มีคนไทยจำนวนมากที่ไม่เคยตรวจสุขภาพหรือให้ความสำคัญกับสุขภาพร่างกายอย่างจริงจัง จนไม่รู้ตัวว่ามีภาวะโรคอะไรซ่อนตัวอยู่ในร่างกายบ้าง รวมถึงโรคที่คนคิดไม่ถึงอย่างโรคภาวะกระดูกบางและโรคกระดูกพรุนนั้น ที่มีคนจำนวนมากไม่รู้ตัวว่าอยู่ในภาวะร่างกายขาดแคลเซียม ไม่เพียงแต่ในเฉพาะผู้สูงอายุ วัยรุ่นที่ยังอายุน้อยก็ประสบกับภาวะโรคกระดูกบางและโรคกระดูกพรุนกันอยู่ไม่น้อยเลย
เรามาทำความรู้จักโรคกระดูกบางและโรคกระดูกพรุนกันก่อนว่า ภาวะกระดูกพรุนเกิดจากการที่ร่างกายขาดแคลเซียม ซึ่งแคลเซียมมีในร่างกายมากถึง 55% และ 98% ของแคลเซียมในร่างกายจะอยู่ในกระดูกและฟัน ร่างกายไม่สามารถสร้างแคลเซียมเองไม่ได้ ต้องได้มาจากการรับประทานอาหาร เพื่อใช้ในการเสริมสร้างกระดูกและฟัน เมื่อร่างกายได้รับแคลเซียมไม่เพียงพอ ก็จะดึงแคลเซียมที่สะสมไว้ในกระดูกออกมาใช้ ทำให้กระดูกบาง เปราะ และพรุนได้ง่าย มีโอกาสที่จะเกิดโรคกระดุกพรุนได้สูงขึ้น พบมากในผู้ที่รับประทานอาหารไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย นอกจากนี้แคลเซียมยังมีส่วนช่วยในการทำงานของกล้ามเนื้อและระบบประสาทด้วย
เมื่อเป็นโรคกระดูกพรุนผู้ป่วยจะมีอาการ ปวดหลัง กระดูกสันหลังยุบตัวลง หลังค่อม ตัวเตี้ยลง กระดูกแขนขาเปราะบางและแตกหักง่าย ในผู้ป่วยบางรายอาจมีปัญหาถึงขั้นพิการเดินไม่ได้ จากปัญหากระดูกสะโพก กระดูกสันหลัง
นพ. สุชาติ เลาบริพัตร แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านเวชศาสตร์ป้องกันและเวชศาสตร์ชะลอวัย ทั้งภาวะกระดูกบางและกระดูกพรุน เป็นภาวะที่เนื้อกระดูกบางลงมากกว่าคนทั่ว ๆ ไป ซึ่งเกิดจากการสร้างกระดูกน้อยลง หรือมีการทำลายกระดูกมากขึ้น ทำให้มีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคกระดุกพรุนได้ง่าย โดยเฉพาะบริเวณสันหลัง กระดูกสะโพก และกระดูกข้อมือ ทั้งภาวะกระดูกบางและกระดูกพรุนเป็นภาวะที่ไม่แสดงอาการใด ๆ ออกมาให้เห็นล่วงหน้าได้เลย จะทราบก็ต่อเมื่อ พบว่าตนเองกระดูกหัก หรือกระดูกยุบตัวเสียก่อน”
“เคสตัวอย่างจริงของผู้ป่วยที่อายุยังน้อย ผู้ป่วยหญิงอายุเพียง 27 ปี มีสุขภาพร่างกาย สมบูรณ์แข็งแรงดี บาดเจ็บจากการวิ่งด้วยเท้าเปล่าแล้วหกล้ม เป็นผลให้กระดูกที่ยึดข้อเท้าไว้หักทั้ง 2 ชิ้น เนื่องจากผู้ป่วยมีภาวะกระดูกบางจึงทำให้เกิดการบาดเจ็บค่อนข้างรุนแรง ในกรณีนี้หากเป็นผู้ที่มีกระดูกแข็งแรงก็จะได้รับบาดเจ็บเล้กน้อยเพียงแค่ข้อเท้าแพลง เท่านั้น”
“ในเคสนี้เราพบผู้ป่วยภาวะกระดูกบางและกระดูกพรุนในวัยหนุ่ม สาวที่อายุยังน้อย แต่ถ้าเป็นโรคกระดูกพรุนที่มักจะพบในผู้สูงอายุ อาการจะหนักและรุนแรงกว่านี้ เพราะผู้สูงอายุกระดูกจะเปราะบางมาก เมื่อล้มเบา ๆ ก็อาจจะทำให้กระดูกชิ้นใหญ่ ๆ แตกหรือหักได้ โดยเฉพาะที่ข้อสะโพก หรืออาจทำให้เกิดการยุบตัวของกระดูกสันหลัง จนหลังค่อมได้ ซึ่งถือว่าอันตรายมาก ๆ” คุณหมอสุชาติ กล่าวทิ้งท้าย
ดังนั้น เมื่อหากไม่มีอาการใด ๆ ของโรคกระดูกพรุน หรือกระดูกบางแสดงออกมา การตรวจวัดความหนาแน่นของมวลกระดูกจึงมีความจำเป็นในบุคคลที่มีความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะดูกบางหรือโรคกระดูกพรุน โดยภาวะของโรคมักจะเริ่มต้นมาจาก การใช้ชีวิตในวัยรุ่น หนุ่ม สาว ที่ขาดการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ มีน้ำหนักตัวที่มากเกินมาตรฐานปกติ ไลฟ์สไตล์ที่มีการสูบหรี่จัด การดื่มสุรา ชา กาแฟ ตลอดจนการพักผ่อนที่ไม่เพียงพอที่ทำให้เสี่ยงเป็นกระดูกพรุนก่อนวัยอันควร รวมถึงการบริโภคอาหารที่มีแคลเซียมสูงไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย เรามีความจำเป็นต้องเสริมแคลเซียมเพิ่มให้กับร่างกายให้เพียงพอ
คุณหมอสุพจน์ สัมฤทธิ์วณิชชา ประธานกรรมการบริหาร บริษัท ยันฮี วิตามิน วอเตอร์ จำกัด และกรรมการผู้จัดการ บริษัท โอสถสภา ยันอี เบฟเวอเรจ ได้แนะวิธีการเลือกเสริม calcium ให้เหมาะสมกับคนทุกเพศ ทุกวัย ด้วยเครื่องดื่มวิตามินแคลเซียมในรูปแบบน้ำที่นอกจากจะได้แคลเซียมถึง 200 มิลลิกรัม ร่างกายสามารถดูดซึมไปใช้งานได้ง่าย “การดูแลร่างกายให้แข็งแรงด้วยการเสริมสร้างแคลเซียมให้กระดูกด้วย ยันฮี แคลเซียม วอเตอร์ นวัตกรรมใหม่ที่จะมาเป็นตัวช่วยเสริมสร้างแคลเซียมให้กับร่างกาย มีแร่ธาตุที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย ด้วยเทคโนโลยีการผลิตที่ได้รับการพัฒนาโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญที่ใส่ใจสุขภาพให้กับผู้บริโภค ช่วยเสริมสร้างแคลเซียมให้กับร่างกายที่อยู่ในรูปแบบของ Organic Salt นั่นก็คือ Calcium จับตัวกับ Glycerophosphate ที่เป็นสารอินทรีย์ที่ร่างกายเรามีความคุ้นเคย ซึ่งทำให้สามารถดูดซึมน้ำไปใช้ประโยชน์ได้ดีกว่า มากกว่า Calcium carbonate ถึง 4 เท่า รสชาติดีกว่าอีกทั้งยังช่วยเพิ่มความสดชื่น สามารถดื่มทดแทนน้ำเปล่าได้”
“อีกทั้งยังพบว่ามีความสามารถละลายที่ดีมากทั้งในกระเพาะอาหารและในลำไส้เล็ก เนื่องจากมีโครงสร้างเป็นแบบ Chelate’s complex structure ซึ่งมีความแข็งแรงและช่วยให้แคลเซียมไม่แตกตัวในกระเพาะอาหารที่มีสภาพเป็นกรดและสามารถผ่านเข้าสู่ลำไส้เล็กที่มีสภาพเป็นด่างได้จนถูกดูดซึมเข้ากระแสเลือด เพราะแคลเซียมในรูปแบบอื่น ๆ นั้นมักจะเกิดการแตกตัวในกระเพาะอาหารและจะตกตะกอนในลำไส้เล็กทำให้เกิดการดูดซึมที่น้อยกว่า และยังสามารถถูกดูดซึมเข้ากระดูกได้ดี เนื่องจากสัดส่วนของแคลเซียม:ฟอสฟอรัส เท่ากับ 1:3 ซึ่งเป็นสัดส่วนเดียวกันกับในกระดูก”
ฉะนั้น การดื่ม ยันฮี แคลเซียม วอเตอร์ เพื่อช่วยเสริมสร้างแคลเซียม และแร่ธาตุสำคัญ ๆ ให้กับร่างกายจึงมีส่วนช่วยให้โอกาสในการเกิดโรคกระดูกพรุน กระดูกเปราะบางก่อนวัยอันควรลดลงเพราะ 1 ขวดมีแคลเซียมสูงถึง 200 มก. และยังมีฟอสสอรัสและวิตามินบี 12 สูง ดื่มง่าย หอมกลิ่นโยเกิรต์ สดชื่นได้ทุกวัน แบบไม่มีน้ำตาล 0 แคล การบริโภคแคลเซียมให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกายนอกจากช่วยเสริมสร้างกระดูกแล้ว ยังช่วยในการทำงานของระบบกล้ามเนื้อและระบบประสาท แคลเซียมที่อยู่ในกระแสเลือดและในเซลล์มีหน้าที่ควบคุมการส่งกระแสประสาท การหดตัวของกล้ามเนื้อและการทำงานของเซลล์โดยมีฮอร์โมนสองชนิดทำหน้าที่ปรับสมดุลของแคลเซียมในกระแสเลือด
มาดูแลมวลกระดูกของเราให้แข็งแรงไปด้วยกัน เพื่อเป็นการป้องกันการเกิดภาวะโรคกระดูกบางหรือภาวะโรคกระดูกพรุนอย่างไม่รู้ตัว ตั้งแต่อายุน้อย ๆ กันดีกว่า เพราะให้ร่างกายที่แข็งแรงนี้ อยู่กับเราไปนาน ๆ