เผยงานวิจัยพบความเกี่ยวข้องระหว่าง spike protein จากวัคซีนโควิด-19 ชนิด mRNA กับโรคสมองเสื่อม โดยศาสตราจารย์ Luc Montagnier ผู้ค้นพบเชื้อ HIV และคณะได้รายงานผู้ป่วย 26 รายซึ่งมีอาการป่วยหนักจากโรค CJD พบว่า 23 รายมีอาการหลังฉีดวัคซีน mRNA เข็มที่ 2 ได้ 15 วัน
วันนี้(8 เม.ย.) ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา หัวหน้าศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทย์ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้โพสต์ข้อความในเฟซบุ๊ก ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา Thiravat Hemachudha ในหัวข้อเรื่อง “ทำไมเกิดโรคสมองเสื่อมเพิ่มขึ้นอย่างมากและรุนแรงแม้อายุน้อยก็ตาม” โดยระบุว่า ในประเทศไทย ศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพและโรคอุบัติใหม่ติดตามผู้ที่เป็นลองโควิด และลองวัคซีน ประมาณร้อยราย นานกว่าหนึ่งปี และพบโปรตีนสมองเสื่อม และการทำลายสมองในอายุ 30 และ 40 กว่าปี แม้แทบจะไม่มีอาการ
ทั้งนี้ ต้องคำนึงถึงาทางถอนพิษโดยเร็ว เพราะการลดการอักเสบจะเป็นเพียงการบรรเทาและชะลอ ต้องหาทางตรงเป้า ต้นตอ
บทความนี้ นพ.ดร.ชลธวัช ทางระบบภูมิคุ้มกัน (ดร.นพ.ชลธวัช สุวรรณปิยะศิริ โรงพยาบาลเมดพาร์ค) เรียบเรียงมาจากคณะผู้วิจัยที่มีชื่อ ในวารสาร cereus เครือ Nature และความเกี่ยวพันกับการก่อตัวของ amyloid protein ซึ่งเป็น misfolded protein เฉกเช่น ใน prion ในโรคสมองเสื่อมแบบต่างๆ และพาร์กินสัน และนวตกรรม แท่งเลื้อยดุ ในหลอดเลือด เป็นปรากฏการณ์เดียวกัน (นวตกรรมเลื้อยดุ จากรายงานของ Prof Arne Burkhardt และรายงานในคนป่วยมีชึวิต ไทยรัฐ สุขภาพหรรษา 2 ตอน)
ทั้งนี้ ศ.นพ.ธีระวัฒน์ ได้แชร์บทความจากเฟซบุ๊ก DrJudd Chontavat ของ ดร.นพ.ชลธวัช สุวรรณปิยะศิริ ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
ความเกี่ยวข้องระหว่าง spike protein จาก mRNA covid vaccine กับโรคสมองเสื่อม (neurodegenerative diseases)
Spike protein ที่สร้างจาก mRNA covid vaccine มีลักษณะการเรียงตัวของกรดอะมิโนคล้าย prion (prion-like protein) สามารถถ่ายทอดไปสู่ neuron ทำให้เกิดการทำลายเซลล์และ neurodegeneration ได้จากหลายกลไก เช่น
1. Cross-seed ร่วมกับ amyloidogenic human protein ที่มีอยู่แล้ว เช่น Tau, alpha-synuclein ทำให้เร่งการเกิด fibril formation
2. RBD ของ S1 segment ของ spike protein ไปจับกับ heparin และกลุ่ม amyloidogenic heparin-binding proteins เช่น Tau, alpha-synuclein, amyloid beta, TDP-43 ทำให้เกิด mitochondrial oxidative stress, apoptosis, neurodegeneration
Prof.Luc Montagnier (ผู้พบ HIV) และคณะได้รายงานผู้ป่วย 26 รายซึ่งมีอาการป่วยหนักจากโรค CJD (Creutzfeldt-Jakob disease - ภาวะสมองเสื่อมที่พบเจอได้ยาก) หลังจากได้รับวัคซีนโควิด โดย 23 รายมีอาการหลังฉีด mRNA vaccine เข็มที่ 2 ได้ 15 วัน ส่วนอีก 3 รายได้รับ AstraZeneca DNA vector vaccine และมีอาการภายในเดือนแรก
ผู้ป่วยส่วนใหญ่เสียชีวิตหลังป่วยได้ 5 เดือนจากวัคซีน โดยปกติแล้ว CJD เป็นโรคที่พบได้น้อยมากๆ ดังนั้นอุบัติการนี้จึงมีความสัมพันธ์กับการฉีดวัคซีนชัดเจน สมมุติฐานคือ spike protein และ prion protein มีลักษณะคล้ายกันมาก (molecular mimicry) ใน spike protein จะมี ลำดับกรดอะมิโน YQAGS ซึ่งใกล้เคียงกับ sequence บริเวณ C-terminal domain ของ prion protein มาก ซึ่งก็คือ YQRGS ต่างกันแค่ A กับ G ดังนั้น autoAb ต่อ spike protein นี้จึงไปขัดขวางการ transport ของ prion protein เข้าสู่ endoplasmic reticulum เป็นสาเหตุของ aggressive form ของโรค CJD
Spike protein จาก mRNA vaccine สามารถถ่ายทอดผ่านทาง exosome ได้เช่นเดียวกับ prion protein หรือ misfolded protein จึงสามารถส่งต่อให้กับเซลล์ผู้รับซึ่งอยู่ไกลได้
ในแง่ของ innate immunity พบว่า spike protein ไม่ว่าจะจาก covid virus หรือ mRNA vaccine สามารถกระตุ้น TLR-4 ใน neuron และเกิดการอักเสบตามมา นอกจากนี้แล้วยังทำให้มีการเพิ่มของ miR-146a (micro RNA-146a) ผลตามมาคือมีการสะสมของ Tau ซึ่งเป็นสาเหตุของ Alzheimer’s dz ตามรูปที่ 1
G quadruplex (G4) ตามรูปที่ 2 ก็อาจเป็นสาเหตุหนึ่งของพยาธิสภาพ พบว่า mRNA ของ human prion protein มีการเรียงตัวของ G4 หลายตำแหน่ง ดังนั้นโครงสร้าง G4 อาจทำให้ prion protein กลายเป็น misfolded protein
ที่น่าสนใจคือ spike protein จาก mRNA ของ covid virus สร้างรูปแบบ G4 ได้ 4 ตำแหน่ง ในขณะที่วัคซีนของ Pfizer สามารถสร้าง G4 ได้ 9 ตำแหน่ง และวัคซีนของ Moderna สามารถสร้างได้ 19 ตำแหน่ง
รูปที่ 3 คือภาพรวมทั้งหมดตั้งแต่ฉีด mRNA vaccine เข้าไปสู่ร่างกาย macrophage และ antigen-presenting cell นำเอา spike protein ไปสู่ต่อมน้ำเหลือง มีการสร้าง spike protein เพิ่มขึ้น และมีการหลั่ง cytokine ที่ทำให้เกิดการอักเสบ exosome จาก germinal center ใน spleen นำเอา spike protein, spike mRNA, miR-146a ไปตามระบบประสาทผ่านทาง vagus nerve ส่งไปถึงสมอง จนทำให้เกิดพยาธิสภาพของ neurodegenerative disease ต่างๆ
ดังนั้นในอนาคตถ้าพบผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมเพิ่มขึ้นมากกว่าเดิมชัดเจนจึงไม่ใช่เรื่องแปลกแต่อย่างใด
Chontavat Suvanpiyasiri. MD, PhD
Reference : https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC9922164/