xs
xsm
sm
md
lg

TNI สร้างบุคลากรให้มีความเป็นเลิศในทุกด้านและมุ่งสู่ทศวรรษที่ 3 ในการเป็น Research and Innovation University

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น (TNI) สถาบันอุดมศึกษาสไตล์ญี่ปุ่น ที่เปิดสอนในระดับปริญญาตรีทั้งภาคปกติ และภาคพิเศษ (เรียนวันเสาร์-อาทิตย์), ปริญญาโท และวิทยาลัยนานาชาติ (THAI-NICHI INTERNATIONAL COLLEGE) ที่มีหลากหลายสาขาวิชา ได้แก่ คณะวิศวกรรมศาสตร์ คณะบริหารธุรกิจ และคณะเทคโนโลยีสารสนเทศ รวม 25 สาขา ด้วยคำขวัญที่ว่า “แตกต่างด้วยภาษา ก้าวหน้าด้วยนวัตกรรม วัฒนธรรมที่หลากหลาย”



รศ. รังสรรค์ เลิศในสัตย์ อธิการบดีสถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น (TNI) ได้กล่าวถึงนโยบายและทิศทางการบริหารงาน ตอกย้ำเจตนารมณ์การเป็นสถาบันอุดมศึกษาสไตล์ญี่ปุ่น ยกระดับการสร้างบุคลากรรุ่นใหม่ให้มีความเป็นเลิศ ทั้งความเชี่ยวชาญในวิชาชีพเฉพาะ ด้านสังคมศาสตร์ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม รวมถึงด้านภาษา เพื่อให้เป็นที่ยอมรับในภาครัฐ ภาคเอกชน ทั้งในไทย ญี่ปุ่น และนานาชาติ มุ่งสู่การเป็น Research & Innovation University ในอนาคต

ภาพของ TNI มุ่งสร้างบุคลากรรุ่นใหม่ให้มีความเป็นเลิศ และพร้อมในทุกด้านได้นั้น ในระยะสั้น มุ่งเน้นในการผลิตและพัฒนาบุคลากรวิชาชีพ และสาขาที่จำเพาะให้มีทักษะและความเชี่ยวชาญเป็นเลิศในด้านนั้นๆ เพื่อส่งบุคลากรที่มีคุณภาพเข้าสู่อุตสาหกรรมในยุคเทคโนโลยีดิจิทัล และในระยะยาว 3-5 ปี จะมุ่งเน้นการพัฒนาเทคโนโลยีและส่งเสริมนวัตกรรม เพื่อนำไปสู่การเป็น Research & Innovation University และ Digital University


โดยพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนใหม่ๆ ให้มีความเข้มข้นยิ่งขึ้น เพื่อสร้างบุคลากรที่มีทักษะวิชาชีพที่แท้จริง โดยจัดตั้งโครงการศูนย์พัฒนาการเรียนการสอนเพิ่มเติม นอกเหนือจากการเรียนรู้สไตล์ญี่ปุ่น แบบ Monodzukuri ที่เน้นปฏิบัติจริง ทำโครงการจริง และฝึกแก้ไขปัญหาต่างๆ แล้ว (Practice-Based, Project-Based, Problem-Based Learning) นักศึกษาทุกคนต้องเรียนภาษาญี่ปุ่น ฝึกงาน หรือสหกิจศึกษา ควบคู่กับ Personalized Learning การเรียนรู้ตามความถนัดของแต่ละบุคคลและการบูรณาการด้านต่างๆ รวมถึงศึกษาและจัดเตรียมการเรียนการสอนตามแบบ Kosen Style Education โดยเฉพาะวิศวกรรมศาสตร์ที่เรียกว่า Practical Engineering ด้วยการผนวกความโดดเด่นด้านวิศวกรรมศาสตร์เข้ากับเทคโนโลยีสารสนเทศ รวมทั้งปรับคณะบริหารธุรกิจให้เป็น Faculty of Business Development ในอนาคต เพื่อให้ TNI สามารถสร้างบุคลากรที่มีทักษะทางด้านปฏิบัติและสร้างงานนวัตกรรมได้อย่างต่อเนื่อง

รวมถึงยกระดับและพัฒนาโครงการที่มีอยู่เดิม จัดตั้งโครงการใหม่เพื่อเสริมสร้างการพัฒนาเทคโนโลยีและส่งเสริมนวัตกรรม โดยร่วมมือกับสถานประกอบการญี่ปุ่นในประเทศไทย อาทิ


โครงการ Lean Manufacturing Software (LMS) คณะบริหารธุรกิจ ที่มีต้นแบบมาจาก Toyota Production System โดยจะเริ่มต้นโครงการในปี 2566 นี้ซึ่งต้องมีความร่วมมือจากหลายหน่วยงาน ประกอบด้วย TNI-TPA- SIMTEC เพื่อมุ่งสู่การ Commercialize แห่งเดียวในประเทศไทย

ศูนย์วิจัยและทดสอบยานยนต์ไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์ อีกหนึ่งโครงการที่ในอนาคตอาจมีการขยายโครงการให้มีศักยภาพสูงขึ้น เพื่อรองรับการวิจัยและบริการทดสอบประสิทธิภาพยานยนต์ไฟฟ้าดัดแปลงที่มีเพียงไม่กี่แห่งในประเทศไทย

การยกระดับระบบ Automation Manufacturing ที่เป็นอุปกรณ์ที่สร้างขึ้นเอง รวมทั้งอุปกรณ์ที่ได้รับมอบจาก AMIECC (จากญี่ปุ่น) ให้มีการใช้ประโยชน์ให้กว้างขึ้น โดยจัดตั้ง Lean & Automation Manufacturing Training Center ในสไตล์ญี่ปุ่นและในอนาคตอันใกล้นี้ จะเริ่ม New Material การวิจัยเกี่ยวกับ New Energy, Net Zero, Carbon Neutrality, Decarbonization

การศึกษาเพื่อจัดตั้งโครงการ Japan Technology and Knowledge Center ศูนย์เชี่ยวชาญเทคโนโลยีและความรู้สไตล์ญี่ปุ่นแห่งเดียวในประเทศไทย โดยจัดตั้งขึ้นในแต่ละคณะและหน่วยงาน เป็นต้น


รศ. รังสรรค์ เลิศในสัตย์ อธิการบดี สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น (TNI) กล่าวเพิ่มเติมว่า “อีกหนึ่งส่วนที่มีความสำคัญและสนับสนุนให้ TNI มุ่งไปสู่ความเป็นเลิศและ Digital University คือ การยกระดับความร่วมมือกับหน่วยงานภายนอกซึ่ง TNI มีความสัมพันธ์อันดีและความร่วมมือกับหน่วยงานต่างๆ ของญี่ปุ่น ทั้งในมหาวิทยาลัยของญี่ปุ่น หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชนอยู่แล้ว แต่มีแผนการขยายความสัมพันธ์อันดีให้กว้างขวางออกไปทั้งในญี่ปุ่น ออกไปสู่เอเชียและนานาชาติมากขึ้น

ไม่เพียงเท่านี้ TNI ยังมีนโยบายหลักที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถไปญี่ปุ่นได้จริง (Go Japan) ทั้งการแลกเปลี่ยนนักศึกษากับมหาวิทยาลัยญี่ปุ่น ไปฝึกงาน และ Internship ในญี่ปุ่น การไปศึกษาต่อในญี่ปุ่น หรือไปทำงานกับบริษัทญี่ปุ่นทั้งในไทยและญี่ปุ่นด้วย เพราะTNI คือตัวจริงเรื่องญี่ปุ่น”


กำลังโหลดความคิดเห็น