xs
xsm
sm
md
lg

กรมอนามัยทำแผนปรับตัว รับมือ Climate Change ลดเสี่ยงโรค-ภัยพิบัติจากอากาศเปลี่ยน

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



กรมอนามัย จัดทำแผนปรับตัวต่อ Climate Change ลดผลกระทบต่อสุขภาพ ระบบสาธารณสุขจากการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ อาจทำป่วย ห่วงคนไทยเจอภัยพิบัติและโรคมากขึ้นในอนาคต

เมื่อวันที่ 30 ม.ค. นพ.อรรถพล แก้วสัมฤทธิ์ รองอธิบดีกรมอนามัย กล่าวในงานสัมมนาวิชาการการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสุขภาพ ว่า Climate Change เป็นปัญหาระดับโลกที่ส่งผลกระทบต่อทุกประเทศและมีแนวโน้มความรุนแรงมากขึ้นองค์การอนามัยโลกคาดว่าในปี 2613 จะมีประชาชนไทยกว่า 2.5 ล้านราย ได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ทั้งจากอุณหภูมิที่เพิ่มขึ้น ระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้น ภัยพิบัติที่รุนแรงและเกิดบ่อยมากขึ้น ส่งผลกระทบต่อสุขภาพประชาชนทั้งการป่วยและเสียชีวิตจากภัยพิบัติ โรคจากความร้อน โรคติดต่อนำโดยแมลง โรคระบบทางเดินหายใจ โรคจากอาหารและน้ำเป็นสื่อ เป็นต้น ส่งผลกระทบต่อสถานบริการสาธารณสุข และภาระค่าใช้จ่ายด้านสาธารณสุขที่เพิ่มขึ้น

"หากไทยไม่มีการเตรียมการ เพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และไม่เตรียมพร้อมด้านการปรับตัว อาจส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตและสุขภาพของประชาชนในวงกว้าง และมีแนวโน้มที่จะมีความรุนแรงเพิ่มขึ้น" นพ.อรรถพลกล่าว

นพ.อรรถพล กล่าวว่า กรมอนามัยจัดทำและขับเคลื่อนแผนปฏิบัติการด้านการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศด้านสาธารณสุข ระยะที่ 1 (พ.ศ.2564 – 2573) หรือ HNAP เป็นกรอบแนวทางการดำเนินงานของภาคสาธารณสุขในการรับมือกับผลกระทบต่อสุขภาพจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ มีเป้าหมายเพื่อลดอัตราการเจ็บป่วยและเสียชีวิต สร้างความเข้มแข็งของระบบสาธารณสุข ส่งเสริมให้ประชาชนมีความรอบรู้และทักษะจัดการความเสี่ยงด้านสุขภาพ 4 ประเด็นยุทธศาสตร์ คือ 1) H : Health Literacy การเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนและทักษะของประชาชนในการปรับตัวและจัดการตนเองต่อภัยสุขภาพ 2) N : Networking การบูรณาการศักยภาพ ทุกภาคส่วน ร่วมขับเคลื่อนการสาธารณสุขจาก Climate Change อย่างเข้มแข็ง

3) A: Advocacy การเสริมสร้างความพร้อมของประเทศด้านการสาธารณสุข จาก Climate Change รองรับการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และความมั่นคงของประเทศ และ 4) P: Public health preparedness การพัฒนาระบบการสาธารณสุขของประเทศเพื่อรับมือ Climate Change อย่างมีมาตรฐานสากล






กำลังโหลดความคิดเห็น