หมอย้ำทารกแรกเกิดป่วย-คลอดก่อนกำหนด ยิ่งต้องรับนมแม่อย่างน้อย 6 เดือน มีสารสำคัญกว่า 200 ชนิด ยิ่งน้ำนมหยดแรกมี "โคลอสตรัม" จำเป็นต่อลำไส้ ลดการติดเชื้อในกระแสเลือด ลดลำไส้เน่า 50% ลดจอประสาทตาผิดปกติชนิดรุนแรง เพิ่มพัฒนาการ
เมื่อวันที่ 10 ส.ค. นพ.วีรวุฒิ อิ่มสำราญ รองอธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวว่า ทารกแรกเกิดควรได้รับนมแม่อย่างเดียวในช่วง 6 เดือนแรก หลังจากนั้นให้เริ่มอาหารตามวัยคู่กับนมแม่จนถึง 2 ปีหรือมากกว่า ยิ่งทารกแรกเกิดป่วยยิ่งต้องให้นมแม่ เพราะมีคุณประโยชน์มากมาย ในน้ำนมแม่มีสารอาหารที่มีความจำเพาะต่อทารกแรกเกิด มากกว่า 200 ชนิด ได้แก่ เซลล์เม็ดเลือดขาว สารให้ภูมิคุ้มกัน และฮอร์โมน หากได้รับอย่างต่อเนื่องจนอายุครบ 6 เดือน จะมีโอกาสเสี่ยงและเจ็บป่วยด้วยโรคต่างๆ น้อยกว่าทารกที่ไม่ได้รับนมแม่ และเป็นเสมือนยารักษาโรค สร้างสายใยรักจากแม่สู่ลูกได้เป็นอย่างดีแรง
นพ.อัครฐาน จิตนุยานนท์ ผอ.สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี (รพ.เด็ก) กล่าวว่า ทารกที่คลอดก่อนกำหนดจะได้รับประโยชน์จากนมแม่ ได้แก่ 1. สร้างระบบภูมิคุ้มกันให้กับร่างกาย 2. สร้างระบบชีวภาพของลำไส้ ช่วยในการเติบโตที่ดีให้กับผนังลำไส้ รวมถึงช่วยให้มีการเจริญเติบโตของระบบประสาทและหลอดเลือดของทางเดินอาหาร 3. อุดมด้วยสารอาหารที่มีประโยชน์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งใน “โคลอสตรัม” ซึ่งเป็นน้ำนมหยดแรกที่แม้มีปริมาณน้อยแต่มีคุณค่ามาก และจำเป็นต่อลำไส้ รวมถึงลดการติดเชื้อในกระแสเลือด ลดภาวะลำไส้เน่า ซึ่งลดได้ถึงร้อยละ 50 และลดโรคจอประสาทตาผิดปกติชนิดรุนแรง น้ำนมแม่มีสารต่อต้านการติดเชื้อหลายชนิด นมแม่มีผลดีต่อการเจริญเติบโตของทารก รวมถึงด้านพัฒนาการทางด้านอารมณ์และสติปัญญา
"เมื่อทารกได้รับนมแม่จึงเปรียบเหมือนยารักษาโรค และภูมิคุ้มกันโรค สถาบันสุขภาพเด็กฯ มีคลินิกนมแม่ ที่ให้บริการให้ข้อมูล ให้คำปรึกษา และส่งเสริมให้ทารกได้รับนมแม่ โดยใช้บันได 10 ขั้น สำหรับทารกแรกเกิดป่วย ทารกแรกเกิดที่มีน้ำหนักตัวน้อยและเด็กป่วย เพื่อทารกจะได้รับนมแม่อย่างต่อเนื่อง และเติบโตได้อย่างสมบูรณ์แข็ง