xs
xsm
sm
md
lg

ห่วงเด็กไทยติด "น้ำชง" ได้น้ำตาลเกินพิกัด เสี่ยงสารพัดโรค ย้ำ ร.ร.ขายน้ำแบบหวานน้อยไม่เกิน 5%

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



กรมอนามัย สำรวจพบเด็กไทยแนวโน้มติดหวานมากขึ้น พบเด็กและวัยรุ่น 6-24 ปี 25% ดื่มเครื่องดื่มชง 1-2 วัน/สัปดาห์ ส่วนผู้ใหฯ 30% กินทุกวัน เน้นย้ำ พ่อแม่ โรงเรียน เป็นตัวอย่างลดกินหวาน โรงอาหารปรับขายเครื่องดื่มน้ำตสล 0% หรือหวานน้อยไม่เกิน 5%

เมื่อวันที่ 29 ต.ค. นพ.เอกชัย เพียรศรีวัชรา รองอธิบดีกรมอนามัย เปิดเผยว่า จากผลการสำรวจประชาชนอายุ 6 ปีขึ้นไป ปี 2564 เกี่ยวกับการดื่มเครื่องดื่มชง เช่น ชา กาแฟ น้ำหวาน ชานม เป็นต้น พบแนวโน้มเด็กไทยติดรสหวาน โดยเด็กอายุ 6 - 14 ปี 25% และวัยรุ่นอายุ 15 - 24 ปี 24.9% ดื่มเครื่องดื่มชง 1- 2 วัน/สัปดาห์ ผู้ใหญ่อายุ 45 - 59 ปี 30.9% และอายุ 25 - 44 ปี 27.4% ดื่มทุกวัน ซึ่งเครื่องดื่มชงมักจะเติมน้ำตาลปริมาณมาก หากดื่มเป็นประจำจะส่งผลเสียต่อสุขภาพและมีพฤติกรรมติดหวาน เพราะเมื่อรับน้ำตาลมากเกินไป จะถูกเปลี่ยนเป็นไขมันสะสมตามส่วนต่างๆ ของร่างกาย โดยเฉพาะไขมันในช่องท้อง เป็นสาเหตุของโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ได้แก่ เบาหวาน โรคหัวใจและหลอดเลือด และโรคอ้วน

​นพ.เอกชัย กล่าวว่า การลดพฤติกรรมบริโภคน้ำตาลในเด็ก ทั้งที่บ้านและโรงเรียนควรจัดสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการลดบริโภคน้ำตาล ช่วงเปิดเทอมนักเรียนส่วนใหญ่กินอาหารและเครื่องดื่มจากโรงอาหารและร้านค้าในโรงเรียน จึงควรเลือกอาหารและเครื่องดื่มที่ดีต่อสุขภาพเด็ก เมนูอาหารลดหวาน มัน เค็ม มีร้านจำหน่ายผลไม้สดพร้อมกิน จำหน่ายเครื่องดื่มไม่เติมน้ำตาลหรือหวานน้อยน้ำตาลไม่เกิน 5% หากเกิน 10% ถือว่าหวานจัด ควรหลีกเลี่ยง โดยอ่านฉลากผลิตภัณฑ์ก่อนนำมาจำหน่าย

​“พ่อแม่ ผู้ปกครอง ครู ควรปลูกฝังให้เด็กเลี่ยงกินหวาน ให้ความรู้เรื่องการบริโภคและเป็นตัวอย่างที่ดี ส่งเสริมให้เด็กกินอาหารครบ 5 หมู่ เน้นผักผลไม้ เครื่องดื่มชงหวานน้อยหรือน้ำตาล 0% เลี่ยงขนมหวาน น้ำหวาน น้ำอัดลม ควบคุมให้เด็กกินน้ำตาลไม่เกิน 4 ช้อนชา/วัน หากเด็กอยากดื่มน้ำหวาน ช่วงเริ่มต้นควรลดขนาดหรือความถี่ หรือเลือกดื่มน้ำผลไม้สดไม่เติมน้ำตาล ย้ำว่าน้ำเปล่าดีที่สุด ดื่มอย่างน้อย 6 - 8 แก้วต่อวัน” นพ.เอกชัย กล่าว


กำลังโหลดความคิดเห็น