สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น เปิดคณะใหม่แกะกล่อง ‘คณะสื่อสารสากล’ (Faculty of Global Communication) ชูจุดเด่นด้าน Multi-language หลักสูตรสมัยใหม่ที่เอาภาษาเป็นแกนกลาง และมีวิชาต่างๆ เพิ่มเติม ทั้งเทคโนโลยี การบริหารธุรกิจ และวัฒนธรรมสมัยใหม่ หวังสร้างบัณฑิตให้มีความเป็นเลิศทางด้านภาษาญี่ปุ่นและภาษาสากลมากยิ่งขึ้น
จุดเริ่มต้น ความเป็นมา รวมถึงเป้าหมายหลักของการจัดตั้งคณะสื่อสารสากล
รศ.รังสรรค์ เลิศในสัตย์ อธิการบดี กล่าวถึงที่ไปที่มาว่า “ที่ผ่านมาสำนักวิชาภาษาพื้นฐานเป็นหน่วยงานที่มีบทบาทสูง เพราะนักศึกษาของ TNI ต้องเรียนภาษาญี่ปุ่นทุกคน จึงมองเห็นโอกาสที่จะเพิ่มศักยภาพให้กับคณาจารย์ของสำนักภาษาฯ และทางสถาบันเองก็มองว่าถึงเวลาแล้วที่จะต้องสร้างคณะใหม่ ที่จะเป็นคณะทางด้านภาษาบวกกับสังคมศาสตร์ แต่ยังคงภาพลักษณ์ความเป็นเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่นอย่างชัดเจน
อีกประการหนึ่งจุดเริ่มต้นของการเปิดคณะสื่อสารสากล (Faculty of Global Communication) นั้น มองว่าทักษะทางด้านภาษาจะเป็น New Trend หรือหลักสูตรสมัยใหม่ ที่เอาภาษาเป็นแกนกลาง และมีวิชาต่างๆ เพิ่มเติมเข้าไปด้วย นอกจากการสื่อสารด้วยภาษา ยังควบคู่ไปด้วยเทคโนโลยี การบริหารธุรกิจ และวัฒนธรรมของประเทศนั้นๆ ที่จะช่วยให้ผู้เรียนมีทักษะทางด้านภาษาที่เข้มข้น และยังรอบรู้เกี่ยวกับวัฒนธรรม ความเป็นมาอย่างลึกซึ้งอีกด้วย”
ปัจจัยที่คณะสื่อสารสากลของไทย-ญี่ปุ่น จะสามารถแข่งขันกับมหาลัยวิทยาลัยอื่นๆ ได้อย่างไร
รศ.รังสรรค์ อธิบายเพิ่มเติมว่า “ความโดดเด่นของเรา คือการเรียน 3 ภาษา ทั้งหลักสูตรไทยและหลักสูตรนานาชาติ ที่นักศึกษาต้องเรียนภาษาญี่ปุ่น การเปิดคณะสื่อสารสากล จะช่วยให้ผู้เรียนได้เรียนมากกว่า อักษรศาสตร์ หรือสังคมศาสตร์เพียงอย่างเดียว เพราะจะได้ทักษะการสื่อสารด้านภาษาต่างๆ เช่น ญี่ปุ่น จีน เกาหลี ฝรั่งเศส เยอรมันและรัสเซีย ควบคู่กับองค์ความรู้แขนงอื่นๆ ที่เพิ่มเติมเข้ามา ยกตัวอย่างเช่น
ในปีนี้คณะสื่อสารสากลได้เปิดสาขา JIB (Japanese for International Business) หรือภาษาญี่ปุ่นเพื่อธุรกิจระหว่างประเทศ เพื่อนำร่องในการผสมผสานทักษะทางด้านภาษา การเรียนรู้วัฒนธรรมสมัยใหม่ ผนวกเข้ากับการบริหารธุรกิจระหว่างประเทศ และเทคโนโลยีใหม่ๆ นักศึกษาจะได้เรียนภาษาญี่ปุ่นที่เข้มข้นตั้งแต่พื้นฐานจนถึงระดับสูง 70% จากอาจารย์เจ้าของภาษา และวิชาด้านบริหารธุรกิจอีก 30% โดยมุ่งหวังให้ผู้เรียนมีความรู้ความสามารถหลากหลาย (Multi-Skills) สามารถทำงานได้ครอบคลุมหลายด้าน นอกเหนือจากการเป็นล่ามแล้ว ยังสามารถทำงานในหน่วยงานธุรกิจระหว่างประเทศและศึกษาต่อด้านบริหารธุรกิจได้”
ความโดดเด่นของคณะสื่อสารสากล ที่นักเรียน ม. ปลายมองว่าเป็นโอกาสที่ต้องคว้า จนตัดสินใจเลือกเรียนที่ไทย-ญี่ปุ่น
“สำหรับนักเรียนที่เรียนศิลป์-ภาษาอยู่แล้ว และสนใจในภาษาญี่ปุ่น รวมถึงมีความต้องการไปศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยในประเทศญี่ปุ่น หรืออยากทำงานกับบริษัทสัญชาติญี่ปุ่นทั้งในไทยและในประเทศญี่ปุ่น สาขา JIB (Japanese for International Business) หรือภาษาญี่ปุ่นเพื่อธุรกิจระหว่างประเทศ จะเป็นเส้นทางที่ช่วยตอบโจทย์ความต้องการได้อย่างดียิ่ง เพราะนอกจากเรียนภาษาญี่ปุ่นที่เข้มข้นแล้ว ยังมีการเรียนรู้เรียนบริหารธุรกิจระหว่างประเทศด้วย”
ไม่เพียงเท่านี้ด้วยความสัมพันธ์อันดีระหว่าง TNI และประเทศญี่ปุ่น เราพร้อมสนับสนุนให้นักศึกษามีโอกาสได้ไปแลกเปลี่ยน เรียนต่อ ฝึกงาน และทำงานในประเทศญี่ปุ่น ในรูปแบบการเป็นนักศึกษาแลกเปลี่ยนระยะสั้นและระยะยาวกับมหาวิทยาลัยพันธมิตร (MOU) กว่า 80 แห่ง ทั้งการเรียนภาษาและวัฒนธรรมญี่ปุ่นระยะสั้นและระยะยาวที่ประเทศญี่ปุ่น การศึกษาต่อในระดับปริญญาโทในมหาวิทยาลัยที่มี MOU ร่วมกับสถาบัน การไปทัศนศึกษา หรือดูงาน การฝึกงานที่บริษัทในประเทศญี่ปุ่น ซึ่งตรงนี้จะช่วยเปิดโอกาสเข้าสู่การทำงานในบริษัทสัญชาติญี่ปุ่นทั้งในไทยและในญี่ปุ่น หลังจบการศึกษาได้ทันที
จากความโดดเด่นนี้ มองว่าผลลัพธ์หรือการตอบรับจากนักเรียน และผู้ปกครองจะเป็นอย่างไร
“ด้วยจุดแข็งและความโดดเด่นทางด้านภาษาญี่ปุ่นนี้ ผนึกกับความร่วมมืออันเหนียวแน่นระหว่าง TNI กับญี่ปุ่น ทำให้เรากล้าพูดได้ว่า หลักสูตร JIB มีความแตกต่างจากที่อื่นๆ แน่นอน แต่ในปีแรกนี้คาดว่าหลักสูตรนี้จะเป็นที่สนใจและได้รับการตอบรับจากกลุ่มนักเรียนที่อยากมีความเป็นเลิศทางภาษาญี่ปุ่น เมื่อได้รับการตอบรับที่ดีจะค่อยๆ พัฒนาไปสู่ภาษาอื่นๆ ในอนาคตด้วย” รศ.รังสรรค์ กล่าว
จุดเริ่มต้น ความเป็นมา รวมถึงเป้าหมายหลักของการจัดตั้งคณะสื่อสารสากล
รศ.รังสรรค์ เลิศในสัตย์ อธิการบดี กล่าวถึงที่ไปที่มาว่า “ที่ผ่านมาสำนักวิชาภาษาพื้นฐานเป็นหน่วยงานที่มีบทบาทสูง เพราะนักศึกษาของ TNI ต้องเรียนภาษาญี่ปุ่นทุกคน จึงมองเห็นโอกาสที่จะเพิ่มศักยภาพให้กับคณาจารย์ของสำนักภาษาฯ และทางสถาบันเองก็มองว่าถึงเวลาแล้วที่จะต้องสร้างคณะใหม่ ที่จะเป็นคณะทางด้านภาษาบวกกับสังคมศาสตร์ แต่ยังคงภาพลักษณ์ความเป็นเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่นอย่างชัดเจน
อีกประการหนึ่งจุดเริ่มต้นของการเปิดคณะสื่อสารสากล (Faculty of Global Communication) นั้น มองว่าทักษะทางด้านภาษาจะเป็น New Trend หรือหลักสูตรสมัยใหม่ ที่เอาภาษาเป็นแกนกลาง และมีวิชาต่างๆ เพิ่มเติมเข้าไปด้วย นอกจากการสื่อสารด้วยภาษา ยังควบคู่ไปด้วยเทคโนโลยี การบริหารธุรกิจ และวัฒนธรรมของประเทศนั้นๆ ที่จะช่วยให้ผู้เรียนมีทักษะทางด้านภาษาที่เข้มข้น และยังรอบรู้เกี่ยวกับวัฒนธรรม ความเป็นมาอย่างลึกซึ้งอีกด้วย”
ปัจจัยที่คณะสื่อสารสากลของไทย-ญี่ปุ่น จะสามารถแข่งขันกับมหาลัยวิทยาลัยอื่นๆ ได้อย่างไร
รศ.รังสรรค์ อธิบายเพิ่มเติมว่า “ความโดดเด่นของเรา คือการเรียน 3 ภาษา ทั้งหลักสูตรไทยและหลักสูตรนานาชาติ ที่นักศึกษาต้องเรียนภาษาญี่ปุ่น การเปิดคณะสื่อสารสากล จะช่วยให้ผู้เรียนได้เรียนมากกว่า อักษรศาสตร์ หรือสังคมศาสตร์เพียงอย่างเดียว เพราะจะได้ทักษะการสื่อสารด้านภาษาต่างๆ เช่น ญี่ปุ่น จีน เกาหลี ฝรั่งเศส เยอรมันและรัสเซีย ควบคู่กับองค์ความรู้แขนงอื่นๆ ที่เพิ่มเติมเข้ามา ยกตัวอย่างเช่น
ในปีนี้คณะสื่อสารสากลได้เปิดสาขา JIB (Japanese for International Business) หรือภาษาญี่ปุ่นเพื่อธุรกิจระหว่างประเทศ เพื่อนำร่องในการผสมผสานทักษะทางด้านภาษา การเรียนรู้วัฒนธรรมสมัยใหม่ ผนวกเข้ากับการบริหารธุรกิจระหว่างประเทศ และเทคโนโลยีใหม่ๆ นักศึกษาจะได้เรียนภาษาญี่ปุ่นที่เข้มข้นตั้งแต่พื้นฐานจนถึงระดับสูง 70% จากอาจารย์เจ้าของภาษา และวิชาด้านบริหารธุรกิจอีก 30% โดยมุ่งหวังให้ผู้เรียนมีความรู้ความสามารถหลากหลาย (Multi-Skills) สามารถทำงานได้ครอบคลุมหลายด้าน นอกเหนือจากการเป็นล่ามแล้ว ยังสามารถทำงานในหน่วยงานธุรกิจระหว่างประเทศและศึกษาต่อด้านบริหารธุรกิจได้”
ความโดดเด่นของคณะสื่อสารสากล ที่นักเรียน ม. ปลายมองว่าเป็นโอกาสที่ต้องคว้า จนตัดสินใจเลือกเรียนที่ไทย-ญี่ปุ่น
“สำหรับนักเรียนที่เรียนศิลป์-ภาษาอยู่แล้ว และสนใจในภาษาญี่ปุ่น รวมถึงมีความต้องการไปศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยในประเทศญี่ปุ่น หรืออยากทำงานกับบริษัทสัญชาติญี่ปุ่นทั้งในไทยและในประเทศญี่ปุ่น สาขา JIB (Japanese for International Business) หรือภาษาญี่ปุ่นเพื่อธุรกิจระหว่างประเทศ จะเป็นเส้นทางที่ช่วยตอบโจทย์ความต้องการได้อย่างดียิ่ง เพราะนอกจากเรียนภาษาญี่ปุ่นที่เข้มข้นแล้ว ยังมีการเรียนรู้เรียนบริหารธุรกิจระหว่างประเทศด้วย”
ไม่เพียงเท่านี้ด้วยความสัมพันธ์อันดีระหว่าง TNI และประเทศญี่ปุ่น เราพร้อมสนับสนุนให้นักศึกษามีโอกาสได้ไปแลกเปลี่ยน เรียนต่อ ฝึกงาน และทำงานในประเทศญี่ปุ่น ในรูปแบบการเป็นนักศึกษาแลกเปลี่ยนระยะสั้นและระยะยาวกับมหาวิทยาลัยพันธมิตร (MOU) กว่า 80 แห่ง ทั้งการเรียนภาษาและวัฒนธรรมญี่ปุ่นระยะสั้นและระยะยาวที่ประเทศญี่ปุ่น การศึกษาต่อในระดับปริญญาโทในมหาวิทยาลัยที่มี MOU ร่วมกับสถาบัน การไปทัศนศึกษา หรือดูงาน การฝึกงานที่บริษัทในประเทศญี่ปุ่น ซึ่งตรงนี้จะช่วยเปิดโอกาสเข้าสู่การทำงานในบริษัทสัญชาติญี่ปุ่นทั้งในไทยและในญี่ปุ่น หลังจบการศึกษาได้ทันที
จากความโดดเด่นนี้ มองว่าผลลัพธ์หรือการตอบรับจากนักเรียน และผู้ปกครองจะเป็นอย่างไร
“ด้วยจุดแข็งและความโดดเด่นทางด้านภาษาญี่ปุ่นนี้ ผนึกกับความร่วมมืออันเหนียวแน่นระหว่าง TNI กับญี่ปุ่น ทำให้เรากล้าพูดได้ว่า หลักสูตร JIB มีความแตกต่างจากที่อื่นๆ แน่นอน แต่ในปีแรกนี้คาดว่าหลักสูตรนี้จะเป็นที่สนใจและได้รับการตอบรับจากกลุ่มนักเรียนที่อยากมีความเป็นเลิศทางภาษาญี่ปุ่น เมื่อได้รับการตอบรับที่ดีจะค่อยๆ พัฒนาไปสู่ภาษาอื่นๆ ในอนาคตด้วย” รศ.รังสรรค์ กล่าว