xs
xsm
sm
md
lg

สนธิ สนับสนุน ม.รังสิต เปิดหลักสูตร “บูรณาการภูมิปัญญาการจับชีพจรเพื่อวิเคราะห์โรค”

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



วิทยาลัยการแพทย์แผนตะวันออก ม.รังสิต เปิดหลักสูตร “บูรณาการภูมิปัญญาการจับชีพจรเพื่อวิเคราะห์โรค” รวมผู้เชี่ยวชาญมากที่สุดเป็นประวัติการณ์ เหมาะสำหรับผูที่ต้อวกาีการดูแลคนในครอบครัว และสัตว์เลี้ยง ตลอดจนเพิ่มศักยภาพธุรกิจเกี่ยวกับสุขภาพ สมัครได้แล้ววันนี้รับจำนวนจำกัด สมัครก่อนได้ลดราคาพิเศษ



โดยวันศุกร์ที่ 1 กันยายน 2566 นายสนธิ ลิ้มทองกุล ผู้ก่อตั้งหนังสือพิมพ์เครือผู้จัดการ ได้ประกาศสนับสนุนเชิญชวนผู้ที่สนใจเรียนหลักสูตร “บูรณาการภูมิปัญญาการจับชีพจรเพื่อวิเคราะห์โรค” ของวิทยาลัยการแพทย์แผนตะวันออก มหาวิทยาลัยรังสิต เพื่อดูแลคนในครอบครัว และเพิ่มทักษะในอาชีพด้านสุขภาพ ในรายการ คุยทุกเรื่องกับสนธิ Ep.196 วันศุกร์ที่ 30 มิถุนายน 2566 ความว่า

4 ปีก่อน เมื่อปี 2562 พอผมได้พ้นโทษออกมา ได้พบกับอาจารย์ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ ซึ่งตอนนั้นอาจารย์ปานเทพ เป็นคณบดีสถาบันแพทย์แผนบูรณาการและเวชศาสตร์ชะลอวัย มหาวิทยาลัยรังสิต ได้จับชีพจรของผมและวิเคราะห์ผมได้อย่างแม่นยำจนน่าทึ่ง รู้ว่าผมมีปัญหาการปัสสาวะขัดเป็น “ต่อมลูกหมากโต” ในตอนนั้น อาจารย์ปานเทพยังได้ปรุงยาตำรับสมุนไพรของหมอพื้นบ้านให้ผมจนหายจากโรคต่อมลูกหมากโตใน 1 เดือน


ผ่านไป 4 ปี อาจารย์ปานเทพ ก็ได้สั่งสมประสบการณ์มากขึ้น โดยเมื่อเดือน กรกฎาคม ปีนี้ อาจารย์ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ ได้ถูกแต่งตั้งเป็นคณบดี วิทยาลัยการแพทย์แผนตะวันออก มหาวิทยาลัยรังสิต ก็ได้ทำในสิ่งที่ผมคิดว่าต้องสนับสนุน

เพราะอาจารย์ปานเทพได้เปิดหลักสูตรสำคัญที่จะช่วยพัฒนาวงการสุขภาพของประเทศไทย นั่นคือ

“หลักสูตรบูรณาการภูมิปัญญาการจับชีพจรเพื่อวิเคราะห์โรค” ซึ่งถือเป็นหลักสูตรในมหาวิทยาลัยแห่งแรกที่นอกจากจะทำการฟื้นฟูและพัฒนาภูมิปัญญา “การจับชีพจร” ที่เกือบจะสูญหายไปในวงการแพทย์แผนไทยแล้ว

อาจารย์ปานเทพ ยังจะทำให้การจับชีพจรเพื่อวิเคราะห์โรค พัฒนาเป็นบูรณาการศาสตร์และการเปรียบเทียบ ทั้งการแพทย์แผนจีน แพทย์อายุรเวทอินเดีย แพทย์แผนไทย แพทย์แผนปัจจุบัน

และยังแถมความรู้การจับชีพจรในสัตว์เลี้ยงด้วย ซึ่งไม่เคยมีมหาวิทยาลัยใดเคยทำมาก่อน

โดยแรงบันดาลใจของ อาจารย์ปานเทพ มาจากรากฐานทางประวัติศาสตร์ของประเทศไทยเอง

โดย​ย้อนกลับไปเมื่อ 336 ปีก่อน พ.ศ. 2230 ตรงกับสมัยอยุธยา ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ได้ปรากฏในบันทึกจดหมายเหตุของ ซีมง เดอ ลา ลูแบร์ ซึ่งเป็น ราชทูตพิเศษ ของพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ประเทศฝรั่งเศส ซึ่งได้เดินทางมาเข้าเฝ้าสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ว่า

ซึมง เดอ ลา ลูแบร์ ราชทูตพิเศษจากฝรั่งเศสไม่ค่อยสบาย สมเด็จพระนารายณ์มหาราชจึงได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทาน “คณะหมอหลวง” ซึ่งมีองค์ประกอบไปด้วย หมอสยาม หมอรามัญ และ หมอจีน “ผลัดกันตรวจจับชีพจร” แล้วร่วมกันวินิจฉัยและจ่ายยาต้มให้

ท่านผู้ชมลองคิดดูนะครับ หมอสยาม หมอรามัญ และหมอจีน คณะหมอเหล่านี้สามารถบูรณาการภูมิปัญญาด้วยการสื่อสารวิเคราะห์โรคด้วยการ จับชีพจร 3 นิ้วบนข้อมือเหมือนกันในตำแหน่งเดียวกันด้วย

หมอเหล่านี้สามารถร่วมกันทำงานบูรณาการกันได้ในฐานะที่เป็นภูมิปัญญาการแพทย์แผนตะวันออกเหมือนกัน และมีการเชื่อมโยงโอนถ่ายความรู้ระบบการแพทย์ที่ได้รับอิทธิพลจากพุทธศาสนาตามพระไตรปิฎกเหมือนกัน


ท่านผู้ชมทราบไหมครับ เดี๋ยวนี้พอผ่านไป 336 ปี แพทย์แผนไทย แพทย์แผนจีน แพทย์อายุรเวทอินเดีย กลับคุยกันไม่รู้เรื่อง เพราะเราแบ่งแยกด้วยกฎหมาย “ใบประกอบวิชาชีพ” ให้แยกขาดออกจากกัน ไม่บูรณาการภูมิปัญญาตะวันออกเข้าด้วยกันเพื่อประโยชน์ของคนไข้เหมือนกับสมัยอยุธยา

น่าเสียดายไปกว่านั้น คือ เดี๋ยวนี้ แพทย์แผนไทย ส่วนใหญ่ จับชีพจรกันไม่เป็นแล้ว เพราะไม่มีการศึกษาอย่างเป็นระบบในมหาวิทยาลัย

เพราะความรู้ตามตระกูลหมอยาไทยก็ค่อยๆสูญหายไป ที่ยังคงมีอยู่ก็หวงวิชาเอาไว้กับครอบครัวและก็ค่อยๆสูญหายไปเช่นกัน

คงเหลือแต่แพทย์แผนจีนที่ยังคงสืบทอดและพัฒนาอย่างเป็นระบบ ส่วนการแพทย์อายุรเวทอินเดียก็ไม่มีกฎหมายรองรับในประเทศไทย

อาจารย์ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ ในฐานะคณบดี จึงให้นโยบายกับวิทยาลัยการแพทย์แผนตะวันออก มหาวิทยาลัยรังสิต เปิดหลักสูตร บูรณาการภูมิปัญญาการจับชีพจรวิเคราะห์โรค ที่ไม่เพียงแต่จะศึกษาการจับชีพจรของหลายศาสตร์

เช่น การแพทย์แผนไทย การแพทย์แผนจีน การแพทย์อายุรเวทอินเดีย การแพทย์แผนปัจจุบัน การแพทย์ทางเลือก และสัตวแพทย์ แต่หลักสูตรนี้จะต้องสามารถบูรณาการและเปรียบเทียบข้ามศาสตร์กันได้ด้วย


ที่อาจารย์ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ จะทำสำเร็จได้ ก็เพราะวิทยาลัยการแพทย์แผนตะวันออก มหาวิทยาลัยรังสิต ได้รวบรวมอาจารย์และผู้บรรยายที่มีความรู้ข้ามศาสตร์และมีประสบการณ์ในการจับชีพจรอย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อนในวงการสุขภาพไทยมารวมตัวกันในหลักสูตรนี้ ตัวอย่างเช่น

อาจารย์ศัลยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญผ่าตัดเส้นประสาทที่เป็นแพทย์แผนไทยในคนเดียวกัน

อาจารย์แพทย์แผนปัจจุบันที่เป็นแพทย์แผนจีนในคนเดียวกัน

อาจารย์แพทย์แผนปัจจุบันที่จบจากเยอรมันซึ่งได้ขึ้นชื่อว่าเป็นประเทศที่มีการแพทย์ทางเลือกที่ก้าวหน้าที่สุดในโลกตะวันตก

อาจารย์แพทย์แผนไทยประยุกต์ที่จบการศึกษาการแพทย์จากอินเดียในคนเดียวกัน

อาจารย์ที่เป็นแพทย์แผนไทยและเป็นแพทย์แผนจีนในคนเดียวกัน

อาจารย์ที่เป็นนายสัตวแพทย์ที่เป็นแพทย์แผนจีนในคนเดียวกัน


นอกจากนั้นอาจารย์ปานเทพ ยังจะให้มีการบรรยายประสบการณ์ตรงทางคลินิก รวมถึงการบรรยายของแพทย์แผนไทยดีเด่นประจำเขตสุขภาพบางท่านที่ยังสามารถสืบทอดภูมิปัญญาการจับชีพจรจากบรรพบุรุษมาได้

ผมยืนยันเลยว่าหลักสูตรรวมผู้เชี่ยวชาญขนาดนี้ไม่เคยมีใครทำได้มาก่อน ถ้าไม่ใช่วิทยาลัยการแพทย์แผนตะวันออก มหาวิทยาลัยรังสิต เป็นคนจัดทำขึ้น

หลักสูตรนี้ไม่จำกัดเฉพาะวงการแพทย์ตามใบประกอบวิชาชีพที่ต้องการบูรณาการข้ามศาสตร์กันเท่านั้น แต่ยังเปิดโอกาสให้คนธรรมดาที่ไม่เคยมีพื้นฐานทางการแพทย์​ได้เรียนด้วย

ซึ่งจะเหมาะกับการพัฒนาศักยภาพของคนที่ต้องการดูแลสุขภาพตัวเองและคนในครอบครัว

หรือคนที่ทำธุรกิจเกี่ยวกับสุขภาพทั้งหมดที่ต้องการพัฒนา เพิ่มศักยภาพของตัวเอง เช่น ผู้ประกอบการเวลเนส ผู้ประกอบการโรงแรมเพื่อสุขภาพ พยาบาล นักการตลาดและนักขายผลิตภัณฑ์สมุนไพรเพื่อสุขภาพ เภสัชกร นักการตลาดและนักขายในสถานบริการสุขภาพ ผู้ประกอบการศูนย์ดูแลผู้สูงวัย และรวมถึงผู้ขายประกันสุขภาพและประกันชีวิต

หลักสูตรนี้เริ่มเปิดรับสมัครตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2566 คือวันนี้ เป็นวันแรก และจะปิดรับสมัครวันศุกร์ที่ 6 ตุลาคม 2566 และเริ่มเรียนทุกวันศุกร์เต็มวันตั้งแต่วันที่ 20 ตุลาคม 2566 รวม 11 สัปดาห์ สิ้นสุดการเรียนประมาณต้นเดือนกุมภาพันธ์ 2567

หลักสูตรนี้มีค่าเรียนทั้งสิ้น 64,000 บาทต่อคน แต่ถ้าสมัครก่อนวันนี้ถึงวันที่ 22 กันยายน 2566 จะได้ลดราคาพิเศษเหลือเพียง 48,000 บาท แต่เนื่องจากเป็นหลักสูตรเชิงปฏิบัติการ ดังนั้นจึงรับได้อย่างจำกัดใครมาก่อนก็จะได้ก่อน ถ้าเต็มก็จะปิดรับสมัครก่อนเวลาเช่นกัน

สนใจติดต่อได้ที่วิทยาลัยการแพทย์แผนตะวันออก มหาวิทยาลัยรังสิต ติดต่อได้ที่หมายเลขโทรศัพท์ 061-950-6666 และเพิ่มเพื่อนใน Line เบอร์เดียวกัน




กำลังโหลดความคิดเห็น