xs
xsm
sm
md
lg

คุมเข้มค่าฝุ่น PM2.5 ลุยตรวจ Boilers โรงงานซักฟอกย่านลาดกระบัง ย้ายผู้ค้าปากซอยร่มเกล้า 19 เข้าด้านใน

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ลงพื้นที่ติดตามการดำเนินงานตามนโยบายผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครในพื้นที่เขตลาดกระบัง เผยคุมเข้มค่าฝุ่น PM2.5 ลุยตรวจ Boilers โรงงานซักฟอกย่านลาดกระบัง ย้ายผู้ค้าปากซอยร่มเกล้า 19 เข้าด้านใน ส่องสวน 15 นาทีข้างปั๊มเซลล์ถนนเจ้าคุณทหาร ชมคัดแยกขยะร้านแกงใต้ออลซีซั่น สำรวจที่ดินรกร้างร่มเกล้า 25 แยกขยะต้นทางเขตลาดกระบัง

เมื่อวันที่ 1 ก.พ.เวลา 14.00 น. นายจักกพันธุ์ ผิวงาม รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ลงพื้นที่ติดตามการดำเนินงานตามนโยบายผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครในพื้นที่เขตลาดกระบัง ประกอบด้วย

ติดตามมาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหาฝุ่น PM2.5 บริษัท ซินไฉฮั้ว อุตสาหกรรม จำกัด ซอยร่มเกล้า 48-50 ซึ่งประกอบกิจการซักรีดและฟอกเสื้อผ้า มีการใช้หม้อไอน้ำ (Boilers) ในกระบวนการซักฟอก โดยมีกะลาปาล์มและถ่านหินเป็นเชื้อเพลิง เขตฯ ได้จัดทำแผนปฏิบัติการตรวจสอบและควบคุมสถานประกอบการที่ก่อให้เกิดปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 ในพื้นที่ตามมาตรการควบคุมมลพิษทางอากาศและมาตรการด้านความปลอดภัย ได้แก่ ประเภทแพลนท์ปูน 4 แห่ง ประเภทกิจการหล่อหลอมโลหะ 6 แห่ง ประเภทเคาะพ่นสียานยนต์ 28 แห่ง ประเภทหม้อไอน้ำ (Boilers) 26 แห่ง ทั้งนี้ รองผู้ว่าฯ จักกพันธุ์ เน้นย้ำให้เขตฯ ประชาสัมพันธ์ให้ความรู้เกี่ยวกับฝุ่น PM2.5 แก่ประชาชนในพื้นที่อย่างต่อเนื่อง พร้อมทั้งแจ้งเตือนประชาชนเมื่อค่าฝุ่น PM2.5 อยู่ในเกณฑ์ที่ส่งผลกระทบต่อการประกอบกิจกรรมกลางแจ้ง ควรสวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลา รวมถึงกำชับให้ผู้ประกอบการในพื้นที่ปฏิบัติตามมาตรการป้องกันปัญหาฝุ่น PM2.5 ให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานตามที่กฎหมายกำหนดอย่างเคร่งครัด ตลอดจนขอความร่วมมือประชาชนงดเผาในที่โล่งแจ้ง และรณรงค์ไม่ขับช่วยดับเครื่องยนต์

ติดตามการจัดระเบียบพื้นที่ทำการค้านอกจุดผ่อนผัน บริเวณปากซอยร่มเกล้า 19 เดิมเขตฯ มีพื้นที่ทำการค้านอกจุดผ่อนผัน 15 จุด รวมผู้ค้าทั้งสิ้น 197 ราย ได้แก่ 1.ซอยลาดกระบัง 52 ผู้ค้า 8 ราย 2.ซอยลาดกระบัง 46/4 ผู้ค้า 8 ราย 3.ซอยลาดกระบัง 14/1 ผู้ค้า 14 ราย 4.ซอยฉลองกรุง 1 ผู้ค้า 7 ราย 5.ทางเข้าเคหะร่มเกล้า ผู้ค้า 5 ราย 6.หน้าแฟลต 25 ผู้ค้า 10 ราย 7.ซอยเคหะร่มเกล้า 37 ผู้ค้า 17 ราย 8. หน้าหมู่บ้านพูนสินธานี 1 ผู้ค้า 32 ราย 9.ตลาด 24 ผู้ค้า 18 ราย 10.หน้าตลาดกลางร่มเกล้า ผู้ค้า 9 ราย 11.ข้างสวน 60 พรรษา ร่มเกล้า ผู้ค้า 7 ราย 12.ปากซอยร่มเกล้า 19 ผู้ค้า 9 ราย 13.สวนวนาภิรมย์ ร่มเกล้า ผู้ค้า 7 ราย 14.ตลาดเย็นวิลล่า ผู้ค้า 27 ราย 15.แยกนำไกร ผู้ค้า 19 ราย ต่อมาเขตฯ ได้ย้ายผู้ค้า (จุดที่ 12) บริเวณปากซอยร่มเกล้า 19 ผู้ค้า 9 ราย ให้เข้ามาทำการค้าด้านใน เพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อยและไม่กีดขวางทางเท้า ปัจจุบันเขตฯ คงเหลือพื้นที่ทำการค้านอกจุดผ่อนผัน 14 จุด รวมผู้ค้าทั้งสิ้น 188 ราย ทั้งนี้ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ได้มอบหมายให้เขตฯ กวดขันผู้ค้าในจุดอื่นๆ ไม่ให้ตั้งวางสิ่งของรุกล้ำเข้ามาในพื้นที่ทางเท้า พร้อมทั้งพิจารณาย้ายผู้ค้าที่อยู่ปากซอยให้เข้าไปอยู่ด้านใน รวมถึงยุบรวมจุดที่มีผู้ค้าจำนวนน้อยราย โดยจัดหาพื้นที่ที่มีความเหมาะสม เพื่อให้ผู้ค้ามาทำการค้าในจุดเดียวกัน

สำรวจสวน 15 นาที พื้นที่ว่างข้างปั๊มเซลล์ ถนนเจ้าคุณทหาร-ถนนร่มเกล้า ในพื้นที่เขตฯ มีสวนสาธารณะ จำนวน 9 แห่ง เป็นสวนเดิมดำเนินการปรับปรุงเป็นสวน 15 นาที จำนวน 3 แห่ง ได้แก่ 1.สวนสุขภาพร่มเกล้า 1 พื้นที่ 4 ไร่ 2 งาน 45 ตารางวา 2.สวนสุขภาพร่มเกล้า 2 พื้นที่ 4 ไร่ 2 งาน 65 ตารางวา 3.สวนศูนย์การเรียนรู้เกษตรอินทรีย์ (โคก หนอง นา) พื้นที่ 3 งาน 66 ตารางวา สวนใหม่ ดำเนินการจัดทำเป็นสวน 15 นาทีแล้วเสร็จ จำนวน 4 แห่ง ได้แก่ 1.สวนหย่อมแยกเข้าถนนเจ้าคุณทหาร พื้นที่ 1 งาน 50 ตารางวา 2.สวนหย่อมแยกเข้าถนนศรีนครินทร์-ร่มเกล้า พื้นที่ 2 งาน 10 ตารางวา 3.สวนจุดพักรถลาดกระบัง พื้นที่ 2 งาน 4.สวนหย่อมหน้าร้านกาแฟอินทนิลปั๊มบางจาก พื้นที่ 60 ตารางวา และอยู่ระหว่างดำเนินการจัดทำสวน 15 นาที ได้แก่ 1.บริเวณริมถนนเจ้าคุณทหารข้างปั๊มเซลล์ ถึงแยกถนนร่มเกล้า ระยะทาง 250 เมตร พื้นที่ 2,000 ตารางเมตร โดยจัดทำเป็นสวนทุ่งทองอุไรเจ้าคุณทหาร ปลูกต้นพุทธรักษา 1,250 ต้น ปลูกต้นทองอุไร 500 ต้น 2.บริเวณถนนทางเข้าสนามบินสุวรรณภูมิ 4 ระยะทาง 700 เมตร พื้นที่ 2 ไร่ 2 งาน แผนดำเนินการแบ่งเป็น 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 เตรียมพื้นที่ให้แล้วเสร็จโดยประมาณ 45 วัน (14 ม.ค.-28 ก.พ.66) ระยะที่ 2 ออกแบบสวน เลือกพันธุ์ให้เหมาะกับสภาพพื้นที่อยู่ติดคลอง ช่วงฤดูฝนจะมีน้ำเอ่อล้นคลองมาท่วมขัง (1-10 มี.ค.66) ระยะที่ 3 ดำเนินการตามรูปแบบที่กำหนด (1– 30 มี.ค.66)

เยี่ยมชมการคัดแยกขยะ ร้านอาหารแกงใต้ออลซีซั่น ซอยลาดกระบัง 38 วิธีการคัดแยกขยะจากแหล่งกำเนิด ดังนี้ ขยะเปียก มีประชาชนมารับไปเป็นอาหารสัตว์ ขยะแห้ง ขยะรีไซเคิล นำไปขายสร้างรายได้ ขยะทั่วไป เขตฯ ดำเนินการจัดเก็บ เพื่อนำไปกำจัดที่ศูนย์กำจัดมูลฝอยอ่อนนุช สำหรับปริมาณขยะก่อนคัดแยก 801.5 กิโลกรัม/เดือน หรือ 26-70 กิโลกรัม/วัน ปริมาณขยะหลังคัดแยก 300 กิโลกรัม/เดือน หรือ 10 กิโลกรัม/วัน

สำรวจที่ดินรกร้างว่างเปล่า บริเวณซอยร่มเกล้า 25/4-25/5 ในพื้นที่เขตฯ มีที่ดิน 90,561 แปลง สำรวจแล้ว 88,648 แปลง คงเหลือ 1,913 แปลง สิ่งปลูกสร้าง 68,732 แห่ง สำรวจแล้ว 38,561 แห่ง คงเหลือ 30,171 แห่ง ห้องชุด 31,992 ห้อง สำรวจแล้ว 31,485 ห้อง คงเหลือ 507 ห้อง สรุปผลการสำรวจที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง รวมทั้งสิ้น 191,285 รายการ สำรวจแล้ว 158,694 รายการ คงเหลือ 32,591 รายการ ซึ่งปัจจุบันอาจมีการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดิน จากที่ดินรกร้างว่างเปล่าอาจมีสิ่งปลูกสร้างเพิ่มขึ้น หรืออาจมีการรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างออกไป เพื่อทำประโยชน์อย่างอื่นหรือปล่อยทิ้งไว้เป็นที่รกร้างว่างเปล่า เขตฯ จึงต้องลงสำรวจสภาพพื้นที่จริง เพื่อจัดเก็บข้อมูลให้เป็นปัจจุบันตามความเป็นจริง เพื่อนำไปประเมินการจัดเก็บภาษีให้มีความถูกต้องครบถ้วน ทั้งนี้ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ได้ให้คำแนะนำในการจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ภาษีบำรุงท้องที่ ภาษีโรงเรือนและที่ดิน และภาษีป้าย การจัดส่งหนังสือแจ้งการประเมินภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างให้แก่ผู้เสียภาษี เพื่อให้การจัดเก็บภาษีเป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนดไว้

ตรวจเยี่ยมการคัดแยกขยะ สำนักงานเขตลาดกระบัง วิธีการคัดแยกขยะ โดยมีถังขยะแยกประเภทในแต่ละอาคาร ดังนี้ ถังขยะทั่วไป (สีน้ำเงิน) ได้แก่ ขยะที่ย่อยสลายไม่ได้ ย่อยสลายยาก แต่ไม่เป็นพิษ ถังขยะเศษอาหาร (สีเขียว) ได้แก่ ขยะเศษอาหาร เศษผักผลไม้ ถังขยะรีไซเคิล (สีเหลือง) ได้แก่ กระดาษ พลาสติก กระป๋อง ถังขยะอันตราย (สีส้ม) ได้แก่ ขยะที่มีสารปนเปื้อน วัตถุอันตราย สารเคมี ถังขยะติดเชื้อ (สีแดง) ได้แก่ หน้ากากอนามัยที่ใช้แล้ว หรือสิ่งของที่สัมผัสกับสารคัดหลั่ง พร้อมทั้งประชาสัมพันธ์ขอความร่วมมือบุคลากรของเขตฯ และประชาชนที่มาติดต่อราชการคัดแยกขยะก่อนทิ้ง เพื่อความสะดวกในการจัดเก็บและนำไปใช้ประโยชน์ นอกจากนี้ได้ตั้งจุดแยกขยะขวดพลาสติกตามโครงการแยกขวดเพื่อพี่ไม้กวาด ตั้งจุดรับพลาสติกยืดโครงการวน ประชาสัมพันธ์โครงการไม่เทรวม เพื่อสร้างต้นแบบการแยกขยะต่อยอดให้การแยกขยะระดับเขตสมบูรณ์ครบวงจร ส่งเสริมผู้ประกอบการคัดแยกขยะเศษอาหารออกจากขยะทั่วไป เพื่อให้การจัดการขยะที่ต้นทางมีประสิทธิภาพและเกิดผลเป็นรูปธรรม สำหรับปริมาณขยะก่อนคัดแยก 4,320 กิโลกรัม/เดือน ปริมาณขยะหลังคัดแยก 2,476 กิโลกรัม/เดือน (ข้อมูลเดือนธ.ค. 66)

ในการลงพื้นที่วันนี้มี นายชัชชญา ขำจันทร์ ผู้อำนวยการเขตลาดกระบัง พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร ข้าราชการ และเจ้าหน้าที่เขตลาดกระบัง สำนักเทศกิจ สำนักสิ่งแวดล้อม และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ร่วมลงพื้นที่และให้ข้อมูล


















กำลังโหลดความคิดเห็น