รองศาสตราจารย์ ดร.วิมลทิพย์ มุสิกพันธ์
สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว
"บูลลี่" (Bully) ถูกใช้อย่างกว้างขวางในช่วงที่ผ่านมา แต่มีคนจำนวนไม่น้อยที่ยังไม่เข้าใจความหมายของคำนี้อย่างชัดเจน ทำให้ความหมายและความเข้าใจคำว่า “บูลลี่” เปลี่ยนไปค่อนข้างมาก การบูลลี่แท้จริงแล้วประกอบด้วย 3 องค์ประกอบสำคัญคือ 1.“เจตนา” ไม่ว่าจะเป็นเจตนาทำร้าย ทำให้อับอาย ทำให้เสียชื่อเสียง เป็นต้น ดังนั้นการล้อเล่นในบางครั้งอาจไม่ได้มีเจตนาที่จะทำร้าย 2.“การวางแผน” นอกจากเจตนาแล้วต้องมีการวางที่ชัดเจน แสดงความต้องการที่จะทำร้ายอย่างจริงจัง และต้องเกิด 3.“การกระทำซ้ำ ๆ” เพื่อให้เกิดผลตามที่ตนเองต้องการ ซึ่งประเภทของการบูลลี่ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ การบูลลี่แบบกายภาพ เช่น การด่าทอ การทำร้ายร่างกกกลุ่ม การสร้างข้อมูลอันเป็นเท็จ การสร้างตัวตนปลอมขึ้นมา ฯลฯ แต่ที่พบบ่อยในสังคมไทยทั้งแบบกายภาพและออนไลน์คือ การด่าทอ การใช้คำพูดที่รุนแรงต่อกันเป็นส่วนใหญ่
การบูลลี่ในสังคมไทยนั้น อาจมีมานานแล้ว เพียงแต่ไม่มีการเก็บข้อมูลที่ชัดเจน และไม่พบสถิติการเกิดปัญหาต่าง ๆ เหล่านี้ แต่ปัจจุบันมีการศึกษาและจัดทำสถิติอย่างเป็นระบบ และพบว่าเหตุการณ์ “บูลลี่” มีแนวโน้มสูงขึ้นเรื่อย ๆ ในแต่ละปี แม้ว่ารัฐจะออกกฎหมายควบคุมและดำเนินคดีในเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องอย่างเข้มงวด แต่ก็ยังไม่เห็นถึงความเปลี่ยนแปลงในสังคมไทยมากนัก ด้วย “การบูลลี่” มีความใกล้เคียงกับการหยอกล้ออย่างมาก จึงจำเป็นต้องมามองที่เจตนาผู้กระทำ ว่ามีเจตนาทำร้าย ทำลาย อีกฝ่ายหนึ่งหรือไม่
ผลกระทบจากการบูลลี่โดยเจตนานั้น ไม่อาจกล่าวได้ว่าจะส่งผลแบบเดียวกันในผู้ถูกบูลลี่ทุกคน เนื่องจากคนที่ถูกบูลลี่แต่ละคนมีลักษณะนิสัย ความรู้สึกที่ต่างกัน ขึ้นอยู่กับพื้นฐานอารมณ์ (Temperament) ของแต่ละคนว่าจะรับเรื่องแบบนี้ได้มากน้อยแค่ไหน โดยสามารถจำแนกได้ 2 กลุ่มใหญ่ ดังนี้
กลุ่มที่ระคายเคือง - เมื่อถูกบูลลี่กลุ่มนี้จะมีอาการไม่สบายใจ วิตกกังวล ซึมเศร้า จนถึงขั้นทำร้ายตัวเองได้ ซึ่งเราจะพบลักษณะนี้เยอะขึ้นในปัจจุบัน
กลุ่มที่ไม่ระคายเคือง – กลุ่มนี้จะไม่ค่อยแสดงอาการอะไร เพราะมีภูมิคุ้มกันค่อนข้างสูง มีความเข้าใจโลกมากกว่า จะเป็นกลุ่มของครอบครัวที่ใช้เหตุผลในการอบรมเลี้ยงดู มีพี่น้อง ครอบครัวคอยให้คำปรึกษาซึ่งกันและกัน
สำหรับกลุ่มเด็กเล็ก การบูลลี่ในโรงเรียนมีปริมาณมากขึ้น แต่ยังไม่ชัดเจนว่าเป็นการตั้งใจรังแกกันจริง ๆ หรือเป็นเพียงแค่การหยอกล้อกัน เพราะการบูลลี่ในอีกมุมหนึ่งก็สามารถนำไปสู่การเติบโตได้เช่นกัน เพราะการที่เราเจอเรื่องที่เราไม่พอใจจะทำให้เราเกิดการเรียนรู้ว่าโลกเรามีทั้งมุมดีและมุมไม่ดี สามารถทำให้เราเติบโตขึ้นได้ แต่ในทางกลับกันถ้าเด็กที่ถูกบูลลี่หรือโดนกระทบแม้เพียงเล็กน้อยและได้รับการปกป้องอย่างดีจากพ่อแม่ ผู้ปกครอง บ่อยครั้ง อาจทำให้เด็กเสียการเรียนรู้ เติบโตมาแบบไม่เหมาะสมได้ ในส่วนนี้พ่อแม่ ผู้ปกครองและคนในครอบครัว ควรตระหนักและให้ความสำคัญ หากพ่อแม่ ผู้ปกครอง ให้การอบรมสั่งสอนที่ดีโดยใช้เหตุผล จะทำให้เด็กได้หันกลับมาพิจารณาตัวเองได้ว่าสิ่งที่ทำนั้นถูกหรือผิด ทำให้เกิดการเรียนรู้และความเข้าใจในชีวิตมากขึ้น เติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพได้
"ทุกคนควรต้องตระหนักได้เองว่า "การบูลลี่" คนอื่นในทุกรูปแบบ ทุกระดับ เป็นสิ่งที่ไม่สมควรกระทำเป็นอย่างยิ่ง"
ดังนั้น "ครอบครัว" ถือเป็นส่วนสำคัญที่จะช่วยขัดเกลา
เด็กให้มีเหตุผล ทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้และเข้าใจสังคมได้ดี ประกอบกับพ่อแม่ ผู้ปกครอง ที่สามารถจัดการอารมณ์ตนเองได้ดี เป็นแบบอย่างที่ดีด้วย ยิ่งส่งผลให้เด็กได้รับพื้นฐานที่ดีตามไปด้วย ช่วยสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีและเป็นตัวอย่างที่ดีให้แก่ผู้อื่นได้ นอกจากนี้ การสร้างบรรทัดฐานของสังคม การใช้กฎหมาย รวมถึงสื่อต่าง ๆ ควรให้ความสำคัญกับเรื่องนี้อย่างจริงจังในการนำเสนอข้อมูล เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาเหล่านี้เพิ่มขึ้นในสังคม