อาการใจสั่น อ่อนเพลีย อ่อนแรง เวียนศรีษะ สับสน หายใจลำบาก เจ็บแน่นหน้าอก อาการเหล่านี้อาจเป็นสัญญาณเตือน.. ภาวะหัวใจสั่นพริ้ว
นพ.ชัยณรงค์ ศิริกาญจนโกวิท อายุรแพทย์เฉพาะทางโรคหัวใจ ศูนย์หัวใจและหลอดเลือด โรงพยาบาลหัวเฉียว กล่าวว่า ภาวะหัวใจสั่นระริก หรือ “ภาวะหัวใจสั่นพริ้ว” (Atrial fibrillation, AF) เป็นการเต้นของหัวใจที่ผิดปกติชนิดหนึ่ง มักพบได้บ่อยในผู้สูงอายุ หรือผู้ป่วยที่เป็นโรคหัวใจ โดยความรุนแรงของภาวะหัวใจเต้นระริกจะไม่ส่งผลทำให้ถึงกับเสียชีวิตทันที แต่อาจจะนำมาซึ่งภาวะรุนแรง ได้แก่ อ่อนเพลียเรื้อรัง อัมพฤกษ์ อัมพาต และเสียชีวิตในภายหลังได้
สาเหตุของภาวะหัวใจเต้นระริก
- โรคหัวใจ เช่น โรคกล้ามเนื้อหัวใจ โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคลิ้นหัวใจ หัวใจห้องล่างโตเกินปกติ
- ความดันโลหิตสูง ไทรอยด์ เบาหวาน หลอดเลือดแข็งตัว
- ผ่าตัดหัวใจ ผ่าตัดลิ้นหัวใจ ผ่าตัดบายพาสหลอดเลือดหัวใจ
- ความเครียด อ่อนล้า ดื่มสุราจัด ดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน สูบบุหรี่
ปัจจุบันการรักษาภาวะหัวใจห้องบนสั่นพลิ้วนั้นมีวัตถุประสงค์เพื่อรักษาอาการและลดภาวะแทรกซ้อนเป็นหลัก เช่น การใช้ยาเพื่อควบคุมจังหวะการเต้นของหัวใจ (rhythm control) เพื่อป้องกันการเกิดลิ่มเลือดในหัวใจห้องบนเพื่อป้องกันภาวะลิ่มเลือดไปอุดตันในอวัยวะสำคัญส่วนอื่นของร่างกาย รวมถึงการใช้ไฟฟ้ากระตุกเพื่อปรับการเต้นของหัวใจ (cardioversion) การใช้สายสวนหัวใจเพื่อตัดวงจรไฟฟ้าผิดปกติในหัวใจด้วยคลื่นวิทยุความถี่สูง (radiofrequency ablation) หรือความเย็นจัด (cryoablation) ทำให้หัวใจกลับเต้นปกติ
ปัจจุบัน ศูนย์หัวใจและหลอดเลือด โรงพยาบาลหัวเฉียว พร้อมดูแลผู้ป่วยฉุกเฉินตลอด 24 ชั่วโมง ด้วยทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านหัวใจและหลอดเลือด ทีมพยาบาลที่ผ่านการอบรมทางด้านหัวใจ พร้อมเครื่องมือและเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่ทันสมัย ให้บริการทั้งการการใส่เครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจ (Pacemaker Implantation) ฉีดสีสวนหลอดเลือดหัวใจ (Cath lab) ที่สามารถตรวจภาวะหลอดเลือดตีบหรือตัน ขยายหลอดเลือดหัวใจตีบหรือตันด้วยบอลลูนและใส่ขดลวดทั้งชนิดปกติและชนิดเคลือบยาพิเศษ และด้วยการใช้หัวกรอเพชรความถี่สูง (Rotablator) การผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจ (Bypass) การใส่หลอดเลือดเทียมชนิดขดลวดหุ้มกราฟต์ผ่านทางหลอดเลือดแดง (TEVAR) เป็นต้น
นพ.ชัยณรงค์ ศิริกาญจนโกวิท อายุรแพทย์เฉพาะทางโรคหัวใจ ศูนย์หัวใจและหลอดเลือด โรงพยาบาลหัวเฉียว