ใรงานสัมมนาวิชาการและพิธีมอบรางวัลเลิศรัฐ ประจำปี 2566 เมื่อวันที่ 7 ก.ย.ที่ผ่านมา มีนายวิษณุ เครืองาม เป็นประธานในพิธี ซึ่งภายในงานหน่วยงานภายใต้สังกัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) สามารถคว้ารางวัลเลิศรัฐรวม 33 รางวัล นอกจากนี้ ในส่วนของรางวัลเกียรติยศเลิศรัฐ ประจำปี 2566 ที่มี 3 หน่วยงานภาครัฐรับรางวัล ยังเป็นหน่วยงานใน สธ.ถึง 2 หน่วยงาน คือ สำนักงานปลัด สธ. และกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ส่วนอีกหน่วยงานคือ กรมสรรพสามิต
นพ.ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน รองปลัด สธ. เปิดเผยว่า รางวัลเกียรติยศเลิศรัฐ เป็นรางวัลที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (กพร.) มอบให้กับหน่วยงานที่มีความโดดเด่น เป็นองค์กรต้นแบบสร้างคุณค่าต่อสังคมและประเทศ สร้างสรรค์ผลงานจนมีความสำเร็จอย่างยั่งยืน ซึ่งรางวัลเกียรติยศเลิศรัฐ ที่ได้รับในครั้งนี้ เป็นรางวัลความสำเร็จและความภาคภูมิใจของบุคลากร สป.สธ.ทุกคน แสดงให้เห็นถึงผลการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐด้านสาธารณสุขที่มีมาอย่างต่อเนื่อง ด้วยความมุ่งมั่นตั้งใจและความร่วมมือร่วมใจของผู้บริหาร บุคลากรและภาคีเครือข่าย ที่ได้แสดงพลังขับเคลื่อนการพัฒนาเพื่อก้าวสู่ความเป็นเลิศในการบริหารจัดการ เพื่อประโยชน์สุขของประชาชน
สำหรับหน่วยงานสังกัด สธ.ที่ได้รับรางวัลเลิศรัฐ ได้แก่ สำนักงานปลัด สธ.ได้รับรางวัลด้านคุณภาพบริการ 11 รางวัล ได้แก่ รางวัลเลิศรัฐ สาขาบริการภาครัฐ จากผลงาน “ระบบการแพทย์ฉุกเฉินจังหวัดระยอง : หนึ่งเดียว ทุกคนเข้าถึงได้ ในนวัตกรรมและมาตรฐานเดียวกัน” โดย รพ.ระยอง และรางวัลบริการภาครัฐอีก 10 รางวัล แบ่งเป็น ประเภทพัฒนาการบริการ ระดับดีเด่น 2 รางวัล ประเภทบูรณาการข้อมูลเพื่อการบริการ ระดับดีเด่น 1 รางวัล ประเภทนวัตกรรมการบริการ ระดับดี 1 รางวัล และประเภทพัฒนาการบริการ ระดับดี 6 รางวัล
ด้าน นพ.ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตณ์การแพทย์ กล่าวว่า ปีนี้กรมฯ ได้รับรางวัลจำนวน 7 ผลงาน คือ รางวัลเกียรติยศเลิศรัฐ , รางวัลเลิศรัฐ สาขาบริการภาครัฐ ระดับดีเด่น ประเภทพัฒนาการบริการ จากการพัฒนาระบบ e-Service การตรวจวิเคราะห์ (iLab Plus) แบบเบ็ดเสร็จ ณ จุดเดียว , รางวัลเลิศรัฐ สาขาบริการภาครัฐ ระดับดี ประเภทนวัตกรรมการบริการ จากนวัตกรรมชุดตรวจดีเอ็นเออย่างง่ายกับการพัฒนาบริการการตรวจวัณโรค และเขียงมะหาดจาก 100 บาท สู่ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางสมุนไพร 100 ล้าน , รางวัลเลิศรัฐ สาขาบริการภาครัฐ ระดับดี ประเภทพัฒนาการบริการ จากความเป็นเลิศด้านการวินิจฉัยโรคดาวน์ชินโดรมสำหรับหญิงตั้งครรภ์ แบบไร้รอยต่อของประเทศไทย , รางวัลเลิศรัฐ สาขาการบริหารราชการแบบมีส่วนร่วม ระดับดี ประเภทสัมฤทธิผลประชาชนมีส่วนร่วม จากงานชุมชนต้านภัยสุขภาพ บ้านนาม่วงโมเดล และรางวัลคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ 4.0 ระดับพัฒนาจนเกิดผล
ขณะที่ นพ.ธเรศ กรัษนัยรวิวงค์ อธิบดีกรมควบคุมโรค เปิดเผยว่า กรมควบคุมโรคได้รับรางวัลเลิศรัฐระดับดีเด่น และระดับดี จำนวน 6 รางวัล ดังนี้ 1.รางวัลเลิศรัฐ สาขาบริการภาครัฐ ประเภทนวัตกรรมการบริการ (ระดับดีเด่น) จากผลงาน ต้นแบบการให้บริการดูแลรักษาผู้ป่วย Covid 19 ในภาวะวิกฤต 2.รางวัลเลิศรัฐ สาขาบริการภาครัฐ ประเภทพัฒนาการบริการ (ระดับดี) จากผลงาน สานพลังทีม พลังเครือข่าย ร่วมใจป้องกันอุบัติเหตุทางถนนของประชาชน ในเขตสุขภาพที่ 9 3.รางวัลเลิศรัฐ สาขาบริการภาครัฐ ประเภทพัฒนาการบริการ (ระดับดี) จากผลงาน ระบบการจัดเก็บข้อมูลและแสดงผลข้อมูลผู้มารับวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ (FIRST) 4.รางวัลเลิศรัฐ สาขาบริการภาครัฐ ประเภทบริการตอบโจทย์ตรงใจ (ระดับดี) จากผลงาน “Phuket Tourism Sandbox” สร้างสมดุลสุขภาพ และเศรษฐกิจสังคมของประเทศไทย 5.รางวัลเลิศรัฐ สาขาการบริหารราชการแบบมีส่วนร่วม ประเภทประสิทธิผลเครือข่าย (ระดับดีเด่น) จากผลงาน ขับเคลื่อนกลไกสนับสนุนการบริการเอชไอวีและโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ในชุมชน และ 6.รางวัลเลิศรัฐ สาขาการบริหารราชการแบบมีส่วนร่วม ประเภทสัมฤทธิผลประชาชนมีส่วนร่วม (ระดับดี) จากผลงาน มอโกรทะโมเดล : นวัตกรรมชุมชนโรคหนอนพยาธิ
ด้าน นพ.สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย อธิบดีกรมอนามัย กล่าวว่า กรมฯ ได้รับรางวัลเลิศรัฐ ประจำปี 2566 จำนวน 3 รางวัล ได้แก่ รางวัลการบริหารราชการแบบมีส่วนร่วม ระดับดีเด่น ประเภทเปิดใจใกล้ชิดประชาชน จากผลงาน "กรมอนามัยเปิดใจ ส่งเสริมประชาชนรอบรู้สุขภาพ" , รางวัลคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ 4.0 ระดับก้าวหน้า (Advance) และ รางวัลบริการภาครัฐ ระดับดี ประเภท พัฒนาการบริการ จากผลงานกรมอนามัย ศูนย์อนามัยกลุ่มชาติพันธุ์ชายขอบ และแรงงานข้ามชาติ
การพัฒนาระบบการจัดการสุขาภิบาลอาหารและน้ำบริโภคในศูนย์การเรียน ชุมชนชาวไทยภูเขา "แม่ฟ้าหลวง"