หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนากำลังคน และทุนด้านการพัฒนาสถาบันอุดมศึกษา การวิจัยและการสร้างนวัตกรรม (บพค.) ร่วมกับ มหาวิทยาลับเทคโนโลยีสุรนารี (มทส.) จัดประชุมระดมสมองนักวิจัยเทคโนโลยีควอนตัมระดับอาเซียน พร้อมแสดงผลงานวิจัยและนวัตกรรมจากเครือข่ายนักวิจัยควอนตัมทั่วประเทศเพื่อประโยชน์ในเชิงพาณิชย์และการสร้างความร่วมมือจากภาคเอกชน พร้อมชูประเทศไทยมีศักยภาพเป็นฐาน “Quantum Valley Initiative” หวังให้นักวิจัยของอาเซียนร่วมพัฒนาขยายผลการใช้เทคโนโลยีควอนตัมที่นำไปใช้ประโยชน์ต่อคุณภาพชีวิตและสังคมของภูมิภาคอย่างยั่งยืน
ผศ. ดร.พูลศักดิ์ โกษียาภรณ์ รองผู้อำนวยการสำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ ให้เกียรติเป็นประธานเปิดการประชุม “ผู้ทรงคุณวุฒิและกิจกรรม PMU-B Quantum Technology Consortium Networking ครั้งที่ 1” เมื่อวันที่ 4-5 กรกฎาคม 2567 ณ โรงแรมเดอะปาซ เขาใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา โดยมีผู้ทรงคุณวุฒิ กลุ่มภาคเอกชน กลุ่มนักวิจัยควอนตัมประเทศไทย (QTRic) และนักวิจัยควอนตัมจากกลุ่มประเทศอาเซียน อาทิ สิงคโปร์ มาเลเซีย อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ เข้าร่วม กว่า 100 คน การจัดประชุมดังกล่าวได้รับการสนับสนุนจากหน่วยบริหารจัดการทุนด้านการพัฒนากำลังคนและทุนด้านการพัฒนาสถาบันอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและการสร้างนวัตกรรม (บพค.)
การเสวนา ผลงานวิจัยและนวัตกรรมด้านเทคโนโลยีควอนตัม กับความรับผิดชอบกลุ่มสหวิทยาการในบริบทอาเซียน ประเด็น “Building Responsible Quantum Technology in the ASEAN Context: What Does It Look Like?” โดย Dr Clarissa Ai Ling Lee, Multimedia University and Asia School of Business ประเด็น “How Creativity Make Science Meet Art by Technology? (in the arrival of the quantum era)” โดย นายเตชสิทธิ์ เกงขุนทด Directer of CreativeLab/ Scientist & Technologist และ นายวีรธัช พงษ์เรืองเกียรติ Directer of tomorrow.Lab / Artist&Technologist
และประเด็น “Nature meets Quantum Technoloqy” โดย รศ. ดร.วรวัฒน์ มีวาสนา หัวหน้าโครงการฯ
ในโอกาสนี้ รศ. ดร.วรวัฒน์ มีวาสนา อาจารย์ประจำสาขาวิชาฟิสิกส์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี หัวหน้าโครงการสร้างเสริมความแข็งแกร่งระบบนิเวศแบบบูรณาการสำหรับการวิจัยเทคโนโลยีควอนตัมประเทศไทย ในฐานะเจ้าภาพจัดการประชุม ได้นำเสนอภาพรวมการพัฒนาระบบนิเวศด้านการวิจัยควอนตัมเทคโนโลยีของประเทศไทยช่วง พ.ศ. 2563-ปัจจุบัน และแนวคิดเกี่ยวกับ Quantum Valley Initiative จากศักยภาพด้าน โครงสร้างพื้นฐานของประเทศ โครงสร้างทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่เข้มแข็ง และการพัฒนากำลังคนเฉพาะทางด้าน ว. และ ท. อย่างต่อเนื่อง พร้อมนำเสนอความก้าวหน้าจากการะดมความคิดเห็นโครงการการศึกษาริเริ่มพัฒนาพื้นที่นิเวศด้านการวิจัยและควอนตัมเทคโนโลยี (PMU-B Quantum Valley Initiative) ครั้งที่ 1 ในประเด็น 1) เป้าประสงค์กับการกำหนดยุทธศาสตร์สำหรับเทคโนโลยีควันตัมประเทศไทย 2) ความคาดหวังสำหรับเทคโนโลยีควอนตัมในประเทศไทย 3) อัตลักษณ์ทคโนโลยีควอนตัมและทิศทางของประเทศไทย เพื่อโอกาสแข่งขันในระดับสากล 4) แนวทางการใช้ประโยชย์จาก Quantum Technology เพื่อสร้างผลกระทบระดับประเทศ เพื่อเชื่อมโยงไปสู่การพัฒนาข้อเสนอโครงการประจำปีงบประมาณ 2568 กิจกรรมระดมสมอง ประเด็นการนำเทคโนโลยีควอนตัมไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์และการสร้างความร่วมมือจากภาคเอกชน พร้อมรับคำแนะนำจากผู้ทรงคุณวุฒิ ดำเนินรายการโดย รศ. ดร.รินา ภัทรมานนท์
นอกจากนี้ ยังมีกิจกรรมการสัมผัสเทคโนโลยีควอนตัมจากศิลปะและต้นแบบการใช้ประโยชน์ด้าน Experiencing Quantum World Via Quantum Art and QT Application Prototypes และในวันที่สองของการประชุม คณะผู้บริหาร บพค. ได้นำเสนอที่มาและเกณฑ์การพิจารณาข้อเสนอโครงการ ประจำปีงบประมาณ 2568 และปิดท้ายด้วยการนำเสนอโครงการวิจัยแนวหน้าและการขับเคลื่อนเทคโนโลยีควอนตัมเพื่อการประยุกต์ใช้ในการแพทย์ พลังงาน และอุตสาหกรรมแห่งอนาคต โดย รศ. ดร.วรวัฒน์ มีวาสนา หัวหน้าโครงการฯ