xs
xsm
sm
md
lg

กรมแพทย์แผนไทยฯ ย้ำชัดไม่หนุนกัญชาสันทนาการ เน้นใช้ทางการแพทย์เท่านั้น ลงพื้นที่กวดขันเคร่งครัดให้เป็นไปตามกฎหมาย

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทยางเลือกย้ำจุดยืนชัดเจนไม่สนับสนุนใช้กัญชาสันทนาการ เน้นให้ใช้ทางการแพทย์พร้อมเดินหน้า ร่วมกับภาคีเครือข่าย บังคับใช้กฎหมายตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่องสมุนไพรควบคุม (กัญชา) พ.ศ. 2565 ล่าสุด ลงพื้นที่ถนนข้าวสาร ดําเนินคดีผู้กระทําผิด ปฏิบัติการจับกุม ร้านค้าทําผิด เงื่อนไข และกฎหมาย สมุนไพรควบคุม (กัญชา) จําหน่ายหรือ แปรรูป โดยไม่ได้รับอนุญาต และ ผิดเงื่อนไขจํานวน 5 ราย

นายแพทย์เทวัญ ธานีรัตน์ รองอธิบดีกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กล่าวว่า เมื่อเร็วๆ นี้จากการลงพื้นที่ บังคับใช้กฎหมาย (กัญชา) ที่ถนนข้าวสาร เขตพระนคร กทม.แล้วได้มีการเจรจา พูดคุย กับผู้ประกอบการ ประชาชน และสื่อมวลชน กรมการ แพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก ขอยืนยันไม่สนับสนุนให้ใช้กัญชาแบบสันทนาการ ประเด็นเรื่องกัญชาทางการแพทย์ ในวิชาชีพ ที่แตกต่างกัน อาจมีมุมมองทางวิชาการที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับความรู้ ประสบการณ์ ทัศนคติ และแนวคิดของแต่ละบุคคล สําหรับ กรมการ แพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก มีจุดยืน คือ ให้ใช้ประโยชน์จากกัญชาทางการแพทย์ เพื่อให้ประชาชนสามารถมีทางเลือก และมีสิทธิ์ ในการเข้าถึงกัญชาทางการแพทย์ได้ โดยไม่ผูกขาดจากวิชาชีพใดวิชาชีพหนึ่ง

ในส่วนข้อกังวลของสังคมในการใช้กัญชา กระทรวงสาธารณสุขได้มีกฎหมายที่เกี่ยวข้องมารองรับ เพื่อหวังให้เกิดการใช้ กัญชาด้วยความระมัด ระวัง จึงได้กําหนดข้อห้ามของกัญชา อย่างชัดเจน เช่น ห้ามจําหน่ายให้กับผู้ที่มีอายุต่ํากว่า 20 ปี สตรีมีครรภ์ หรือ สตรีให้นมบุตร ห้ามจําหน่ายให้กับนักเรียน นิสิต หรือ นักศึกษา ห้ามให้บริการสูบกัญชาในสถานประกอบการทั่วไป ห้ามจําหน่ายเพื่อการค้า ผ่านเครื่องจําหน่ายสินค้าอัตโนมัติ (Vending Machine) ผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์หรือเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ห้ามโฆษณากัญชาในทุก ช่องทางเพื่อการค้า และห้ามสูบกัญชาในสถานที่ต้องห้าม เช่น วัดหรือสถานที่สําหรับปฏิบัติพิธีกรรมทางศาสนา หอพักตามกฎหมายว่าด้วย หอพัก สวนสาธารณะ สวนสัตว์ และ สวนสนุก เป็นต้น การกระทําดังกล่าว เป็นการกระทําความผิดตามมาตรา 46 กรณีจําหน่ายหรือแปรรูป สมุนไพรควบคุม โดยมิได้รับอนุญาต มีบทกําหนดโทษเป็นไปตามมาตรา 78 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์ แผนไทย พ.ศ.2542 ระบุโทษจําคุก 1 ปี ปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือ ทั้งจําทั้งปรับ


ล่าสุด เมื่อวันที่ 20 เมษายน ที่ผ่านมา กระทรวงสาธารณสุข โดย กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก พร้อมพนักงานเจ้าหน้าที่ เจ้าหน้าที่ตํารวจ สถานีตํารวจนครบาลชนะสงคราม นําโดย พล.ต.ต.อัฏธพร วงศ์ศิริปรีดา ผู้บังคับการตํารวจนคร บาล พ.ต.อ.สนอง แสงมณี ผู้กํากับการสถานีตํารวจนครบาลชนะสงคราม กองกํากับการสวัสดิภาพเด็กและสตรี สํานักงานเขตพระนคร สํานักอนามัย และหน่วยงานอื่นๆที่เกี่ยวข้อง ลงพื้นที่ปฏิบัติการ บริเวณถนนข้าวสาร และ ซอยรามบุตรี ในเขตความรับผิดชอบ สน.ชนะสงคราม ได้ตรวจร้านค้ากัญชา จํานวน 14 ร้าน พบว่า มีใบอนุญาตและทําตามเงื่อนไขใบอนุญาตถูกต้อง จํานวน 9 ร้าน พักใช้ ใบอนุญาตจํานวน 2 ร้าน ร้านแรกพบว่ามีการเปิดให้สูบในสถานประกอบการ และร้านที่สองพบว่าไม่จัดทํารายงานข้อมูลไว้ ณ สถาน ประกอบการ ดําเนินคดีเนื่องจากจําหน่ายโดยไม่ได้รับอนุญาต 3 ร้าน ร้านแรกลักษณะ เป็นร้านจําหน่ายขนาดใหญ่ แต่ยังไม่ได้รับการอนุญาต อีก 2 ร้าน เป็นหาบเร่ แผงลอย ทั้งนี้ได้เน้นย้ําให้ผู้ประกอบการกัญชา ดําเนินการให้เป็นไปตามที่กําหนดในกฎหมาย เช่น ส่งแบบรายงาน ข้อมูลแหล่งที่มากัญชา การนําไปใช้ และจํานวนที่เก็บไว้จําหน่าย ณ สถานประกอบการ ตามกําหนดทุกสิ้นเดือน รวมถึงสื่อสารสร้างความรู้ ความเข้าใจให้กับประชาชน

กรมฯ ได้ถอดองค์ความรู้การใช้กัญชาของชาวบ้านทั้ง 4 ภูมิภาค พบว่า มีการใช้ในวิถีชีวิต เป็นทั้งอาหาร ยา เครื่องนุ่มห่ม เครื่องสําอาง เช่น ภาคเหนือ ใช้น้ํามันจากเมล็ด ทาผิว เส้นใย ทําเครื่องนุ่งห่ม ใช้ส่วนต่างๆ ของกัญชาในตํารับยาในการดูแลสุขภาพ ภาค ตะวันออกเฉียงเหนือ มีการผสมส่วนที่เป็นใบ ลําต้นกัญชาในเครื่องปรุงที่เรียกผงนัว ลดการใช้ผงชูรส ภาคกลาง ใช้ยอดกัญชาในอาหาร ประเภทแกง ต้ม และ ภาคใต้ มีการใช้ในตํารับอาหาร ซึ่งจะเห็นได้ว่าในแต่ละพื้นที่มีการใช้กัญชาตามภูมิปัญญาท้องถิ่น ทั้งใช้กัญชาตามตํารับ แพทย์แผนไทย หมอพื้นบ้าน ปราชญ์ชาวบ้าน บํารุงสุขภาพ กินได้ นอนหลับ และ ปรุงอาหาร มีการต่อยอดภูมิปัญญาและความรู้ของปราชญ์ ชาวบ้าน เพื่อสร้างนวัตกรรม รวมถึงศึกษาวิจัยการใช้กัญชาทางการแพทย์ นําไปสู่การขับเคลื่อนการใช้ประโยชน์จากกัญชาทางการแพทย์ จนกระทั่งขับเคลื่อนผลักดันยากัญชาแผนไทย สู่ชุดสิทธิประโยชน์และบัญชียาหลักแห่งชาติ และที่ดําเนินการอย่างต่อเนื่องคือการสร้างความ รอบรู้ด้านสุขภาพผ่านเครือข่ายสุขภาพในระดับชุมชน ส่งเสริม ป้องกัน และฟื้นฟูสุขภาพด้วยการแพทย์แผนไทย การแพทย์ทางเลือก ในหน่วย บริการสาธารณสุขทุกระดับและเป็นการเสริมสร้างเศรษฐกิจ

นายแพทย์เทวัญ กล่าวในตอนท้ายว่า กัญชาทางการแพทย์มีการใช้ทั้งแพทย์แผนปัจจุบัน แพทย์แผนไทยแผนไทยประยุกต์ หมอพื้นบ้านหรือแพทย์แผนจีน หรือแม้กระทั่งการพึ่งตนเองด้านสุขภาพของประชาชน ทําให้สิทธิเข้าถึงของกัญชาทางการแพทย์ของ ประชาชนเพิ่มขึ้น สําหรับมุมมองความคิด ความเห็น ประเด็นเรื่องของกัญชาที่หลากหลายนั้น กรมจึงมุ่งเน้นการสร้างความรอบรู้ที่ถูกต้อง เหมาะสมให้แก่ประชาชน ให้เกิดความเข้าใจ เชื่อมั่น และใช้กัญชาทางการแพทย์ได้อย่างถูกต้องเพื่อเปิดโอกาสให้ประชาชนได้เข้าถึงการรักษา กัญชาทางการแพทย์ได้มากขึ้น อีกทั้งยังช่วยลดค่าใช้จ่ายและเพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยให้ดีขึ้นอีกด้วย


กำลังโหลดความคิดเห็น