ปัญหาอยู่ที่ใคร ทำไม? การเสนอโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งอธิการบดีคนใหม่ ยังมีปัญหา การเมืองร้อนแรง ที่มสธ. ไดัเวลากระทรวงอว. ออกโรงโชว์ฝีมือสร้างธรรมาภิบาล
ถึงแม้ว่าศาสตราจารย์ ดร.วิจิตร ศรีสอ้าน ได้ถึงแก่อนิจกรรมไปแล้วเมื่อประมาณเดือนตุลาคมที่ผ่านมา หากแต่การเสนอโปรดเกล้า อธิการบดีคนใหม่ ยังไม่แล้วเสร็จ เพราะสภามหาวิทยาลัยอ้างว่า ต้องรอ คำสั่งศาลปกครอง สูงสุดกรณี การถอดถอนอธิการรายเดิม ก่อน จึงจะเสนอโปรดเกล้าอธิการบดีคนใหม่ได้ เป็นการประวิงเวลาใช่หรือไม่?
สรุป Timeline เรื่องการโปรดเกล้า ถอดถอนและ แต่งตั้ง อธิการบดี มสธ.ดังนี้
1. การถอดถอนอธิการบดีรายเดิม เกิดขึ้น เมื่อ 7 ปีที่แล้ว 9 มิถุนายน 2559
2. ผู้ถูกถอดถอน ไปร้องศาลปกครองขอคุ้มครองชั่วคราว แต่ ศาลปกครองชั้นต้น มีคำสั่งไม่รับคำร้อง จึงไม่ได้มีการคุ้มครองชั่วคราว ตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2559 เป็นต้นมาและ และ อธิการบดีรายเดิมกำลังจะหมดวาระการดำรงตำแหน่ง
3. ทำให้การว่างลงของ ตำแหน่ง อธิการบดี เป็นเรื่องการหมดวาระการดำรงตำแหน่งอีกด้วย คือ ไม่เกิน 4 ปี หมดวันที่ 30 มกราคม 2560 ซึ่งต้องมีการสรรหา ก่อน 180 วัน คือ ประมาณ เดือน กรกฎาคม 2559
ดังนั้น สภามหาวิทยาลัย จึงมีความชอบธรรมในการสรรหา อธิการบดี คนใหม่
4. การสรรหา อธิการบดี คนใหม่ เริ่มกระบวนการสรรหา เมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน 2559 และต่อมา วันที่ 30 มีนาคม 2560 สภามหาวิทยาลัย มีมติเห็นชอบ เสนอชื่ออธิการบดีคนใหม่
5. ต่อมา มีการร้องต่อศาลปกครอง ว่าการสรรหา ไม่ชอบ และ สุดท้าย ศาลปกครองสูงสุด ได้พิพากษา เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2566 ว่า กระบวนการ สรรหา และมติที่ประชุมการสรรหารวมถึงคุณสมบัติของผู้สมควรแต่งตั้งเป็นอธิการบดีคนใหม่ชอบด้วยกฎหมายทั้งสิ้น เรื่องจึงเป็นที่ยุติ
6. ในขณะนี้ยังคงมี คดีการถอดถอนอธิการบดีรายเดิม ที่รอศาลปกครองสูงสุด พิพากษาอยู่
7. ปัญหา ที่ยังแก้ไม่ได้คือ สภามหาวิทยาลัย ชุดปัจจุบัน ไม่ยอมเสนอชื่ออธิการบดีรายใหม่โปรดเกล้าแต่งตั้ง อ้างว่า คดี ถอดถอนอธิการรายเดิมยังไม่ พิพากษา เกรงว่า จะระคายเคือง พระยุคลบาท ตามหนังสือ เวียน ของสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ว. 101 ที่สั่งให้ส่วนราชการต่างๆ เคร่งครัด ตรวจสอบให้เป็นที่ยุติเสียก่อน
8. ข้อเท็จจริงพบว่า มีหลายมหาวิทยาลัย ที่ สลค.และกระทรวงการอุดมศึกษา ได้เสนอโปรดเกล้าแต่งตั้ง อธิการบดีหลายแห่งไปแล้ว ทั้งๆที่ มีการฟ้องร้องอยู่ในศาลปกครอง อาทิ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ และอีก10 กว่าแห่ง
9.เหตุใด กรณีของมสธ. จึงไม่สามารถดำเนินการ เสนอโปรดเกล้า แต่งตั้งอธิการบดี คนใหม่ ได้
10 . ทั้งนี้เมื่อ ปี 2562 กระทรวงอว. มี แนวทาง การเสนอโปรดเกล้าแต่งตั้งถอดถอนอธิการบดี ที่ ใช้ใน หลายสถาบันอุดมศึกษามาแล้ว สาระสำคัญความว่า หากศาลปกครองชั้นต้นไม่คุ้มครองชั่วคราว ก็สามารถดำเนินการเสนอโปรดเกล้าแต่งตั้งหรือถอดถอน อธิการบดี ได้
11.ดังนั้น กรณีของมสธ. มีข้อเท็จจริง ที่สำคัญ คือ
11.1.ศาลปกครองชั้นต้น ไม่คุ้มครอง ชั่วคราว ให้กับอธิการบดีรายเดิม และ วาระการดำรงตำแหน่ง อธิการบดีรายเดิม กำลังจะหมด วาระลง ทำให้สภามหาวิทยาลัย ในขณะนั้น จึงจัดให้มีการสรรหาอธิการบดีคนใหม่
11.2. ศาลปกครองสูงสุด ได้พิพากษาแล้วว่า การสรรหาอธิการบดีคนใหม่ ชอบด้วยกฎหมาย ทุกประการ
11.3. กระทรวงอวอ ก็มีแนว ปฏิบัติ การเสนอ แต่งตั้งโปรดเกล้า หรือถอดถอน ที่สามารถดำเนินการได้ หากศาลปกครอง ไม่คุ้มครองชั่วคราว โดยไม่ต้องรอ ว่าคดีจะสิ้นสุดหรือยุติเมื่อใด ตั้งแต่ปี 2562
11.4. อดีต ปลัดกระทรวงอว ได้ ทำหนังสือ ถึงสภามหาวิทยาลัย อย่างชัดเจนว่า สามารถเสนอโปรดเกล้า แต่งตั้งอธิการบดี ได้มา 2 ฉบับแล้ว ก่อน ศาล สูงสุดจะตัดสินด้วยซ้ำ
11.5. ภายหลังศาล ปกครองสูงสุดตัดสินในคดีสรรหาที่การบิน นายกสภามหาวิทยาลัย ทำเรื่องหารือกระทรวงอวอ ต่อมากระทรวงอว ก็มีหนังสือ ตอบ ว่าสามารถแยกเรื่อง เสนอโปรดเกล้าแต่งตั้งอธิการบดีได้ ไม่จำเป็นต้อง รอ การถอดถอนอธิการบดี รายเดิม
11.6. ที่สำคัญ เมื่อวันที่ 31 สิงหาคม 2066 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษานายเอนกเหล่าธรรมทัศน์ ได้มีหนังสือถึงนายกสภามหาวิทยาลัย เสนอแนะ สั่งการให้เสนอโปรดเกล้าแต่งตั้งอธิการบดีได้เช่นกัน
11.7. วันที่ 2 ตุลาคม 2566 อนุกรรมการกฎหมาย ของกระทรวงอว มีหนังสือตอบหารือมสธ. โดยสรุปว่าให้รอคำพิพากษาศาลตัดสินในคดีถอดถอนก่อน ซึ่ง เป็นประเด็นปัญหาอย่างยิ่ง ทั้งๆที่ ความเห็นของอนุกรรมการกฎหมาย นั้นไม่ผูกพัน กับหน่วยงานใดๆ แต่กลับ นำมาใช้เป็นเครื่องมือ ของการประวิงเวลา
11.8. ล่าสุดเมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน 2566 มีการประชุม ระดับกระทรวง เพื่อ หาทางออกร่วมกันโดย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา และ ปลัดกระทรวง รองปลัดกระทรวง ผู้ช่วยปลัดกระทรวง ผู้อำนวยการกองกฎหมาย รวมทั้งผู้ที่เกี่ยวข้อง ทั้งฝ่าย สภามหาวิทยาลัย ฝ่ายบริหารของมหาวิทยาลัย และ ผู้ถูกเสนอชื่อดำรงตำแหน่งอธิการบดี ที่ประชุม มีมติ ว่าให้สามารถดำเนินการเสนอโปรดเกล้าแต่งตั้งอธิการบดี โดยไม่ต้องรอ คำพิพากษาของศาลปกครอง ในกรณีของการถอดถอนอธิการบดี
ปัจจุบันสภามหาวิทยาลัย ยังคงอ้างว่าต้องรอ ศาลปกครองสูงสุดในคดีถอดถอน ให้พิพากษาให้แล้วเสร็จก่อน
ซึ่งความเป็นจริง ถึงแม้ว่า จะคำพิพากษา จะออกมาให้ อธิการบดีรายเดิมชนะคดี แต่ ก็ไม่มีสภาพบังคับ ที่อธิการบดีรายเดิม จะกลับเข้ามา ดำรงตำแหน่งได้อีกเพราะหมดวาระ การดำรงตำแหน่ง ไปแล้ว และ ระยะเวลาเนิ่นนานกว่า 7 ปีแล้วด้วย
12.การยกกรณีตัวอย่างของมหาวิทยาลัย เทคโนโลยี ราชมงคลภาคตะวันออกมาเทียบ นั้น ถึงทาง สลค.ให้แนวว่าจะต้องมีการเสนอถอดถอนให้เสร็จ ก่อน ถึงจะ โปรดเกล้าแต่งตั้งอธืการบดีที่คนใหม่ได้
ซึ่งเป็นกรณีที่มีรายละเอียดที่แตกต่างกัน กล่าวคือ มทร.ภาคตะวันออก อธิการบดีรายเดิม ถูกถอดถอนและเหลือระยะเวลาการดำรงตำแหน่ง อยู่ในวาระ ที่ยังไม่หมดวาระอีก 3 ปีกว่า จึงต้อง ดำเนินการ ถอดถอน ให้แล้วเสร็จก่อน จึง จะโปรดเกล้าคนใหม่ได้
หากแต่ กรณีของมสธ. อธิการบดี รายเดิม นอกจากศาลปกครองไม่คุ้มครอง ชั่วคราว แล้ว จึงเป็นกรณี ที่มี การว่างลง ของตำแหน่งอธิการบดีและพบว่า สาระสำคัญ การว่างลง อีกประการหนึ่งคือ วาระการดำรงตำแหน่ง อธิการบดีรายเดิม ที่กำลังจะ หมดวาระลงแล้วอีก 6 เดือน
ประกอบกับ ข้อบังคับการสรรหาอธิการบดี 2559 ข้อที่ 7 ความว่า เมื่อไม่มีผู้ดำรงตำแหน่ง อธิการบดี หรือ วาระ การดำรงตำแหน่ง ดังกล่าว กำลังจะครบกำหนด ไม่น้อยกว่า 180 วัน สภามหาวิทยาลัย ต้อง จัดให้มีคณะกรรมการสรรหา
ด้วยเหตุนี้ สภามหาวิทยาลัยในขณะนั้น จึงมีความชอบธรรม และถูกต้องตามข้อบังคับ ที่จะต้องสรรหาอธิการบดีคนใหม่ และ บัดนี้คดี การสรรหาอธิการบดี คนใหม่ ศาลปกครองสูงสุด ก็พิพากษา ให้ชอบด้วยกฎหมายทุกประการแล้ว
จึงสมควรที่จะต้องมีการเสนอชื่อโปรดเกล้า แต่งตั้งอธิการบดี คนใหม่ต่อไปโดยเร็ว