กลุ่มคนไทยพิทักษ์สิทธิ์ โต้สถาบันวัคซีนฯ แถลงเรื่องลองโควิดไม่ตรงข้อเท็จจริงและขัดแย้งกันเอง บอกยังไม่เข้าใจสาเหตุการเกิดลองโควิด แต่กลับสรุปว่าไม่ได้เกิดจากวัคซีน อ้างไม่เคยปกปิดข้อมูลผลกระทบและเสียชีวิตจากวัคซีน แต่เปิดเผยข้อมูลไม่ครบ ท้าเปิดเผยเกณฑ์การวินิจฉัย รายงานการประชุม พร้อมรายชื่อผู้เชี่ยวชาญ
เมื่อวันที่ 23 ม.ค.ที่ผ่านมา ผู้ใช้เฟซบุ๊กในชื่อ “อภิชาติ กาญจนาพงศาเวช” ได้โพสต์ข้อความในกลุ่มเฟซบุ๊ก “คนไทยพิทักษ์สิทธิ์” ว่า ตามที่ สถาบันวัคซีนแห่งชาติ ออกแถลงการณ์ เรื่องข้อเท็จจริงสถานการณ์ภาวะลองโควิด 19 และ ผลกระทบของวัคซีนโควิด 19 นั้น [1]สถาบันวัคซีนฯ ให้ข้อมูลที่ไม่ตรงกับข้อเท็จจริงและขัดแย้งกันเอง ในหลายประเด็นดังรายละเอียดต่อไปนี้
ภาวะ ลองโควิด ยังต้องติดตามอย่างต่อเนื่อง
แถลงการณ์ระบุว่า ยังไม่เข้าใจสาเหตุการเกิดของภาวะลองโควิด แปลว่า “แท้จริงแล้ว ไม่สามารถระบุได้อย่างชัดเจนว่า ภาวะดังกล่าว ไม่ได้เกิดจากวัคซีน !!️
การที่ สถาบันฯบอกว่า ภาวะลองโควิดไม่เกี่ยวข้องกับวัคซีน แต่ไม่รู้ว่าเกิดจากสาเหตุใดนั้น จึงเป็นข้อมูลที่ขัดกันเอง
อนึ่ง การวิจัยของนายแพทย์ธีระวัฒน์ พบว่าลักษณะความผิดปกติของผู้ป่วยลองโควิดกับผู้ที่ได้รับผลกระทบจากวัคซีนนั้นมีลักษณะที่คล้ายคลึงกันอย่างมากจึงเป็นที่มาของข้อสันนิษฐานว่า ภาวะลองโควิด อาจเกิดขึ้นได้จากการได้รับวัคซีนโควิด
ทั้งนี้เป็นที่ทราบดีว่า สไปก์โปรตีนของเชื้อไวรัสเป็นหนึ่งในกลไกสําคัญที่ทําให้เกิดภาวะลองโควิด วัคซีนโดยเฉพาะกลุ่ม mRNA สามารถทําให้ร่างกายของผู้รับวัคซีนสร้างสไปก์โปรตีนซึ่งเป็นพิษได้เป็นระยะเวลายาวนานหลังฉีด
อาการลองโควิดที่พบบ่อยส่วนใหญ่ดีขึ้นเมื่อเวลาผ่านไป
อาการลองโควิดที่พบมิได้มีสาเหตุจากปัจจัยหนึ่งปัจจัยเดียว และเป็นการวินิจฉัย”กลุ่มอาการ” ผู้ที่มีกลุ่มอาการเดียวกันอาจมีสาเหตุที่แตกต่างกัน ผู้ที่มีอาการดังกล่าวจึงไม่จําเป็นต้องเกิดจากการติดเชื้อเท่านั้น อาจเกิดจากปัจจัยทางจิตใจหรือปัจจัยอื่นๆ ร่วมด้วยได้
การที่ภาวะนี้ยังไม่ได้มีแนวทางการวินิจฉัยสาเหตุที่ชัดเจนจึงไม่สามารถสรุปได้ว่าภาวะนี้จะดีขึ้นเองได้เหมือนกันทั้งหมด งานวิจัยที่อ้างว่า วัคซีนป้องกันภาวะลองโควิดได้นั้น ก็มิใช่การทํา clinical trial เป็นเพียงแค่การวิจัยเชิงพรรณาที่มิอาจให้ข้อสรุปที่ชัดเจนได้
ไม่เคยปกปิดข้อมูลผลกระทบและเสียชีวิตจากวัคซีน
ข้อมูลที่มีการปกปิดนั้น คือ ข้อมูลที่ อ.ย.กําหนดให้บริษัทยาต้องทําตามที่ระบุในประกาศการอนุญาตผลิตภัณฑ์ยาแผนปัจจุบันสําหรับมนุษย์แบบมีเงื่อนไขในสถานการณ์ฉุกเฉิน ฉบับที่ ๑ ประกาศ ณ วันที่ ๒๔ กรกฎาคม ๒๕๖๓ ข้อ ๕(๑) มิใช่ข้อมูลที่เผยแพร่โดยกองระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค
ทั้ง นี้ในข้อมูลของกรมควบคุมโรค ที่เผยแพร่ตามอ้างก็เป็นข้อมูลที่ติดตามระยะสั้นภายหลังฉีด มิได้ติดตามผลข้างเคียงที่เกิดขึ้นในระยะยาว เป็นข้อมูลที่ผู้ได้รับผลกระทบต้องรายงานถึงจะเข้าร่วมในฐานข้อมูล การรายงานมีความซับซ้อนมิได้เปิดให้สังคมได้รับรู้ช่องทางรายงาน จึงทําให้ข้อมูลที่มีในฐานข้อมูลน้อยกว่าความเป็นจริงมาก โดยมีการประมาณการว่า ข้อมูลในฐานข้อมูลมีเพียง 1 ใน 20 ถึง 1 ใน 100 ของจํานวนผู้ที่ได้รับผลกระทบจากวัคซีนจริงๆ
การเผยแพร่แค่ “ผลสรุป” มิได้เปิดเผยข้อมูลดิบที่เปิดโอกาสให้ผู้สนใจสามารถนําข้อมูลไปทําการวิเคราะห์เองได้ เป็นการเปิดเผยแค่ “ความคิดเห็น” ของกลุ่มคนที่ “อ้างว่า” เป็นผู้เชี่ยวชาญ
กลุ่มคนเหล่านี้ อ้างว่ามีผู้ที่เสียชีวิตจากวัคซีนจริงแค่ 5 รายจากจํานวนผู้เสียชีวิตที่ได้รับค่าชดเชย ทั้งหมด 4,890 ราย [2]
จากข้อมูลที่เผยแพร่เห็นชัดเจนว่า กรรมการที่พิจารณามีอคติ ที่พยายามจะบอกว่า ผู้ที่เสียชีวิตหลังจากได้รับวัคซีนไม่ได้เป็นผลจากวัคซีน
อนี่ง หากทางสถาบันวัคซีนอ้างว่า เป็นสถาบันที่โปร่งใส มีธรรมาภิบาล ถูกตรวจสอบได้
ขอให้สถาบันฯ เปิดเผยข้อมูลต่อไปนี้
1 เกณฑ์การวินิจฉัยว่าการเกิดผลข้างเคียงภายหลังที่ได้รับวัคซีน มีสาเหตุเกี่ยวข้องกับวัคซีนหรือไม่ อย่างไร
2.รายงานการประชุม เอกสารการประชุมเพื่อพิจารณาว่า ผู้ร้องเรียนแต่ละรายได้รับผลกระทบจากวัคซีนหรือไม่อย่างไร
3.ข้อมูลทางการแพทย์ของผู้ได้รับผลกระทบแต่ละรายโดยไม่เปิดเผยข้อมูลที่สามารถระบุตัวตนอันจะเป็นการขัดข้อกําหนด PDPA
4.รายชื่อคณะกรรมการ “ผู้เชี่ยวชาญ” ทุกคนพร้อมระบุ ความชํานาญ
5.รายละเอียดเกี่ยวกับผลประโยชน์ทับซ้อนของผู้เชี่ยวชาญในข้อ 4 ซึ่งรวมถึงการได้รับทุน ได้รับเชิญไปประชุมในต่างประเทศ การได้รับของขวัญ อามิสสินจ้างใดๆ จากบริษัทยา
6.รายละเอียดประสบการณ์ ของผู้เชี่ยวชาญในการให้การบําบัดรักษาผู้ป่วยที่ได้รับผลกระทบจากวัคซีน และจากการรับพันธุกรรมบําบัด (gene therapy)
การอ้างว่ามี "ผู้เชี่ยวชาญ" พิจารณานั้น ตามที่แถลงในข่าวนั้นเป็นการอ้างที่มิได้ระบุชื่อ และคุณสมบัติของผู้เชี่ยวชาญว่ามีความเชี่ยวชาญดังกล่าวตามที่อ้างไหม การเปิดเผยข้อมูลข้างต้น จึงเป็นผลดีต่อสถาบันฯ เอง ทําให้สถาบันฯ ได้รับความเชื่อถือจากสังคมมากขึ้น
หากแต่ ถ้าสถาบันฯ เลือกที่จะปกปิดข้อมูลดังกล่าว ย่อมแสดงให้เห็นว่า สถาบันฯมิได้มีเจตนาที่จะทําตามหลักธรรมาภิบาล ไม่ให้ความสําคัญเรื่องความโปร่งใสในการดําเนินการ และไม่กล้าให้สังคมตรวจสอบ
การศึกษาผลกระทบจําเป็นต้องมีกลุ่มเปรียบเทียบ
ที่สถาบันฯ ให้ข่าวนั้นถูกต้อง และจําเป็น คําถามคือ ทําไมไม่ทํา เพราะโดยปกติ การศึกษาดังกล่าวต้องทําให้เสร็จก่อนการนํามาฉีดให้ประชาชน และการที่สถาบันฯ ยอมรับว่า ยังไม่ได้ทําการศึกษาดังกล่าว ย่อมเป็นการยืนยันว่า สถาบันฯ ก็ไม่สามารถปฏิเสธว่า อาการข้างเคียงที่เกิดขึ้น ไม่ใช่ผลจากวัคซีนที่ฉีด อนึ่ง การที่มีรายงานการเกิดผลข้างเคียงที่รุนแรงหลังฉีดวัคซีน สถาบันฯ ควรเสนอให้มีการระงับใช้วัคซีนชั่วคราว จนกว่าจะมีการศึกษาความปลอดภัยแบบมีกลุ่มเปรียบเทียบแล้ว ทั้งนี้ต้องเข้าใจว่า ผู้ที่มารับวัคซีนนั้น เป็นคนที่มีสุขภาพแข็งแรง ไม่มีโรค การเอาเด็กและเยาวชนตลอดจนคนทั่วไปที่แข็งแรงมารับการฉีดวัคซีน แล้วทําให้เสียชีวิตและพิการนั้น เป็นเรื่องที่ผิดคุณธรรม และขัดจรรยาบรรณของวิชาชีพ
ฉีดวัคซีนโควิดหลังเข็มที่ 3 มีผลต่อภูมิคุ้มกันชนิดทีเซลล์ เป็นการเข้าใจคลาดเคลื่อน
งานวิจัยดังกล่าว ผู้วิจัยนําเสนอข้อเท็จจริงที่พบจากการวิจัยว่า ภูมิคุ้มกันทีเซลล์ ลดลงในผู้ที่ได้รับวัคซีน ข้อเท็จจริงดังกล่าว พบในงานวิจัยอีกหลายงานวิจัย และมีคําอธิบายกลไกที่ทําให้ภูมิคุ้มกันตกลงอย่างชัดเจน ส่วน “ข้อคิดเห็น” ของนักวิจัยที่ สถาบันฯ นํามาอ้างนั้น เป็นเพียงข้อคิดเห็นที่นักวิจัยเสนอ มิใช่ข้อเท็จจริงจากการวิจัยแต่อย่างใด
องค์การอนามัยโลกมีคําแนะนําฉีดวัคซีนเช่นเดิม
องค์การอนามัยโลกเป็นองค์กรที่มีผลประโยชน์ทับซ้อน รับเงินบริจาคจากนายทุนที่ลงทุนในธุรกิจวัคซีน ในการระบาดครั้งนี้ องค์การอนามัยโลกให้คําแนะนําหลายประการที่มิได้อยู่บนพื้นฐานข้อมูลทางวิชาการ มีคําแนะนําที่ผิดมากมาย การจะอ้างองค์การอนามัยโลกจึงจําเป็นต้องดูในรายละเอียด หลักฐานข้อมูลวิชาการที่สนับสนุนด้วย
อนึ่ง ในปัจจุบันมีประเทศหลายประเทศทั่วโลกที่ไม่แนะนําให้ประชาชนของตนรับวัคซีนโควิด อันเป็นคําแนะนําที่ขัดกับคําแนะนําขององค์การอนามัยโลกแล้ว
อ้างอิง
[1] https://www.hfocus.org/content/2024/01/29503
[2] https://subsidy.nhso.go.th/subsidy/...
“กลุ่มคนไทยพิทักษ์สิทธิ์”