xs
xsm
sm
md
lg

สำนักงานปลัด อว. เดินหน้าโครงการพัฒนาระบบบริหารการเงินและแนวทางการเพิ่มรายได้ “กลุ่มพัฒนาชุมชนท้องถิ่นหรือชุมชนอื่น” กลุ่มภาคเหนือ พร้อมปฏิรูประบบบริหารการเงิน

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



สำนักงานปลัด อว. เดินหน้าโครงการพัฒนาระบบบริหารการเงินและแนวทางการเพิ่มรายได้ “กลุ่มพัฒนาชุมชนท้องถิ่นหรือชุมชนอื่น” กลุ่มภาคเหนือ พร้อมปฏิรูประบบบริหารการเงิน ทลายข้อจำกัด มุ่งยกระดับคุณภาพของมหาวิทยาลัยไทย

เมื่อวันที่ 16 ส.ค. นายพันธุ์เพิ่มศักดิ์ อารุณี ผู้อำนวยการกองขับเคลื่อนและพัฒนาการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม รักษาการในตำแหน่งที่ปรึกษาด้านพัฒนาการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม สำนักงานปลัดกระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เป็นประธานเปิดการประชุมรับฟังความคิดเห็นเพื่อพัฒนาระบบบริหารการเงินและแนวทางการเพิ่มรายได้ (กลุ่มภาคเหนือ) โครงการพัฒนาระบบบริหารการเงินและแนวทางการเพิ่มรายได้ “กลุ่มพัฒนาชุมชนท้องถิ่นหรือชุมชนอื่น” โดยมี ศ.ดร.พีระพงศ์ ทีฆสกุล ประธานอนุกรรมการด้านการพลิกโฉมมหาวิทยาลัย (Reinventing University) คณะผู้บริหารและบุคลกรของมหาวิทยาลัยกลุ่ม 3 ในพื้นที่ภาคเหนือ ได้แก่ มรภ.เชียงใหม่ มรภ.เชียงราย มรภ.ลำปาง มรภ.อุตรดิตถ์ มรภ.เพชรบูรณ์ มรภ.กำแพงเพชร และ มรภ.นครสรรค์ เข้าร่วม ณ โรงแรมแคนทารี่ ฮิลส์ จังหวัดเชียงใหม่

นายพันธุ์เพิ่มศักดิ์ กล่าวว่า สำหรับการพลิกโฉมสถาบันอุดมศึกษา (Reinventing University) เพื่อให้สถาบันอุดมศึกษาสามารถเป็นกลไกสำคัญในการพัฒนาประเทศ หัวใจสำคัญที่จะขับเคลื่อนทุกภารกิจให้บรรลุเป้าหมายได้ คือการปฏิรูประบบการบริหารจัดการให้มีประสิทธิภาพ ดังนั้น สำนักงานปลัดกระทรวง อว. จึงได้ผลักดันให้เกิดการปฏิรูประบบบริหารจัดการในเชิงรุก ซึ่งในระยะแรกได้เริ่มดำเนินการในด้านการบริหารบุคลากร ที่เป็นกลไกสำคัญที่จะสร้างความเปลี่ยนแปลง เชื่อมโยงและขับเคลื่อนคู่ขนานไปกับการปฏิรูปด้านการเงินและงบประมาณ โดยมีเป้าหมายเพื่อรวบรวมปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะ นำไปวางแผน กำหนดนโยบาย และจัดทำเป็นระเบียบ/ข้อบังคับของกองทุนเพื่อพัฒนาการอุดมศึกษา เพื่อให้เกิดความคล่องตัวต่อไป

ดร.พีระพัฒน์ มั่งคั่ง ผู้อำนวยการสำนักบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยบูรพา ในฐานะผู้รับผิดชอบโครงการ กล่าวว่า การจัดกิจกรรมในครั้งนี้ เน้นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับปัญหาและอุปสรรค ข้อจำกัด ของระบบบริหารการเงินและงบประมาณในเชิงลึก เพื่อนำไปปรับแก้ไขและเป็นข้อมูลประกอบในการจัดทำข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย

ทั้งนี้ การประชุมได้จัดให้มีการเสวนาเกี่ยวกับแนวทางการสร้างรายได้ของมหาวิทยาลัย รวมถึงให้ผู้บริหารและบุคลากรของแต่ละมหาวิทยาลัยได้ร่วมกันระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับปัญหาและอุปสรรค ทางด้านระบบการเงินและงบประมาณในประเด็นต่างๆ การทำ SWOT Analysis ภาพรวมการแสวงหารายได้ของมหาวิทยาลัย เพื่อนำไปสู่การกำหนดแนวทางการแก้ไขระบบบริหารการเงิน การใช้จ่ายงบประมาณและการหารายได้ต่อไป












กำลังโหลดความคิดเห็น