xs
xsm
sm
md
lg

ห่วงหลอม "ซีเซียม" เศษผงยังปนเปื้อน จี้ติดตามเส้นทางขนย้ายในโรงงาน

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



กรมวิทย์เผย "ซีเซียม-137" เดิมใช้ฝังแร่รักษามะเร็ง แต่กำจัดยาก ค่าครึ่งชีวิตยาว 30 ปี จึงเปลี่ยนเป็นโคบอลต์ ห่วงถูกหลอมเศษผงมีซีเซียมปนกระจายตัว แม้ผลกระทบจะเล็กตามด้วย จี้ติดตามเส้นทางขนย้ายในโรงงาน ยันผลกระทบไม่เท่าเคสเชอร์โนบิลที่ยูเครน

เมื่อวันที่ 20 มี.ค. นพ.ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวว่า กัมมันตรังสีซีเซียม -137 ทำให้เซลล์ของมนุษย์เกิดความผิดปกติขึ้น ปัจจัยความรุนแรง ขึ้นอยู่กับระยะเวลา วิธีที่สัมผัส และปริมาณสารที่ได้รับ เดิมซีเซียม 137 มีประโยชน์ใช้รักษามะเร็งโดยการฝังแร่ซีเซียม แต่ค่าครึ่งชีวิตนานไปกำจัดยาก จึงเปลี่ยนเป็นโคบอลต์ ที่มีครึ่งชีวิต 5 ปี และการแพทย์ก็พัฒนามาเรื่อยๆ จนเปลี่ยนมาใช้พลังงานไฟฟ้าที่หลาย รพ. ใช้อยู่ในปัจจุบัน การใช้รังสีทางการแพทย์ไม่มีปัญหา มีการจัดการเอาเข้าออกอย่างดี แต่ที่เกิดขึ้นใน จ.ปราจีนบุรี เกิดจากการถูกขโมยไป ซึ่งหากถูกหลอมไปแล้วจะเกิดอะไรขึ้น ก็ต้องดูว่า ลักษณะความร้อนที่สูงมากก็ไม่น่ากังวล สารก็สลายไป แต่ที่น่ากังวลคือ เศษที่มีซีเซียมติดอยู่อาจกระจายออกไป ต้องให้สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติตรวจสอบและวัดสารดังกล่าวในสิ่งแวดล้อม เนื่องจากสารดังกล่าวไม่มีสี ไม่มีกลิ่น มองไม่เห็นด้วยตาเปล่า จึงเป็นเรื่องยากที่จะรู้ว่าร่างกายได้รับสารนั้นมาแล้ว แต่สังเกตได้จากอาการป่วยที่มีประวัติสัมผัสสารดังกล่าว ต้องพบแพทย์เพื่อสอบสวนโรค โดยต้องติดตามตั้งแต่เส้นทางการขนย้ายภายในโรงงาน กับพื้นที่โรงงานด้วย

นพ.ศุภกิจ กล่าวว่า ส่วนการรักษาต้องดูว่า สารนั้นถูกอวัยวะสำคัญหรือไม่ ซึ่งอาจเสียชีวิตได้ทั้งในระยะสั้นและยาว เหมือนโคบอลต์ 60 ที่ซาเล้งขายของเก่าเก็บโคบอลต์และได้รับสารพิษ หากถูกอวัยวะสำคัญก็มีผลกระทบ และยังรวมไปถึงเซลล์และกระดูกไขสันหลัง เกิดการติดเชื้อได้ง่าย รวมไปถึงการก่อให้เกิดโรคมะเร็ง ส่วนที่ข้อกังวลของคำแถลงที่สำนักปรมาณูฯ ระบุว่า ฝุ่นในโรงงานหลอมมีซีเซียมปน หากมีปริมาณโมเลกุลที่เล็กมาก ซีเซียมก็มีผลน้อย แต่เนื่องจากสารไม่สีไม่มีกลิ่นก็ต้องเฝ้าดู ทั้งนี้ ไม่ต้องกังวลผลกระทบจากกัมมันตรังสีซีเซียม-137 ไม่เทียบเท่ากับ เชอร์โนบิล ที่ยูเครน ดังนั้น ไม่ต้องกังวลมาก อย่างไรก็ตาม คนที่สัมผัสในโรงงานหลอมต้องเฝ้าระวังต่อไป ส่วนคนภายนอก ต้องเฝ้าระวัง หากป่วยสงสัยเข้าข่ายมีอาการทางผิวหนัง หรือความผิดปกติอื่น ก็ควรไปพบแพทย์ เพื่อสอบสวนโรค เนื่องจากตามข้อปฏิบัติการป้องกัน เฝ้าระวังสารกัมมันตรังสีไทยปฏิบัติตาม พ.ร.บ. พลังงานนิวเคลียร์เพื่อสันติ พ.ศ. 2559 และขั้นตอนปฏิบัติตามมาตรฐานสากล


กำลังโหลดความคิดเห็น