วิทยาลัยการแพทย์แผนตะวันออก มหาวิทยาลัยรังสิต เปิดหลักสูตรบูรณาการภูมิปัญญาการจับชีพจรเพื่อวิเคราะห์โรค รวมผู้เชี่ยวชาญมากที่สุดเป็นประวัติการณ์
วันนี้(1 ก.ย.) นายปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ คณบดีวิทยาลัยการแพทย์แผนตะวันออก มหาวิทยาลัยรังสิต โพสต์ข้อความในเฟซบุ๊ก ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ เกี่ยวกับหลักสูตรบูรณาการภูมิปัญญาการจับชีพจรเพื่อวิเคราะห์โรค มีรายละเอียดดังนี้
หลักสูตรล่าสุดของวิทยาลัยการแพทย์แผนตะวันออก มหาวิทยาลัยรังสิต ชื่อ “หลักสูตร บูรณาการภูมิปัญญาการจับชีพจรเพื่อวิเคราะห์โรค” เหมาะกับผู้ที่สนใจในแพทย์บูรณาการและสุขภาพองค์รวม ประชาชนทั่วไปที่สนใจด้านสุขภาพเพื่อประโยชน์ของตนเองและครอบครัว
นอกจากนั้นยังรวมถึงผู้ทำธุรกิจด้านสุขภาพหลายมิติ เช่น การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ เพิ่มศักยภาพของตัวเอง ผู้ประกอบการเวลเนส ผู้ประกอบการโรงแรมเพื่อสุขภาพ พยาบาล นักการตลาดและนักขายผลิตภัณฑ์สมุนไพรเพื่อสุขภาพ เภสัชกร นักการตลาดและนักการขายในสถานบริการสุขภาพ ผู้ประกอบการศูนย์ดูแลผู้สูงวัย และรวมถึงผู้ขายประกันสุขภาพและประกันชีวิต
และยังรวมถึงการจับชีพจรวิเคราะห์โรคสัตว์เลี้ยงในบ้านด้วย !!!
โดยจากบันทึกในจดหมายเหตุ ซีมง เดอ ลา ลูแบร์ ราชทูตพิเศษ ของพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ประเทศฝรั่งเศส เป็นเอกสารสำคัญทางประวัติศาสตร์สมัยอยุธยาเมื่อ 336 ปีก่อน (พ.ศ. 2230) โดยได้บันทึกเรื่องราวเกี่ยวกับสยามในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช
จดหมายเหตุของ ซีมง เดอ ลา ลูแบร์ ได้บันทึกเอาไว้ความตอนหนึ่งว่า เมื่อสมเด็จพระนาราณ์มหาราชทรงทราบว่า ซีมง เดอ ลา ลูแบร์ “ไม่ค่อยสบาย” จึงได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทาน “คณะหมอหลวง” ซึ่งมีองค์ประกอบไปด้วย “หมอสยาม หมอรามัญ และหมอจีน” เพื่อมาตรวจวินิจฉัยและรักษาบุคคลสำคัญระดับราชทูตพิเศษ ของพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ประเทศฝรั่งเศส
โดย ซีมง เดอ ลา ลูแบร์ ได้บันทึกในจดหมายเหตุเอาไว้ว่า คณะหมอหลวงในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ดังกล่าวได้เข้ามา “ผลัดกันจับชีพจร”[1]
จากบันทึกดังกล่าวสะท้อนความจริงให้เห็นถึง 2 ประการว่า
ประการแรก สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ทรงมีความมั่นพระราชหฤทัยในหมอแพทย์แผนตะวันออกว่าจะสามารถรักษาบุคคลสำคัญระดับราชทูตพิเศษของพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แห่งฝรั่งเศสได้ดีกว่า โดยไม่ได้พระราชทานหมอหลวงที่เป็นหมอฝรั่งเศสแต่ประการใด
ประการที่สอง แสดงให้เห็นว่า แม้จะเป็น “คณะหมอหลวงที่มีความรู้ต่างภูมิปัญญากัน” คือหมอสยาม หมอรามัญ และหมอจีน แต่ก็สามารถบูรณาการการรักษาด้วยกันได้ และสามารถสื่อสารภูมิปัญญากันได้ด้วยการ “ผลัดกันจับชีพจร”
สาเหตุที่ภูมิปัญญาของที่มาต่างชาติต่างกันแต่สามารถบูรณาการกันได้นั้น ศาสตราจารย์นายแพทย์เสม พริ้งพวงแก้ว อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขนายแพทย์ผู้บุกเบิกการแพทย์ชนบท ได้เคยเขียนบทความชื่อ “วันพรุ่งนี้ของเวชปฏิบัติทั่วไป” เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2514[1] ซึ่งในบทความดังกล่าวบางตอนได้เขียนแสดงทัศนะการพหุภูมิปัญญาทางการแพทย์ของเอเชียที่บูรณาการกันได้ ความว่า…
“การแพทย์ของจีนคงจะได้มีอิทธิพลต่อการแพทย์ของไทยสมัยน่านเจ้า เพราะไทยจีนมีประวัติศาสตร์ วัฒนธรรมร่วมกันมาอย่างใกล้ชิดหลายพันปีมาแล้ว…”[2]
“…. เมื่อศาสนาพุทธแบบมหายานได้แพร่จากอาณาจักรด้านเหนือของประเทศอินเดีย อ้อมวกไปทางด้านหลังของภูเขาหิมาลัย หรือป่าหิมพานของอินเดีย สู่ประเทศธิเบตและจีนในพุทธศตวรรษที่หก และด้วยการจาริกของพระภิกษุจีนหลายรูปที่เดินทางมาสืบพระพุทธศาสนาในประเทศอินเดีย...”[2]
“…...อันพระไตรปิฎกนั้นนอกจากจะมีพระธรรมวินัยและคำสั่งสอนแล้วในหัวข้อ “เภสัชขันธกะ” พระพุทธองค์ยังได้ทรงอนุญาตให้พระภิกษุช่วยเหลือผู้เจ็บป่วยเป็นการแผ่เมตตาไปพร้อมกันอีกด้วย ยาต่างๆ ได้จัดไว้เป็นหมวดหมู่มี ขิง ข่า ว่านน้ำ บรเพ็ด ใบมะกา ใบสะเดา กานพลู ดีปลี พริกไทย สมอพิเภก มหาหิงค์ รากบัวหลวง กำยาน อบเชย ไม้จันทน์ กำมะถัน ปรอท เกลือ ธาตุปูน เหล็ก น้ำมันงา ไขมันสัตว์ น้ำผึ้ง น้ำอ้อย และเนยใส...”[2]
“…เวชปฏิบัติทั่วไปคงจะเป็นการปฏิบัติตามแบบฉบับของจีนเดิมผสมผสานกับเวชปฏิบัติของอินเดียที่แอบมากับพระไตรปิฎกดังได้กล่าวพรรณามาแล้ว…”[2]
“…เภสัชตำราก็คงจะถูกแก้ไขเพิ่มเติมไปอีกหลายพรรณได้นานาชนิด ที่อาจหาได้ตามท้องถิ่นที่ชาวไทยอพยพลงมาจากอาณาจักรน่านเจ้าลงมาทางใต้…”[2]
พอเวลาผ่านไป 336 ปี แพทย์แผนไทย แพทย์แผนจีน แพทย์อายุรเวทอินเดีย กลับคุยกันไม่รู้เรื่อง เพราะเราแบ่งแยกด้วยกฎหมาย “ใบประกอบวิชาชีพ” ให้แยกขาดออกจากกัน ไม่บูรณาการภูมิปัญญาตะวันออกเข้าด้วยกันเพื่อประโยชน์ของคนไข้เหมือนกับสมัยอยุธยา
แต่การแพทย์แผนไทย “ส่วนใหญ่” จับชีพจรกันไม่เป็นแล้ว เพราะไม่มีการศึกษาอย่างเป็นระบบในมหาวิทยาลัย ความรู้การจับชีพจรตามตระกูลหมอยาไทยก็ค่อยๆสูญหายไปตามกาลเวลาที่ไม่สามารถสืบทอดมาได้ในรุ่นหลัง
คงเหลือแต่แพทย์แผนจีนที่ยังคงสืบทอดและพัฒนาอย่างเป็นระบบ ส่วนการแพทย์อายุรเวทอินเดียก็ไม่มีกฎหมายรองรับในประเทศไทย
ด้วยเหตุผลดังกล่าว วิทยาลัยการแพทย์แผนตะวันออก มหาวิทยาลัยรังสิต เปิดหลักสูตร บูรณาการภูมิปัญญาการจับชีพจรวิเคราะห์โรค ที่ไม่เพียงแต่จะศึกษาการจับชีพจรของหลายศาสตร์
เช่น การแพทย์แผนไทย การแพทย์แผนจีน การแพทย์อายุรเวทอินเดีย การแพทย์แผนปัจจุบัน การแพทย์ทางเลือก และสัตวแพทย์ แต่หลักสูตรนี้จะต้องสามารถบูรณาการและเปรียบเทียบข้ามศาสตร์กันได้ด้วย
โดย วิทยาลัยการแพทย์แผนตะวันออก มหาวิทยาลัยรังสิต ได้รวบรวมอาจารย์และผู้บรรยายที่มีความรู้ข้ามศาสตร์และมีประสบการณ์ในการจับชีพจรอย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อนในวงการสุขภาพไทยมารวมตัวกันในหลักสูตรนี้ ตัวอย่างเช่น
อาจารย์ศัลยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญผ่าตัดเส้นประสาทที่เป็นแพทย์แผนไทยในคนเดียวกัน
อาจารย์แพทย์แผนปัจจุบันที่เป็นแพทย์แผนจีนในคนเดียวกัน
อาจารย์แพทย์แผนปัจจุบันที่จบจากเยอรมันซึ่งได้ขึ้นชื่อว่าเป็นประเทศที่มีการแพทย์ทางเลือกที่ก้าวหน้าที่สุดในโลกตะวันตก
อาจารย์แพทย์แผนไทยประยุกต์ที่จบการศึกษาการแพทย์จากอินเดียในคนเดียวกัน
อาจารย์ที่เป็นแพทย์แผนไทยและเป็นแพทย์แผนจีนในคนเดียวกัน
อาจารย์ที่เป็นนายสัตวแพทย์ที่เป็นแพทย์แผนจีนในคนเดียวกัน
นอกจากนั้นหลักสูตรดังกล่าวนี้ ยังจะให้มีการบรรยายประสบการณ์ตรงทางคลินิก รวมถึงการบรรยายของแพทย์แผนไทยดีเด่นประจำเขตสุขภาพบางท่านที่ยังสามารถสืบทอดภูมิปัญญาการจับชีพจรจากบรรพบุรุษมาได้
หลักสูตรนี้ไม่จำกัดเฉพาะวงการแพทย์ตามใบประกอบวิชาชีพที่ต้องการบูรณาการข้ามศาสตร์กันเท่านั้น แต่ยังเปิดโอกาสให้คนธรรมดาที่ไม่เคยมีพื้นฐานทางการแพทย์ได้เรียนรู้ฝึกอบรมได้ด้วย
ซึ่งจะเหมาะกับการพัฒนาศักยภาพของคนที่ต้องการดูแลสุขภาพตัวเองและคนในครอบครัว หรือคนที่ทำธุรกิจเกี่ยวกับสุขภาพทั้งหมดที่ต้องการพัฒนา เพิ่มศักยภาพของตัวเอง
หลักสูตรนี้เริ่มเปิดรับสมัครตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2566 เป็นวันแรก และจะปิดรับสมัครวันศุกร์ที่ 6 ตุลาคม 2566 และเริ่มเรียนทุกวันศุกร์เต็มวันตั้งแต่วันที่ 20 ตุลาคม 2566 รวม 11 สัปดาห์ สิ้นสุดการเรียนประมาณต้นเดือนกุมภาพันธ์ 2567
หลักสูตรนี้มีค่าเรียนทั้งสิ้น 64,000 บาทต่อคน แต่ถ้าสมัครก่อนวันนี้ถึงวันที่ 22 กันยายน 2566 จะได้ลดราคาพิเศษเหลือเพียง 48,000 บาท แต่เนื่องจากเป็นหลักสูตรเชิงปฏิบัติการ ดังนั้นจึงรับได้อย่างจำกัดใครมาก่อนก็จะได้ก่อน ถ้าเต็มก็จะปิดรับสมัครก่อนเวลาเช่นกัน
สนใจติดต่อได้ที่วิทยาลัยการแพทย์แผนตะวันออก มหาวิทยาลัยรังสิต ติดต่อได้ที่หมายเลขโทรศัพท์ 061-950-6666
ด้วยความปรารถนาดี
ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์
คณบดีวิทยาลัยการแพทย์แผนตะวันออก มหาวิทยาลัยรังสิต
1 กันยายน 2566
อ้างอิง
[1] สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร, ประชุมพงศาวดารฉบับกาญจนาภิเษก เล่ม 17 พ.ศ. 2564, ISBN 978-616-283-563-6 หน้า 160
https://www.finearts.go.th/storage/contents/2021/09/file/WFFsrm8pqYUIP5MQINrPaL36sEXxVZ2oSO0N5Dof.pdf?
[2] ส. พริ้งพวงแก้ว, วันพรุ่งนี้ของเวชปฏิบัติทั่วไป, ชมรมแพทย์เวชปฏิบัติทั่วไป ฉบับพิเศษ 20 พฤศจิกายน 2514 หน้า 33-56