในแคว้นของประเทศอินเดียที่ได้นำมาใช้รวมกระทั่งถึงในแอฟริกาและรายงานจากประเทศญี่ปุ่นเอง

ซึ่งทางการและแพทย์ในสมาคมผู้เชี่ยวชาญของประเทศไทยก็ได้ออกข้อห้ามดังกล่าวในการใช้ยาเหล่านี้ทั้งหมด ในกลุ่มยาฆ่าพยาธิ มาเลเรีย ซึ่งหมดสิทธิบัตรแล้ว ตามองค์การอนามัยโลกและตามองค์กรของสหรัฐ ตลอดจนถึงฟ้าทะลายโจร ซึ่งเป็นเคราะห์ดีที่ฟ้าทะลายโจรยังหลุดรอด จากข้อห้ามใช้ของกระทรวงสาธารณสุขไทย จากหลักฐานที่ปรากฏในการป้องกันและลดความรุนแรงตลอดจนหลักฐานกลไกทางวิทยาศาสตร์

ยาฆ่าพยาธิ ไอเวอร์เมคติน มีรายงานในวารสาร Nature Scientific Report 2016 สามารถยับยั้งไข้หวัดนกได้ ในกลไก nuclear transport และน่าจะเป็นที่จับตามอง ถ้ามีการระบาดจริง

และแน่นอน มีรายงานออกมา เรียบร้อยในวันที่ 23 พฤษภาคม 2024 ในวารสาร Nature Communications โดยการใช้ nucleoside-modified mRNA วัคซีน ในการป้องกัน clade 2.3.4.4b H5N1 HPI virus

เป็นที่น่าสังเกตว่า mRNA เทคโนโลยีเองที่นำมาใช้กับโควิดนั้นยังได้รับการตรวจสอบ

แม้ว่าจะมีรายงานผลข้างเคียงผลแทรกซ้อนถึงชีวิตและพิการในทุกประเทศ และกลไกไม่ได้เกี่ยวข้องกับ spike protein หรือโปรตีนหนามอย่างเดียว ที่ใช้ในวัคซีนโควิด แต่เกี่ยวข้องกับอนุภาคไขมันนาโน ที่สามารถแทรกตัวเข้าในทุกเนื้อเยื่อและในทุกอวัยวะ และสามารถสอดแทรกเข้าไปในยีนส์มนุษย์ได้ ดังที่รายงานจากหลายคณะที่ศึกษาฤทธิ์ของวัคซีนโควิดและพบว่าสามารถมี DNA integration ในโครโมโซม เก้าและ 12 ของมนุษย์ได้ โดยที่ไม่ได้เป็นเรื่องบังเอิญ


กำลังโหลดความคิดเห็น