ปัจจุบัน โรคระบบประสาทเป็นโรคที่พบบ่อยและมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกปีอย่างต่อเนื่อง ก่อให้เกิดผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยและครอบครัว เนื่องจากระบบประสาทมีความซับซ้อนอย่างมากจึงอาจเกิดโรคได้หลายโรคที่คุกคามต่อชีวิต โดยแพทย์ชำนาญการเฉพาะทาง จาก โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ แนะนำว่าให้หมั่นสังเกตตนเอง หรือ คนรอบข้าง หากมีอาการเหล่าเหล่านี้ เช่น มือ-เท้าชา แขน-ขาอ่อนแรง ตาพร่ามัว เวียนศีรษะ พูดไม่ได้ ซึ่งอาการเหล่านี้อาจเป็นสัญญาณของโรคระบบประสาทและสมอง
โดย ‘โรคหลอดเลือดสมอง’ เป็นสาเหตุอันดับต้นๆ ของการเสียชีวิตและทุพพลภาพของประชากรทั่วโลก จากสถิติของกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ในปี 2566 พบผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองในประเทศไทยถึง 349,126 ราย ซึ่งพบอัตราการเสียชีวิตในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองแตกกว่า 30% ในขณะที่อัตราการเสียชีวิตในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบอยู่ที่ 2.5% นอกจากนี้ ยังมีโรคทางระบบประสาทอื่น ๆ ที่เป็นอันตราย เช่น ภาวะเลือดออกในเยื่อหุ้มสมอง โรคหลอดเลือดสมองโป่งพอง เนื้องอกในสมอง ภาวะโพรงสมองคั่งน้ำ โรคสมองเสื่อม โรคพาร์กินสัน เป็นต้น โรคเหล่านี้จำเป็นต้องใช้บุคลากรทางการแพทย์ที่มีประสบการณ์และความชำนาญสูงในการดูแลรักษา เพราะทุกวินาที คือ ‘วินาทีชีวิต’ หากไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้องอาจส่งผลต่อชีวิตได้
นพ. ฤกษ์ชัย ตุลยาภรณ์โชติ หัวหน้าศูนย์โรคระบบประสาท, แพทย์ชำนาญการเฉพาะทางด้านประสาทวิทยา โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ กล่าวว่า ศูนย์โรคระบบประสาท โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ ตระหนักถึงปัญหาที่เกิดจากโรคระบบประสาท และมุ่งมั่นพัฒนาการรักษาอย่างต่อเนื่องโดยทีมแพทย์เฉพาะทางที่มากประสบการณ์ โดย ‘ศูนย์โรคระบบประสาท’ (Neuroscience center) โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ มีทีมแพทย์เฉพาะทางด้านระบบประสาทครบทุกสาขาและทีมสหสาขาวิชาชีพที่มีประสบการณ์และความชำนาญในการดูแลผู้ป่วยโรคทางระบบประสาทที่ร้ายแรงและซับซ้อน สามารถให้การดูแลผู้ป่วยแบบเฉพาะบุคคลด้วยวิธีการรักษาที่ดีและเหมาะสมที่สุดสำหรับผู้ป่วยแต่ละราย ตั้งแต่การบำบัดทางความคิดและพฤติกรรม การใช้ยา ไปจนถึงการผ่าตัด หรือ การรักษาด้วยวิธีรังสีร่วมรักษา โดยอิงจากความรู้และประสบการณ์ที่สั่งสมมาอย่างยาวนาน (Evidence based best practice) พร้อมด้วยเทคโนโลยีและอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่ทันสมัย ซึ่งช่วยในการวินิจฉัยและรักษาโรคอย่างแม่นยำ รวมถึงการรับมือกับผู้ป่วยในภาวะฉุกเฉินที่มีความซับซ้อนได้อย่างทันท่วงที
นพ. ภวิศ เหลืองเวชการ แพทย์ชำนาญการเฉพาะทางด้านประสาทวิทยา โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ กล่าวเสริมว่า ในระหว่างการผ่าตัดและหลังการรักษาผู้ป่วยโรคทางระบบประสาทและสมองอาจมีโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนได้ตลอดเวลา เช่น ภาวะเลือดออกซ้ำและทำให้สมองเสียหายเพิ่มขึ้น หรืออาจเกิดภาวะสูญเสียความรู้สึก ดังนั้น โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ จึงมี ‘แผนกผู้ป่วยวิกฤตระบบประสาทและไขสันหลัง’ (Neurocritical care unit) เพื่อติดตามดูแลผู้ป่วยอย่างใกล้ชิดตลอด 24 ชั่วโมง โดยแพทย์ผู้ชำนาญด้านระบบประสาทวิกฤติที่ผ่านหลักสูตรและสำเร็จเป็นผู้ชำนาญเวชบำบัดวิกฤติด้านระบบประสาทจากสหรัฐอเมริกา พยาบาลที่ได้รับการฝึกอบรมในการดูแลผู้ป่วยภาวะวิกฤติด้านระบบประสาทและสมอง พร้อมทีมสหสาขาวิชาชีพ ซึ่งโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ เป็นโรงพยาบาลแห่งแรกและแห่งเดียวในประเทศไทย และเป็นโรงพยาบาลแห่งแรกๆ ในเอเชียที่พยาบาลในแผนกผู้ป่วยวิกฤตผ่านการอบรมหลักสูตร ‘การช่วยชีวิตผู้ป่วยวิกฤตระบบประสาทขั้นสูง’ (Emergency Neurological Life Support: ENLS Course) เพื่อให้มั่นใจว่าเราจะสามารถดูแลรักษาผู้ป่วยได้อย่างปลอดภัย
ทั้งนี้ ศูนย์โรคระบบประสาท โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ ทำงานประสานกับแผนกผู้ป่วยฉุกเฉินและแผนกผู้ป่วยนอกอย่างใกล้ชิด โดยมีแพทย์เฉพาะทางด้านประสาทศัลยศาสตร์และแพทย์เฉพาะทางด้านรังสีร่วมรักษาให้ความเห็นร่วมกันในการวินิจฉัยเพื่อเลือกแนวทางการรักษาที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดให้กับผู้ป่วย
‘ศูนย์โรคระบบประสาท’ (Neuroscience center) โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ มีความพร้อมทั้งทีมแพทย์ บุคคลากรและเทคโนโลยี ให้การตรวจวินิจฉัยรักษาได้ครอบคลุมทุกปัญหาเกี่ยวกับโรคระบบประสาทและสมอง
ความพร้อมด้านเทคโนโลยีและอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่ทันสมัย อาทิ
• เครื่องตรวจการไหลเวียนของเลือดของหลอดเลือดแดงในสมอง (TCD: Transcranial Doppler) เพื่อประเมินความเสี่ยงในการเกิดภาวะหลอดเลือดสมองอุดตัน
• เครื่องตรวจวัดคลื่นไฟฟ้าสมอง (EEG: Electroencephalography)
• เครื่องกระตุ้นสมองและระบบประสาทด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (TMS: Transcranial Magnetic Stimulation)
• เครื่องตรวจด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI: Magnetic Resonance Imaging)
• เครื่องตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT Scan)
ความพร้อมด้านห้องผ่าตัดและห้องพักป่วยหนัก อาทิ
• ห้องผ่าตัดชนิด biplane เป็นห้องผ่าตัดที่ติดตั้งเครื่องเอกซเรย์หลอดเลือด แบบ 2 ระนาบ ทำให้เห็นภาพ ให้เห็นภาพเอกซเรย์ที่มีความคมชัดสูง สามารถเห็นภาพ 2 ระนาบในครั้งเดียว ช่วยให้แพทย์สามารถผ่าตัดรักษาโรคหลอดเลือดที่มีความซับซ้อนทุกประเภทได้อย่างมีประสิทธิภาพ
• ห้องพักผู้ป่วยหนักระบบประสาทออกแบบห้องโดยเน้นการจัดสิ่งแวดล้อมเพื่อให้เกิดความปลอดภัยสูงสุด ประกอบด้วยห้องพักทั้งหมด 10 ห้อง พร้อมด้วยเครื่องติดตามการทำงานของหัวใจของผู้ป่วยแต่ละราย (patient monitor) ที่เชื่อมโยงกับเครื่องศูนย์กลางติดตามการทำงานของหัวใจ (central monitor) เพื่อให้พยาบาลประจำห้องฉุกเฉินสามารถเฝ้าระวังอาการของผู้ป่วยหนักได้อย่างทั่วถึง
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์โรคระบบประสาท โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ ชั้น 19 อาคาร A หรือ โทร. 02 011 3994-5