xs
xsm
sm
md
lg

ระวัง!! ใช้รองเท้าร่วมคนอื่น เจอติด "เชื้อราที่เล็บ"

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



หมอเตือน "เชื้อราที่เล็บ" เกิดได้ทุกเพศทุกวัย จากการสัมผัสดิน พื้นผิวสกปรก หรือใช้รองเท้าร่วมผู้อื่น ทำเล็บหนา รูปร่างผิดปกติ ส่งผลกระทบชีวิตประจำวัน

เมื่อวันที่ 27 ก.พ. นพ.ไพโรจน์ สุรัตนวนิช รองอธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวว่า เชื้อราที่เล็บเกิดจากการสัมผัสดินหรือพื้นผิวที่สกปรก หรือติดเชื้อจากบริเวณอื่นหรือใช้รองเท้าร่วมกับผู้อื่น ซึ่งการป้องกันจากโรคเชื้อราที่เล็บนั้น ควรรักษาความสะอาดของมือเท้า และเล็บอย่างสม่ำเสมอ ไม่ใช้กรรไกรตัดเล็บ หรือรองเท้าและของใช้ส่วนตัวร่วมกับผู้อื่น ไม่ควรเดินเท้าเปล่าบนดินหรือพื้นผิวสกปรก และควรเลือกรองเท้าหรืออุปกรณ์ป้องกันที่เหมาะสม ถ้าสังเกตเห็นโรคเชื้อราขึ้นตามผิวหนังบริเวณอื่น เช่น มือ เท้าและลำตัว ควรปรึกษาแพทย์เพื่อรับการวินิจฉัยและรักษาอย่างถูกวิธี เพื่อที่จะป้องกันไม่ให้เกิดการติดเชื้อราที่เล็บหรือที่ผิวหนังบริเวณอื่นตามมา
พญ.ชินมนัส เลขวัต นายแพทย์ทรงคุณวุฒิ สถาบันโรคผิวหนัง กล่าวว่า โรคเชื้อราที่เล็บมีลักษณะเล็บที่หนาขึ้นและเปลี่ยนสีเป็นสีขาว เหลือง น้ำตาลหรือดำ มีรูปร่างผิดปกติ ใต้เล็บเป็นขุย และถ้าอาการรุนแรงมากขึ้นอาจมีอาการเจ็บที่เล็บได้ ซึ่งการรักษาโรคติดเชื้อราที่เล็บนั้น เมื่อพบว่าตนเองเป็นควรรีบปรึกษาแพทย์เพื่อรับการวินิจฉัยและรักษาด้วยการรับประทานยาฆ่าเชื้อรา จะใช้เวลา 2 – 3 เดือน สำหรับเล็บมือ และ 3 – 4 เดือน สำหรับเล็บเท้า ผู้ป่วยที่รับประทานยาควรได้รับการตรวจเลือดเพื่อเฝ้าระวังผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้น และต้องระมัดระวังในการรับประทานยาฆ่าเชื้อราควบคู่กับการรับประทานยาชนิดอื่นเพราะอาจมีผลกระทบได้ในผู้ป่วยที่มีอาการมาก ในกลุ่มนี้อาจต้องได้รับการรักษาทั้งยารับประทานและยายาทาฆ่าเชื้อราควบคู่กัน ก่อนใช้ยาทุกครั้งควรปรึกษาแพทย์ก่อนเสมอ ผู้ที่มีการตอบสนองไม่ดีต่อการรักษา เช่น โรคเบาหวานที่ยังควบคุมน้ำตาลได้ไม่ดี โรคที่มีผลต่อหลอดเลือดปลายนิ้ว ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันต่ำ


กำลังโหลดความคิดเห็น