xs
xsm
sm
md
lg

เตือน "ต้อหิน" ภัยเงียบทำตาบอดถาวร แนะกลุ่มเสี่ยงตรวจคัดกรอง

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



หมอเผย "ต้อหิน" เกิดจากความดันลูกตาสูง หากเป็นมาก พบแล้วไม่รักษา เสีย่งทำตาบอดถาวร ระบุต้อหินมี 2 แบบ คือมุมปิด มักมาดวยอาการปวด ตาแดง ตามัวฉับพลัน แต่หากเป็นแบบเรื้อรังหรือแบบมุมเปิดจะไม่มีอาการปวดตา เป็นภัยเงียบ เพราะมักมาระยะท้าย รักษาลานตาให้ปกติไม่ได้ แนะกลุ่มเสี่ยงตรวจคัดกรอง



เมื่อวันที่ 29 ส.ค. นพ.ณัฐพงศ์ วงศ์วิวัฒน์ รองอธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวว่า โรคต้อหินเป็นสาเหตุอันดับต้นๆ ของโลก ที่ทำให้สูญเสียการมองเห็นถาวร เป็นโรคที่มีความเสื่อมของเส้นประสาทตา และมีการสูญเสียสายตาที่มีลักษณะค่อนข้างเฉพาะตัว โดยพบว่า ความดันลูกตาที่สูงเป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญในการทำให้เกิดโรคต้อหิน เมื่อเป็นมากๆ หากไม่ทำการรักษา หรือตรวจพบแล้วแต่ทำการรักษาไม่ต่อเนื่อง ควบคุมโรคได้ไม่ดี จะสูญเสียการมองเห็นไปในที่สุด

นพ.จินดา โรจนเมธินทร์ ผอ.รพ.ราชวิถี กล่าวว่า ต้อหินสัมพันธ์กับความดันตาสูง เมื่อผู้ป่วยมีความดันตาสูง ลูกตาจะแข็ง มีลักษณะเหมือนเป็นลูกหิน คนไทยเรียกว่า "ต้อหิน" ค่าเฉลี่ยความดันลูกตาอยู่ที่ประมาณ 13-14 มิลลิเมตรปรอท ดังนั้น หากมีค่าความดันตา 21 มิลลิเมตรปรอท หรือสูงกว่าก็ถือว่าผิดปกติ ซึ่งในปัจจุบันพบว่า ผู้ป่วยที่มีความดันตาที่ไม่สูง ก็สามารถเป็นโรคต้อหินได้เช่นกัน


นพ.บุญส่ง วนิชเวชารุ่งเรือง นายแพทย์ทรงคุณวุฒิ สาขาจักษุวิทยา รพ.ราชวิถี กล่าวว่า ต้อหินมี 2 แบบ อาการของโรคใหญ่ๆ คือ ต้อหินมุมเปิดและมุมปิด ขึ้นกับว่าเป็นต้อหินชนิดไหน หากเป็นต้อหินมุมปิดเฉียบพลัน ผู้ป่วยจะมาด้วยอาการปวดตา ตาแดง ตามัวแบบฉับพลันทันที บางรายมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน และปวดหัวร่วมด้วย กลุ่มนี้มีจำนวนไม่มาก แต่กลุ่มที่พบมากมักเป็นต้อหินเรื้อรัง ส่วนกรณีเป็นมุมเปิดหรือมุมปิดเรื้อรัง ผู้ป่วยจะไม่มีอาการปวดตา แต่ระยะยาวจะมีตามัว ลานสายตาที่แคบลง ผู้ป่วยจะมาพบแพทย์ เมื่อมีอาการมัวมากๆ แล้ว เรียกว่าต้อหินประเภทนี้ว่า "ภัยเงียบ" เพราะผู้ป่วยมาหาระยะท้ายของโรค การรักษาไม่สามารถทำให้ลานสายตากลับมาปกติได้ การตรวจพบโรคในระยะแรกจะช่วยป้องกันการสูญเสีย การมองเห็นได้ โดยแนะนำให้ตรวจคัดกรองในกลุ่มเสี่ยงโรคต้อหิน เช่น ผู้ที่มีประวัติครอบครัวเป็นต้อหิน ผู้ที่มีประวัติความดันตาสูง ใช้ยาสเตียรอยด์ มีอุบัติเหตุทางตามาก่อน มีโรคประจำตัว เช่น เบาหวาน เป็นต้น


กำลังโหลดความคิดเห็น