วันนี้(25 ก.พ.) นายปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ คณบดีวิทยาลัยการแพทย์แผนตะวันออก มหาวิทยาลัยรังสิต ได้โพสต์ข้อความในเฟซบุ๊ก ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ เป็นบทความเรื่อง "สรุปผลข้างเคียงวัคซีนเทพล่าสุด จากข้อมูล 99 ล้านคน!!!" มีรายละเอียด ดังนี้
ผลการสำรวจผลกระทบจากวัคซีนตีพิมพ์ในวารสารวัคซีน (Vaccine) เผยแพร่ออนไลน์โดย ScinceDirect เมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2567 โดยได้มำการการสำรวจอาการบางอย่างที่นักวิจัยสนใจ ในประชากร 99 ล้านคนที่ฉีดวัคซีนต่างชนิดกัน ในเครือข่ายต่างๆ ใน ประเทศ อาร์เจนตินา ออสเตรเลีย แคนาดา เดนมาร์ก ฟินแลนด์ ฝรั่งเศส นิวซีแลนด์และสกอตแลนด์
โดยการฉีดการฉีดวัคซีนไฟเซอร์เอ็นเทค (BNT162b2) จำนวน 184 ล้านโดส, ฉีดวัคซีนโมเดอร์นา (Moderna mRNA-1237) จำนวน 36 ล้านโดส, ฉีดวัคซีนแอสตร้าเซเนก้า (ChAdOx1) จำนวน 23 ล้านโดส จากการติดตามผล 42 วัน
สรุปผลการวิจัยพบว่ากลุ่มอาการที่มีผลข้างเคียงจากวัคซีน มากกว่าที่คาดการณ์ไปอย่างมากและมีนัยสำคัญทางสถิติเป็นระดับสัญญาณเตือนความปลอดภัย (Lower bound with 95% confidence interval >1.5) หรือมีสถิติค่าความเชื่อมั่น 95% ที่มีขอบเขตขั้นต่ำซึ่งมีผลข้างเคียงมากกว่าที่คาดการณ์ไป 1.5 เท่าตัวขึ้นไป มีรายละเอียดดังนึ้
1. อาการกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ (Myocardis) และเนื้อเยื่อหัวใจอักเสบ (Pericardtis) แบ่งรายละเอียดดังนี้
1.1 อาการกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ (Myocardis)
อาการกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ เกิดขึ้นกับวัคซีนโมเดอร์นา (Moderna mRNA-1237) เข็มที่ 1 มากกว่าที่คาดการณ์ 3.48 เท่าตัว, เข็มที่ 2 มากกว่าที่คาดการณ์ 6.10 เท่าตัว และเข็มที่ 3 มากกว่าที่คาดการณ์ 2.01 เท่าตัว[1]
อาการกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ เกิดขึ้นกับวัคซีนไฟเซอร์เอ็นเทค (BNT162b2) เข็มที่ 1 มากกว่าที่คาดการณ์ 2.78 เท่าตัว, เข็มที่ 2 มากกว่าที่คาดการณ์ 2.86 เท่าตัว และเข็มที่ 3 มากกว่าที่คาดการณ์ 2.09 เท่าตัว[1]
1.2 เนื้อเยื่อหัวใจอักเสบ (Pericardtis)
อาการเนื้อเยื่อหัวใจอักเสบเกิดขึ้นกับวัคซีนแอสตร้าเซเนก้า (ChAdOx1) เข็มแรกมากกว่าที่คาดการณ์ 6.91 เท่าตัว [1]
อาการเนื้อเยื่อหัวใจอักเสบเกิดขึ้นกับวัคซีนโมเดอร์นา (Moderna mRNA-1237) เข็มที่ 1 มากกว่าที่คาดการณ์ 1.74 เท่าตัวและเข็มที่ 4 มากกว่าที่คาดการณ์ 2.64 เท่าตัว[1]
2.อาการปลอกประสาทของประสาทส่วนกลางอักเสบฉับพลัน (Acute disseminated encephalomyelitis) สามารถทำให้สมองฝ่อ อ่อนแรง เดินเซ เคลื่อนไหวลำบาก[2]
อาการปลอกประสาทของประสาทส่วนกลางอักเสบฉับพลัน เกิดขึ้นมากกว่าที่คาดการณ์ 3.78 เท่าตัว เกิดขึ้นกับวัคซีนโมเดอร์นา (Moderna mRNA-1237) เข็มแรก[1]
3.อาการภาวะหลอดเลือดดำในสมองอุดตัน (Cerebral venous sinus thrombosis หรือ CVST) คือ ภาวะที่เส้นเลือดดำหรือ โพรงเลือดดำในสมองเกิดการอุดตันจากลิ่มเลือด ส่งผลทำให้ ผู้ป่วยมีความผิดปกติทางระบบประสาท ซึ่งมีได้หลากหลาย และไม่จำเพาะ[3]
อาการจากภาวะหลอดเลือดดำในสมองอุดตันในนี้เกิดขึ้นมากกว่าที่คาดการณ์ 3.23 เท่าตัว เกิดขึ้นกับวัคซีนแอสตร้าเซเนก้า (ChAdOx1) เข็มแรก[1]
4.อาการ กิแลง บาร์แร ซินโดรม (Guillain-Barré Syndrome) เป็นโรคที่เกิดจากการอักเสบเฉียบพลันที่เส้นประสาทส่วนปลายโดยไม่เกิดความเสียหายต่อสมองหรือไขสันหลัง จากความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกันร่างกาย ส่งผลให้เกิดการอ่อนแรงของกล้ามเนื้ออย่างเฉียบพลัน เมื่อเป็นแล้วอาการสามารถรุนแรงขึ้นได้อย่างรวดเร็วจนเป็นอัมพาตหรือพิการได้[4]
อาการกิแลง บาร์แร ซินโดรม ในผลข้างนี้เกิดขึ้นมากกว่าที่คาดการณ์ 2.49 เท่าตัว เกิดขึ้นหลังวัคซีนแอสตร้าเซเนก้า (ChAdOx1) เข็มแรก[1]
สรุปจากการวิเคราะห์ผลสำรวจในระดับนานาชาติยืนยัน ผลข้างเคียงจากวัคซีน ที่มากกว่าคาดการณ์ในระดับสัญญาณเตือนเรื่องความปลอดภัยได้แก่ ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ เนื้อเยื่อหัวใจอักเสบ อาการกิแลง บาร์แร ซินโดรม (Guillain-Barré Syndrome) หรือการอักเสบเฉียบพลันที่เส้นประสาทส่วนปลายทำให้เกิดการอ่อนแรงของกล้ามเนื้ออย่างเฉียบพลัน ภาวะหลอดเลือดดำในสมองอุดตัน ส่วนสัญญาณเตือความปลอดภัยที่มีศักยภาพอื่นๆต้องทำการสืบสวนเพิ่มเติมเพื่อชี้ชัดต่อไป
สรุปโดย
ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์
คณบดีวิทยาลัยการแพทย์แผนตะวันออก มหาวิทยาลัยรังสิต
25 กุมภาพันธ์ 2567
https://www.facebook.com/100044511276276/posts/932191691607865/?
อ้างอิง
[1] K. Faksova, et al., COVID-19 vaccines and adverse events of special interest: A multinational Global Vaccine Data Network (GVDN) cohort study of 99 million vaccinated individuals. Vaccine, Available online 12 February 2024
https://www.sciencedirect.com/science/article/pii/S0264410X24001270
[2] อภิวุธ เกิดดอนแฝก, COVID-19-Associated Acute disseminated encephalomyelitis(ADEM), thai Journal of Neurology,15 ธันวาคม 2564
http://neurothai.org/images/journal/2022/vol38_no3/05%20Interesting.pdf
[3] อภิวิชญ์ กุดแถลง, ลักษณะภาพวินิจฉัย เครื่องเอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์ ของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดดำในสมองอุดตัน ที่โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชท่าบ่อ, ศรีนครินทรเวชสาร, นิพนธ์ต้นฉบับ
https://thaidj.org/index.php/smnj/article/download/11964/10140#:~:text=ภาวะหลอดเลือดด%EF%BF%BDาในสมองอุดตัน%20(Cerebral,%EF%BF%BDาบาก1%2C2
[4] ศูนย์กายภาพบำบัดคณะกายภาพบำบัด มหาวิทยาลัยมหิดล, Guillain barre syndrome
https://pt.mahidol.ac.th/ptcenter/knowledge-article/guillain_barre_syndrome/#:~:text=โรคกิแลง%20บาร์แร,และอาจส่งผลให้