xs
xsm
sm
md
lg

บพท. – สอวช. ร่วมกับ สกสว. เผยทิศทางการขับเคลื่อนการพัฒนาพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษ 4 ภาค

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) ร่วมกับ สอวช. และ สกสว. หารือผ่านการประชุมเชิงปฏิบัติการ “ทิศทางการขับเคลื่อนในการพัฒนาพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษ 4 ภาค โดยกลไกเชิงพื้นที่ของระบบวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (ววน.)”

เมื่อวันที่ 25 เม.ย. หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) ภายใต้การกำกับของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) นำโดย ดร.กิตติ สัจจาวัฒนา ผู้อำนวยการหน่วย บพท. ดร.สีลาภรณ์ บัวสาย ประธานคณะอนุกรรมการที่ปรึกษาการขับเคลื่อนวิทยสถาน “ธัชภูมิ” และรศ.ดร.ปุ่น เที่ยงบูรณธรรม รองผู้อำนวยการฝ่ายแผนและยุทธศาสตร์องค์กรหน่วย บพท. ร่วมกับสำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) และ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) นำโดย รศ.ดร.ปัทมาวดี โพชนุกูล ผู้อำนวยการ สกสว. จัดงานการประชุมเชิงปฏิบัติการ “ทิศทางการขับเคลื่อนในการพัฒนาพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษ 4 ภาคโดยกลไกเชิงพื้นที่ของระบบวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (ววน.)” ระหว่างวันที่ 25-26 เมษายน 2567 ณ โรงแรมเดอะ สุโกศล กรุงเทพมหานคร

การจัดงานในครั้งนี้เกิดเนื่องด้วย “ระเบียงเศรษฐกิจ (Economic Corridor)” เป็นนโยบายการกระตุ้นการเจริญเติบโตทางด้านเศรษฐกิจและการบูรณาการ มีเป้าหมายหลักเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนและการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของพื้นที่แนวระเบียงเศรษฐกิจรวมถึงพื้นที่โดยรอบระเบียงและเน้นการสร้างโครงสร้างพื้นฐานทางโทรคมนาคมทางขนส่ง การพัฒนาอุตสาหกรรมเป้าหมาย และเทคโนโลยีเพื่อสนับสนุนกิจกรรมที่ควรเพิ่มเติมของการเพิ่มคุณค่าและมูลค่าทางเศรษฐกิจในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษ โดยมีการวางแผนและการประสานงานร่วมกันระยะยาวระหว่างภาครัฐและภาคเอกชนทั้งภายในประเทศและระหว่างประเทศ โดยการเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจระหว่างศูนย์กลางทางเศรษฐกิจ (Hub) ระดับภูมิภาค ที่มุ่งเน้นในการพัฒนาพื้นที่หรือพื้นที่ภูมิภาคให้กลายเป็นศูนย์กลางของกิจกรรมเศรษฐกิจด้วยการปรับปรุงและขยายพื้นที่ให้มีความพร้อมทางทางพาณิชย์ การค้า/การลงทุน พร้อมทั้งยกระดับการพัฒนาพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษและยกระดับเศรษฐกิจร่วมของพื้นที่ชายแดนที่นำไปสู่การเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจในมิติต่าง ๆ (Economic Connectivity) และเพื่อให้เกิดการขับเคลื่อนระเบียงเศรษฐกิจพิเศษและทิศทางดำเนินงานที่เป็นรูปธรรม

จากการดำเนินงานที่ผ่านมา หน่วย บพท. ได้ร่วมกับ สอวช. และ สกสว. ในการขับเคลื่อนการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษ จากการประชุมคาดการณ์อนาคต (Foresight) เพื่อวิเคราะห์ทิศทางและการประเมินพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษทั้ง 4 ภาค ประกอบด้วย 1) ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคเหนือ 2) ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 3) ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคใต้ และ 4) ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคกลาง-ตะวันตก โดยมุ่งเน้นกระบวนการมีส่วนร่วมกับผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสีย (Stakeholders) และวิเคราะห์ข้อมูลจากพื้นที่และค้นหาผลิตภัณฑ์ Products Champion ที่สอดคล้องกับอุปสงค์และอุปทานของพื้นที่ เพื่อใช้เป็นแนวทางในการจัดทำ (ร่าง) แผนพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจด้วย ววน. และร่างแผนพัฒนาคลัสเตอร์อุตสาหกรรม เป้าหมายที่สำคัญในแต่ละพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจ โดยมีเป้าหมายเพื่อเพิ่มคุณค่าและมูลค่าบนฐานการเชื่อมโยงของพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษ

ดังนั้น หน่วย บพท. จึงได้จัด “การประชุมเชิงปฏิบัติการ ทิศทางการขับเคลื่อนในการพัฒนาพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษ 4 ภาค โดยกลไกเชิงพื้นที่ของระบบวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (ววน.)”ขึ้น เพื่อกำหนดหมุดหมายและยุทธศาสตร์การพัฒนาพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษ 4 ภาค โดยใช้วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ร่วมกันกับภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้องบนฐานข้อมูลและฉากทัศน์การพัฒนาพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษและคาดหวังว่างานนี้จะก่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งในระดับนโยบายและระดับพื้นที่ และเกิดกลไกความร่วมมือเพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษให้สอดคล้องกับทิศทางการพัฒนาประเทศตามเป้าหมายที่กำหนด

การจัดการประชุมเชิงปฏิบัติการนี้ ประกอบไปด้วยกิจกรรมหลากหลายที่จัดขึ้นตลอดวัน แบ่งเป็นในช่วงเช้าที่มีการบรรยายพิเศษในหัวข้อนโยบายและการขับเคลื่อนในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษ 4 ภาค รวมไปถึงการเสวนาและนำเสนอทิศทางแผนการพัฒนาพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษ 4 ภาค การแลกเปลี่ยนและสะท้อนผลการศึกษาจากคณะผู้เชี่ยวชาญและผู้ทรงคุณวุฒิที่เข้าร่วม นอกจากนี้ในช่วงบ่ายยังใช้การประชุมเชิงปฏิบัติการ (Workshop) ในการกำหนดทิศทางการพัฒนาพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษ 4 ภาคและการพัฒนาคลัสเตอร์ (Cluster Development) ในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษ 4 ภาค ได้แก่ ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคใต้ และภาคกลาง-ตะวันตก ซึ่งได้รับความร่วมมือโดยกลุ่มผู้เข้าร่วมงานกว่า 160 คน จากหน่วยงานทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ภาควิชาการและประชาสังคม ที่มีความเกี่ยวข้องกับการผลักดันให้เกิดการขับเคลื่อนในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษ 4 ภาคอีกด้วย
























กำลังโหลดความคิดเห็น